พบผลลัพธ์ทั้งหมด 540 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง แม้มีการส่งตัวไปทำงานกับบริษัทอื่น
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่า เมื่อวันที่ 11มิถุนายน 2539 โจทก์สมัครเข้าทำงานกับบริษัทบางกอกโมเดอร์นแกรนิต จำกัดและบริษัทดังกล่าวส่งโจทก์มาทำงานกับจำเลยด้วยความยินยอมของโจทก์และจำเลยโจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่นั้นมาและทำงานกับจำเลยถึงวันที่ 7 กันยายน2541 แล้วถูกจำเลยเลิกจ้าง สำหรับอุทธรณ์ของจำเลยศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าให้รับอุทธรณ์เฉพาะประเด็นที่ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยอย่างร้ายแรงหรือไม่ แต่เมื่อตรวจดูอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวเช่นนั้น กลับอุทธรณ์ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของบริษัทบางกอกโมเดอร์นแกรนิต จำกัด อย่างร้ายแรงหรือไม่ ดังนี้ เห็นว่าเมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทบางกอกโมเดอร์นแกรนิต จำกัด และถูกจำเลยเลิกจ้างไม่ใช่ถูกบริษัทดังกล่าวเลิกจ้าง ความรับผิดของจำเลยที่จะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้แก่โจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิมต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่ศาลแรงงานกลางสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย.(หัสดี ไกรทองสุก - สละ เทศรำพรรณ - จรัส พวงมณี)พัชรินทร์ พิมพ์/ทาน
พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย.(หัสดี ไกรทองสุก - สละ เทศรำพรรณ - จรัส พวงมณี)พัชรินทร์ พิมพ์/ทาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315-327/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างในการเลิกจ้างและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและโบนัส กรณีบริษัทอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้าง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมทุนจัดตั้งธนาคาร จ. โดยตกลงให้จำเลยทดรองจ่ายค่าจ้างแก่พนักงานของธนาคารรวมทั้งโจทก์ไปก่อน จำเลยจึงเป็นผู้ร่วมทุนถือหุ้นในธนาคารและเป็นแกนนำในการจัดตั้งธนาคาร จำเลยกับผู้ร่วมทุนทั้งหมดย่อมมีฐานะร่วมเป็นนายจ้างของโจทก์ประกอบกับโครงการจัดตั้งธนาคาร จ. จะต้องระงับลงเพราะจำเลยกับบริษัทเงินทุน ซ. หนึ่งในผู้ร่วมทุนถูกทางราชการสั่งให้ระงับการดำเนินการ ธนาคาร จ. จึงไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล จำเลยอุทธรณ์ว่า ธนาคาร จ. เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำเลย และมีผู้ร่วมก่อการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน อีกทั้งโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลย จนปัจจุบันนี้จำเลยก็ยังมิได้เข้าชื่อซื้อหุ้นธนาคาร จ. จะถือว่าจำเลยเป็นผู้ร่วมทุนถือหุ้นมิได้ จำเลยมิได้มีส่วนควบคุมดูแลสั่งการหรือบังคับบัญชาโจทก์ จำเลยทดรองจ่ายค่าจ้างแทนธนาคาร จ. เท่านั้น จำเลยมิได้เป็นนายจ้างโจทก์ทั้งสิบสาม จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงค่าจ้างค้างจ่าย อายุงาน และค่าจ้างอัตราสุดท้ายไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว เมื่อจำเลยไม่ให้การปฏิเสธก็ต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีอายุงาน ค่าจ้างอัตราสุดท้ายและค่าจ้างค้างจ่ายตามฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
แม้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 วรรคสอง จะให้สิทธิแก่จำเลยที่จะยื่นคำให้การหรือไม่ก็ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การเป็นหนังสือแล้วก็ต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งในข้อใดย่อมถือว่าจำเลยให้การรับในข้อนั้นแล้ว
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยรับที่จะจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ตามฟ้องเนื่องจากมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย เท่ากับจำเลยให้การปฏิเสธในประเด็นนี้โดยชัดแจ้งแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบในประเด็นนี้ประกอบกับสัญญาจ้างงานระบุว่า ในระหว่างที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งธนาคาร จ. เป็นนิติบุคคล โจทก์ทั้งสิบสามจะได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการต่าง ๆ ของจำเลยในส่วนที่มิได้ระบุไว้ในสัญญานี้ ยกเว้นเรื่องการจ่ายเงินโบนัสจะเป็นไปตามประกาศของโครงการธนาคาร จ. จนกว่าจะมีการจัดตั้งธนาคาร จ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่าง ๆ ตามระเบียบข้อบังคับของธนาคาร จ. แสดงว่า โจทก์จะได้รับเงินโบนัสต่อเมื่อมีการจัดตั้งธนาคาร จ. เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อไม่อาจจัดตั้งธนาคารดังกล่าวได้ ประกอบกับระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินโบนัสแก่พนักงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส
จำเลยอุทธรณ์ว่า พระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540บัญญัติให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจัดการชำระบัญชีรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยออกประมูลเพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ทุกราย โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เฉลี่ยกับเจ้าหนี้ทุกราย แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โดยใช้สิทธิไม่สุจริตยื่นฟ้องคดีนี้จึงไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้อันเป็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานก็ตาม แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พระราชกฤษฎีกาการปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มีบทบัญญัติห้ามฟ้องไว้แต่เฉพาะในมาตรา 26 โดยห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเท่านั้นเมื่อคดีนี้ไม่ใช่คดีล้มละลาย โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฟ้องคดี
คำฟ้องของโจทก์บรรยายถึงค่าจ้างค้างจ่าย อายุงาน และค่าจ้างอัตราสุดท้ายไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว เมื่อจำเลยไม่ให้การปฏิเสธก็ต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีอายุงาน ค่าจ้างอัตราสุดท้ายและค่าจ้างค้างจ่ายตามฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
แม้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 วรรคสอง จะให้สิทธิแก่จำเลยที่จะยื่นคำให้การหรือไม่ก็ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การเป็นหนังสือแล้วก็ต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งในข้อใดย่อมถือว่าจำเลยให้การรับในข้อนั้นแล้ว
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยรับที่จะจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ตามฟ้องเนื่องจากมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย เท่ากับจำเลยให้การปฏิเสธในประเด็นนี้โดยชัดแจ้งแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่นำสืบในประเด็นนี้ประกอบกับสัญญาจ้างงานระบุว่า ในระหว่างที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งธนาคาร จ. เป็นนิติบุคคล โจทก์ทั้งสิบสามจะได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการต่าง ๆ ของจำเลยในส่วนที่มิได้ระบุไว้ในสัญญานี้ ยกเว้นเรื่องการจ่ายเงินโบนัสจะเป็นไปตามประกาศของโครงการธนาคาร จ. จนกว่าจะมีการจัดตั้งธนาคาร จ. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่าง ๆ ตามระเบียบข้อบังคับของธนาคาร จ. แสดงว่า โจทก์จะได้รับเงินโบนัสต่อเมื่อมีการจัดตั้งธนาคาร จ. เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อไม่อาจจัดตั้งธนาคารดังกล่าวได้ ประกอบกับระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่ได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินโบนัสแก่พนักงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส
จำเลยอุทธรณ์ว่า พระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540บัญญัติให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจัดการชำระบัญชีรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยออกประมูลเพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ทุกราย โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เฉลี่ยกับเจ้าหนี้ทุกราย แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว โดยใช้สิทธิไม่สุจริตยื่นฟ้องคดีนี้จึงไม่ชอบ แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้อันเป็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานก็ตาม แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พระราชกฤษฎีกาการปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มีบทบัญญัติห้ามฟ้องไว้แต่เฉพาะในมาตรา 26 โดยห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเท่านั้นเมื่อคดีนี้ไม่ใช่คดีล้มละลาย โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9332/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลแรงงานในการอนุญาตถอนฟ้อง และข้อจำกัดในการอุทธรณ์
ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง ต้องนำมาใช้ในการพิจารณาคดีแรงงาน โดยนัยแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ จึงเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9332/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีดุลพินิจอนุญาตได้ อุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง ต้องนำมาใช้ในการพิจารณาคดีแรงงาน โดยนัยแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ จึงเป็นดุลพินิจของศาลแรงงาน จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7492/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำของลูกจ้างไม่ถึงขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับ
การที่โจทก์ดื่มสุรานอกสถานที่ทำงานในช่วงเวลาที่โจทก์ได้ขออนุญาตด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาออกไปทำธุระส่วนตัว แม้การขออนุญาตดังกล่าวของโจทก์จะไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับ เนื่องจากมิได้ขออนุญาตเป็นหนังสือ แต่ผู้บังคับบัญชาก็ได้อนุญาตด้วยวาจาแล้ว ส่วนกรณีที่โจทก์เมาสุราและมีเหตุทะเลาะวิวาทกับ ส. ในบริเวณที่ทำงานของจำเลย การทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นเมื่อเวลาหลังเลิกงานแล้วโดยไม่ทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย และแม้โจทก์โทรศัพท์แจ้งเท็จต่อผู้บังคับบัญชาว่าธุระยังไม่เสร็จ ก็ไม่ปรากฏว่าได้ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง เช่นเดียวกัน ดังนี้การกระทำดังกล่าวของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดวินัยร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยที่ได้กำหนด ให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงต่อเมื่อการกระทำของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่จำเลยด้วย
การเลิกจ้างกรณีเช่นใดจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลแรงงานสามารถวินิจฉัยได้โดยคำนึงถึงเหตุอันควรในการเลิกจ้างประกอบกับระเบียบข้อบังคับการทำงานซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
โจทก์ไม่ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ทั้งข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้การลงโทษไล่ออกกระทำได้ในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างกรณีเช่นใดจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลแรงงานสามารถวินิจฉัยได้โดยคำนึงถึงเหตุอันควรในการเลิกจ้างประกอบกับระเบียบข้อบังคับการทำงานซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
โจทก์ไม่ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ทั้งข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้การลงโทษไล่ออกกระทำได้ในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อการกระทำของโจทก์ไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174-7185/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การพิสูจน์เหตุเลิกจ้าง และขอบเขตอำนาจศาลในการพิพากษาค่าชดเชยเกินคำขอ
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานมิได้นำเหตุผลที่โจทก์ทั้งสิบสองกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างมาพิจารณา แต่นำคำเบิกความของพยานที่ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง มาเป็นเหตุผลในการตัดสินคดี เมื่อนำคำพยานจำเลยมาพิจารณาจะเห็นได้ว่าเป็นเพียงคำชี้แจงถึงผลที่จะตามมาถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มิใช่เป็นคำสั่งเลิกจ้าง คำพูดดังกล่าวเป็นการพูดขณะที่มีอารมณ์โกรธ มิใช่คำสั่งเด็ดขาดว่าหากไม่พิมพ์ลายนิ้วมือให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง อีกทั้งไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่เป็นช่วง 8 คน ด้วยในวันเดียวพร้อม ๆ กัน และโจทก์ทั้งสองจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำเลยและได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏชัดว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3 มิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ขณะโจทก์ที่ 4 ถึงโจทก์ที่ 7 และโจทก์ที่ 9 ถึงโจทก์ที่ 12 ถูกจำเลยเลิกจ้าง มิได้เป็นผู้ได้ยินหรือทราบข้อความโดยตรงในเหตุการณ์ดังกล่าว คำเบิกความของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3จึงเป็นพยานบอกเล่า ศาลมิอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ดี และโจทก์ทั้งสิบสองมีหน้าที่สืบว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสองแต่ข้อเท็จจริงในสำนวนมิอาจรับฟังน้ำหนักให้พอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง ศาลจึงมิอาจจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสิบสองก็ดี แต่คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์ฟ้องอ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 13,500 บาท มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน คิดเป็นเงิน40,500 บาท ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 12,150 บาท แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จำนวน 72,900 บาท ซึ่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 36,450 บาท แม้จำเลยอุทธรณ์ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 40,500 บาท ตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเพียงจำนวนดังกล่าวศาลก็ต้องพิพากษาให้ตามที่โจทก์มีสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง-ค่าชดเชย: ศาลแรงงานพิจารณาพยานหลักฐานและคำนวณค่าชดเชยผิดพลาด
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานมิได้นำเหตุผลที่โจทก์ทั้งสิบสองกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างมาพิจารณา แต่นำคำเบิกความของพยานที่ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง มาเป็นเหตุผลในการตัดสินคดี เมื่อนำคำพยานจำเลยมาพิจารณาจะเห็นได้ว่าเป็นเพียงคำชี้แจงถึงผลที่จะตามมาถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มิใช่เป็นคำสั่งเลิกจ้าง คำพูดดังกล่าวเป็นการพูดขณะที่มีอารมณ์โกรธ มิใช่คำสั่งเด็ดขาดว่าหากไม่พิมพ์ลายนิ้วมือให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง อีกทั้งไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่เป็นช่าง 8 คน ด้วยในวันเดียวพร้อม ๆ กัน และโจทก์ทั้งสิบสองจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำเลยและได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏชัดว่า โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 3 มิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ขณะโจทก์ที่ 4 ถึงโจทก์ที่ 7 และโจทก์ที่ 9ถึงโจทก์ที่ 12 ถูกจำเลยเลิกจ้าง มิได้เป็นผู้ได้ยินหรือทราบข้อความโดยตรงในเหตุการณ์ดังกล่าว คำเบิกความของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3 จึงเป็นพยานบอกเล่า ศาลมิอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ดี และโจทก์ทั้งสิบสองมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนมิอาจรับฟังน้ำหนักให้พอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง ศาลจึงมิอาจจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสิบสองก็ดี แต่คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 13,500 บาทมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน คิดเป็นเงิน 40,500 บาทศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 12,150 บาทแต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จำนวน 72,900 บาท ซึ่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 36,450 บาทแม้จำเลยอุทธรณ์ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 40,500 บาท ตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเพียงจำนวนดังกล่าว ศาลก็ต้องพิพากษาให้ตามที่โจทก์มีสิทธิ
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏชัดว่า โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 3 มิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ขณะโจทก์ที่ 4 ถึงโจทก์ที่ 7 และโจทก์ที่ 9ถึงโจทก์ที่ 12 ถูกจำเลยเลิกจ้าง มิได้เป็นผู้ได้ยินหรือทราบข้อความโดยตรงในเหตุการณ์ดังกล่าว คำเบิกความของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3 จึงเป็นพยานบอกเล่า ศาลมิอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ดี และโจทก์ทั้งสิบสองมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนมิอาจรับฟังน้ำหนักให้พอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง ศาลจึงมิอาจจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสิบสองก็ดี แต่คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 13,500 บาทมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน คิดเป็นเงิน 40,500 บาทศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 12,150 บาทแต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จำนวน 72,900 บาท ซึ่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 36,450 บาทแม้จำเลยอุทธรณ์ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 40,500 บาท ตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเพียงจำนวนดังกล่าว ศาลก็ต้องพิพากษาให้ตามที่โจทก์มีสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากกรณีทุจริตต่อหน้าที่และการรับสินบน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจาก จ. เดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลย หาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น มีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจาก จ. ไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะอันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาว่า โจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่า จ. จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไป ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งข้อนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงมาว่า หาก จ. ไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง มีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว
ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจและโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง มีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสินบนของลูกจ้างส่งผลถึงการเลิกจ้าง และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่า ข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจาก จ. เดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น มีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากจ.ไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่า จ.จ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไป ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงมาว่า หาก จ.ไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ตามหนังสือเลิกจ้างข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้างมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ทำงานติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่ครบ3 ปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 39,390บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 13,567.66 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน 40,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง และในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการพนักงานของจำเลยและรับสมัครบุคคลเข้าทำงานกับจำเลย โจทก์เรียกรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้รับส่งพนักงานของจำเลย เดือนละ 3,000บาท และเรียกเงินจากผู้สมัครงานกับจำเลยคนละ 1,000 บาท เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการติดต่อบุคคลภายนอกให้เข้าทำสัญญารับส่งพนักงานกับจำเลยแต่กลับรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้เข้ามารับจ้างรับส่งพนักงาน โดยโจทก์ทราบดีว่า เหตุที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินให้ก็เพื่อต้องการให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถและชนะการประมูลได้เป็นผู้รับจ้างรับส่งพนักงานต่อไป และที่โจทก์รับเงินเนื่องจากโจทก์อยู่ในหน้าที่ต้องจัดหาผู้เข้ามารับส่งพนักงานในแต่ละปี และคอยดูแลความเรียบร้อยในเรื่องดังกล่าว การรับเงินของโจทก์จึงเป็นการรับเงินโดยอาศัยงานในหน้าที่ อันเป็นการได้รับมาโดยไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่และอาจส่งผลกระทบทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียประโยชน์ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่าข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวเดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์ เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไปซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งเรื่องนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า หากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ข้อสุดท้ายว่า หนังสือเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ระบุเหตุเลิกจ้างว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง ศาลแรงงานกลางจึงไม่อาจหยิบยกเรื่องโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงขึ้นมาวินิจฉัยให้จำเลยได้นั้น เห็นว่า ตามหนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.1 ระบุข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง หนังสือดังกล่าวมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสามแล้ว
พิพากษายืน.
(เสรี ชุณหถนอม - พิมล สมานิตย์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล)ศาลแรงงานกลาง นายอิศรา วรรณสวาท
นายอนันต์ ชุมวิสูตร - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ - ย่อ
รุจิรา พิมพ์/ทาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ทำงานติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่ครบ3 ปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน เป็นเงิน 39,390บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 13,567.66 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงิน 40,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง และในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้อง จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการพนักงานของจำเลยและรับสมัครบุคคลเข้าทำงานกับจำเลย โจทก์เรียกรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้รับส่งพนักงานของจำเลย เดือนละ 3,000บาท และเรียกเงินจากผู้สมัครงานกับจำเลยคนละ 1,000 บาท เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ ให้โจทก์ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล มีหน้าที่ในการติดต่อบุคคลภายนอกให้เข้าทำสัญญารับส่งพนักงานกับจำเลยแต่กลับรับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผู้เข้ามารับจ้างรับส่งพนักงาน โดยโจทก์ทราบดีว่า เหตุที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินให้ก็เพื่อต้องการให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถและชนะการประมูลได้เป็นผู้รับจ้างรับส่งพนักงานต่อไป และที่โจทก์รับเงินเนื่องจากโจทก์อยู่ในหน้าที่ต้องจัดหาผู้เข้ามารับส่งพนักงานในแต่ละปี และคอยดูแลความเรียบร้อยในเรื่องดังกล่าว การรับเงินของโจทก์จึงเป็นการรับเงินโดยอาศัยงานในหน้าที่ อันเป็นการได้รับมาโดยไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่และอาจส่งผลกระทบทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียประโยชน์ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง การเลิกจ้างของจำเลยจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ต้องจ่ายเงินตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ข้อแรกว่าข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นยุติว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวเดือนละ 3,000 บาท ไม่ใช่เงินของจำเลย และจำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง การกระทำของโจทก์จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยหาใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตัวโจทก์หรือผู้อื่นไม่ จะถือว่าการกระทำของโจทก์ เป็นการกระทำโดยทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงไม่ได้นั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวมีความหมายว่า โจทก์อ้างว่าไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่เพราะการที่โจทก์รับเงินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่เป็นการรับไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับโจทก์หรือผู้อื่น แต่เพื่อแสวงหาประโยชน์แก่จำเลยโดยเฉพาะ อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาว่าโจทก์รับเงินไว้โดยทราบดีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวจ่ายเงินแก่โจทก์เพราะมีความประสงค์ให้โจทก์อำนวยความสะดวกในการประมูลรถรับส่งพนักงานต่อไปซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์รับเงินไว้โดยมิชอบเพื่อประโยชน์แก่โจทก์เองหรือผู้อื่น และที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ทำให้จำเลยจ่ายเงินค่ารับส่งพนักงานในจำนวนที่ต่ำลง ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพียงบางส่วนขึ้นอ้าง ซึ่งเรื่องนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า หากห้างหุ้นส่วนจำกัดจันทร์สุดาการท่องเที่ยวไม่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เงินที่ต้องใช้ในการประมูลรถรับส่งพนักงานจะมีจำนวนต่ำลง การรับเงินของโจทก์จากบุคคลดังกล่าวจึงมีผลกระทบทำให้จำเลยต้องเสียเงินในส่วนที่ไม่จำเป็นไป อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ข้อสุดท้ายว่า หนังสือเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ระบุเหตุเลิกจ้างว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง ศาลแรงงานกลางจึงไม่อาจหยิบยกเรื่องโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงขึ้นมาวินิจฉัยให้จำเลยได้นั้น เห็นว่า ตามหนังสือเลิกจ้างเอกสารหมาย จ.1 ระบุข้อความว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างโจทก์ โดยจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ และโจทก์ได้กระทำความผิดในเรื่องการรับสินบนจากผู้รับจ้างกับผู้ประกอบการรับ - ส่งพนักงาน ซึ่งทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับจ้าง หนังสือดังกล่าวมีความหมายว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดในเรื่องการรับเงินจากผู้ที่โจทก์มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการทำงานและมีผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่งเท่ากับจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางยกเหตุในการเลิกจ้างดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสามแล้ว
พิพากษายืน.
(เสรี ชุณหถนอม - พิมล สมานิตย์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล)ศาลแรงงานกลาง นายอิศรา วรรณสวาท
นายอนันต์ ชุมวิสูตร - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายเอกศักดิ์ ยันตรปกรณ์ - ย่อ
รุจิรา พิมพ์/ทาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715-4716/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ และความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้าง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้เป็นไปโดยประหยัด สะดวก และรวดเร็ว ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 ประกอบมาตรา 50 ได้บัญญัติให้อำนาจศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกัน หรือให้คู่ความนำพยานมาสืบ หรือมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้เสมอก่อนที่ศาลแรงงานอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ทั้งนี้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29,38,42,43 และมาตรา 45 การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น หลังจากศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทแล้ว ศาลแรงงานจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์และจำเลยเตรียมข้อเท็จจริงทั้งในสำนวนและพยานหลักฐานที่จะใช้สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงให้พร้อมเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายยอมรับได้
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีพยานหลักฐานแสดงต่อศาลแรงงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทั้งจำเลยยังมีพยานบุคคลเป็นพยานอีก 1 ปาก พยานจำเลยย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าพยานโจทก์ การที่ศาลแรงงานรับฟังคำกล่าวอ้างของโจทก์ว่าโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยอ้างว่า โจทก์ทุจริตโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่แอบอ้างบุคคลหลายคนแต่งตั้งเป็นสมาชิกของจำเลยแล้วสั่งซื้อสินค้าไปจากจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระจำเลยเรียกให้บุคคลที่โจทก์แอบอ้างชำระหนี้ ปรากฏว่าสมาชิกบางรายไม่มีตัวตน บางรายไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกและไม่เคยสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการแต่งตั้งสมาชิก ต่อสมาชิกดังกล่าวสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย และค้างชำระค่าสินค้า เมื่อปรากฏว่า การที่สาวจำหน่ายทั้งสิบคนที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระนั้น โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแม้ในการแต่งตั้งสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. โจทก์ได้จดบันทึกข้อมูลตามคำบอกเล่าของบุคคลดังกล่าวลงในทะเบียนแต่งตั้งโดยโจทก์มิได้ตรวจสอบหลักฐานทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทั้งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ตาม แต่เมื่อเป็นคนละกรณีกับสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. ตามที่จำเลยฟ้องแย้ง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งแก่จำเลย
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินทดรองจ่าย แม้จำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ว่าทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่สาวจำหน่ายที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระจากโจทก์ ก็เป็นเพียงการฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระเท่านั้น ไม่มีผลให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นอกจากนี้คดีอาญาซึ่งจำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นการที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีนี้โดยไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 ประกอบมาตรา 50 ได้บัญญัติให้อำนาจศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกัน หรือให้คู่ความนำพยานมาสืบ หรือมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้เสมอก่อนที่ศาลแรงงานอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ทั้งนี้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29,38,42,43 และมาตรา 45 การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น หลังจากศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทแล้ว ศาลแรงงานจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์และจำเลยเตรียมข้อเท็จจริงทั้งในสำนวนและพยานหลักฐานที่จะใช้สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงให้พร้อมเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายยอมรับได้
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีพยานหลักฐานแสดงต่อศาลแรงงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทั้งจำเลยยังมีพยานบุคคลเป็นพยานอีก 1 ปาก พยานจำเลยย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าพยานโจทก์ การที่ศาลแรงงานรับฟังคำกล่าวอ้างของโจทก์ว่าโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยอ้างว่า โจทก์ทุจริตโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่แอบอ้างบุคคลหลายคนแต่งตั้งเป็นสมาชิกของจำเลยแล้วสั่งซื้อสินค้าไปจากจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระจำเลยเรียกให้บุคคลที่โจทก์แอบอ้างชำระหนี้ ปรากฏว่าสมาชิกบางรายไม่มีตัวตน บางรายไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกและไม่เคยสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการแต่งตั้งสมาชิก ต่อสมาชิกดังกล่าวสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย และค้างชำระค่าสินค้า เมื่อปรากฏว่า การที่สาวจำหน่ายทั้งสิบคนที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระนั้น โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแม้ในการแต่งตั้งสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. โจทก์ได้จดบันทึกข้อมูลตามคำบอกเล่าของบุคคลดังกล่าวลงในทะเบียนแต่งตั้งโดยโจทก์มิได้ตรวจสอบหลักฐานทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทั้งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ตาม แต่เมื่อเป็นคนละกรณีกับสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. ตามที่จำเลยฟ้องแย้ง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งแก่จำเลย
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินทดรองจ่าย แม้จำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ว่าทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่สาวจำหน่ายที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระจากโจทก์ ก็เป็นเพียงการฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระเท่านั้น ไม่มีผลให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นอกจากนี้คดีอาญาซึ่งจำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นการที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีนี้โดยไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงชอบแล้ว