พบผลลัพธ์ทั้งหมด 540 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างและการปรับอัตราเงินเดือน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยไม่เคยประกาศใช้ข้อบังคับตามเอกสารหมาย จ.3 ที่กำหนดอัตราเงินเดือนไว้ 21 ขั้น และจำเลยได้ปรับอัตราเงินเดือนให้แก่โจทก์เกินอัตราขั้นสูง อันเป็นคุณแก่โจทก์มากแล้ว ซึ่งเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ชอบ แต่อุทธรณ์ของโจทก์สรุปได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ชอบ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีแรงงาน: การโต้เถียงดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยึด
ข้ออุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่าศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานไม่ถูกต้องตามหลักการพิจารณาคดีแพ่งเพราะตามพยานหลักฐานของผู้ร้องเห็นได้ชัดว่าผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดก็ดี ที่ว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและศาลไม่ได้กำหนดประเด็นไว้ก็ดี เป็นการหยิบยกพยานหลักฐานเพื่อให้ศาลฎีกาฟังว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของผู้ร้อง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีแรงงาน: การโต้เถียงข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลชั้นต้น
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า เงินค่าพาหนะที่โจทก์ได้รับมีจำนวนไม่แน่นอนและจำเลยจ่ายให้ตามจำนวนที่ขอเบิก แต่ไม่เกินเดือนละ 1,800 บาท โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามพยานหลักฐานการจ่ายเงินค่าพาหนะประกอบคำเบิกความของพยานจำเลย เห็นได้ว่าค่าพาหนะที่โจทก์ได้รับมีจำนวนแน่นอนและจำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำจึงเป็นค่าตอบแทนการทำงานนั้น เป็นอุทธรณ์โต้เถียง ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมา ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ป.พ.พ. มาตรา 582 มิใช่กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่กรณีย่อมตกลงกันนอกเหนือจากที่บทกฎหมายมาตราดังกล่าวกำหนดไว้ได้ เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันไว้ว่าระยะเวลาการบอกกล่าวเลิกจ้างหรือการจ่ายเงินทดแทนล่วงหน้ามีกำหนดเวลา 1 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดในข้อตกลงคือเท่ากับ 1 เดือน จะเรียกร้องเอาตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 582 ไม่ได้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวนแล้วฟังว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ผู้โดยสารทำให้ผู้โดยสารได้รับความเสียหาย เป็นเหตุให้บริษัทจำเลยเสียหายและเสียชื่อเสียง โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อพิจารณาตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีสาเหตุมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์นั้น เป็นการโต้เถียง ดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง และการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยาน
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเท่ากับศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่า คำสั่งของจำเลยซึ่งลงนามโดยหัวหน้ากองอำนาจการผู้รับมอบอำนาจเป็นคำสั่งที่ถูกต้อง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องจึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะจากการทำงาน: การคำนวณระยะเวลาจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สูญเสียอวัยวะหนังศีรษะใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ยังสูญเสียอวัยวะบริเวณดั้ง จมูกและโหนกแก้มทั้งสองข้างด้วย จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างโดยสูญเสียอวัยวะหนังศีรษะ ใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง อันเป็นการสูญเสียอวัยวะตามประเภทที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับที่ 2) ข้อ 1(16) ถือเป็นการสูญเสียอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (1) ถึง (15)ซึ่งให้มีระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทน 4 ปี 6 เดือน ตามที่คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีมติ การจ่ายค่าทดแทนจึงต้องจ่ายให้เป็นรายเดือนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน มิใช่จ่ายค่าทดแทนจากการที่โจทก์ต้องสูญเสียอวัยวะในแต่ละส่วนของร่างกาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับและคำสั่งโยกย้ายพนักงาน มิใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากไม่กระทบสิทธิประโยชน์เดิม
ข้อบังคับของจำเลย ฉบับที่ 23 ว่าด้วยการจัดระเบียบการบริหารงาน ข้อ 33 กำหนดว่า "การกำหนดอัตราตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างของ อ.ม.ท. ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายข้อบังคับนี้" และบัญชีอัตราตำแหน่งของพนักงานและลูกจ้างของ อ.ม.ท. มีรายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดหน่วยงานและจำนวนพนักงานในแต่ละหน่วยงานว่ามีจำนวนเท่าใดอยู่ในระดับใดบ้างเท่าใด เช่นนี้ข้อบังคับของจำเลยข้อนี้มีลักษณะเป็นการแบ่งหน่วยงานโดยกำหนดอัตรากำลัง และระดับในแต่ละหน่วยงานอันมีลักษณะเป็นวิธีการบริหารงานบุคคลในหน่วยงานเท่านั้นไม่มีลักษณะที่เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมิได้มีลักษณะที่เป็นเงื่อนไขในการทำงาน กำหนดวันเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการการเลิกจ้าง การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้าง การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 วรรคสามและมาตรา 11 จึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จำเลยย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขได้เพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารงานบุคคลตามฐานะแห่งกิจการของจำเลยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องแจ้งข้อเรียกร้องหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ห้ามจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งของโจทก์ การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์จากตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการบริหารระดับ 9 ไปรักษาการตำแหน่งหัวหน้าผู้ตรวจสอบภายใน ระดับ 9 เช่นเดิมมิใช่เป็นการลดระดับโจทก์และโจทก์ได้รับเงินเดือน ผลประโยชน์และสวัสดิการเท่าเดิม เช่นนี้เป็นการใช้ดุลพินิจ กำหนดบุคคลในตำแหน่งงานที่เหมาะสม มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างส่วนที่อ้างว่าการโยกย้ายโจทก์ไปทำให้โจทก์ต้องสูญเสียสิทธิในการใช้รถยนต์อันเป็นสวัสดิการเป็นการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ข้อนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ตามความเหมาะสม แม้ตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์จะไม่มีรถยนต์ประจำตำแหน่งก็ตามไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง เท่ากับศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า รถยนต์ที่โจทก์มีสิทธิได้รับอยู่ก่อนนั้นมิใช่เป็นสวัสดิการ ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่ารถยนต์ที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นสวัสดิการ จึงเป็นการโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยมา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่เข้าข่ายบกพร่องหน้าที่แต่ไม่ร้ายแรงเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ และสิทธิในการได้รับเงินสะสม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์อันเป็นการลดตำแหน่งลงต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนและงดจ่ายเงินโบนัส มีคำสั่งพักงานแล้วมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำ ความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยรับโจทก์ กลับ เข้า ทำงานตามเดิม ให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง คือเงินเดือน เงินค่าเลี้ยงชีพ และ ค่าเช่าบ้านย้อนหลังนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่า จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานเงินที่จำเลยมีคำสั่งลดขั้นเงินเดือน เงินโบนัสที่งดจ่าย เงินสะสมในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือน ที่จำเลยยังไม่ได้จ่ายให้โจทก์ในปี 2528,2529 และ 2530 ถึงวัน เลิกจ้างพร้อมดอกเบี้ย หรือให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยมิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยแจ้งชัดถึงเรื่องเงินสะสมว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่จ่ายเงินสะสมให้โจทก์และจำเลยไม่ได้ให้การถึงระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินสะสมของพนักงาน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์ หรือไม่ จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเงินสะสมนับแต่วันเลิกจ้าง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินสะสมเมื่อใด ศาลฎีกาให้ คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า พ. ได้รับอนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารจำเลย สาขารังสิตก่อนที่โจทก์จะย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขารังสิต ขณะที่โจทก์ย้ายมานั้น พ. ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้วจำนวน 1,304,382 บาท และหลังจากนั้น ผู้จัดการภาคกลาง 2 ก็ได้อนุมัติให้ พ. กู้เงินอีก 3,500,000 บาทส่วน การ ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. กู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน2,100,000 บาทนั้นเป็นกรณีที่ลูกค้าขอโอนภาระหนี้มาจากธนาคารจำเลย สาขาห้วยขวางโดยการอนุมัติของผู้จัดการภาคกลาง 2 โจทก์มิได้เป็นผู้อนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกเช่นเดียวกัน จำเลยอุทธรณ์ ว่า โจทก์อนุมัติให้ พ. และและห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ซึ่งมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่แล้วเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าวงเงิน ตามสัญญา อันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่า อำนาจของโจทก์ เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลาง รับฟังมา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ควบคุมดูแลให้ลูกค้า 2 รายดังกล่าว นำเงินชำระหนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีให้อยู่ ภายในวงเงินตามสัญญานั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้อนุมัติให้ลูกค้า 2 ราย ดังกล่าว กู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงิน เกิน บัญชี เกินกว่า อำนาจดังนั้น แม้จะมีการควบคุมดูแลให้มีการ นำ เงิน ชำระหนี้ เพื่อ ลด จำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ใช่ว่า จะทำให้ลูกค้ามีเงินมาชำระหนี้ได้เสมอไป โจทก์เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ในการอำนวยสินเชื่อให้แก่ ลูกค้าของธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อซ้ำซ้อนและอนุมัติในการรับซื้อ เช็ค ที่ มิใช่เป็นเช็คทางการค้าให้แก่ลูกหนี้ของธนาคาร แต่ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตและทำให้เกิดความเสียหาย แก่ จำเลย แต่อย่างใดการกระทำของโจทก์แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่ เป็นกรณีร้ายแรง โจทก์ลงชื่อในรายงานการตรวจและประเมินราคาหลักทรัพย์ ที่ นำมาเป็นหลักประกันในการอนุมัติสินเชื่อโดยไม่ได้ไปตรวจดู หลักทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลแรงงานฟังว่า ผู้ช่วยผู้จัดการ สาขา ซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาสินเชื่อเป็นผู้ไป ตรวจ สภาพ หลักทรัพย์ และ เป็นผู้ทำรายงานตามทางเคยปฏิบัติกันมา และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการตรวจหลักทรัพย์โดยมิชอบ ประการใด การที่โจทก์ทำการดังกล่าว แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่ เป็นกรณีร้ายแรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การลดตำแหน่ง และการจ่ายเงินสะสม: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์อันเป็นการลดตำแหน่งลง ต่อมาจำเลยได้มีคำสั่งลงโทษลดขั้นเงินเดือนและงดจ่ายเงินโบนัส มีคำสั่งพักงานแล้วมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม ให้จำเลยจ่ายค่าจ้าง คือเงินเดือน เงินค่าเลี้ยงชีพ และค่าเช่าบ้านย้อนหลังนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เงินที่จำเลยมีคำสั่งลดขั้นเงินเดือน เงินโบนัสที่งดจ่าย เงินสะสมในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนที่จำเลยยังไม่ได้จ่ายให้โจทก์ในปี 2528,2529 และ 2530 ถึงวันเลิกจ้างพร้อมดอกเบี้ย หรือให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ย จำเลยมิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยแจ้งชัดถึงเรื่องเงินสะสมว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่จ่ายเงินสะสมให้โจทก์และจำเลยไม่ได้ให้การถึงระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินสะสมของพนักงาน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์หรือไม่ จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
โจทก์ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเงินสะสมนับแต่วันเลิกจ้าง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินสะสมเมื่อใด ศาลฎีกาให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า พ.ได้รับอนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารจำเลย สาขารังสิต ก่อนที่โจทก์จะย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขารังสิต ขณะที่โจทก์ย้ายมานั้น พ.ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้วจำนวน 1,304,382 บาท และหลังจากนั้นผู้จัดการภาคกลาง 2ก็ได้อนุมัติให้ พ.กู้เงินอีก 3,500,000 บาท ส่วนการให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.กู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 2,100,000 บาทนั้น เป็นกรณีที่ลูกค้าขอโอนภาระหนี้มาจากธนาคารจำเลยสาขาห้วยขวางโดยการอนุมัติของผู้จัดการภาคกลาง 2 โจทก์มิได้เป็นผู้อนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกเช่นเดียวกันจำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์อนุมัติให้ พ.และห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ซึ่งมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่แล้วเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าวงเงินตามสัญญา อันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าอำนาจของโจทก์ เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มารา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ควบคุมดูแลให้ลูกค้า 2 รายดังกล่าวนำเงินชำระหนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีให้อยู่ภายในวงเงินตามสัญญานั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้อนุมัติให้ลูกค้า 2 รายดังกล่าวกู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าอำนาจ ดังนั้น แม้จะมีการควบคุมดูแลให้มีการนำเงินชำระหนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ใช่ว่าจะทำให้ลูกค้ามีเงินมาชำระหนี้ได้เสมอไป
โจทก์เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ในการอำนวยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าของธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อซ้ำซ้อนและอนุมัติในการรับซื้อเช็คที่มิใช่เป็นเช็คทางการค้าให้แก่ลูกหนี้ของธนาคารแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตและทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยแต่อย่างใดการกระทำของโจทก์แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่เป็นกรณีร้ายแรง
โจทก์ลงชื่อในรายงานการตรวจและประเมินราคาหลักทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันในการอนุมัติสินเชื่อโดยไม่ได้ไปตรวจดูหลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลแรงงานฟังว่าผู้ช่วยผู้จัดการสาขาซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาสินเชื่อเป็นผู้ไปตรวจสภาพหลักทรัพย์และเป็นผู้ทำรายงานตามทางเคยปฏิบัติกันมา และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการตรวจหลักทรัพย์โดยมิชอบประการใด การที่โจทก์ทำการดังกล่าว แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่เป็นกรณีร้ายแรง
โจทก์ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยเงินสะสมนับแต่วันเลิกจ้าง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินสะสมเมื่อใด ศาลฎีกาให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า พ.ได้รับอนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารจำเลย สาขารังสิต ก่อนที่โจทก์จะย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขารังสิต ขณะที่โจทก์ย้ายมานั้น พ.ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้วจำนวน 1,304,382 บาท และหลังจากนั้นผู้จัดการภาคกลาง 2ก็ได้อนุมัติให้ พ.กู้เงินอีก 3,500,000 บาท ส่วนการให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.กู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 2,100,000 บาทนั้น เป็นกรณีที่ลูกค้าขอโอนภาระหนี้มาจากธนาคารจำเลยสาขาห้วยขวางโดยการอนุมัติของผู้จัดการภาคกลาง 2 โจทก์มิได้เป็นผู้อนุมัติให้กู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกเช่นเดียวกันจำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์อนุมัติให้ พ.และห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ซึ่งมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่แล้วเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าวงเงินตามสัญญา อันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าอำนาจของโจทก์ เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มารา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ควบคุมดูแลให้ลูกค้า 2 รายดังกล่าวนำเงินชำระหนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีให้อยู่ภายในวงเงินตามสัญญานั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้อนุมัติให้ลูกค้า 2 รายดังกล่าวกู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นการขยายวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่าอำนาจ ดังนั้น แม้จะมีการควบคุมดูแลให้มีการนำเงินชำระหนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีก็ไม่ใช่ว่าจะทำให้ลูกค้ามีเงินมาชำระหนี้ได้เสมอไป
โจทก์เป็นผู้จัดการสาขามีหน้าที่ในการอำนวยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าของธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อซ้ำซ้อนและอนุมัติในการรับซื้อเช็คที่มิใช่เป็นเช็คทางการค้าให้แก่ลูกหนี้ของธนาคารแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตและทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยแต่อย่างใดการกระทำของโจทก์แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่เป็นกรณีร้ายแรง
โจทก์ลงชื่อในรายงานการตรวจและประเมินราคาหลักทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันในการอนุมัติสินเชื่อโดยไม่ได้ไปตรวจดูหลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลแรงงานฟังว่าผู้ช่วยผู้จัดการสาขาซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาสินเชื่อเป็นผู้ไปตรวจสภาพหลักทรัพย์และเป็นผู้ทำรายงานตามทางเคยปฏิบัติกันมา และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการตรวจหลักทรัพย์โดยมิชอบประการใด การที่โจทก์ทำการดังกล่าว แม้เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ก็มิใช่เป็นกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลแรงงาน การอุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้าม
ชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนเนื่องจากโจทก์เป็นหนี้เงินกู้กรรมการของบริษัทจำเลย และกรรมการของบริษัทจำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลแพ่งแล้วศาลแรงงานกลางเห็นว่า คำร้องไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอให้งดการบังคับคดีได้ จึงไม่เห็นควรให้งดการบังคับคดีตามคำร้องและให้ยกคำร้อง เช่นนี้ เป็นการสั่งตามอำนาจที่ใช้ดุลพินิจพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ขอให้สั่งให้ศาลแรงงานกลางไต่สวนเพื่อมีคำสั่งให้งดการบังคับคดี จึงเป็นอุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดี: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจศาลแรงงานกลางเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
ชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนเนื่องจากโจทก์เป็นหนี้เงินกู้กรรมการของบริษัทจำเลย และกรรมการของบริษัทจำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลแพ่งแล้วศาลแรงงานกลางเห็นว่า คำร้องไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะขอให้งดการบังคับคดีได้ จึงไม่เห็นควรให้งดการบังคับคดีตามคำร้องและให้ยกคำร้อง เช่นนี้ เป็นการสั่งตามอำนาจที่ใช้ดุลพินิจพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ขอให้สั่งให้ศาลแรงงานกลางไต่สวนเพื่อมีคำสั่งให้งดการบังคับคดี จึงเป็นอุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.