คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 540 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและการเลื่อนคดีในคดีแรงงาน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขน จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ. พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิดจำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5493/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, ค่าชดเชย, และขอบเขตความรับผิดของกรรมการบริษัท
ที่จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่า โจทก์ลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 เอง จำเลยทั้งห้ามิได้เลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ ศาลแรงงานที่รับฟังว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ ไม่ใช่เป็นกรณีโจทก์ลาออกเอง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามสัญญา จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายแก่โจทก์ เพราะจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นเดียวกัน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมทำให้โจทก์เสียหาย ซึ่งได้แก่ค่าเสียหายต่าง ๆ ที่โจทก์ระบุมา ในฟ้อง ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งห้าเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่เป็นธรรม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์การคำนวณค่าเสียหายในส่วนนี้ศาลแรงงานอาศัยเพียงสัญญาจ้าง เป็นฐานในการคิดเท่านั้น มิใช่เป็นการพิพากษาให้จำเลย จ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้ตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างดังกล่าว ฉะนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ ได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ตามสัญญาจ้างจึงไม่ใช่เป็นการ โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานที่จะอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลในฐานะนายจ้างแม้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จะระบุให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มีฐานะเป็นนายจ้างด้วยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้กระทำการใด ๆอันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 ก็เป็นเพียงผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นตัวการเท่านั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวหรือร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ เมื่อตามเอกสารระบุถึงการจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์หลังจากเลิกจ้างแล้วอีก 3 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทใด แต่การจ่ายเงินในอัตราดังกล่าวเป็นลักษณะของการจ่ายค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46(2) เพราะโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย เป็นเวลาปีเศษ แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับ ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือ 3 เดือน ซึ่งเท่ากับ จำนวนเงินที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์ การที่ศาลแรงงานนำข้อเท็จจริง ตามเอกสารดังกล่าวที่ว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยหลังจาก เลิกจ้างแล้วดังกล่าวไปหักออกจากความรับผิดที่จำเลยจะต้องจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเงินที่โจทก์ได้รับหลังจากเลิกจ้างแล้วนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดในการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าแก่โจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยนับแต่วันที่เกิน คำขอของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกา เห็นควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5493/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแรงงาน, การจ่ายสินจ้างทดแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, และความรับผิดของกรรมการบริษัท
ที่จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่า โจทก์ลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 เอง จำเลยทั้งห้ามิได้เลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางที่รับฟังว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่ใช่เป็นกรณีโจทก์ลาออกเอง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามสัญญา จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายแก่โจทก์เพราะจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นเดียวกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์เสียหายซึ่งได้แก่ค่าเสียหายต่าง ๆ ที่โจทก์ระบุมาในฟ้อง ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งห้าเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์การคำนวณค่าเสียหายในส่วนนี้เพียงอาศัยสัญญาจ้างตามที่ระบุไว้ในเอกสารหมายจ.2 ข้อ 4 เป็นฐานในการคิดเท่านั้น มิใช่เป็นการพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้ตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างดังกล่าว ฉะนั้น อุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าที่อ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายในส่วนนี้ตามสัญญาจ้างจึงไม่ใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่จะอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลในฐานะนายจ้าง แม้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 จะระบุให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 มีฐานะเป็นนายจ้างด้วยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ได้กระทำการใด ๆ อันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ก็เป็นเพียงผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการเท่านั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวหรือร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์
เมื่อตามเอกสารระบุถึงการจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์หลังจากเลิกจ้างแล้วอีก 3 เดือน โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทใด แต่การจ่ายเงินในอัตราดังกล่าวเป็นลักษณะของการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 (2) เพราะโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยเป็นเวลาปีเศษ แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน หรือ 3 เดือน ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์ การที่ศาลแรงงานนำข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวที่ว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยหลังจากเลิกจ้างแล้วดังกล่าวไปหักออกจากความรับผิดที่จำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเงินที่โจทก์ได้รับหลังจากเลิกจ้างแล้วนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดในการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 กันยายน 2539 นั้น เป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต
ข้อความที่จำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ไว้ในสำนวน อย่างชัดแจ้งตามคำให้การพยานจำเลย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจ หยิบยกข้อความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นการวินิจฉัย ไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิด ชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อน ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริง หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลง ค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องประโยชน์ย้อนหลัง แม้ถูกล้างมลทินแล้ว
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์กระทำความผิดก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ก่อน พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษ จำเลยจึงต้องรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งเดิม เงินเดือนเดิม พร้อมค่าจ้างนับแต่วันออกจากงานถึงวันรับกลับเข้าทำงานและเงินโบนัสแก่โจทก์ พ.ร.บ.ดังกล่าวที่โจทก์อ้างเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้
โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และแม้โจทก์ได้กระทำความผิดวินัยก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยลงวันที่ 27 สิงหาคม2539 ให้ออกจากงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2539 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 ใช้บังคับ ซึ่งต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 5 ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้บัญญัติว่าการล้างมลทินตามมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น การล้างมลทินให้โจทก์จึงเป็นเพียงให้ถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัย ไม่มีมลทิน ไม่เสียสิทธิหรือขาดคุณสมบัติภายภาคหน้าเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งที่เทียบเท่าตำแหน่งเดิมหรือเรียกค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินตาม พรบ.ฉลองครองราชย์ 50 ปี ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องประโยชน์ใดๆ แม้ถูกลงโทษก่อนใช้บังคับ
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์กระทำความผิดก่อน วันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออก จากงานเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ก่อน พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ ต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษ จำเลยจึง ต้องรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งเดิม เงินเดือนเดิม พร้อมค่าจ้างนับแต่วันออกจากงานถึงวันรับกลับเข้าทำงาน และเงินโบนัสแก่โจทก์ พระราชบัญญัติดังกล่าวที่โจทก์อ้าง เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และแม้โจทก์ได้กระทำความผิดวินัยก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยลงวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ให้ออกจากงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2539 ก่อนวันที่ พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับซึ่งต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 5 ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติว่าการล้างมลทินตามมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น การล้างมลทินให้โจทก์จึงเป็นเพียงให้ถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยไม่มีมลทิน ไม่เสียสิทธิหรือขาดคุณสมบัติภายภาคหน้าเท่านั้นดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับ โจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ตำแหน่งเดิมหรือเรียกค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: การโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การที่โจทก์เจ็บป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสจากการทำงานยังถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลย การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์เจ็บป่วยเป็นโรคดังกล่าวเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ปล่อยให้ฝุ่นฝ้ายฟุ้งกระจายเกินมาตรฐานที่ทางราชการกำหนด จำเลยย่อมคาดหมายได้ว่าฝุ่นฝ้ายที่ฟุ้งกระจายนั้นย่อมเกิดอันตรายต่อโจทก์ การเจ็บป่วยของโจทก์จึงเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังรับเงินชดเชยทำให้ขาดสิทธิฟ้อง
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆจากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงิน หรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยเมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลย รับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็น ซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่ การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาเป็นยุติว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 7 เดือนเป็นเงิน 560,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาทและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชย ค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิ์ในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532-4617/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานต้องโต้แย้งทันที และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างต้องแจ้งแก้ไขอย่างถูกต้อง
วันนัดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์ คู่ความแถลงยอมรับข้อเท็จจริงกันศาลแรงงานเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา คำสั่งศาลแรงงานที่ให้งดสืบพยานดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากจำเลยเห็นว่าการงดสืบพยานดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31,54 ปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยมีเวลาพอที่จะโต้แย้งได้ แต่จำเลยก็หาได้โต้แย้งไม่อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามตาม บทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อจำเลยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้าง แม้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลใช้บังคับจำเลยจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวเพียงแต่จำเลยประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่า จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสเพียงร้อยละ 50 ของอัตราการจ่ายในปีที่ผ่านมาโดยยึดหลักเกณฑ์เดิม ประกาศดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวและเป็นการที่จำเลยขอความร่วมมือจากลูกจ้างเท่านั้นมิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงย่อมไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้าง, การประมาท, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากความเสียหายที่ลูกจ้างกระทำ
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การขับรถยนต์ ของโจทก์เป็นการขับรถโดยประมาทนั้น โจทก์เห็นว่ายังไม่ เข้าองค์ประกอบของหลักกฎหมายที่ถือเป็นความผิดฐานกระทำ โดยประมาท คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ทราบว่าเสียงที่โจทก์ได้ยินเป็นเสียงดังมาจากเครื่องยนต์การที่เครื่องยนต์มีเสียงดังผิดปกติในระหว่างที่โจทก์ทำหน้าที่ พนักงานขับรถ แต่โจทก์มิได้หยุดรถเพื่อตรวจดู กลับขับรถต่อไป จนเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ดับและได้รับความเสียหายมากเช่นนี้ ถือว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์เข้าใจว่าเสียงดังนั้นเป็นเสียงของตู้คอนเทนเนอร์ มิใช่เสียงที่ดังมาจากเครื่องยนต์ และอุทธรณ์ต่อไปว่า คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของจำเลยมิได้โดยสารไปกับรถด้วย จึงมิอาจวินิจฉัยว่าเสียงที่ว่าโจทก์ได้ยินดังกล่าวเป็นเสียงดัง มาจากเครื่องยนต์ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ค่าเสียหายที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างกำหนดให้โจทก์ซึ่งเป็น ลูกจ้างชำระแก่จำเลยภายในระยะที่กำหนดเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์ ไม่ชำระหนี้แก่จำเลยภายในเวลาที่กำหนดถือว่าโจทก์ผิดนัด จำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ในระหว่างเวลาผิดนัดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 แม้หนี้ที่เกิดขึ้นของโจทก์ในคดีนี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแต่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 12 ได้บัญญัติในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสียหายตามมาตรา 8 หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 โดยให้หน่วยงานของรัฐที่เสียหายมีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชำระเงินดังกล่าวในเวลาที่กำหนด และมาตรา 13 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบและพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วยเท่านั้น พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวหาได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีที่กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ ดังนั้น จึงนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่องหนี้มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์นี้ได้
of 54