พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณา และการปิดหมายแจ้งคำฟ้องโดยไม่มีพยาน
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 ไปอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่ทราบว่าถูกฟ้อง ถือไม่ได้ว่าจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยการปิดหมายที่ไม่มีพยานรู้เห็นเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การปิดหมายตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการปิดหมาย
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยการปิดหมายที่ไม่มีพยานรู้เห็นเป็นการไม่ชอบนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
การปิดหมายตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ไม่ต้องมีพยานรู้เห็นในการปิดหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถือเป็นการส่งโดยชอบ ผู้รับแทนที่อายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านเดียวกันมีผลผูกพันกับจำเลย
คดีนี้หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ จึงมีผลเสมือนว่าเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ เมื่อ ร. ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านเดียวกันได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2546 ตามรายงานเจ้าหน้าที่และใบตอบรับในประเทศ ย่อมถือได้ว่ามีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 โดยชอบแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 อาจยื่นคำให้การได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 18 พฤษภาคม 2546 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การในวันที่ 29 พฤษภาคม 2546 จึงเป็นการยื่นคำให้การเกินกำหนด 15 วัน ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับเช่นนี้ หาใช่เป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดผ่านทนายความ แม้ทนายขอถอนตัวแต่ศาลยังไม่อนุญาต ถือว่าชอบแล้ว
การที่ ส. ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอนุญาต ทนายจำเลยจึงยังมีฐานะเป็นคู่ความอยู่ แม้หลังจากนั้น ส. ไม่ได้ติดต่อกับจำเลยอีก ก็ไม่ทำให้ ส. พ้นจากการเป็นทนายความของจำเลย เมื่อเจ้าพนักงานศาลนำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปส่งให้ ส. โดยวิธีปิดหมาย จึงเป็นการส่งหมายนัดโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ถือว่า ส. ทนายจำเลยทราบกำหนดนัดแล้ว แม้จะมีการส่งหมายนัดไปให้จำเลยจะมิชอบ ก็ไม่เป็นผลให้การส่งหมายนัดให้ทนายจำเลยไม่ชอบไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินบังคับคดีค้างจ่ายของผู้จัดการมรดกของลูกหนี้สาบสูญ ภายใน 5 ปีนับจากวันที่ทราบสิทธิ
ตาม ป.วิ.พ มาตรา 316, 318 และ 322 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหลังจากมีการจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว คือการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายโดยเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำรายการรับ - จ่าย เสร็จแล้วก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายตามบัญชีนั้นต่อไป ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดียังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติโดยมีคำสั่งหรือดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เช่น ส่งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ให้จำเลยทราบแล้ว จึงจะถือว่าเงินส่วนที่เหลือนั้นเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยร้องขอ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเป็นคนสาบสูญเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 โดยในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลรายงานผลการส่งหมายว่าจำเลยออกไปจากบ้านนานแล้ว ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ขอให้ศาลส่งบัญชีทรัพย์แสดงรายการรับ - จ่ายให้จำเลยทราบพร้อมแจ้งให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือคืน 2 ครั้ง โดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายก็รายงานว่าจำเลยออกจากบ้านไปนานแล้ว ทั้งในขณะนั้นเป็นระยะเวลาที่จำเลยไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้เห็นว่าจำเลยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่อยู่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือแล้วเมื่อผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยเรียกเอาในวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี นับแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่ามีเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับคืนค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องมีสิทธิเรียกเอาได้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยร้องขอ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเป็นคนสาบสูญเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 โดยในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลรายงานผลการส่งหมายว่าจำเลยออกไปจากบ้านนานแล้ว ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ขอให้ศาลส่งบัญชีทรัพย์แสดงรายการรับ - จ่ายให้จำเลยทราบพร้อมแจ้งให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือคืน 2 ครั้ง โดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายก็รายงานว่าจำเลยออกจากบ้านไปนานแล้ว ทั้งในขณะนั้นเป็นระยะเวลาที่จำเลยไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้เห็นว่าจำเลยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่อยู่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือแล้วเมื่อผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยเรียกเอาในวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี นับแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่ามีเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับคืนค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องมีสิทธิเรียกเอาได้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องคดีภาษีอากร การรับเงินค่าขึ้นศาลคืนถือเป็นการสละสิทธิ
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและสั่งคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ โดยแจ้งคำสั่งไม่รับคำฟ้องให้แก่โจทก์โดยวิธีปิดหมายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2544 โจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลภาษีอากรกลางในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 โดยบรรยายความว่า ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์และสั่งคืนค่าขึ้นศาลแก่โจทก์ โจทก์จึงขอรับเงินค่าขึ้นศาลคืน เป็นที่แจ้งชัดว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ไม่รับคำฟ้องตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 แล้ว ประกอบกับโจทก์ได้รับเงินค่าขึ้นศาลคืนจากศาลในวันเดียวกันนั้น แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ดังนั้น หากโจทก์ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 คือภายในวันที่ 19 ธันวาคม 2544 โดยต้องนำค่าขึ้นศาลที่รับคืนไปแล้วกลับมาชำระให้ครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 29
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 19 ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อกรณีไม่มีความจำเป็นจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งนั้น แม้โจทก์จะยื่นอุทธรณ์มาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 19 ศาลภาษีอากรกลางมีอำนาจขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อกรณีไม่มีความจำเป็นจะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งนั้น แม้โจทก์จะยื่นอุทธรณ์มาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175-176/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายโดยวิธีปิดหมาย ณ ภูมิลำเนาชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยอ้างไม่ทราบข้อความก็ฟังไม่ขึ้น หากไม่มีเหตุผลแตกต่างจากครั้งก่อน
การส่งหมายเรียกและหมายนัดให้แก่จำเลยในครั้งก่อน ๆ ล้วนเป็นการส่งโดยวิธีปิดหมายไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสิ้น และทุกครั้งจำเลยก็ไม่เคยโต้แย้งว่ามิได้ทราบข้อความตามหมายเหล่านั้น สำหรับในครั้งนี้ก็เป็นการส่งโดยวิธีปิดหมายเช่นเดียวกัน จึงต้องถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 จำเลยกล่าวอ้างมาในคำร้องและอุทธรณ์ฎีกาเพียงว่า จำเลยไม่เห็นและไม่ทราบคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามหมายนัดดังกล่าว โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเพราะเหตุใดการปิดหมายในครั้งนี้จึงแตกต่างจากครั้งก่อน ๆ แม้มีผู้ใดรับหมายไว้แทนจำเลย จำเลยก็อาจบ่ายเบี่ยงอีกว่าผู้รับหมายไว้แทนไม่ได้นำหมายไปมอบให้จำเลย กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลยและมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์เสียนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดพิจารณาคดี การปิดประกาศแจ้งวันนัดต้องมีระยะเวลา 15 วันจึงจะมีผล การสั่งยกฟ้องโจทก์เนื่องจากไม่นำสืบพยานจึงไม่ชอบ
การปิดประกาศแจ้งวันนัดที่หน้าศาลจะมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วันนับตั้งแต่ปิดประกาศได้ล่วงพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคสอง เมื่อปิดประกาศวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 จึงมีผลเป็นการแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยชอบนับตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2544 ดังนั้น ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2544 แม้จำเลยไม่มาศาล หากโจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งเลื่อนคดีไปเพื่อแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยชอบเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลและให้ยกฟ้องของโจทก์เพราะโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 ทวิ วรรคห้า จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่มิชอบ กรณีภูมิลำเนาเปลี่ยนแปลงและสถานที่ถูกทำลาย
โจทก์ยื่นคำฟ้องโดยระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาที่บ้านเลขที่ 1125-1127 ถนนเพชรบุรีซึ่งบ้านเลขที่ดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าถูกไฟไหม้จากการทำละเมิดของลูกจ้างจำเลยดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องโจทก์ไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าว ส่วนทนายโจทก์ก็ระบุที่อยู่ไว้ท้ายคำฟ้องเพียงแห่งเดียวว่าอยู่บ้านเลขที่ 26 อาคาร 5 ถนนราชดำเนินกลางแต่ภายหลังจากยื่นคำฟ้องแล้ว ทนายโจทก์ได้ดำเนินคดีต่อมา โดยยื่นคำร้อง คำขอ และคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ระบุว่าทนายโจทก์อยู่บ้านเลขที่ 1895/87 ถนนพหลโยธินและบ้านเลขที่ 387/368 ถนนเตชะวณิชย์ สลับกันไปมา จึงเชื่อว่าทนายโจทก์ได้ย้ายจากภูมิลำเนาเดิมตามคำฟ้องไปแล้วก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายโจทก์ตามภูมิลำเนาเดิมของทนายโจทก์โดยวิธีปิดหมาย จึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบแล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งเลื่อนวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไป วันที่ 18 สิงหาคม 2541 โดยให้ประกาศแจ้งวันนัดแก่ทนายโจทก์ทราบโดยปิดประกาศที่หน้าศาลนั้น เป็นการไม่ชอบและถือว่าทนายโจทก์ยังไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอตรวจสำนวนและขอถ่ายสำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 28ตุลาคม 2541 แต่โจทก์ก็ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังใหม่ และศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำร้อง จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบในวันที่ 28 ตุลาคม 2541 แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังใหม่เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2542 การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งใหม่จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยการเสียบไว้ที่มือจับประตูเหล็กยืดไม่ถือเป็นการปิดเอกสารโดยชอบ จำเลยไม่จงใจขาดนัด
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไปโดยง่าย การที่เจ้าพนักงานศาลเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง กับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลย ซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบ ดังนั้นเมื่อยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ชอบที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้จำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง หมายถึงการนำคู่ความหรือเอกสารไปติดไว้ที่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ซึ่งต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไปโดยง่าย ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลยซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย จึงไม่อาจถือว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบตามบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาคดีใหม่