คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 79

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารผิดแบบ และการมอบอำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทได้ปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลน ที่ได้รับอนุญาตโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง และดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตามแบบแปลนแล้ว แต่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง โจทก์จึงมีคำสั่งให้จำเลย รื้อถอนอาคารพิพาทส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบแปลน เป็นการแสดงแจ้งชุดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วส่วนที่ว่า พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ได้บังคับใช้แก่อาคารที่มีการก่อสร้าง จริงก่อน พ.ศ. 2522 หรือไม่นั้นโจทก์ไม่จำต้องบรรยาย มาในฟ้อง เพราะเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบ ได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มิได้หมายถึงตัวบุคคล หากแต่เป็นตำแหน่งในการบริหารกรุงเทพมหานคร ซึ่งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและบริหารราชการ ของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมายตามมาตรา 49(1)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การดำเนินการในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งอำนาจ หน้าที่ดังกล่าว และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครตามมาตรา 4,8(11) และ 14 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 การที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าเขต (ผู้อำนวยการเขตในปัจจุบัน) ปฏิบัติราชการแทนจึงเป็นการมอบอำนาจโดยชอบ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 และคำสั่งนี้ยังมีผลใช้บังคับได้จนกว่าจะมี การยกเลิกหรือออกคำสั่งใหม่ตามมาตรา 81 วรรคสามประกอบมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 หาใช่เป็นอำนาจเฉพาะตัวที่ไม่สามารถมอบอำนาจได้และมีวาระ หรือ ต้องมอบอำนาจกันอีกไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง หลังจากจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแล้ว จำเลยได้ย้ายภูมิลำเนาไปหลายแห่งเนื่องจากต้องการหนีความผิดโจทก์จึงปิดคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง คำสั่งให้ดำเนินการแก้ไข และคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวไว้ที่หน้าอาคารพิพาท ของจำเลยโดยมีเจ้าหน้าที่ปกครอง 3 งานเทศกิจ เป็นพยาน เมื่ออาคารพิพาทนี้เป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่ง ของจำเลยจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้รับทราบคำสั่ง ให้รื้อถอนอาคารพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยปิดหมายและการนับระยะเวลาในการยื่นคำให้การในคดีภาษีอากร
คำสั่งของศาลภาษีอากรที่สั่งในคำฟ้องของโจทก์ในต้อนต้นที่ว่า "รับคำฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่งภายใน7 วัน" เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรสั่งว่าในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ส่วนคำสั่งศาลภาษีอากรที่สั่งต่อไปว่า "เนื่องจากจำเลยเป็นหน่วยราชการมีภูมิลำเนาแน่นอนการส่งหากไม่มีผู้รับให้ปิด" นั้น เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรได้สั่งไว้เป็นการล่วงหน้าว่า หากส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ ก็ให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคแรก โดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ณ สถานที่ทำการของจำเลย เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยแล้ว เจ้าหน้าที่งานสารบรรณของจำเลยไม่เต็มใจรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ เท่ากับว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาไม่อาจทำได้ เจ้าพนักงานศาลจึงปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการของจำเลย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 ดังนี้ จึงเป็นการส่งโดยวิธีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคแรก มิได้เป็นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตามข้อความในคำสั่งศาล ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 เมื่อศาลภาษีอากรมิได้กำหนดระยะเวลาการปิดหมายไว้ว่าจะให้มี ผลใช้ได้เมื่อใด ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสองการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยการปิดหมายในคดีนี้ จึงมี ผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่ วันปิดหมาย คือมีผลเมื่อพ้นวันที่ 9 ธันวาคม 2540 จำเลย ยื่นคำให้การเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2540 จึงเป็นการยื่น คำให้การภายในกำหนดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่หน่วยราชการโดยวิธีปิดหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 การนับระยะเวลาให้มีผลใช้ได้
คำสั่งของศาลภาษีอากรที่สั่งในคำฟ้องของโจทก์ในตอนต้นที่ว่า"รับคำฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน" เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรสั่งว่าในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อน ส่วนคำสั่งศาลภาษีอากรที่สั่งต่อไปว่า "เนื่องจากจำเลยเป็นหน่วยราชการมีภูมิลำเนาแน่นอนการส่งหากไม่มีผู้รับให้ปิด" นั้น เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรได้สั่งไว้เป็นการล่วงหน้าว่า หากส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยวิธีธรรมดาไม่สามารถที่จะทำได้ ก็ให้เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคแรก โดยการปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการของจำเลย เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยแล้ว เจ้าหน้าที่งานสารบรรณของจำเลยไม่เต็มใจรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ เท่ากับว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดาไม่อาจทำได้ เจ้าพนักงานศาลจึงปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ สถานที่ทำการของจำเลย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540ดังนี้ จึงเป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคแรก มิได้เป็นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตามข้อความในคำสั่งศาล ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 76 เมื่อศาลภาษีอากรมิได้กำหนดระยะเวลาการปิดหมายไว้ว่าจะให้มีผลใช้ได้เมื่อใด ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยการปิดหมายในคดีนี้ จึงมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่วันปิดหมาย คือมีผลเมื่อพ้นวันที่ 9 ธันวาคม 2540 จำเลยยื่นคำให้การเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2540 จึงเป็นการยื่นคำให้การภายในกำหนดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย สำนักงานทนายความเลิกกิจการแล้ว
หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้อง ของ จำเลยที่ 1 และที่ 2ว่าสำนักงานของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามที่พนักงานเดินหมายไปปิดหมายนั้นได้เลิกประกอบกิจการไปนานแล้ว ไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ในสำนักงานดังกล่าว ซึ่งพนักงานเดินหมาย ก็ทราบดี จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่อาจทราบเรื่องหมายนัด ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการ ไต่สวนให้ได้ความว่าการส่งหมายนัดดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 ชอบแล้วหรือไม่ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดหมายที่สำนักงานในอาคารสูง และการจงใจขาดนัด
อาคารที่ตั้งสำนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นตึกสูง 20 ชั้นในอาคารนั้นเป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทอื่น ๆ ประมาณ50 บริษัท สำนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ที่ชั้น 19ซึ่งตามปกติพนักงานของศาลที่ไปส่งหมายต่าง ๆ ให้บริษัทจำเลยที่ 1 จะปิดหมายไว้ที่บริเวณใกล้ตู้โทรศัพท์ซึ่งเป็นทางเดินเล็ก ๆ ไปยังห้องน้ำอยู่แล้ว ดังนั้น ที่พนักงานเดินหมายของกรมบังคับคดีนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องซึ่งได้กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1โดยการปิดไว้ชั้นล่างของอาคารดังกล่าว จึงเป็นวิธีปฏิบัติตามปกติในการส่งหมายให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ย้ายภูมิลำเนาไปที่อื่น การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนการแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการปิดคำคู่ความและเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่งแล้วเมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับได้ทราบถึงวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดและไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์โดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดีจึงเป็นการจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดโดยชอบตามภูมิลำเนาเดิม แม้มีการย้ายภูมิลำเนาแล้ว แต่ไม่แจ้งให้ศาลทราบ
จำเลยที่ 2 อ้างเหตุในคำขอให้พิจารณาใหม่ว่า จำเลยที่ 2ไม่เคยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์ เพราะได้ย้ายไปจากภูมิลำเนาตามฟ้องตั้งแต่ปี 2536 แล้ว ซึ่งหากได้ความตามคำร้องดังกล่าว การส่งหมายนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดหมายก็ย่อมไม่ชอบ มีผลทำให้การสืบพยานประเด็นโจทก์และนัดต่อ ๆ มาจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบถือว่าจำเลยที่ 2 มิได้ทราบวันนัดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษากรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2จะมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 225 เพราะเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการที่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่จะยังให้การไปโดยยุติธรรม แต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 207/23-24 ถนนอ่อนนุชและในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม ดังนี้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาเป็นเลขที่ 300/46 ถนนอ่อนนุชก็ตาม แต่ตามเอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่ใหม่ตั้งแต่เมื่อใด เมื่อจำเลยที่ 2ไม่นำสืบให้ปรากฏชัด ทั้งไม่เคยแจ้งการย้ายภูมิลำเนาไปที่ใหม่ให้ศาลทราบจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิมตามฟ้อง ฉะนั้น การส่งหมายนัดไปให้จำเลยที่ 2และนัดต่อ ๆ มาจนถึงนัดฟังคำพิพากษาโดยวิธีการใดก็ตามย่อมถือว่าเป็นการส่งให้จำเลยที่ 2 โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดและการแจ้งการขายโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายนี้ ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อได้และชำระเงินค่าซื้อทรัพย์แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงศาลชั้นต้นขอให้แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนองแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนระงับการจำนองพร้อมกับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เรียบร้อยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2535 แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำเงินที่ได้จากขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ก่อนจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน ดังนั้นขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว และเมื่อจำเลยทราบว่าการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 ยังอยู่ในระยะเวลาแปดวัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์แถลงว่าไม่สามารถสืบหาที่อยู่ของจำเลยในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ จึงขออนุญาตศาลส่งโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งศาลอนุญาตและในการนัดสืบพยานโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์จึงชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 79 แล้ว
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไม่ให้โจทก์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเมื่อราคาทรัพย์ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินพอสมควร ทั้งไม่ปรากฏว่าการบังคับคดีไม่สุจริตอย่างไร การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: การแจ้งการขาย การคัดค้าน และความชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายนี้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อและชำระเงินค่าซื้อทรัพย์แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงศาลชั้นต้น ขอให้แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนองแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนระงับการจำนองพร้อมกับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เรียบร้อยเมื่อวันที่11 พฤษภาคม 2535 แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำเงินที่ได้จากขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ก่อนจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน ดังนั้นขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว และเมื่อจำเลยทราบว่าการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่21 พฤษภาคม 2535 ยังอยู่ในระยะเวลาแปดวัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์แถลงว่า ไม่สามารถสืบหาที่อยู่ของจำเลยในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่ จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ จึงขออนุญาตศาลส่งโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งศาลอนุญาตและในการนัดสืบพยานโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 แล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไม่ให้โจทก์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเมื่อราคาทรัพย์ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินพอสมควร ทั้งไม่ปรากฏว่าการบังคับคดีไม่สุจริตอย่างไร การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาชอบด้วยกฎหมาย การส่งคำบังคับโดยชอบ แม้จำเลยย้ายที่อยู่ภายหลัง
ในการทำสัญญาจำนองที่ดินแก่โจทก์ จำเลยที่ 4 แจ้งที่อยู่ลงในสัญญาจำนองว่าอยู่บ้านเลขที่ 483/2-3 ถนนศรีอยุธยาแขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร และโจทก์ก็บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 4 มีที่อยู่ดังกล่าว โดยโจทก์ได้ยื่นสำเนาทะเบียนบ้านที่คัดรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันยื่นฟ้อง 3 วัน ก็ปรากฎว่าจำเลยที่ 4มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวพร้อมบุตรผู้เยาว์ 2 คนอายุ 2 ปี และ 4 ปี การที่จำเลยที่ 4 ย้ายไปที่อยู่ใหม่ภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดี โดยจำเลยที่ 4 มิได้แจ้งที่อยู่ใหม่ให้โจทก์และศาลชั้นต้นทราบทั้งไม่มีชื่อบุตรผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ด้วย และภูมิลำเนาของจำเลยที่ 4 ตามหลักฐานที่ปรากฎในขณะส่งคำบังคับคือบ้านเลขที่ 483/2-3 ถนนผศรีอยุธยาแขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ดังนั้นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 4 ตามภูมิลำเนาดังกล่าวจึงชอบแล้ว แม้ในขณะปิดคำบังคับตามคำสั่งศาล จำเลยที่ 4 จำได้ย้ายไปอยู่ที่อยู่ใหม่แล้วคือบ้านเลขที่ 45/323 หมู่ที่ 5ถนนสุขาภิบาล 1 แขวงคลองกุ่มเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานครแต่เมื่อถือว่าจำเลยที่ 4 ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยย้ายที่อยู่ เหตุภูมิลำเนาเดิมยังคงมีชื่อจำเลยและครอบครัว
ในการทำสัญญาจำนองที่ดินแก่โจทก์จำเลยที่4แจ้งที่อยู่ลงในสัญญาจำนองว่าอยู่บ้านเลขที่483/2-3ถนนศรีอยุธยาแขวงถนนพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพมหานครและโจทก์ก็บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าจำเลยที่4มีที่อยู่ดังกล่าวโดยโจทก์ได้ยื่นสำเนาทะเบียนบ้านที่คัดรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันยื่นฟ้อง3วันก็ปรากฎว่าจำเลยที่4มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวพร้อมบุตรผู้เยาว์2คนอายุ2ปีและ4ปีการที่จำเลยที่4ย้ายไปที่อยู่ใหม่ภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีโดยจำเลยที่4มิได้แจ้งที่อยู่ใหม่ให้โจทก์และศาลชั้นต้นทราบทั้งไม่มีชื่อบุตรผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ด้วยและภูมิลำเนาของจำเลยที่4ตามหลักฐานที่ปรากฎในขณะส่งคำบังคับคือบ้านเลขที่483/2-3ถนนผศรีอยุธยาแขวงถนนพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพมหานครดังนั้นการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่4ตามภูมิลำเนาดังกล่าวจึงชอบแล้ว แม้ในขณะปิดคำบังคับตามคำสั่งศาลจำเลยที่4จำได้ย้ายไปอยู่ที่อยู่ใหม่แล้วคือบ้านเลขที่45/323หมู่ที่5ถนนสุขาภิบาล1แขวงคลองกุ่มเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานครแต่เมื่อถือว่าจำเลยที่4ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี
of 30