คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 540 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อการไม่ปฏิบัติตามระเบียบของนายจ้าง และอายุความของคดีแรงงาน
คำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดสัญญาจ้าง โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างให้รับผิด เนื่องจากจงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 อุทธรณ์ว่าจำเลยปฏิบัติตามระเบียบของโจทก์โดยเคร่งครัดแล้วการกระทำของจำเลยไม่เป็นประมาทเลินเล่อก็ดี เหตุที่เกิดขึ้นตามฟ้องเป็นเหตุสุดวิสัยก็ดีให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ย้อนหลัง5 ปี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรงก็ดี เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับผิดในฐานะลูกจ้างมิใช่ตัวแทนจำเลยที่ 3 อุทธรณ์ว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 มิใช่ตัวการตัวแทน แต่เป็นนายจ้างกับลูกจ้างนั้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยมิชอบ และการจ่ายค่าชดเชยที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยออกคำสั่งที่ 6/2525ยกเลิกคำสั่งที่ 63/2517 โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วย จำเลยอุทธรณ์ว่า ตามพฤติกรรมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้ความยินยอมด้วยในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวแล้ว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลแรงงานกลางเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 จำเลยออกคำสั่งที่ 6/2525 ยกเลิกคำสั่งที่ 63/2517 โดยมิได้ยื่นข้อเรียกร้องและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ และข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่แก้ไขใหม่ ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ จึงเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20คำสั่งที่ 6/2525 ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ ต้องบังคับตามคำสั่งที่ 63/2517.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้นับอายุงานต่อเนื่องได้
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานในสำนวน แปลพยานหลักฐานไม่ถูกต้อง ฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและหยิบยกพยาน เหตุผลต่าง ๆ ขึ้นอ้างให้ศาลฎีกาฟังว่าโจทก์ไม่ได้ป่วยแตกต่างไปจากที่ศาลแรงงานกลางฟังมาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้ โดยไม่ได้กำหนดประเด็นว่ามีเหตุควรให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือไม่ ถ้าศาลแรงงานกลางเห็นว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49 ซึ่งกำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมโดยบัญญัติให้ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะเลิกจ้าง ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นับอายุงานของโจทก์ต่อเนื่องจากอายุงานเดิมก่อนถูกเลิกจ้าง โดยอาศัยมาตราดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษานอกคำฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ: ไม่อยู่ภายใต้บังคับประกาศคุ้มครองแรงงาน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่ากิจการจำเลยเป็นการจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันการที่โจทก์อุทธรณ์ว่ากิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจการจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อออกจากงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานในสถานประกอบการที่ไม่แสวงหากำไรและการรับข้อเท็จจริงของคู่ความ
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ ศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ การจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อออกจากงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กิจการไม่แสวงหากำไรไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจึงไม่เกิดขึ้น
ในวันนัดพิจารณาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจศาลแรงงานกลางจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน การ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงกำไรทางเศรษฐกิจ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 กิจการจำเลยเป็นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ แสวงกำไรทางเศรษฐกิจ การจ้างงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่อยู่ ภายใต้ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515ข้อ 2 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 จากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227-1230/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความร้ายแรงของการฝ่าฝืนระเบียบ และการพิจารณาพฤติการณ์แห่งเหตุ
จำเลยอุทธรณ์ว่า ที่ศาลแรงงานกลางฟังว่า เครื่องจักรที่โจทก์ทั้งสี่ควบคุมโดยสภาพไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลภายนอกหรือทรัพย์สินอื่นใดได้ เป็นการวินิจฉัยไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน เมื่อศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยพิเคราะห์ตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 แม้ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างจะระบุว่าการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบดังกล่าวเป็นการกระทำที่ร้ายแรง ก็หามีผลว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นความผิดร้ายแรงทุกกรณีไปไม่ จะต้องพิจารณาพฤติการณ์ความเป็นจริงว่าเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะระบุว่าการหลับขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นความผิดร้ายแรง ก็เป็นเพียงข้อบังคับของนายจ้างที่มีความประสงค์ทั่วไปว่าลูกจ้างต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างขยันขันแข็ง อุทิศเวลาให้แก่การทำงานอย่างเต็มที่โดยไม่หลับขณะปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น การที่โจทก์ทั้งสี่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ทำหน้าที่เพียงควบคุมเครื่องจักรผลิตสินค้าซึ่งโดยสภาพไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลภายนอกหรือทรัพย์สินอื่นใดได้แม้มิได้ควบคุมใกล้ชิดตลอดเวลา การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างสิ้นสุดตามกำหนด สิทธิค่าชดเชย, การเลิกจ้าง, และการโต้แย้งข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน
โจทก์ที่ 1 ทำงานกับจำเลยโดยทำสัญญาจ้างเป็นปี ๆ เริ่มทำสัญญาครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2530 ต่อมาในปี 2533 สัญญาจ้างลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533 ระบุว่าสัญญาจ้างมีกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงานตามสัญญาและมีข้อความตอนท้ายสัญญาว่าเริ่มวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ซึ่งมีความหมายชัด อยู่ในตัวแล้วว่าคู่สัญญาให้สัญญามีผลเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของสัญญา มิใช่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานตามความหมายของประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ข้อ 46 วรรคสอง จึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้าง โจทก์ที่ 1ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้ทำงานเนื่องจากจำเลยได้จัดตารางทำงานให้ อ. ทำงานแทนโจทก์ที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2534 แล้ว โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ที่ 2 ขอลาออกจากการทำงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2533 ให้มีผลวันที่ 3 พฤศจิกายน 2533 จำเลยไม่อนุมัติให้โจทก์ที่ 2 ลาออก โจทก์ที่ 2 ไม่มาทำงานในวันที่4 พฤศจิกายน 2533 จนถึงเดือนมกราคม 2534 จึงเป็นการหยุดงานที่ไม่มีเหตุสมควร เป็นการละทิ้งหน้าที่นั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามมาตรา 54 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่จำเลยสั่งให้โจทก์พักจัดรายการเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์โดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ทำงานอยู่ต่อไปถือเป็นการเลิกจ้าง และอุทธรณ์ว่าโจทก์ทำงานมาครบ 1 ปีมีสิทธิได้รับเงินโบนัสตามสัญญา อุทธรณ์ทั้ง 2 กรณี ดังกล่าวต่างเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อายุความ: คดีแรงงาน การกระทำเกินอำนาจ-หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพราะโจทก์อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ จำเลยต้องจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพและค่าชดเชยหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์ และกระทำเกินขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ ดังนี้ประเด็นข้อพิพาทคดีนี้กับคดีก่อนต่างกัน ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา164 วันที่ 6 กันยายน 2526 จำเลยได้ทำหนังสือรับรองความเสียหายให้แก่โจทก์ เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2526 ดังนั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2534 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
of 54