คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิด
อ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดส่งใบรับรองภาษาอังกฤษของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง พร้อมกับคำแปล นอกจากนี้ใบมอบอำนาจซึ่งมีคำแปรประกอบก็ปรากฏว่า ท. ประธานกรรมการบริษัทโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ อ. ฟ้องคดีนี้ มี ม. ผู้จัดการหอการค้ารับรองลายเซ็นชื่อ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นรับรองลายเซ็นของผู้จัดการหอการค้าฯ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวรับรองลายเซ็นชื่อของเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารแท้จริง และมิได้เถียงว่าคำแปลไม่ถูกต้อง จึงเป็นการเพียงพอที่จะให้ฟังได้ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้แทนได้ และคดีหาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบการแปลเอกสารนั้นอีกไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ(กล่อง) สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนกันหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้สินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้ นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และกรณีไม่ต้องด้วยวรรค 2 เพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายให้การล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อน โจทก์ย่อมไม่สิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: แม้เลียนแบบแต่โจทก์มิได้จดทะเบียนภายใน 5 ปี ไม่มีสิทธิขอห้ามหรือเรียกคืนสินค้า
อ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เบิกความว่า บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดส่งใบรับรองภาษาอังกฤษของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง พร้อมกับคำแปล นอกจากนี้ใบมอบอำนาจซึ่งมีคำแปลประกอบก็ปรากฏว่า ท. ประธานกรรมการบริษัทโจทก์ เป็นผู้มอบอำนาจและแต่งตั้งให้ อ. ฟ้องคดีนี้ มี ม.ผู้จัดการหอการค้ารับรองลายเซ็นชื่อ กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นรับรองลายเซ็นของผู้จัดการหอการค้าฯ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวรับรองลายเซ็นชื่อของเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารแท้จริง และมิได้เถียงว่าคำแปลไม่ถูกต้อง จึงเป็นการเพียงพอที่จะให้ฟังได้ว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้แทนได้ และคดีหาจำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบการแปลเอกสารนั้นอีกไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์พิมพ์เป็นอักษรโรมันไว้ที่หีบห่อ (กล่อง)สำหรับบรรจุสินค้าเครื่องกันสะเทือนว่า KAYABA และ KYB ส่วนของจำเลยใช้คำว่า KAYADA และ KYD ซึ่งต่างกับของโจทก์เพียงอักษร D ส่วนของโจทก์เป็นอักษร B เท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมดทุกตัวอักษร ทั้งสำเนียงการอ่านก็คล้ายกัน ลักษณะหีบห่อ(กล่อง) สีสรร ตลอดจนการวางรูปของตัวอักษรก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ที่สุด และยังใช้กับสินค้าเครื่องกันสะเทือนเหมือนกัน ดังนี้นับได้ว่าอาจทำให้สาธารณชนหลงผิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และชอบที่จะฟ้องร้องเกี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยว่าฝ่ายใดสมควรที่จะได้รับการจดทะเบียนดีกว่ากันนั้นได้
ในกรณีดังกล่าว แม้โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดีกว่าจำเลย และจำเลยไม่มีสิทธิจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เพราะเป็นการเลียนแบบล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาจนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคแรกและกรณีไม่ต้องด้วยวรรคสองเพราะไม่มีประเด็นเรื่องการลวงขาย โจทก์จึงหมดสิทธิเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าจากจำเลย และตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้จำเลยผลิตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย และไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเรียกเก็บคืนซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยจากตลาดการค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารบางส่วนเป็นภาษาต่างประเทศใช้เป็นหลักฐานได้หากอ่านใจความสำคัญได้
เอกสารตอนบนมีข้อความเป็นภาษาไทย ตอนล่างมีข้อความเป็นภาษาจีน โจทก์มิได้ส่งคำแปลเป็นภาษาไทย แต่ข้อความที่เป็นภาษาไทยอยู่บางส่วนนั้น อ่านได้ใจความว่า จำเลยยืมเงินโจทก์ ดังนี้ ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการกู้ยืมเงินกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความกรมธรรม์ประกันภัย: ศาลยึดถือคำแปลภาษาไทยที่โจทก์แนบ หากจำเลยไม่โต้แย้ง และถือว่าอุบัติเหตุเป็นสาเหตุโดยตรง
กรมธรรม์ประกันภัยทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษโจทก์แนบสำเนากรมธรรม์ประกันภัยฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยคำแปลเป็นภาษาไทยมาพร้อมฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องขอยืดเวลายื่นคำให้การ อ้างว่ากรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษและโจทก์แปลติดมาท้ายฟ้องนั้น จำเลยจำต้องตรวจคำแปลกับต้นฉบับว่าแปลถูกต้องหรือไม่ศาลอนุญาต เมื่อจำเลยยื่นคำให้การ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าคำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องนั้นมีข้อความไม่ถูกต้องคดีจึงไม่มีประเด็นโต้เถียงกันว่า คำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง การที่วินิจฉัยว่ากรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความอย่างใด และมีความหมายเป็นประการใดศาลจึงต้องยึดถือคำแปลภาษาไทยดังปรากฏที่โจทก์แนบมาพร้อมฟ้อง
คำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยมีข้อความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย (ผู้รับประกันภัย) ว่า 'กรมธรรม์นี้คุ้มครองถึงความสูญเสียไม่ว่าจะเนื่องด้วยสาเหตุอื่นใดอันเกิดแต่การได้รับบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือลำพังก็ตามที ตามเงื่อนไขบทบัญญัติข้อยกเว้นและข้อคุ้มครองที่ระบุไว้ในที่นี้'ส่วนประโยชน์ที่ได้รับระบุไว้ว่า การประกันภัยที่จะอำนวยผลประโยชน์ในหนี้ใช้ได้เฉพาะในเรื่องการได้รับบาดเจ็บอันตรายอันอาจทำให้สูญเสียชีวิต แขนขาขาดและชดใช้ค่ารักษาพยาบาลอันจะเกิดขึ้นโดยตรงหรือไม่ว่าโดยลำพังจากสาเหตุใด ๆก็ตาม ตามที่ได้ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ฯลฯ' ดังนี้ เห็นว่าการที่ พ. (ผู้เอาประกันภัย) หกล้มขณะลงจากรถ ย่อมถือว่าเป็นอุบัติเหตุ เมื่อเป็นเหตุให้มดลูกแตกปริ จึงถือว่าเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ พ. ถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความกรมธรรม์ประกันภัย: อุบัติเหตุและการบาดเจ็บทางร่างกายเป็นเหตุให้เสียชีวิต
กรมธรรม์ประกันภัยทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษโจทก์แนบสำเนากรมธรรม์ประกันภัยฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยคำแปลเป็นภาษาไทยมาพร้อมฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องขอยืดเวลายื่นคำให้การ อ้างว่ากรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษและโจทก์แปลติดมาท้ายฟ้องนั้น จำเลยจำต้องตรวจคำแปลกับต้นฉบับว่าแปลถูกต้องหรือไม่ศาลอนุญาต เมื่อจำเลยยื่นคำให้การ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าคำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องนั้นมีข้อความไม่ถูกต้องคดีจึงไม่มีประเด็นโต้เถียงกันว่า คำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง การที่วินิจฉัยว่ากรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความอย่างใด และมีความหมายเป็นประการใดศาลจึงต้องยึดถือคำแปลภาษาไทยดังปรากฏที่โจทก์แนบมาพร้อมฟ้อง
คำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยมีข้อความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย (ผู้รับประกันภัย) ว่า "กรมธรรม์นี้คุ้มครองถึงความสูญเสียไม่ว่าจะเนื่องด้วยสาเหตุอื่นใดอันเกิดแต่การได้รับบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือลำพังก็ตามทีตามเงื่อนไขบทบัญญัติข้อยกเว้นและข้อคุ้มครองที่ระบุไว้ในที่นี้"ส่วนประโยชน์ที่ได้รับระบุไว้ว่า การประกันภัยที่จะอำนวยผลประโยชน์ในหนี้ใช้ได้เฉพาะในเรื่องการได้รับบาดเจ็บอันตรายอันอาจทำให้สูญเสียชีวิต แขนขาขาดและชดใช้ค่ารักษาพยาบาล อันจะเกิดขึ้นโดยตรงหรือไม่ว่าโดยลำพัง จากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ตามที่ได้ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ฯลฯ" ดังนี้ เห็นว่าการที่ พ. (ผู้เอาประกันภัย) หกล้มขณะลงจากรถ ย่อมถือว่าเป็นอุบัติเหตุ เมื่อเป็นเหตุให้มดลูกแตกปริจึงถือว่าเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ พ. ถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ การพิมพ์เอกสารไม่ทันไม่ใช่เหตุขยายเวลาได้
คำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกาของจำเลยยอมรับว่าทนายจำเลยได้เรียงฎีกาเสร็จแล้ว แต่จัดพิมพ์ไม่ทัน จึงขอเลื่อนการยื่นฎีกาไปอีก 7 วันเพื่อจัดพิมพ์เท่านั้น จึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษ เพราะฎีกาเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) และ (5) ซึ่งตามมาตรา 46 วรรค 2 ทนายจำเลยจะเขียนฎีกาที่เรียงไว้เสร็จแล้วด้วยหมึกไม่ต้องดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์ก็ได้ ซึ่งทนายจำเลยจะยื่นฎีกาที่เรียงเขียนไว้เสร็จแล้วต่อศาลในวันนั้นก็ทำได้โดยชอบ ปรากฏในฎีกาของจำเลยว่าได้พิมพ์แล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2513 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกา แต่ขีดฆ่าตัวพิมพ์วันที่ 9 แล้วเขียนแก้เป็นวันที่ 14 ที่นำฎีกามายื่นต่อศาลฎีกานี้มี 19 แผ่น หรือ 38 หน้าพิมพ์ทนายจำเลยมายื่นคำร้องขอเลื่อนเวลาเมื่อเวลา 11.00 นาฬิกา และยังมีเวลาอีก 5 ชั่วโมงเศษที่จะพิมพ์ต่อไปให้เสร็จได้แน่นอน เพราะจะต้องได้พิมพ์ฎีกาบางส่วนมาแล้วตั้งแต่ตอนเช้าวันที่ 9 นั้นเองเป็นอย่างช้า ดังนี้ จึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายเวลาให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ การจัดพิมพ์ฎีกาไม่ถือเป็นเหตุพิเศษ ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายเวลาไม่ชอบ
คำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกาของจำเลยยอมรับว่าทนายจำเลยได้เรียงฎีกาเสร็จแล้ว แต่จัดพิมพ์ไม่ทัน จึงขอเลื่อนการยื่นฎีกาไปอีก 7 วันเพื่อจัดพิมพ์เท่านั้น จึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษ เพราะฎีกาเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) และ (5) ซึ่งตามมาตรา 46 วรรคสอง ทนายจำเลยจะเขียนฎีกาที่เรียงไว้เสร็จแล้วด้วยหมึก ไม่ต้องดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์ก็ได้ ซึ่งทนายจำเลยจะยื่นฎีกาที่เรียงเขียนไว้เสร็จแล้วต่อศาลในวันนั้นก็ทำได้โดยชอบ ปรากฏในฎีกาของจำเลยว่าได้พิมพ์แล้วตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2513 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นฎีกาแต่ขีดฆ่าตัวพิมพ์วันที่ 9 แล้วเขียนแก้เป็นวันที่ 14 ที่นำฎีกามายื่นต่อศาลฎีกานี้มี 19 แผ่น หรือ 38 หน้าพิมพ์ทนายจำเลยมายื่นคำร้องขอเลื่อนเวลาเมื่อเวลา 11.00 นาฬิกา และยังมีเวลาอีก 5 ชั่วโมงเศษที่จะพิมพ์ต่อไปให้เสร็จได้แน่นอน เพราะจะต้องได้พิมพ์ฎีกาบางส่วนมาแล้วตั้งแต่ตอนเช้าวันที่ 9 นั้นเองเป็นอย่างช้า ดังนี้ จึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายเวลาให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, สละข้อต่อสู้, หลักฐานสัญญาซื้อขาย, หักเงินค่าเสียหาย, ดอกเบี้ยค้างชำระ: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีซื้อขาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งซื้ออุปกรณ์สระว่ายน้ำจากโจทก์เป็นเงิน 30,698บาท. เป็นคำฟ้องที่ชัดเจนพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้แล้ว. ส่วนรายละเอียดอุปกรณ์สระว่ายน้ำมีอะไรบ้าง. เป็นข้อที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา. แม้ไม่บรรยายมาในฟ้องก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม. และโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่า. คนของจำเลยผู้ใดเป็นคนเซ็นรับของ. เพียงแต่กล่าวว่าได้ส่งของให้จำเลยรับไปแล้วก็เป็นฟ้องที่ชอบ.
เอกสารตามสำเนาท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ. แม้โจทก์จะมิได้ส่งคำแปลเป็นภาษาไทย. หากมีข้อความในเอกสารเป็นภาษาไทยอยู่บางส่วนอ่านได้ใจความสำคัญ. ย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้.
ปัญหาซึ่งศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยสละข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นจึงไม่รับวินิจฉัย. จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยยังไม่ได้สละข้อต่อสู้. เพียงแต่ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา. ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย. เพราะไม่ใช่ข้อที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้ว.
แม้จำเลยจะยอมรับผิดตามฟ้องเต็มจำนวนเงินที่เรียกร้องหรือแต่บางส่วน. หากจำเลยไม่นำเงินมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไป. จำเลยก็ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, สละข้อต่อสู้, หลักฐานซื้อขาย, หักค่าเสียหาย, ดอกเบี้ย - ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งซื้ออุปกรณ์สระว่ายน้ำจากโจทก์เป็นเงิน 30,698บาท เป็นคำฟ้องที่ชัดเจนพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้แล้ว ส่วนรายละเอียดอุปกรณ์สระว่ายน้ำมีอะไรบ้าง เป็นข้อที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา แม้ไม่บรรยายมาในฟ้องก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม และโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่า คนของจำเลยผู้ใดเป็นคนเซ็นรับของ เพียงแต่กล่าวว่าได้ส่งของให้จำเลยรับไปแล้วก็เป็นฟ้องที่ชอบ
เอกสารตามสำเนาท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ แม้โจทก์จะมิได้ส่งคำแปลเป็นภาษาไทย หากมีข้อความในเอกสารเป็นภาษาไทยอยู่บางส่วนอ่านได้ใจความสำคัญ ย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
ปัญหาซึ่งศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยสละข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นจึงไม่รับวินิจฉัย จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยยังไม่ได้สละข้อต่อสู้ เพียงแต่ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย เพราะไม่ใช่ข้อที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้ว
แม้จำเลยจะยอมรับผิดตามฟ้องเต็มจำนวนเงินที่เรียกร้องหรือแต่บางส่วน หากจำเลยไม่นำเงินมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไป จำเลยก็ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม การสละข้อต่อสู้ และดอกเบี้ย กรณีจำเลยยอมรับผิดแต่ไม่วางเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งซื้ออุปกรณ์สระว่ายน้ำจากโจทก์เป็นเงิน 30,698บาท เป็นคำฟ้องที่ชัดเจนพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้แล้ว ส่วนรายละเอียดอุปกรณ์สระว่ายน้ำมีอะไรบ้าง เป็นข้อที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา แม้ไม่บรรยายมาในฟ้องก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม และโจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่า คนของจำเลยผู้ใดเป็นคนเซ็นรับของ เพียงแต่กล่าวว่าได้ส่งของให้จำเลยรับไปแล้วก็เป็นฟ้องที่ชอบ
เอกสารตามสำเนาท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศ แม้โจทก์จะมิได้ส่งคำแปลเป็นภาษาไทย หากมีข้อความในเอกสารเป็นภาษาไทยอยู่บางส่วนอ่านได้ใจความสำคัญ ย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
ปัญหาซึ่งศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยสละข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นจึงไม่รับวินิจฉัย จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยยังไม่ได้สละข้อต่อสู้ เพียงแต่ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมาศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย เพราะไม่ใช่ข้อที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้ว
แม้จำเลยจะยอมรับผิดตามฟ้องเต็มจำนวนเงินที่เรียกร้องหรือแต่บางส่วน หากจำเลยไม่นำเงินมาวางศาลเพื่อให้โจทก์รับไป จำเลยก็ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ย
of 8