คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 79

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยทราบถึงการฟ้องคดีแล้ว
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 และให้แก่จำเลยที่ 2 โดย น.รับแทนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 แต่ปรากฏว่าวันที่17 กรกฎาคม 2534 จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าว และต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องคำนึงถึงการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมและเหตุผลความสมควร
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่1โดยการปิดหมายเมื่อวันที่22มิถุนายน2534และให้แก่จำเลยที่2โดยน. รับแทนเมื่อวันที่23กรกฎาคม2534แต่ปรากฏว่าวันที่17กรกฎาคม2534จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่2ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าวและต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้วจำเลยที่2จึงไม่มีเหตุผลสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: ดุลพินิจศาล และการทราบข้อฟ้องของจำเลย
การสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534และให้แก่จำเลยที่ 2 โดย น. รับแทนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 แต่ปรากฏว่าวันที่ 17 กรกฎาคม 2534 จำเลยทั้งสองได้ยื่นคำให้การ แสดงว่าจำเลยที่ 2ทราบว่าตนถูกฟ้องตั้งแต่วันดังกล่าว และต่อมาก็ได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการชี้สองสถานสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองและมีคำพิพากษาจนพ้นอายุอุทธรณ์ไปแล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7322/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ต้องเป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นการส่งหมายไม่สมบูรณ์
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสอง จะมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่ลงประกาศในหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ลงประกาศตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2536ให้จำเลยทราบแทนการส่งหมายโดยศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การภายในวันที่ 23 เมษายน 2536 นับแต่วันลงประกาศหนังสือพิมพ์มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้ว คือวันที่ 6 เมษายน 2536 และให้จำเลยยื่นคำให้การภายใน 15 วันคือภายในวันที่ 21 เมษายน 2536 เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้ยื่นคำให้การภายในวันที่ 23 เมษายน 2536 จึงเป็นการกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้ว และกำหนดระยะเวลาอีกสิบห้าวันที่ให้จำเลยยื่นคำให้การรวมเข้าไปด้วยแล้ว จึงถือว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาล จึงถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องมีคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนด ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 198 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7233/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้การพิจารณาคดีทั้งหมดเป็นโมฆะ จำเป็นต้องเริ่มกระบวนการใหม่
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 1836/115 ส่วนบ้านเลขที่ 1836/116 นั้นไม่มีชื่อจำเลยอยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านจึงไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลยหรือสำนักทำการงานของจำเลยการที่พนักงานเดินหมายไปปิดหมายนัดแจ้งกำหนดนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว จึงเป็นการปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 77,79 ถึงแม้จะปรากฎว่าส.จะเคยแจ้งแก่เจ้าพนักงานศาลว่าจำเลยที่อยู่ ณ บ้านเลขที่ 1836/116 แต่ส.มิใช่คู่ความไม่มีอำนาจจะแจ้งแถลงไขความดังกล่าว จึงไม่ผูกมัดจำเลยในอันจะฟังว่าจำเลยมีภูมิลำเนาหรือภูมิลำเนาเฉพาะกาลณ บ้านเลขที่ดังกล่าว ที่จะมีผลให้การปิดหมายของพนักงานเดินหมายเป็นการปิดโดยชอบ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังไปฝ่ายเดียวโดยที่จำเลยไม่ทราบนัดและไม่มาศาลนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7233/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการเพิกถอนกระบวนพิจารณา
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 1836/115 ส่วนบ้านเลขที่1836/116 นั้นไม่มีชื่อจำเลยอยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านจึงไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลยหรือสำนักทำการงานของจำเลย การที่พนักงานเดินหมายไปปิดหมายนัดแจ้งกำหนดนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว จึงเป็นการปิดหมายที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 77, 79 ถึงแม้จะปรากฏว่า ส.จะเคยแจ้งแก่เจ้าพนักงานศาลว่าจำเลยอยู่ ณ บ้านเลขที่ 1836/116 แต่ ส.มิใช่คู่ความ ไม่มีอำนาจจะแจ้งแถลงไขความดังกล่าว จึงไม่ผูกมัดจำเลยในอันจะฟังว่าจำเลยมีภูมิลำเนาหรือภูมิลำเนาเฉพาะกาล ณ บ้านเลขที่ดังกล่าว ที่จะมีผลให้การปิดหมายของพนักงานเดินหมายเป็นการปิดโดยชอบ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังไปฝ่ายเดียวโดยที่จำเลยไม่ทราบนัดและไม่มาศาลนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำนิติกรรมโดยผู้เยาว์กับผู้แทนไม่อาจใช้สัตยาบันได้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้
แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วแต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วยโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้สถานที่ทำการเดิมถูกรื้อถอน และการจงใจขาดนัดพิจารณาคดี
ภูมิลำเนาของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71(เดิม) ได้แก่ถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่หรือที่ตั้งทำการหรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง คือ บ้านเลขที่3642-3646 ส่วนจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าอยู่บ้านเลขที่ 1723 ตามสำเนาทะเบียนบ้านนั้น แม้บ้านดังกล่าวถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนหรือแสดงความประสงค์แทนจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75(เดิม) ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 มีหลักแหล่งที่ทำการเป็นปกติณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 อีกแห่งจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2ด้วย เมื่อโจทก์ขอให้ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกแก่จำเลยทั้งสองที่สำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการส่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) แต่เมื่อส่งไม่ได้เนื่องจากสถานที่สำนักงานดังกล่าวถูกรื้อไปแล้วและไม่ปรากฏมีการแจ้งย้ายไปอยู่สำนักงานแห่งใหญ่ที่ใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยได้โดยวิธีธรรมดา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79วรรคหนึ่ง ก็ได้บัญญัติทางแก้โดยให้ลงโฆษณาหรือทำวิธีอื่นใดตามที่ศาลเห็นสมควร การที่โจทก์ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ภูมิลำเนาทนายความ แม้มีการย้ายสำนักงานแล้ว ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานเดินหมายบันทึกการส่งหมายว่าไม่พบทนายจำเลย พบแต่คนในบ้านสอบถามได้ความว่าทนายจำเลยไปธุระที่กรุงเทพมหานครไม่ทราบว่าจะกลับมาเมื่อใด จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าบันทึกการส่งหมายดังกล่าวไม่ถูกต้อง ตามบันทึกดังกล่าวแสดงว่าทนายจำเลยยังอาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 48 การที่ทนายจำเลยยังอาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 48 ก็ดี การที่ทนายจำเลยไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่ที่บ้านซึ่งเป็นสำนักงานแห่งใหม่ก็ดี ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทนายจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 48 ด้วย ฉะนั้น การปิดหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ถือว่าจำเลยทราบวันนัดแล้ว การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
of 30