พบผลลัพธ์ทั้งหมด 540 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากสัญญาจ้างแรงงาน: พิจารณาจากสัญญาจ้างมากกว่ากฎหมายละเมิด
โจทก์ได้บรรยายฟ้องให้จำเลยที่1เข้าใจได้ดีแล้วถึงระยะเวลาที่จำเลยที่1เบิกสินค้าไปแล้วต้องรับผิดรวมทั้งจำนวนที่ต้องรับผิดตลอดจนมีคำขอบังคับให้จำเลยที่1รับผิดตามนั้นด้วยจึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นชอบด้วยกฎหมายแล้วจำเลยที่1จะรับสินค้าไปเมื่อใดจำนวนเท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดที่ที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาทำให้ฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุมไปไม่ ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ซึ่งจำเลยมิได้ให้การเป็นประเด็นไว้เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงโดยวินิจฉัยจากคำเบิกความของจำเลยโดยไม่ได้ชั่งน้ำหนักพยานโจทก์เป็นการไม่ชอบนั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยที่1ว่าจำเลยที่1เป็นพนักงานขายในร้านค้าย่อยทำหน้าที่ขายน้ำส้มสายชูกลั่นในทางปฏิบัติจำเลยที่2ซึ่งเป็นหัวหน้าของจำเลยที่1ได้มอบให้จำเลยที่1ทำหน้าที่เบิกน้ำส้มสายชูกลั่นมาขายระหว่างเดือนตุลาคม2528ถึงเดือนสิงหาคม2529จำเลยที่1ได้ลงลายมือชื่อในใบสั่งซื้อและรับสินค้ามาขายในร้านค้าย่อยซึ่งการเก็บและการขายน้ำส้มสารชูกลั่นนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่1แต่ปรากฏว่าเงินรายรับที่ควรได้จากการขายน้ำส้มสายชูกลั่นขาดบัญชีและน้ำส้มสายชูกลั่นที่จำเลยที่1เบิกมาขายนั้นขาดหายไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายการกระทำของจำเลยที่1เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหายการที่ศาลแรงงานวินิจฉัยให้จำเลยที่1ต้องรับผิดและพิพากษาให้จำเลยที่1ชดใช้เงินแก่โจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยและพิพากษาตามประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสิบเจ็ดทุจริตต่อหน้าที่จงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กรณีร้ายแรงหรือไม่ดังที่กำหนดไว้โดยชอบและแม้การที่จำเลยที่1ลงลายมือชื่อในใบสั่งซื้อและเบิกน้ำส้มสายชูกลั่นแทนจำเลยที่2จะปฏิบัติกันมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วงจะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่ร้ายแรงนักก็ตามแต่ก็หาทำให้ความรับผิดชอบของจำเลยที่1ในฐานะผู้เบิกตลอดจนการเก็บและขายน้ำส้มสายชูกลั่นหลุดพ้นไปไม่ โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดอันเกิดจากมูลละเมิดระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างกับจำเลยทั้งหมดซึ่งเป็นลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นคดีละเมิดอย่างเดียวไม่กรณีเช่นนี้นอกจากจำเลยจะทำละเมิดต่อโจทก์แล้วยังฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วยสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมหรือ193/30ที่ตรวจชำระใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องมีเหตุสมควร แม้มีข้อตกลงบอกเลิกจ้างได้ การฟ้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่เคลือบคลุม
แม้ตามสัญญาจ้างระบุว่าการว่าจ้างอาจจะถูกบอกเลิกได้โดยการที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าหนึ่งเดือนหรือจ่ายค่าสินไหมทดแทนเท่ากับเงินเดือนหนึ่งเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ตามแต่การบอกเลิกจ้างดังกล่าวก็จะต้องมีเหตุอันสมควรมิฉะนั้นจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา49ได้จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์หนึ่งเดือนแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วแต่ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างการเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำเลยจะต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้โจทก์ฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจะไม่ได้ระบุว่าเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างไว้โดยตรงก็ตามแต่เมื่ออ่านคำฟ้องที่บรรยายประกอบกันก็เข้าใจได้ว่าเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์ไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิในวันที่ยังเหลืออยู่14วันและโจทก์มาฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแทนในวันดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเข้าใจได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับปีที่เลิกจ้างโจทก์ซึ่งยังมีวันหยุดพักผ่อนประจำปีเหลืออยู่14วันนั่นเองฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงไม่เคลือบคลุม อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานที่ไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยถอนตัวและสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบเพราะจำเลยไม่นำพยานมาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทที่ยุติตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนดแล้วไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์อีกได้ และการฟ้องเรียกเงินยืมทดรองจ่ายตามสัญญาจ้าง
ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนั้นทนายจำเลยได้มาศาลและลงชื่อรับรองความถูกต้องไว้โดยมิได้ติดใจโต้แย้งในขณะนั้นหรือในระยะเวลาต่อมาตามที่กฎหมายกำหนดขอให้กำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเพิ่มเติมแต่ประการใดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานกลางกำหนดจำเลยไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นอุทธรณ์ว่ากล่าวอีกและปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ว่าพ.เป็นเพียงพนักงานของโจทก์มิใช่กรรมการดำเนินการของโจทก์ที่จะมีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำให้การของจำเลยจึงไม่อาจตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีได้ดังนี้ปัญหาที่จำเลยอาศัยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องต่อไปอีกว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องโจทก์ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยในฐานะลูกจ้างได้ยืมเงินทดรองจ่ายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงานของนายจ้างคือโจทก์แม้หักใช้ไม่ครบก็เป็นการเรียกหนี้เงินที่จำเลยยืมไปคืนตามความผูกพันซึ่งเกิดจากสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีกำหนดอายุความ10ปีฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและมิใช่เรื่องละเมิดหรือลาภมิควรได้คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการวินิจฉัยพยานหลักฐานและการงดสืบพยาน อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา104ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีให้เป็นไปตามนั้นซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวอนุโลมใช้กับคดีแรงงานด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา31ฉะนั้นการที่ศาลแรงงานกลางสอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้ววินิจฉัยคดีตามที่คู่ความรับกันถือได้ว่าศาลแรงงานกลางได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานแล้วข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาเพียงบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยนั้นจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10292/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกจ้างต้องเป็นไปตามที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลแรงงานงดสืบพยานได้หากจำเลยไม่ต่อสู้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยทำเป็นหนังสือและระบุเหตุเลิกจ้างไว้ชัดแจ้งแสดงว่าจำเลยประสงค์จะถือเอาเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างหาได้ถือเอาเหตุอื่นด้วยไม่จำเลยจะยกเอาเหตุเลิกจ้างอื่นนอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าศาลแรงงานกลางงดสืบพยานโดยมิได้สอบข้อเท็จจริงถือลักษณะงานว่าต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 46 วรรคท้ายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ การงดสืบพยานดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาล จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9649/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน และพิพากษาถูกต้องเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลแรงงานพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานฝ่าฝืนจากคำพยานหลักฐานในสำนวน เช่น วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลยก็ดี เอกสารหมาย ล.1 ถึงล.13 เป็นรายงานการปฏิบัติงานที่ไม่ชอบของโจทก์ แต่ที่จริงเป็นเอกสารที่มีข้อความชมเชยโจทก์ก็ดี และควรวินิจฉัยว่าพยานบุคคลที่โจทก์นำมาสืบรับฟังได้ว่าโจทก์ปฏิบัติงานมาด้วยดี ส่วนพยานหลักฐานของจำเลยล้วนแต่เป็นพนักงานของจำเลยไม่ควรรับฟังก็ดี ปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้วินิจฉัยฝ่าฝืนพยานหลักฐานดังกล่าวโดยมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีความผิดเพราะเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสหภาพแรงงานในสถานประกอบการของจำเลย ส่วนพยานเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.13 ตรวจดูแล้วก็มิใช่หนังสือชมเชยการปฏิบัติงานของโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่ามีข้อความชมเชยว่าโจทก์ปฏิบัติงานดีก็ไม่มีปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นเอกสารใด คงมีแต่เอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยนั้น ล้วนแต่โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน จึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ส่วนที่อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ตักเตือนเป็นหนังสือ และศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ถูกรองกรรมการผู้จัดการของจำเลยเขียนหนังสือเตือนให้ปรับปรุงตัวใหม่ก็มิใช่หนังสือเตือนตามกฎหมายนั้น เป็นเพียงการนำมาประกอบเหตุผลในการวินิจฉัยว่าพฤติกรรมในการทำงานของโจทก์มีอย่างไรเท่านั้น เพราะในกรณีเลิกจ้าง และจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นั้น ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่ามีการเตือนเป็นหนังสือหรือไม่ อุทธรณ์ข้อนี้ก็มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนแต่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสุดท้ายของเดือน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ และตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้นั้น จำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.9จำนวนเงิน 73,920 บาท ซึ่งแยกเป็นค่าชดเชย 63,350 บาท กับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 10,560 บาท โจทก์ยอมรับว่าค่าชดเชยถูกต้อง คงโต้แย้งเฉพาะสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนี้ เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์วันที่ 31กรกฎาคม 2532 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือน จึงเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 582วรรคหนึ่ง ซึ่งนายจ้างอาจจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่บัญญัติในมาตรา 582 วรรคสอง เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอีก 1 เดือน เท่านั้น ดังนั้นโจทก์จึงได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล้วงหน้าครบถ้วนแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสุดท้ายของเดือน เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ และตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้นั้น จำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.9จำนวนเงิน 73,920 บาท ซึ่งแยกเป็นค่าชดเชย 63,350 บาท กับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 10,560 บาท โจทก์ยอมรับว่าค่าชดเชยถูกต้อง คงโต้แย้งเฉพาะสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ดังนี้ เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์วันที่ 31กรกฎาคม 2532 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือน จึงเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 582วรรคหนึ่ง ซึ่งนายจ้างอาจจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่บัญญัติในมาตรา 582 วรรคสอง เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอีก 1 เดือน เท่านั้น ดังนั้นโจทก์จึงได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล้วงหน้าครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6284/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การพิจารณาเหตุผลที่แท้จริงในการเลิกจ้างและการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
จำเลยอุทธรณ์ว่า เงินค่าน้ำมันที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนโดยพิจารณาจากการออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ของโจทก์เพียงอย่างเดียวซึ่งหน้าที่การทำงานปกติของโจทก์ต้องออกไปเยี่ยมเยียนลูกค้านอกสถานที่ และโดยส่วนใหญ่โจทก์จะได้รับเงินดังกล่าวเต็มจำนวนทุกเดือนเงินดังกล่าวจำเลยจ่ายให้โจทก์ตามผลของการปฏิบัติงานของโจทก์ ก็คือการจ่ายตามผลงานนั้นเอง และเงินดังกล่าวจำเลย ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน จึงเป็นค่าจ้างและจะต้องนำเงิน จำนวนดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยนั้น เป็นการ ยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ฟัง ข้อเท็จจริงว่า จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้ไม่แน่นอนแล้วแต่การออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ของโจทก์ตามส่วน เป็นเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถให้โจทก์ที่ต้องจ่ายจริง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างมีผลกระทบความรู้สึกของพนักงานส่วนหนึ่งที่ทราบเรื่องและไม่พอใจโจทก์ และการที่จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นภายหลังได้นั้นแม้จะเป็นการคาดเดาเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดจริงก็ตาม แต่เมื่อเป็นการคาดการณ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริงที่สืบเนื่องจาก ผลแห่งการกระทำของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นไปตามเหตุที่มีอยู่จริงและเพื่อผลในการป้องกันมิให้เกิดปัญหา หาได้มีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6284/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลทางธุรกิจ, ผลกระทบต่อความรู้สึกพนักงาน และการป้องกันปัญหา
จำเลยอุทธรณ์ว่า เงินค่าน้ำมันที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนโดยพิจารณาจากการออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ของโจทก์เพียงอย่างเดียวซึ่งหน้าที่การทำงานปกติของโจทก์ต้องออกไปเยี่ยมเยียนลูกค้านอกสถานที่ และโดยส่วนใหญ่โจทก์จะได้รับเงินดังกล่าวเต็มจำนวนทุกเดือน เงินดังกล่าวจำเลยจ่ายให้โจทก์ตามผลของการปฏิบัติงานของโจทก์ ก็คือการจ่ายตามผลงานนั้นเอง และเงินดังกล่าวจำเลยถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน จึงเป็นค่าจ้างและจะต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยนั้น เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นโต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจ่ายค่าน้ำมันรถให้ไม่แน่นอนแล้วแต่การออกปฏิบัติงานนอกสถานที่ของโจทก์ตามส่วน เป็นเงินค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถให้โจทก์ที่ต้องจ่ายจริง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างมีผลกระทบความรู้สึกของพนักงานส่วนหนึ่งที่ทราบเรื่องและไม่พอใจโจทก์ และการที่จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นภายหลังได้นั้น แม้จะเป็นการคาดเดาเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดจริงก็ตาม แต่เมื่อเป็นการคาดการณ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริงที่สืบเนื่องจากผลแห่งการกระทำของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นไปตามเหตุที่มีอยู่จริงและเพื่อผลในการป้องกันมิให้เกิดปัญหา หาได้มีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างมีผลกระทบความรู้สึกของพนักงานส่วนหนึ่งที่ทราบเรื่องและไม่พอใจโจทก์ และการที่จำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจเกิดปัญหาขึ้นภายหลังได้นั้น แม้จะเป็นการคาดเดาเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดจริงก็ตาม แต่เมื่อเป็นการคาดการณ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริงที่สืบเนื่องจากผลแห่งการกระทำของโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นไปตามเหตุที่มีอยู่จริงและเพื่อผลในการป้องกันมิให้เกิดปัญหา หาได้มีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5117/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างเบียดบังเช็คของนายจ้างเข้าบัญชีส่วนตัว การฟ้องเป็นคดีผิดสัญญาจ้างงานมีอายุความ 10 ปี
จำเลยเบิกความรับว่าได้นำเช็คของโจทก์ไปเข้าบัญชีจำเลยการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กระทำการดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนพยานหลักฐานในสำนวนและเมื่อจำเลยมิได้ส่งมอบเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ย่อมเป็นการเบียดบังจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ดูแลด้านบัญชีและการเบิกจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์,ของบริษัท ฉ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือและของนาย ฉ. จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงานจึงขอให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวเป็นการฟ้องเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการละทิ้งหน้าที่: ศาลฎีกายกอุทธรณ์เพราะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟัง
การที่บริษัทจำเลยโดยกรรมการผู้จัดการเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาโดยให้มีผลตั้งแต่วันรุ่งขึ้นแล้วโจทก์ไม่ได้มาทำงานตั้งแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่จำเลยปิดประกาศปลดโจทก์ออกจากงานซึ่งเกิน3วันมิใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยอุทธรณ์ว่าเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ปิดประกาศมิใช่วันที่เลิกจ้างด้วยวาจาเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันใดเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าในวันแรกที่โจทก์ไม่ได้มาทำงานนั้นโจทก์มีสิทธิฟ้องหรือไม่เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา54