คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำฟ้องเรื่องประเภทสินค้าผิดพลาด: อนุญาตได้หากไม่กระทบสาระสำคัญและผลทางกฎหมาย
ชื่อประเภทของสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง ไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าวไม่เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือเพิ่มหรือลดข้อหาในคำฟ้องเพียงแต่เป็นการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป จึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องที่ผิดพลาดจากการแปลภาษา: ศาลอนุญาตได้หากไม่กระทบสาระสำคัญคดี
ชื่อประเภทของสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง จึงไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ในส่วนดังกล่าวไม่เป็นการเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์หรือเพิ่มหรือลดข้อหาในคำฟ้องเพียงแต่เป็นการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลข้อความภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป จึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9658/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ต้องพิสูจน์การส่งคำชี้ขาดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า เมื่อทำคำชี้ขาดแล้ว อนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดจะต้องจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้น ถึงคู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกคน และในหมวดที่ 6 ที่ว่าด้วยการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ มาตรา 30 บัญญัติให้คู่กรณีฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีตามมาตรา 21 วรรคสี่ แสดงว่าผู้ร้องจะเกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้นให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว หน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงข้อนี้ย่อมตกเป็นของผู้ร้อง
การส่งสำเนาคำชี้ขาดทางไปรษณีย์ธรรมดาไม่ลงทะเบียนย่อมไม่มีหลักฐานว่าผู้คัดค้านได้รับคำชี้ขาดแล้ว ที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องมีสิทธิส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านโดยทางไปรษณีย์ธรรมดาไม่ต้องลงทะเบียน ตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนข้อ 77 โดยอ้างส่งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษเป็นพยาน และผู้ร้องมิได้ส่งคำแปลเป็นภาษาไทยต่อศาล แม้เฉพาะข้อความในข้อ 77 ที่ผู้ร้องอ้างก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านมีการตกลงกันว่าไม่ต้องทำคำแปลหรือศาลอนุญาตให้ส่งเอกสารโดยไม่ต้องทำคำแปล ตามที่ได้กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 23 ทั้งผู้คัดค้านก็โต้เถียงอยู่ว่า ข้อบังคับของอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนข้อ 76 และข้อ 77 มิได้ระบุชัดเจนถึงวิธีการจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ หนังสือบอกกล่าวและเอกสารให้แก่คู่กรณีไว้ และข้อความในข้อ 76 และข้อ 77 ก็มิได้ระบุแจ้งชัดว่าอนุญาตให้มีการจัดส่งเอกสารต่าง ๆ โดยวิธีธรรมดาได้ พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าการส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านตามที่วิธีการที่ผู้ร้องได้นำสืบมานั้นถูกต้องตามข้อบังคับของอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนอันเป็นการเพียงพอให้ถือได้ว่าได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงผู้คัดค้านโดยชอบตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 แล้ว
การส่งจดหมายหรือเอกสารทางไปรษณีย์ธรรมดาระหว่างประเทศต้องมีการขนส่งโดยพาหนะหลายทอดหลายตอน ไม่มีหลักฐานการตอบรับจากผู้รับ และหากส่งได้ก็จะไม่มีการบันทึกการส่งได้ไว้ หากส่งไม่ได้ไปรษณีย์ ผู้ส่งจะบันทึกลงบนไปรษณีย์ภัณฑ์นั้นถึงเหตุที่ส่งไม่ได้ และจัดการส่งคืนผู้ฝากส่ง แม้ไม่ปรากฏว่าหนังสือแจ้งคำชี้ขาดที่ส่งไปให้แก่ผู้คัดค้านได้มีการส่งกลับคืนไปเพราะส่งไม่ได้ก็ตาม ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าไม่มีการส่งสำเนา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถึงผู้คัดค้านซึ่งจะต้องถูกบังคับตามคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องจึงยังไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เช่าต้องรับผิดต่อความเสียหายจากสิ่งของตกหล่นจากอาคารที่ตนครอบครอง ตามหลักความรับผิดในโรงเรือน
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย.กับจำเลยที่ 1 ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายในอาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่าบริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยที่ 1ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคล ผู้อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิว ไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กาย เป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่ 1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิด ในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทน จากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถ นำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้ สำเนาเอกสาร ดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไรดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากทรัพย์สินอาคาร และการใช้สำเนาเอกสารต่างประเทศเป็นหลักฐาน
แม้สัญญาเช่าและสัญญาบริการระหว่างบริษัท ย. กับจำเลยที่ 1ผู้เช่าและผู้รับบริการจะระบุให้บริษัทผู้ให้เช่าอาคารเลขที่ 127 และผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลและให้บริการด้านความปลอดภัย ซ่อมแซมบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินส่วนกลางตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซึ่งเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ชั้นใต้ดิน ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 3 และชั้นที่ 7 ภายในอาคารดังกล่าว และเป็นผู้ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในพื้นที่อาคารที่เช่า บริษัทผู้ให้เช่าและผู้ให้บริการดังกล่าวหาใช่ผู้ครอบครองซึ่งได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่ จำเลยที่ 1 ผู้เช่าอาคารนั้น ไม่ว่าจะเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือน ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 436 เมื่อธงขนาดใหญ่ที่ถูกแรงลมพัดจนหลุดและปลิวไปถูกสายไฟฟ้าจนขาดตกลงมาถูกตัวโจทก์จนได้รับอันตรายแก่กายเป็นธงที่ติดอยู่ที่อาคารซึ่งจำเลยที่ 1 ครอบครอง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนจึงต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่ธงนั้นหล่นจากอาคารดังกล่าว
ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์และใบแจ้งรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น โจทก์จำเป็นต้องใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ศาลย่อมอนุญาตให้นำสำเนามาสืบได้ สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแปลภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยให้ถูกต้องตรงกับต้นฉบับเท่านั้น หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะคัดค้านได้ แต่ตามคำแถลงคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1คัดค้านว่าคำแปลเอกสารภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยนั้นไม่ถูกต้องตรงกับภาษาญี่ปุ่นอย่างไร ดังนั้น ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ แม้เอกสารดังกล่าวไม่มีการรับรองว่าคำแปลเป็นภาษาไทยถูกต้องก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และการสิ้นสุดสัญญาเมื่อไม่มีการเดินบัญชี
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไปและที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเดินบัญชีต่อ และดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญาคิดได้ตามอัตราที่ตกลง
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไปและที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้ การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปี เป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ดังนี้หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6807/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ย, และการสิ้นสุดสัญญา
คำให้การของจำเลยที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า ไม่ทราบไม่รับรองหนังสือมอบอำนาจเพราะเป็นเพียงสำเนานั้น มิใช่เป็นการปฏิเสธความแท้จริงของหนังสือมอบอำนาจ การที่จำเลยไม่ทราบไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์เสียไป และที่จำเลยไม่รับรองก็ยังไม่ชัดแจ้งเพียงพอว่าทำไมหนังสือมอบอำนาจที่เป็นสำเนาจึงไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี
เอกสารท้ายคำฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามบัญชีเดินสะพัดและใบแสดงรายการบัญชีเดินสะพัดเอกสารท้ายคำฟ้องระบุรายละเอียดรายการที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในแต่ละเดือน จำเลยย่อมเข้าใจได้ดี และในส่วนที่เป็นรหัสในบัญชีเดินสะพัดมีคำอธิบาย แม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นประเพณีปฏิบัติในวงการธนาคารเป็นที่ทราบกันทั่วไป แม้โจทก์ไม่ได้ทำคำแปลเป็นภาษาไทยป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้เพียงว่าให้ศาลสั่งให้คู่ความที่ส่งทำคำแปลแนบไว้กับต้นฉบับเท่านั้น ส่วนเลขบัญชีและยอดเงินไม่ตรงกันและไม่ต่อเนื่องกันนั้นเป็นข้อเท็จจริงในรายละเอียดที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในทางบัญชี ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบให้เห็นในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้อย่างถูกต้อง คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่กำหนดระยะเวลากันไว้แน่นอนสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นย่อมสิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ป.พ.พ.มาตรา 859 บัญญัติให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและให้หักทอนบัญชีกันเสียเวลาใด ๆ ก็ได้ ถ้าไม่มีอะไรปรากฏเป็นข้อขัดกับที่กล่าวมานี้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่พิพาทได้กำหนดระยะเวลาไว้แต่เมื่อครบกำหนดแล้วยังได้มีการเดินบัญชีสะพัดกันอีก ถือได้ว่ามีสัญญาต่อไปอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา และหลังจากจำเลยได้ถอนเงินออกจากบัญชีเป็นครั้งสุดท้ายแล้ว โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยทบต้นเรื่อยมาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ส่วนจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าหักถอนบัญชีอีก ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไป ดังนี้การที่โจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน ทั้งโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยจึงแสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่โจทก์คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย กรณีหาใช่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงในวันที่ครบกำหนดเวลาให้ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่ โจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงเพียงวันที่คิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเท่านั้น
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี และถ้าต่อไปผู้ให้กู้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลยยอมให้ขึ้นได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งอัตราร้อยละ 17 ต่อปีเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกได้ตาม พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 ดังนี้ หลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี แบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นได้เท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในคดีแพ่งจากความผิดอาญา และการกำหนดค่าเสียหายโดยศาล
จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกบุกรุกตึกแถวพิพาท และทำให้เสียทรัพย์โดยทุบทำลายส่วนต่าง ๆ ของตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีนี้ด้วย คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยกระทำละเมิดโดยเข้าไปครอบครองและทุบทำลายตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง คดีนี้จึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตาม ป.อ.จึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดอาญานั้น มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3)
ปัญหาว่าโจทก์เสียหายเพียงใดนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยต่างนำสืบโต้แย้งกันจนไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้เช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้
จำเลยไม่ได้นำ ส.และ ม.เข้าเบิกความเป็นพยานภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ประกอบกับโจทก์ได้อ้างส่งคำเบิกความของพยานทั้ง 2 ปาก ที่ได้เบิกความไว้ในคดีอาญาเป็นพยานต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องของคำเบิกความดังกล่าว อีกทั้งจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะสืบพยาน2 ปากนี้ในประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าพยานทั้ง 2 ปาก เป็นเพียงผู้ที่เข้าไปทำการรื้อถอนตึกแถวพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นผู้ที่ทำการซ่อมแซมตึกแถวพิพาทจึงไม่สมควรที่จะนำมาเป็นพยานในการประเมินค่าเสียหาย ทั้งยังเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นแก่คดีด้วย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุดในต่างประเทศ และการคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามข้อตกลง
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลย โจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ เมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคา ผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามมิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่น เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้ว ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี
of 8