คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 540 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4121/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และต้องมีข้อตกลงชัดเจน หากไม่มีข้อตกลง คำสั่งให้ทำงานล่วงเวลานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อุทธรณ์จำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานนอกจากนี้จำเลยยังได้อ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในอุทธรณ์อีกจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สัญญาจ้างแรงงานนอกจากจะบังคับใช้ตามบรรพ 3 ลักษณะ 6แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ยังจะต้องบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะให้สอดคล้องกันด้วย
ในเรื่องการทำงานล่วงเวลาได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉะนั้น นายจ้างจะมีคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่ เพียงใด ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายฉบับนี้ คู่กรณีจะทำสัญญาให้แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหาได้ไม่
นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานนอกจากจะเข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไปหมายความว่า เมื่อนายจ้างประสงค์ให้มีการทำงานล่วงเวลาในช่วงระยะเวลาใดนายจ้างจะต้องทำความตกลงกับลูกจ้างโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้มีสาระสำคัญครบถ้วนถึงกำหนดช่วงระยะการเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาไว้ก่อนล่วงหน้า หลังจากนั้นหากนายจ้างจะออกคำสั่งในเรื่องการทำงานล่วงเวลาอีกก็ต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว ถ้าคำสั่งนั้นไม่สอดคล้องกับข้อตกลงต้องถือว่าเป็นคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ลูกจ้างไม่จำต้องปฏิบัติตามก็ได้
เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเรื่องกำหนดช่วงระยะเวลาเริ่มต้นและการสิ้นสุดของการทำงานล่วงเวลาระหว่างจำเลยกับลูกจ้างรวมทั้งโจทก์คำสั่งของจำเลยให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะลงชื่อให้ความยินยอมว่าจะปฏิบัติตาม ก็ไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้องทำงานล่วงเวลา การที่โจทก์ไม่ได้ทำงานล่วงเวลาทุกวันตามคำสั่งของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขัดคำสั่งของจำเลยเรื่องการทำงานล่วงเวลา
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวหนึ่ง จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แสดงอยู่ในตัวว่าศาลแรงงานวินิจฉัยคดีโดยปรับใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการอนุญาตถอนฟ้องและการไม่อุทธรณ์ดุลพินิจ
แม้จำเลยคัดค้านการขอถอนฟ้องของโจทก์ก็ตาม แต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่อนุญาต หรือจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลแรงงานจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลแรงงานในการอนุญาตถอนฟ้อง: อุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเป็นอุทธรณ์ต้องห้าม
แม้จำเลยจะคัดค้านการขอถอนฟ้องของโจทก์ก็ตามแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่อนุญาต หรือจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลแรงงาน จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการอนุญาตถอนฟ้อง และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คำสั่ง
แม้จำเลยคัดค้านการขอถอนฟ้องของโจทก์ก็ตาม แต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่อนุญาต หรือจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องย่อมเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน อุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของศาลแรงงานจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776-1777/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบ แต่ความผิดไม่ร้ายแรงเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 โดยไม่ได้กระทำความผิด เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยที่ 1จ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เนื่องจากโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ทุจริตต่อหน้าที่ที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ในกรณีร้ายแรง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ศาลแรงงานได้กำหนดให้คู่ความนำพยานเข้าสืบตามคำฟ้องและคำให้การ แม้ศาลแรงงานจะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ และเสียหายเพียงใด แต่หากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาคดีศาลแรงงานเห็นว่ากรณีที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 นั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมทั้งกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49
โจทก์ที่ 1 ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1อันเป็นความผิดเพียงเล็กน้อยยังไม่สมควรลงโทษเลิกจ้าง แต่จำเลยที่ 1กลับลงโทษเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้บันทึกบัตรลงเวลาทำงานโดยยังไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์ที่ 1 ไม่บันทึกบัตรลงเวลาทำงานเป็นการประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลว่าจะได้รับประโยชน์ในค่าจ้างหรือเงินพิเศษต่าง ๆ และได้รับการพิจารณาความดีความชอบจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำสืบข้อเท็จจริงให้ปรากฏในสำนวนว่าโจทก์ที่ 1 จะได้รับค่าจ้างและเงินพิเศษต่าง ๆ อะไร จำนวนเท่าใดและจำเลยที่ 1 จะพิจารณาให้ความดีความชอบอะไรแก่โจทก์ที่ 1 ทั้งศาลแรงงานก็มิได้ฟังข้อเท็จจริงดังที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1ข้อนี้เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เพื่อโต้แย้งดุลพินิจในการวินิจฉัยคดีของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ถือว่าเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดว่า หากสมาชิกกองทุนพ้นจากสมาชิกด้วยเหตุผลถูกไล่ออกหรือถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างเนื่องจากประพฤติผิดอย่างร้ายแรงขัดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 สมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินสมทบ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้กระทำผิด ส่วนโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่ แต่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 ในกรณีไม่ร้ายแรง ดังนี้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบจากจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพการจ้างงาน: ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม หากมีขอบเขตจำกัดและไม่ปิดกั้นการประกอบอาชีพโดยสิ้นเชิง
สัญญาแนบท้ายสัญญาจ้างแรงงานมีว่า ในระหว่างการจ้างงานหรือภายใน 5 ปี นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลงจำเลยจะต้องไม่ทำงานให้แก่บริษัทคู่แข่งทางการค้าของโจทก์หรือมีหุ้นในบริษัทคู่แข่งทางการค้าของโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อจำกัดห้ามการประกอบอาชีพอันเป็นการแข่งขันกับโจทก์ และระบุจำกัดประเภทของธุรกิจไว้อย่างชัดเจน มิได้เป็นการห้ามจำเลยประกอบอาชีพอันเป็นการปิดทางทำมาหาได้อย่างเด็ดขาด และจำเลยสามารถที่จะประกอบอาชีพหรือทำงานในบริษัทประกอบธุรกิจที่อยู่นอกเหนือข้อตกลงและนอกขอบเขตพื้นที่ที่ห้าม ลักษณะของข้อตกลงที่ก่อให้เกิดหนี้ในการงดเว้นการกระทำตามที่กำหนดโดยความสมัครใจของคู่กรณีเช่นนี้ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดทีเดียว เพียงแต่เป็นการห้ามประกอบอาชีพบางอย่างที่เป็นการแข่งขันกับโจทก์ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นไปโดยชอบในเชิงของการประกอบธุรกิจ ไม่เป็นการปิดการทำมาหาได้ของฝ่ายใดโดยเด็ดขาดจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ ย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยไปทำงานกับบริษัทอื่นซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับโจทก์หลังจากโจทก์เลิกจ้างแล้วภายในกำหนดเวลาห้าม อันเป็นการผิดสัญญาซึ่งจำเลยต้องรับผิด แต่ความรับผิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งการกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่มีอำนาจกำหนดให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาห้ามแข่งขันหลังเลิกจ้าง: ข้อจำกัดที่ชอบธรรมและผลผูกพันทางสัญญา
สัญญาแนบท้ายสัญญาจ้างแรงงานมีว่า ในระหว่างการจ้างงานหรือภายใน 5 ปี นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลงจำเลยจะต้องไม่ทำงานให้แก่บริษัทคู่แข่งทางการค้าของโจทก์หรือมีหุ้นในบริษัทคู่แข่งทางการค้าของโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อจำกัดห้ามการประกอบอาชีพอันเป็นการแข่งขันกับโจทก์ และระบุจำกัดประเภทของธุรกิจไว้อย่างชัดเจน มิได้เป็นการห้ามจำเลยประกอบอาชีพอันเป็นการปิดทางทำมาหาได้อย่างเด็ดขาด และจำเลยสามารถที่จะประกอบอาชีพหรือทำงานในบริษัทประกอบธุรกิจที่อยู่นอกเหนือข้อตกลงและนอกขอบเขตพื้นที่ที่ห้าม ลักษณะของข้อตกลงที่ก่อให้เกิดหนี้ในการงดเว้นการกระทำตามที่กำหนดโดยความสมัครใจของคู่กรณีเช่นนี้ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดทีเดียว เพียงแต่เป็นการห้ามประกอบอาชีพบางอย่างที่เป็นการแข่งขันกับโจทก์ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีที่เป็นไปโดยชอบในเชิงของการประกอบธุรกิจ ไม่เป็นการปิดการทำมาหาได้ของฝ่ายใดโดยเด็ดขาดจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ ย่อมมีผลใช้บังคับได้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยไปทำงานกับบริษัทอื่นซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับโจทก์หลังจากโจทก์เลิกจ้างแล้วภายในกำหนดเวลาห้าม อันเป็นการผิดสัญญาซึ่งจำเลยต้องรับผิด แต่ความรับผิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งการกำหนดค่าเสียหายเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่มีอำนาจกำหนดให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน ต้องห้ามอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่จำเลยลงโทษตัดค่าจ้างโจทก์และให้คืนเงินค่าจ้างที่ตัดไปแก่โจทก์ มิใช่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (8)(9) ซึ่งกรณีนี้ ป.พ.พ.หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา193/30
ศาลแรงงานได้พิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานจำเลยประกอบเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน แล้ววินิจฉัยว่าพยานโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวอ้าง อันเป็นการวินิจฉัยรวมไปถึงเหตุต่าง ๆ ทั้งหมดที่จำเลยอ้างแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยได้อ้างคำเบิกความของพยานจำเลยประกอบกับพยานเอกสารเพื่อให้ฟังว่าโจทก์กระทำผิดและจำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัย และขอบเขตการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่จำเลยลงโทษตัดค่าจ้างโจทก์และให้คืนเงินค่าจ้างที่ตัดไปแก่โจทก์ มิใช่โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(8)(9) ซึ่งกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ศาลแรงงานได้พิจารณาคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานจำเลยประกอบเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน แล้ววินิจฉัยว่าพยานโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามที่จำเลยกล่าวอ้างอันเป็นการวินิจฉัยรวมไปถึงเหตุต่าง ๆ ทั้งหมดที่จำเลยอ้างแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยได้อ้างคำเบิกความของพยานจำเลยประกอบกับพยานเอกสารเพื่อให้ฟังว่าโจทก์กระทำผิดและจำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056-1057/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีแรงงาน
โจทก์อุทธรณ์ว่า การกู้ยืมเงินเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ห้ามพนักงานปล่อยเงินกู้ โดยถือเป็นความผิดในกรณีร้ายแรง เป็นการออกระเบียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อุทธรณ์ข้อนี้ โจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องและจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่เคยปล่อยเงินกู้ แต่ภริยาของโจทก์ปล่อยเงินกู้จะถือเอาการกระทำของภริยาโจทก์เป็นความผิดของโจทก์ไม่ได้นั้น ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ปล่อยเงินกู้ให้พนักงานของจำเลยโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. เบิกความต่อศาลว่า เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์แต่เป็นการกู้ยืมกันก่อนที่จำเลยจะออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเรื่องห้ามพนักงานปล่อยเงินกู้ โจทก์จึงมิได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยคดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า หลังจากจำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว โจทก์จึงให้พนักงานของจำเลยกู้เงิน อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
แม้การที่โจทก์ให้พนักงานของจำเลยกู้เงินจะไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือแต่การที่โจทก์ให้พนักงานของจำเลยกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 15 ต่อ15 วัน หรือร้อยละ 30 ต่อเดือน เห็นได้ว่าเป็นการเอาเปรียบและสร้างความเดือดร้อนแก่เพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นผู้ใช้แรงงาน การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยในกรณีร้ายแรง
of 54