คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 79

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาโดยวิธีปิดหมายที่ไม่ชอบ ศาลเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาและให้นัดฟังใหม่
ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้ปิดหมาย การที่เจ้าหน้าที่ของศาลนำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปส่งให้จำเลยและทนายจำเลยโดยวิธีปิดหมายจึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยและทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปในวันนัดจึงถือไม่ได้ว่าได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังโดยชอบ ศาลฎีกาเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เฉพาะในส่วนที่อ่านให้จำเลยฟัง และให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาโดยวิธีปิดหมายที่ไม่ชอบ ศาลเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาและให้นัดฟังใหม่
การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 และศาลจะต้องมีคำสั่งอย่างเป็นกิจจะลักษณะว่าให้ส่งโดยวิธีปิดคำคู่ความหรือเอกสารได้ แต่คดีนี้ไม่ปรากฏชัดว่าการส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 ไม่สามารถจะกระทำได้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดเป็นกิจจะลักษณะแต่ประการใด การที่ในหมายนัดมีข้อความเป็นตรายางประทับว่าไม่มีผู้รับให้ปิดหมายนั้น ข้อความดังกล่าวอาจประทับในภายหลังจากที่ผู้พิพากษาได้ลงลายมือชื่อในหมายแล้วก็เป็นได้เมื่อเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นนำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไปส่งให้จำเลยและทนายจำเลยโดยวิธีปิดหมายดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยและทนายจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยฟังโดยชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เฉพาะในส่วนที่อ่านให้จำเลยฟัง และให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกปิดภูมิลำเนาชอบด้วยกฎหมายเมื่อยังไม่ได้มีคำสั่งผู้ไม่อยู่ และการมีอำนาจของผู้จัดการทรัพย์สิน
แม้จำเลยที่ 1 จะออกจากบ้านตามภูมิลำเนาโดยไม่มีผู้ใดทราบข่าวคราวก็ตาม แต่ขณะที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไม่อยู่และตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ หรือมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนสาบสูญแต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 1 ได้อาศัยอยู่กับจำเลยที่ 2 และยังมีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้านตามที่อยู่ในคำฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง ดังนั้น ที่อยู่ตามคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 37 การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยการปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
ธ. เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ผู้ไม่อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 วรรคสอง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 ดังนั้น ขณะที่ ธ. ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2543 ธ. ยังไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การยื่นคำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยศาลฎีกาเห็นควรเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องตลอดจนกระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแทนจำเลยที่ 1 ของ ธ. เสีย และมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ทำให้กระบวนการพิจารณาที่ตามมาไม่ชอบ
การส่งหมายให้แก่คู่ความโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึงมาตรา 78 แล้ว การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสามทราบโดยปิดประกาศไว้ที่หน้าศาลโดยมิได้ส่งหมายนัดให้จำเลยทั้งสามทราบโดยวิธีธรรมดาก่อนจึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 79 ทำให้การแจ้งวันนัดดังกล่าวไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653-655/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด - เหตุหนี้สินล้นพ้นตัว - อำนาจฟ้อง - อายุความ - การส่งหมายเรียก
จำเลยโต้แย้งว่า ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม, 33 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 8 (4) (9) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ ขอให้ศาลล้มละลายกลางส่งคำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 การที่ศาลล้มละลายกลางสั่งในคำร้องของจำเลยเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226, 247 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้มาใช้บังคับ อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะอุทธรณ์ได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งไม่มีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ จึงไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณา
ปัญหาที่ว่าหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 หรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28 จำเลยอุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลยโดยวิธีปิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2539 ซึ่งถือว่าจำเลยได้รับแล้วในวันปิดนั้นเองตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง และวรรคสาม จำเลยมิได้ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อโต้แย้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรตามคำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเด็ดขาดและเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตามกฎหมาย ระยะเวลาที่โจทก์มีอำนาจใช้วิธีการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยผู้ค้างชำระหนี้ภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 271 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 เริ่มตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์คือวันที่ 23 มีนาคม 2539 นับถึงวันฟ้องคดีนี้คือวันที่ 21 มีนาคม 2546 ยังไม่พ้น 10 ปี หนี้ตามฟ้องไม่ใช่หนี้ที่โจทก์หมดสิทธิบังคับคดี
เจ้าพนักงานของโจทก์ได้ปิดหมายเรียก ณ ที่อยู่หรือสำนักงานของจำเลยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง และถือว่าจำเลยได้รับหมายโดยชอบแล้วตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงไม่นำหลักการนับระยะเวลาปิดหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง มาใช้บังคับ เจ้าพนักงานของโจทก์ปิดหมายเรียกวันที่ 16 พฤษภาคม 2538 หมายเรียกกำหนดให้จำเลยไปพบคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วันที่ 6 มิถุนายน 2538 เป็นการให้เวลาจำเลยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 32 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดสืบพยานโดยปิดประกาศที่ศาลชอบด้วยกฎหมาย หากการส่งหมายด้วยวิธีปกติไม่สำเร็จ และจำเลยทราบวันนัด
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าศาลชั้นต้นไม่ได้ส่งหมายนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบ แต่ปิดประกาศที่หน้าศาลแทนการส่งหมายตามปกติ จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ เป็นกรณีที่อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 77 อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
ในวันที่ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งให้ส่งประเด็นคืนศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปศาล จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดฟังประเด็นกลับ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งวันนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่เมื่อไม่มีการสืบพยานประเด็นโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะฟังประเด็นกลับหรือไม่ ไม่เป็นผล เสียหายแก่จำเลยที่ 2 เพราะหลังจากนั้นศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ทราบอีก จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่คู่ความที่เสียหายอันจะยกการพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นว่ากล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
คดีนี้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยวิธีปิดหมาย เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีธรรมดาไม่สามารถกระทำได้ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานศาลส่งโดยวิธีอื่นแทน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 เมื่อศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 2 ทราบที่หน้าศาลตลอดมาจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 2 จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวมีผลเช่นเดียวกับการปิดหมาย การนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดสืบพยานโดยปิดประกาศหน้าศาลชอบด้วยกฎหมาย หากจำเลยไม่มาศาล ศาลมีคำสั่งงดสืบพยานได้
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้ส่งหมายนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบ แต่ปิดประกาศแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 ที่หน้าศาลแทนการส่งหมาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 77 อันเป็นเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 จึงไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226
ในวันที่ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งให้ส่งประเด็นคืนศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปศาล จำเลยที่ 2 จึงไม่ทราบวันนัดฟังประเด็นกลับ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งวันนัดฟังประเด็นกลับให้จำเลยที่ 2 ทราบจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แต่เมื่อได้ความว่าไม่มีการสืบพยานประเด็นโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 จะฟังประเด็นกลับหรือไม่ ไม่เป็นผลเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เพราะหลังจากนั้นศาลชั้นต้นได้แจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 ทราบอีก จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่คู่ความที่เสียหายอันจะยกการพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นว่ากล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้สั่งให้ส่งหมายเรียกและสำนวนคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายมาก่อน การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยปิดประกาศไว้ที่หน้าศาลเป็นอีกวิธีการหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 มีผลเช่นเดียวกับการปิดหมายการนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยประกาศหน้าศาลจึงชอบด้วยกฎหมายและเมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันประกาศจึงถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบวันนัดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ณ ภูมิลำเนาที่ถูกต้อง การปิดประกาศที่ภูมิลำเนาเดิมหลังย้ายที่อยู่แล้วไม่ชอบ
ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 แต่ละครั้งนั้นจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ดำเนินการขายทอดตลาดต้องแจ้งประกาศการขายให้จำเลยที่ 3 ทราบ เพื่อจำเลยที่ 3 จะได้มีโอกาสมาดูแลการขายรักษาผลประโยชน์ของตน ปรากฏว่ามีการประกาศขายทรัพย์ของจำเลยที่ 3 รวม 9 ครั้ง ทุกครั้งส่งประกาศให้จำเลยที่ 3 ที่บ้านเลขที่ 17/2 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 3 หลังจากที่บ้านเลขที่ 17/2 ดังกล่าวถูกขายทอดตลาดไปแล้วจำเลยที่ 3 ย้ายที่อยู่ แม้จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ต้องแจ้งการย้ายที่อยู่และที่อยู่ใหม่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 67 (3) หากฝ่าฝืนมีโทษทางอาญาก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจะทำให้จำเลยที่ 3 ยังคงมีภูมิลำเนาตามเดิมตลอดไป ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 3 ต้องเป็นไปตามหลักใน ป.พ.พ. ว่าด้วยภูมิลำเนา เมื่อการส่งประกาศการขายทอดตลาดทรัพย์กระทำเมื่อจำเลยที่ 3 ย้ายถิ่นที่อยู่ไปแล้ว และจำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นคนรับประกาศ และไม่ปรากฏว่าหลักจากการย้ายทะเบียนบ้านแล้วจำเลยที่ 3 ยึดถือบ้านเลขที่ 17/2 ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการในเรื่องใด ดังนั้นขณะที่ปิดประกาศขายทอดตลาดทรัพย์เพื่อให้จำเลยที่ 3 ทราบ ณ บ้านเลขที่ 17/2 นั้น จำเลยที่ 3 ไม่มีภูมิลำเนา ณ บ้านดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการปิดประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ ณ สถานที่ซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 3 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 ประกอบกับ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่แถลงผลการส่งหมายนัดภายในกำหนด และผลของการประทับข้อความ 'ให้มาทราบคำสั่ง'
จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2545 พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2545 จำเลยยื่นคำแถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียมพร้อมกับขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2545 ว่า "รับอุทธรณ์ สำเนาให้โจทก์แก้ให้จำเลยนำส่งภายใน 15 วัน นับแต่วันนี้ ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน" เมื่อคำแถลงของจำเลยฉบับดังกล่าวมีข้อความประทับไว้ว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 20 กันยายน 2545 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" และนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าวต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2545 ทั้งจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามผลการส่งหมายโดยศาลไม่จำเป็นต้องแจ้งผลการส่งหมายให้จำเลยทราบอีก แม้จำเลยจะขอให้ส่งโดยวิธีปิดหมายแต่ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการส่งหมายตามมาตรา 79 ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนนั้นเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งโดยวิธีปิดหมายอยู่ในตัว ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานศาลรายงานว่าได้นำหมายไปส่งให้แก่โจทก์ในวันที่ 20 ตุลาคม 2545 แต่ส่งให้ไม่ได้ การที่จำเลยมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลา 7 วัน ตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ติดตามผลการส่งหมายและการเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล
จำเลยยื่นคำแถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์พร้อมกับขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และให้จำเลยนำส่งให้โจทก์แก้ภายใน 15 วัน หากส่งไม่ได้ให้จำเลยแถลงภายใน 7 วัน เมื่อคำแถลงของจำเลยมีข้อความประทับว่า "ให้มาทราบคำสั่งถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบแล้ว" และทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าว แม้ทนายจำเลยจะไม่มาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งที่ศาลได้สั่งในคำแถลงและในอุทธรณ์ของจำเลยโดยชอบแล้ว ทั้งจำเลยมีหน้าที่ต้องติดตามผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ โดยศาลไม่จำต้องแจ้งผลของการส่งหมายให้จำเลยทราบอีก
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ศาลชั้นต้นมีอำนาจกำหนดวิธีการส่งหมายได้ แม้ว่าในคำแถลงของจำเลยจะขอให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมายก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยวิธีธรรมดาก่อน เท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์โดยวิธีปิดหมายตามที่จำเลยขอ กรณีหาเป็นเรื่องที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ เมื่อเจ้าพนักงานศาลรายงานว่า ได้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์แล้ว แต่ส่งไม่ได้ แต่จำเลยมิได้แถลงต่อศาลเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน ตามคำสั่งศาล จึงถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
of 30