พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9131/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและคำบังคับที่ภูมิลำเนาบริษัท และการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่เกินกำหนด
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 68 บัญญัติให้ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นภูมิลำเนาของบริษัท จำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 385/1 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก กรุงเทพฯ ศาลชั้นต้นสั่งให้ปิดหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและคำบังคับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว แม้พนักงานเดินหมายจะรายงานว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดใส่กุญแจ และเมื่อสอบถามบุคคลที่อยู่บ้านข้างเคียงก็ได้ความว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดอยู่นานแล้วและไม่มีผู้ใดรู้จักบริษัทจำเลยก็ตาม ก็ยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นจริงตามนั้น ดังนั้นในเบื้องต้นต้องถือว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง รวมทั้งการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ถ้าจำเลยประสงค์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่การส่งคำบังคับมีผล ถ้าไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง จำเลยอ้างว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนฟ้อง จำเลยจึงไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันเป็นการอ้างว่าไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับให้จำเลยมีผลเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง คือวันที่ 25 มีนาคม 2542 อันเป็นวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่งกำหนด คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ
ถ้าจำเลยประสงค์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่การส่งคำบังคับมีผล ถ้าไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง จำเลยอ้างว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนฟ้อง จำเลยจึงไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันเป็นการอ้างว่าไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับให้จำเลยมีผลเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง คือวันที่ 25 มีนาคม 2542 อันเป็นวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่งกำหนด คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำคู่ความที่ผิดระเบียบและการเพิกถอนกระบวนพิจารณาหลังมีคำพิพากษา
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 บัญญัติขึ้นใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้น มิอาจใช้แก่กรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและมีคำสั่งว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แต่เมื่อได้ความว่าผู้คัดค้านมีภูมิลำเนาที่แน่นอน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องงดส่งสำเนาคำร้องขอให้แก่ทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดเนื่องจากเชื่อตามคำแถลงของผู้ร้องซึ่งไม่เป็นความจริงโดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(2) จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นมีความเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีเหตุยกคดีขึ้นพิจารณาอีกนั้น ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด หรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7380/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดวันสืบพยานก่อนครบกำหนดเวลายื่นคำให้การ ถือเป็นกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะเข้าใจผิดเรื่องวันนัด
++ เรื่อง ประกันภัย ละเมิด รับช่วงสิทธิ (ชั้นขอให้พิจารณาใหม่) ++
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (10) "วันสืบพยาน" หมายความว่าวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน
โจทก์ยื่นคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันให้รับฟ้องและนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เวลา 9 นาฬิกา เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยได้โดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน2541 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การได้ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2541 ฉะนั้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นวันสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้นแม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ได้เพราะยังไม่พ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้เลื่อนคดีเพื่อรอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลายื่นคำให้การหากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ วันที่ 21 กรกฎาคม2541 จึงมิใช่ "วันสืบพยาน" ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้ไปศาลในวันดังกล่าวโดยเข้าใจว่าวันนัดคลาดเคลื่อนไปเพราะความผิดพลาดของโจทก์ แต่ก็เป็นคนละเหตุที่จะให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงถูกต้องแล้ว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (10) "วันสืบพยาน" หมายความว่าวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน
โจทก์ยื่นคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันให้รับฟ้องและนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เวลา 9 นาฬิกา เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยได้โดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน2541 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การได้ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2541 ฉะนั้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นวันสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้นแม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ได้เพราะยังไม่พ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้เลื่อนคดีเพื่อรอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลายื่นคำให้การหากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ วันที่ 21 กรกฎาคม2541 จึงมิใช่ "วันสืบพยาน" ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้ไปศาลในวันดังกล่าวโดยเข้าใจว่าวันนัดคลาดเคลื่อนไปเพราะความผิดพลาดของโจทก์ แต่ก็เป็นคนละเหตุที่จะให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนา การขาดนัดยื่นคำให้การ และการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานเดินหมายได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งห้าตามหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทั้งนี้หนังสือรับรองและ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรดังกล่าวเป็นหลักฐานเบื้องต้นของทางราชการที่แสดงว่าจำเลยทั้งห้ามีถิ่นอยู่อันเป็นภูมิลำเนา ณ ที่นั้น จำเลยทั้งห้าจึงมีหน้าที่นำสืบว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามหลักฐานดังกล่าวแต่พยานหลักฐานจำเลยทั้งห้าฟังไม่ได้ว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามหลักฐานดังกล่าวไปแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งห้ายังคงมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือรับรองและแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งห้า ณ ภูมิลำเนาดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดถือว่าจำเลยทั้งห้าขาดนัดยื่นคำให้การ
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาที่แน่นอนตามสถานที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศหน้าศาลแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 โดยไม่ได้ส่งหมายโดยวิธีธรรมดาก่อนจึงไม่ชอบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 5 ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังไม่ได้ ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
การส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นั้นไม่พบจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงทำการปิดหมายไว้ เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาล จึงเป็นกรณีมิอาจติดต่อส่งหมายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยวิธีธรรมดาได้ ที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศแจ้งวันนัดสืบพยานให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่หน้าศาลจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาที่แน่นอนตามสถานที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศหน้าศาลแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 โดยไม่ได้ส่งหมายโดยวิธีธรรมดาก่อนจึงไม่ชอบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 5 ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังไม่ได้ ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
การส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นั้นไม่พบจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงทำการปิดหมายไว้ เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาล จึงเป็นกรณีมิอาจติดต่อส่งหมายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยวิธีธรรมดาได้ ที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศแจ้งวันนัดสืบพยานให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่หน้าศาลจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049-7057/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องยื่นภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งขาดนัด การส่งหมายเรียกโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เท่านั้น
ศาลแรงงานมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วได้กำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยยอมรับในคำร้องว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ในหนังสือจดทะเบียนของจำเลย จึงเป็นที่ตั้งสำนักงานอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 68, 1111 แม้จำเลยจะมีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 33 ก็เป็นกรณีจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง การส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยการปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 แล้วเมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 การที่จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง
ศาลแรงงานมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วได้กำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยยอมรับในคำร้องว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ในหนังสือจดทะเบียนของจำเลย จึงเป็นที่ตั้งสำนักงานอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 68, 1111 แม้จำเลยจะมีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 33 ก็เป็นกรณีจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง การส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยการปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 แล้วเมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 การที่จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049-7057/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกคดีแรงงานโดยการปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง การยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาต้องภายใน 7 วัน
ศาลแรงงานมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธี ปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 อันเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 เมื่อจำเลยยอมรับในคำร้องว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ในหนังสือจดทะเบียนของจำเลยจึงเป็นที่ตั้งสำนักงานอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68,1111 แม้จำเลย จะมีที่ทำการอยู่ที่บ้านเลขที่ 33 ก็เป็นกรณีจำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่งการส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยการปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 106/33 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 ประกอบ มาตรา 79 ต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มาและศาลแรงงานได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของ โจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด แต่จำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิธีปิดหมายแจ้งคดี: การแสดงให้เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน
การปิดหมายจะกระทำด้วยวิธีใด เช่น การใช้เชือกผูกการตอกตะปู การแปะติดไว้ หรือวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่จะต้องแสดงไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสารนั้น เพื่อให้ผู้รับแจ้งทราบว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีหรือมีกระบวนพิจารณาใดที่จะต้องปฏิบัติหรือรับทราบ ก็ถือได้ว่าเป็นการปิดหมายโดยชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและหมายนัดพิจารณาโดยชอบ การปิดหมาย ณ สำนักทำการงานของจำเลย ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
การปิดหมายจะกระทำด้วยวิธีใด เช่น การใช้เชือกผูกการตอกตะปู การแปะติดไว้หรือวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่จะต้องแสดงไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคำคู่ความหรือเอกสารนั้น เพื่อให้ผู้รับแจ้งทราบว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีหรือมีกระบวนพิจารณาใดที่จะต้องปฏิบัติหรือรับทราบ ก็ถือได้ว่าเป็นการปิดหมายโดยชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9034/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดประกาศขายทอดตลาดโดยชอบตามกฎหมาย และการสมยอมกันเพื่อยึดทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับให้ต้องมีพยานในการปิดประกาศแต่อย่างใด และการปิดประกาศกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร ทั้งไม่มีระเบียบในเรื่องนี้ไว้ จึงอยู่ในดุลพินิจของผู้ส่งให้เหมาะสมกับสถานที่ที่จะปิด ซึ่งต้องเป็นที่เปิดเผยให้เห็นได้ง่าย ไม่จำต้องใช้กาวปิดไว้เสมอไป ทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานคำว่า "ปิด" หมายถึง กันหรือกั้นไว้ไม่ให้เผยออกหรือกั้นไว้ให้เข้าออกไม่ได้ หรือทำให้หยุด เช่น ปิดพัดลม ปิดวิทยุ ดังนี้การปิดประกาศจึงมิได้มีเฉพาะต้องใช้กาวทาปิดแต่เพียงวิธีเดียว การนำลวดผูกติดไว้กับประกาศดังกล่าวจึงเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่ง แล้ว ในการขายทอดตลาดมีผู้เข้าสู้ราคาโดยชอบ แม้จะเพียง 2 คน คือจำเลยกับผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่ก็ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตหรือฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใดทั้งจำนวนเงินที่ขายได้1,120,000 บาท ก็สูงกว่าราคาประเมินซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ แม้จะต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินหรือต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันทั่วไปก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาของการขายทอดตลาดการขายทอดตลาดทรัพย์ในราคาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8837/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาใหม่หลังขาดนัด: เหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถควบคุม และการกล่าวอ้างข้อคัดค้านชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินจำนวน 12,000,000บาท ไปจากโจทก์ โดยออกเช็คล่วงหน้าผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ แต่เช็คทั้งหมดที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงยังมิได้รับชำระหนี้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยระบุในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงินและไม่เคยสั่งจ่ายเช็คล่วงหน้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์ สัญญากู้เงินที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นสัญญาปลอมที่โจทก์ได้ทำขึ้นเอง ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลแล้ว หาใช่เป็นเพียงการคาดคะเนไม่ คดีนี้ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 คำบังคับจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 และตามคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยก็บรรยายไว้ว่าจำเลยเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2540 อันเป็นการแสดงให้ปรากฏแล้วว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลง คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 แล้ว