คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 79

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดพิจารณาคดีโดยวิธีปิดประกาศที่ไม่ชอบตามกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิในการพิจารณาคดีของโจทก์ร่วม
คดีอาญา ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบพยานโจทก์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่โจทก์ขอ โจทก์ร่วมแถลงไม่ตามประเด็นไป ศาลอาญากรุงเทพใต้สืบพยานประเด็นโจทก์แล้วส่งประเด็นคืน ศาลชั้นต้นนัดฟังประเด็นกลับตามวันเวลานัดที่ผู้แทนโจทก์และจำเลยขอ และนัดสืบพยานจำเลยโดยโจทก์ร่วมไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยในวันนัดดังกล่าวและคดีเสร็จการพิจารณา จึงนัดฟังคำพิพากษา ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นยังทำคำพิพากษาไม่เสร็จจึงเลื่อนคดีไป ทั้งนี้ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยและวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวแต่ละครั้งให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล เมื่อการส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาให้แก่คู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 15 ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้ว ถ้ายังสามารถส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีธรรมดาได้ การส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีอื่นตามมาตรา 79 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยก็ดี วันนัดฟังคำพิพากษาก็ดีให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาลโดยไม่ได้ดำเนินการส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีธรรมดาก่อน ทั้ง ๆที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วมมีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนชัดแจ้ง แม้วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์นัดแรกที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตัวโจทก์ร่วมไปศาลก็ตาม แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็เลื่อนคดีไปเนื่องจากไม่มีพยานโจทก์มาศาล หลังจากนั้นโจทก์ร่วมไม่ได้ไปศาลอีก กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทราบวันนัดดังกล่าว กรณีมีเหตุอนุญาตให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 15 วัน ตามคำร้องของโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดโดยปิดประกาศที่ไม่ชอบ ศาลต้องส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาก่อน หากทราบที่อยู่คู่ความ
การส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดา ให้แก่คู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 นั้น ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดย วิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้วการที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยกับวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ร่วมทราบโดยปิดประกาศไว้ที่หน้าศาลโดยมิได้ส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีธรรมดาก่อนทั้ง ๆ ที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วมมีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนอย่างชัดแจ้ง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 2 เมษายน 2540 แล้วกรณีมีเหตุอนุญาตให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันยื่นคำร้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีโดยวิธีปิดประกาศไม่ชอบ หากยังส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาได้
คดีอาญา ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบพยานโจทก์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่โจทก์ขอ โจทก์ร่วมแถลงไม่ตาม ประเด็นไป ศาลอาญากรุงเทพใต้สืบพยานประเด็นโจทก์ แล้วส่งประเด็นคืน ศาลชั้นต้นนัดฟังประเด็นกลับตามวันเวลานัด ที่ผู้แทนโจทก์และจำเลยขอ และนัดสืบพยานจำเลยโดยโจทก์ร่วม ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยในวันนัดดังกล่าวและคดีเสร็จ การพิจารณา จึงนัดฟังคำพิพากษา ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นยังทำ คำพิพากษาไม่เสร็จจึงเลื่อนคดีไป ทั้งนี้ศาลชั้นต้นแจ้ง วันนัดสืบพยานจำเลยและวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวแต่ละครั้ง ให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล เมื่อการส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาให้แก่คู่ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 15 ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้ว ถ้ายัง สามารถส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีธรรมดาได้ การส่งหมายนัด ให้แก่คู่ความโดยวิธีอื่นตามมาตรา 79 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยก็ดี วันนัดฟัง คำพิพากษาก็ดีให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล โดยไม่ได้ดำเนินการส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบ โดยวิธีธรรมดาก่อน ทั้ง ๆ ที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วม มีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนชัดแจ้ง แม้วันนัดสืบพยาน ประเด็นโจทก์นัดแรกที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตัวโจทก์ร่วม ไปศาลก็ตาม แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็เลื่อนคดีไปเนื่องจาก ไม่มีพยานโจทก์มาศาล หลังจากนั้นโจทก์ร่วมไม่ได้ไปศาลอีก กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทราบวันนัดดังกล่าว กรณีมีเหตุอนุญาต ให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 15 วัน ตามคำร้องของโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก/สำเนาคำฟ้องไปยังภูมิลำเนาหลายแห่งของผู้ถูกฟ้อง การจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
แม้จำเลยกับครอบครัวอยู่อาศัยที่บ้านเลขที่ 303/5 จังหวัดกาญจนบุรี แต่หลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องแล้วได้มีการออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย ณ บ้านเลขที่ 1/1 จังหวัดนครปฐม ที่จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้อง จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ด้วยตนเอง โดยจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านหลังนี้และในการนัดสืบพยานโจทก์พนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นนำหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านหลังนี้อีก แต่ไม่พบจำเลย สอบถามหญิงในบ้านอายุประมาณ30 ปี แจ้งว่าจำเลยไปต่างจังหวัด ไม่ยอมรับหมายไว้แทน พนักงานเดินหมายจึงปิดหมายตามคำสั่งศาล โดยไม่ปรากฏว่ามีการปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านหลังนี้แต่อย่างใด เชื่อได้ว่าจำเลยอยู่อาศัยที่บ้านหลังดังกล่าวนี้ด้วย และถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป ดังนั้น บ้านที่ระบุในคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลย การที่พนักงานเดินหมายนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 1/1 จังหวัดนครปฐม อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้อง จึงเป็นการส่งหมายนั้น ๆ ให้แก่จำเลยทราบโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจำเลยจึงไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกไปยังภูมิลำเนาหลายแห่ง การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ทำให้ไม่สามารถขอพิจารณาใหม่ได้
แม้จำเลยกับครอบครัวอยู่อาศัยที่บ้านเลขที่ 303/5จังหวัดกาญจนบุรี แต่หลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องแล้วได้มีการออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยณ บ้านเลขที่ 1/1 จังหวัดนครปฐม ที่จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ด้วยตนเองโดยจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านหลังนี้และในการนัดสืบพยานโจทก์พนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นนำหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านหลังนี้อีก แต่ไม่พบจำเลย สอบถามหญิงในบ้านอายุประมาณ 30 ปี แจ้งว่าจำเลยไปต่างจังหวัดไม่ยอมรับหมายไว้แทน พนักงานเดินหมายจึงปิดหมายตามคำสั่งศาล โดยไม่ปรากฏว่ามีการปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านหลังนี้แต่อย่างใด เชื่อได้ว่าจำเลยอยู่อาศัยที่บ้านหลังดังกล่าวนี้ด้วย และถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป ดังนั้น บ้านที่ระบุในคำฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยการที่พนักงานเดินหมายนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 1/1จังหวัดนครปฐม อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้องจึงเป็นการส่งหมายนั้น ๆ ให้แก่จำเลยทราบโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและไม่ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจำเลยจึงไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาคดี
จำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้ คดีตั้งแต่แรกในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ ทนายความ ของจำเลยที่ 3 ก็มาศาลโดยสม่ำเสมอโดยมิได้ทอดทิ้งคดี ครั้นถึงวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลย ทนายความ ของจำเลยที่ 3 ไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นก็คงให้สืบพยาน เฉพาะของจำเลยที่ 1 เท่านั้น แล้วมีคำสั่งให้เลื่อนไป นัดสืบพยานจำเลยที่ 3 แต่ปรากฏว่าทนายความจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรมเสียก่อนถึงวันนัด จำเลยที่ 3 และทนายความ ของจำเลยที่ 3 ต่างมีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานที่แน่นอน ดังนั้นการแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ให้ฝ่าย จำเลยที่ 3 ทราบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 หรือของทนายความของจำเลยที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นการส่ง โดยวิธีธรรมดาก่อน ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 บัญญัติไว้ ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศ แจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ไว้ที่หน้าศาล เพื่อให้จำเลยที่ 3 ทราบแทนนั้น จึงเป็นการกระทำ ที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 การประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 3 ทราบไม่ชอบอันมีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย อีกทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้ว ประกอบกับเพื่อ ที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม การที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้วพิพากษา คดีใหม่ต่อไป จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติให้อำนาจไว้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนา หรือสำนักทนายความ
จำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดีตั้งแต่แรกในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ ทนายความของจำเลยที่ 3 ก็มาศาลโดยสม่ำเสมอโดยมิได้ทอดทิ้งคดี ครั้นถึงวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลย ทนายความของจำเลยที่ 3ไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นก็คงให้สืบพยานเฉพาะของจำเลยที่ 1 เท่านั้น แล้วมีคำสั่งให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 แต่ปรากฏว่าทนายความจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรมเสียก่อนถึงวันนัด จำเลยที่ 3 และทนายความของจำเลยที่ 3 ต่างมีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานที่แน่นอน ดังนั้นการแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ให้ฝ่ายจำเลยที่ 3 ทราบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 หรือของทนายความของจำเลยที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นการส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 74 บัญญัติไว้ ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ไว้ที่หน้าศาลเพื่อให้จำเลยที่ 3ทราบแทนนั้น จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 79
การประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 3 ทราบไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย อีกทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้ว ประกอบกับเพื่อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้วพิพากษาคดีใหม่ต่อไป จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 27 บัญญัติให้อำนาจไว้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การส่งหมายนัดไปยังทนายความหรือจำเลยโดยวิธีธรรมดา
จำเลยที่ 3 ได้แต่งตั้งทนายความเข้ามาต่อสู้คดีตั้งแต่แรก ในชั้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ ทนายความของจำเลยที่ 3 ก็มาศาลโดยสม่ำเสมอโดยมิได้ทอดทิ้งคดี ครั้นถึงวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลย ทนายความของจำเลยที่ 3 ไม่มาศาล แต่ศาลชั้นต้นก็คงให้สืบพยานเฉพาะของจำเลยที่ 1 เท่านั้น แล้วมีคำสั่ง ให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 แต่ทนายความจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรม เสียก่อนถึงวันนัด จำเลยที่ 3 และทนายความของจำเลยที่ 3 ต่างมี ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานที่แน่นอน ดังนั้น การแจ้งวันนัดพิจารณา สืบพยานจำเลยที่ 3 ให้ฝ่ายจำเลยที่ 3 ทราบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะ ส่งหมายนัดไปยังภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 3 หรือ ของทนายความของจำเลยที่ 3 ซึ่งถือว่าเป็นการส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 บัญญัติไว้ การที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ประกาศแจ้งวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 ไว้ที่ หน้าศาลเพื่อให้จำเลยที่ 3 ทราบแทน จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอน ของกฎหมาย ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 มีผลทำให้กระบวนพิจารณาต่าง ๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย อีกทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ทราบนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยที่ 3 แล้ว ประกอบกับเพื่อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม การที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการ สืบพยานจำเลยที่ 3 แล้วพิพากษาคดีใหม่ต่อไป จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ เห็นสมควรตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 บัญญัติ ให้อำนาจไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยย้ายภูมิลำเนา แต่ยังมีความเกี่ยวข้องกับภูมิลำเนาเดิม
ในการส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้จำเลยที่ 1 ครั้งแรกนั้น เจ้าพนักงานศาลส่งไม่ได้ โจทก์จึงขอให้ส่งใหม่โดยปิดหมายซึ่งในครั้งหลัง เจ้าพนักงานศาลระบุว่า ไม่พบผู้รับตามหมาย คนในบ้านแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ไปธุระและไม่มีผู้รับหมายไว้แทนจึงปิดหมายตามคำสั่งศาล แสดงว่าคนในบ้านยอมรับว่าจำเลยที่ 1 ยังคงอยู่ที่บ้านตามภูมิลำเนาที่โจทก์ระบุในฟ้องที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้ย้ายภูมิลำเนาโดยมี ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 2 ย้ายไปอยู่ที่เดียวกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏเหตุผลในการย้ายของจำเลยที่ 1 และ ส. ทั้งที่บริษัทจำเลยที่ 2 ยังมิได้จดทะเบียนเลิกกิจการและมิได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ผู้ถือหุ้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนาเดิมของตน การส่งหมายเรียกสำเนาฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดหมายจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงทราบว่าตนถูกฟ้องแล้วตั้งแต่เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7527/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยปิดหมายที่ภูมิลำเนาและการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ/ไม่มาศาล การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายณ บ้านที่จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ซึ่งเป็นหลักฐานเบื้องต้นของทางราชการที่แสดงว่า จำเลยมีถิ่นที่อยู่อันเป็นภูมิลำเนา ณ ที่นั้น ก่อนถูกฟ้องจำเลยก็เคยได้รับหนังสือจากทนายความให้เปิดทางเดินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายเรียกได้ปิดหมายเรียกไว้ที่ประตูไม้ทางเข้าบ้าน คนเดินผ่านสามารถมองเห็นได้ชัด การที่จำเลยไม่ได้อาศัยในบ้านหลังที่จำเลยมีชื่อในทะเบียนบ้าน และจำเลยยังทราบว่าอาจถูกฟ้องเนื่องจากได้รับหนังสือทนายความให้เปิดทางเดิน และจำเลยก็ไปเก็บค่าเช่าที่บ้านเลขที่ดังกล่าวเดือนละ 5 ถึง 6 ครั้ง จำเลยน่าจะให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่จำเลยกลับไม่เอาใจใส่ กรณีถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 20 ธันวาคม 2536 และแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบโดยการปิดหมายในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ในวันนัดดังกล่าวไป เมื่อเป็นการสืบพยานโจทก์โดยไม่ให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 184 วรรคสองศาลฎีกาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานโจทก์เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วย มาตรา 247
of 30