พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุด การรับฟังเอกสารต่างประเทศ และดอกเบี้ยผิดนัด
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลยโจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศเมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคาผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา472วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามมิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่นเมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้วศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่าโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ15ต่อปีจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ15ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุดในต่างประเทศ และการคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามข้อตกลง
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลย โจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ เมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคา ผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามมิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่น เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้ว ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, มูลคดี, เอกสารต่างประเทศ, การระบุพยาน: ข้อวินิจฉัยสำคัญในคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่า จำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์ โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 2 (2), 4 (1) โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้
เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ คู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไป นอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้
แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่ 1 ในบัญชีระบุพยาน โดยไม่มีชื่อโจทก์ที่ 2 ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตาม แต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ระบุพยาน และมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กัน และทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยาน ดังนี้ โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว
แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่า จำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์ โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 2 (2), 4 (1) โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้
เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ คู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไป นอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้
แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่ 1 ในบัญชีระบุพยาน โดยไม่มีชื่อโจทก์ที่ 2 ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตาม แต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ระบุพยาน และมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กัน และทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยาน ดังนี้ โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, มูลคดี, พยานหลักฐานภาษาต่างประเทศ, การระบุพยาน: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่าจำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์ โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนี้ ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2(2)(1) โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ คู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไป นอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามเมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้ แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่ 1 ในบัญชีระบุพยาน โดยไม่มีชื่อโจทก์ที่ 2 ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตาม แต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ระบุพยานและมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กันและทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยานดังนี้ โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, เอกสารต่างประเทศ, การระบุพยาน: หลักเกณฑ์การรับคำฟ้องและพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่1ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรีซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตามแต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่าจำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนี้ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา2(2)(1)โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศคู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไปนอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามเมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้ แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่1ในบัญชีระบุพยานโดยไม่มีชื่อโจทก์ที่2ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตามแต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่1เป็นผู้ระบุพยานและมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กันและทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยานดังนี้โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9607/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารและพยานหลักฐานในคดีทรัพย์สินทางปัญญา การกำหนดค่าทนายความ
จำเลยร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า NEXT เริ่มจดทะเบียนที่ต่างประเทศตั้งแต่ปี 2525 โดยรับฟังจากเอกสารหมาย จ.10 และรับฟังว่าจำเลยร่วมมิได้คัดค้านเอกสารดังกล่าว ทั้งที่จำเลยร่วมได้ให้การว่าเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งรวมทั้งเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 เป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายและไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย การรับฟังเอกสารดังกล่าวขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 93 และเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10โจทก์เพิ่งส่งคำแปลต่อศาลเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วโดยมิได้ส่งสำเนาให้จำเลยร่วมการยื่นคำแปลดังกล่าวย่อมขัดต่อกฎหมายรับฟังไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลชั้นต้นมิได้รับฟังเฉพาะแต่พยานเอกสารหมาย จ.9และ จ.10 แต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้วินิจฉัยคำเบิกความของ ธ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้เป็นผู้ฟ้องคดีนี้ด้วย จำเลยร่วมมิได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างเป็นอย่างอื่นลำพังคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้แล้วว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศอังกฤษและ ธ.มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ จ.ฟ้องคดีแทนได้ ไม่จำเป็นต้องรับฟังจากพยานเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10แต่ประการใดนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกอุทธรณ์ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อแรกของจำเลยร่วม ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไป โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
เอกสารหมาย จ.9 เป็นการรับรองเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.7แม้โจทก์ไม่มีต้นฉบับมาแสดง ศาลย่อมรับฟังเอกสารหมาย จ.9 ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93(2) ในข้อที่ว่าไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และที่โจทก์เพิ่งส่งคำแปลเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 ต่อศาลหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จนั้น ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะศาลมีอำนาจสั่งให้ทำคำแปลมายื่นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46วรรคสาม
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "NEXT" และ"next" และจำเลยร่วมทราบดีมาก่อนว่าสินค้าเสื้อผ้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่นิยมของลูกค้า การที่จำเลยร่วมผลิตสินค้าเสื้อผ้าเช่นกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ถือได้ว่าเป็นการเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้านั้น
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยร่วมใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
เอกสารหมาย จ.9 เป็นการรับรองเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.7แม้โจทก์ไม่มีต้นฉบับมาแสดง ศาลย่อมรับฟังเอกสารหมาย จ.9 ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93(2) ในข้อที่ว่าไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และที่โจทก์เพิ่งส่งคำแปลเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 ต่อศาลหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จนั้น ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะศาลมีอำนาจสั่งให้ทำคำแปลมายื่นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46วรรคสาม
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "NEXT" และ"next" และจำเลยร่วมทราบดีมาก่อนว่าสินค้าเสื้อผ้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่นิยมของลูกค้า การที่จำเลยร่วมผลิตสินค้าเสื้อผ้าเช่นกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ถือได้ว่าเป็นการเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้านั้น
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยร่วมใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารใบแจ้งรายการบัตรเครดิตเป็นพยานหลักฐาน แม้ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรครบถ้วน
เอกสารใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตซึ่งตามใบคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตได้กำหนดเงื่อนไขของผู้ถือบัตรไว้ในข้อ 6 ว่า ผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องตรวจสอบรายการที่ธนาคารได้หักบัญชีไปแล้วนั้นทุกครั้งที่ได้รับใบแจ้งรายการหักบัญชี ถ้ามีรายการใดผิดพลาดผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องรีบแจ้งให้ธนาคารทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการหักบัญชี โจทก์ได้ส่งต้นฉบับใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามที่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขกันไว้นี้แล้วตามประเพณีที่ธนาคารปฏิบัติต่อลูกค้าทั่ว ๆ ไปซึ่งตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความปรากฏถึง วัน เดือน ปี รหัสประเภทการใช้บัตรสถานที่ใช้บัตรซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอที่จำเลยจะตรวจสอบและคัดค้านได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ส่วนรายการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยอันเนื่องมาจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยในบัญชีเดินสะพัดก็เป็นสมุดบัญชีของธนาคารซึ่งจำเลยสามารถตรวจสอบได้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ได้ แม้โจทก์ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรเครดิตของจำเลยมานำสืบให้ได้ครบจำนวนหนี้ตามฟ้องก็ตาม และเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 6 หาได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดไม่
โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำไนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 (2) เดิม และถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามมาตรา 93 (2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว
การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำไนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 (2) เดิม และถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น ตามมาตรา 93 (2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว
การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่ง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักเกณฑ์การรับฟังเอกสารทางแพ่ง, หนี้บัตรเครดิต, และการตรวจสอบรายการใช้จ่ายโดยผู้ถือบัตร
เอกสารใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตซึ่งตามใบคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตได้กำหนดเงื่อนไขของผู้ถือบัตรไว้ในข้อ 6 ว่าผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องตรวจสอบรายการที่ธนาคารได้หักบัญชีไปแล้วนั้นทุกครั้งที่ได้รับใบแจ้งรายการหักบัญชี ถ้ามีรายการใดผิดพลาดผู้ถือบัตรและหรือเจ้าของบัญชีจะต้องรีบแจ้งให้ธนาคารทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการหักบัญชี โจทก์ได้ส่งต้นฉบับใบแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามที่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขกันไว้นี้แล้วตามประเพณีที่ธนาคารปฏิบัติต่อลูกค้าทั่ว ๆ ไป ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวมีข้อความปรากฎถึง วัน เดือน ปี รหัส ประเภทการใช้บัตรสถานที่ใช้บัตรซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอที่จำเลยจะตรวจสอบและคัดค้านได้ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องแต่อย่างใดส่วนรายการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยอันเนื่องมาจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยในบัญชีเดินสะพัดก็เป็นสมุดบัญชีของธนาคารซึ่งจำเลยสามารถตรวจสอบได้ ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ได้ แม้โจทก์ไม่ได้นำหลักฐานการใช้บัตรเครดิตของจำเลยมานำสืบให้ได้ครบจำนวนหนี้ตามฟ้องก็ตาม และเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 6 หาได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดไม่ โจทก์ได้ส่งต้นฉบับเอกสารหมาย จ.6 ให้จำเลยเพื่อตรวจสอบและคัดค้านตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตก่อนแล้ว จึงเป็นการอ้างอิงเอกสารที่อยู่ในครอบครองของจำเลยโจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2) เดิมและถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตามมาตรา 93(2) ซึ่งศาลจะอนุญาตให้นำสำเนามาส่งก็ได้การที่ศาลชั้นต้นรับฟังเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานในคดีจึงชอบแล้ว การที่โจทก์มิได้ทำคำแปลเอกสารหมาย จ.6 ส่วนที่สำคัญขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศไว้นั้น เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่งโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องทำคำแปลและศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การซื้อขายสินค้าเคมีภัณฑ์, และฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติ-บุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทย กับให้อำนาจ ส.มอบอำนาจช่วงได้ และ ส.มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช.พยานเบิกความทุกประการ ซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทย-ประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูต-ไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ
โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามป.พ.พ. มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อน จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 189วรรคสุดท้าย
โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามป.พ.พ. มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อน จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 189วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้า กรรมสิทธิ์โอนเมื่อทำสัญญา, การคืนสินค้าที่รับเกิน, และดอกเบี้ยจากราคาสินค้า
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทยกับให้อำนาจส. มอบอำนาจช่วงได้ และ ส. มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช. พยานเบิกความทุกประการซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือกเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใดฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 440 ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อนจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และ179 วรรคสุดท้าย