คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 54

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 540 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายลูกจ้างเนื่องจากสุขภาพชอบด้วยกฎหมาย การไม่ไปทำงานถือเป็นละทิ้งหน้าที่ มิใช่การเลิกจ้าง
โจทก์ป่วยเป็นโรคไตอักเสบและโจทก์ได้ลาป่วยหลายครั้งเหตุที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากมีปัญหาจากความเจ็บป่วยและสุขภาพของโจทก์ จำเลยชอบที่จะย้ายโจทก์ไปทำงานตามความเหมาะสมได้ การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากเหตุดังกล่าว คำสั่งของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหากโจทก์เห็นว่างานประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานใหญ่ไม่เหมาะกับโจทก์และงานใหม่ดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างลดลงจากเดิม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ก็ชอบที่จะตกลงกับจำเลยเพื่อขอเปลี่ยนงานใหม่ หรือดำเนินการฟ้องเพิกถอนคำสั่งย้ายดังกล่าวในภายหลังต่อไป ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ แต่โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ตามคำสั่งโจทก์มีความประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไปโดยติดต่อกับ ป.เรื่องตำแหน่งงานใหม่ภายหลังรายงานตัวกลับเข้าทำงาน จำเลยยังไม่จัดหาตำแหน่งงานใดๆให้โจทก์ต่อมาโจทก์หายป่วยได้กลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติงานต่อจำเลยแต่จำเลยไม่ได้จัดหาตำแหน่งงานหรือมอบงานใด ๆ ให้โจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าระหว่างโจทก์ลาป่วย จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานประจำที่สำนักงานใหญ่โจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวแต่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานที่สำนักงานใหญ่เนื่องจากรายได้ของโจทก์ลดลงจากเดิมโจทก์ติดต่อกับป.เกี่ยวกับตำแหน่งงานใหม่ของโจทก์ที่จะทำหลังจากที่โจทก์ได้รายงานตัวกลับเข้าทำงานแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย จึงเป็นความสมัครใจของโจทก์ จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายงานและการเลิกจ้าง: การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งย้ายถือเป็นความสมัครใจ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์ป่วยเป็นโรคไตอักเสบและโจทก์ได้ลาป่วยหลายครั้งเหตุที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากมีปัญหาจากความเจ็บป่วยและสุขภาพของโจทก์ จำเลยชอบที่จะย้ายโจทก์ไปทำงานตามความเหมาะสมได้หากโจทก์เห็นว่างานประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานใหญ่ไม่เหมาะกับโจทก์ทั้งงานใหม่ดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างลดลงจากเดิม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ชอบที่จะตกลงกับจำเลยเพื่อขอเปลี่ยนงานใหม่ หรือดำเนินการฟ้องเพิกถอนคำสั่งย้ายดังกล่าวในภายหลังดังนี้การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากเหตุดังกล่าว คำสั่งของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเมื่อจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ แต่โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ตามคำสั่ง โจทก์มีความประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไปโดยติดต่อกับ ป. เรื่องตำแหน่งงานใหม่ภายหลังรายงานตัวกลับเข้าทำงาน จำเลยยังไม่จัดหาตำแหน่งงานใด ๆ ให้โจทก์ต่อมาโจทก์หายป่วยได้กลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติงานต่อจำเลย แต่จำเลยไม่ได้จัดหาตำแหน่งงานหรือมอบงานใด ๆ ให้โจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ระหว่างโจทก์ลาป่วยจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานประจำที่สำนักงานใหญ่ โจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าว แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานที่สำนักงานใหญ่เนื่องจากรายได้ของโจทก์ลดลงจากเดิม โจทก์ติดต่อกับนางเปรมจิตรเกี่ยวกับตำแหน่งงานใหม่ของโจทก์ที่จะทำหลังจากที่โจทก์ได้รายงานตัวกลับเข้าทำงานแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย จึงเป็นความสมัครใจของโจทก์ จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6909/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้ยื่นไม่ใช่ทนายจำเลย และยื่นหลังพ้นกำหนดเวลา
ส.มิได้รับการแต่งตั้งจากจำเลยให้เป็นทนายจำเลยส. จึงมิได้เป็นทนายจำเลย คดีนี้ศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาวันที่ 17 กรกฎาคม 2541 ครบกำหนดอุทธรณ์วันที่ 1 สิงหาคม 2541 แม้วันที่ 30 กรกฎาคม 2541และวันที่ 13 สิงหาคม 2541 ส. จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปและศาลแรงงานกลางอนุญาตก็ตาม แต่ส.มิใช่ทนายจำเลยจึงไม่มีอำนาจขอขยายระยะเวลา อุทธรณ์แทนจำเลย กรณีถือได้ว่าจำเลยมิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 2 กันยายน 2541 จำเลยยื่นอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดอุทธรณ์แล้ว แม้ศาลแรงงานกลางสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวก็เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6903/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเรื่องการทำงานและเหตุเสียชีวิต ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในเรื่องผู้ตายทำงานให้นายจ้างเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดย ผู้ตายได้ทำงานล่วงเวลาเป็นอาจิณเพื่อใช้วินิจฉัยว่าผู้ตายถึงแก่ความตายในช่วงการทำงานให้นายจ้างหรือไม่นั้น เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายส่วนแบ่งกำไรโดยไม่ได้รับความยินยอมถือเป็นการผิดสัญญา
ขณะโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลย ตกลงกับโจทก์ว่าจะให้ส่วนแบ่งกำไรแก่โจทก์ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แม้ข้อตกลงนี้เดิมไม่ได้ ทำเป็นหนังสือไว้ แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกตามเอกสารพิพาทถึงโจทก์ แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายส่วนแบ่งกำไรตามหลักเกณฑ์ตามบันทึกดังกล่าวตลอดมาถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยจำเลยจึงไม่มีสิทธิแต่ฝ่ายเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงการจ่ายส่วนแบ่งกำไรให้แก่โจทก์ใหม่โดยคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ตกลงไว้และแบ่งกำไรให้เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจาก โจทก์ก่อนได้ คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้และแบ่งกำไรให้แก่โจทก์เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และเงินส่วนแบ่งกำไรนี้มิใช่เงินโบนัส เพราะเงินโบนัสมีข้อตกลงอยู่ต่างหากแล้วการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงดังกล่าวในปีถัดไปจากปี 2538 ไปได้แล้วและที่ว่า ผลประโยชน์ตอบแทนการขายของโจทก์หรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งกำไร หมายถึงโบนัสของฝ่ายขาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงส่วนแบ่งกำไรผูกพันนายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามตกลง การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต้องได้รับความยินยอม
ขณะโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจะให้ส่วนแบ่งกำไรแก่โจทก์ในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แม้ข้อตกลงนี้เดิมไม่ได้ทำเป็นหนังสือไว้ แต่ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกตามเอกสารพิพาทถึงโจทก์ แล้วจำเลยก็ยังคงจ่ายส่วนแบ่งกำไรตามหลักเกณฑ์ตามบันทึกดังกล่าวตลอดมาถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างแรงงานมีผลผูกพันโจทก์และจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิแต่ฝ่ายเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงการจ่ายส่วนแบ่งกำไรให้แก่โจทก์ใหม่โดยคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ตกลงไว้และแบ่งกำไรให้เพียงอัตรา 1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ ซึ่งไม่เป็นคุณและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนได้
คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่ได้ตกลงกันไว้ และแบ่งกำไรให้แก่โจทก์เพียงอัตรา1.5 เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และเงินส่วนแบ่งกำไรนี้มิใช่เงินโบนัส เพราะเงินโบนัสมีข้อตกลงอยู่ต่างหากแล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงดังกล่าวในปีถัดไปจากปี 2538 ไปได้แล้วและที่ว่าผลประโยชน์ตอบแทนการขายของโจทก์หรือที่เรียกว่าส่วนแบ่งกำไร หมายถึงโบนัสของฝ่ายขาย จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบบริษัท ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงาน
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ แต่รู้เห็นยินยอมให้ อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำอุปกรณ์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างออกไปทำหน้าที่ผู้จัดการประจำเขตการขายที่โจทก์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ และการเป็นผู้จัดการประจำเขตเป็นคุณสมบัติเฉพาะบุคคลซึ่งผ่านการคัดเลือกจากจำเลยหาใช่มอบหมายให้บุคคลภายนอกซึ่งไม่ผ่านการคัดเลือกมาทำการแทนได้ไม่ การที่โจทก์ไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่รับเงินค่าจ้างทุกเดือนย่อมเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์จะอ้างว่าเป็นลูกจ้างรายเดือนวันที่ไม่ทำงานยังมีสิทธิได้ค่าจ้างจึงไม่เป็นการทุจริตหาได้ไม่ เพราะลูกจ้างจะได้ค่าจ้างในวันที่ไม่ทำงานต้องเป็นกรณีลาหยุดงานโดยชอบหรือเป็นกรณีอื่น ที่กฎหมายบัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง แม้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยไม่ได้ระบุว่าการกระทำใดเป็นความผิด และมีเพียงบทลงโทษการที่โจทก์ไม่ออกไปทำงานก็ตามแต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยมีตำแหน่งผู้จัดการประจำเขตการขายรับผิดชอบงานขายและจำเลยได้มีหนังสือส่งถึงโจทก์โดยตรง กล่าวย้ำถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งของโจทก์ ซึ่งลักษณะงานต้องติดต่อกับสาวเอวอนตลอดเวลา และหนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดระบุชัดว่า รถยนต์ที่บริษัทจำเลยจัดหาให้โจทก์ จำเลยไม่อนุญาตให้บุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ผู้จัดการประจำเขตนำไปใช้เด็ดขาด การที่โจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบต้องติดต่อสาวเอวอนตลอดเวลา แต่โจทก์ ละเลยต่อหน้าที่ ไม่ออกปฏิบัติงาน โดยรู้เห็นยินยอมให้ผู้อื่น ออกแสดงเป็นผู้จัดการประจำเขต ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ เกี่ยวกับการทำงานอยู่ในตัว และที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ. ซึ่งไม่ใช่พนักงานของจำเลย นำรถยนต์ประจำตำแหน่งของจำเลย ไปใช้ย่อมเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยโดยแจ้งชัด และนอกจากนี้การที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.เรียกเก็บค่าสมัครสาวเอวอนโดยไม่มีสิทธิ แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้า จากจำเลยแล้วไม่ชำระค่าสินค้า ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียง เกียรติคุณ และเสียทางทำมาหาได้ ถือได้ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอม ในการก่อความเสียหายดังกล่าวให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังว่าโจทก์ยินยอมให้ อ.นำอุปกรณ์ไปรับสมัครสาวเอวอน เก็บค่าสมัคร แอบอ้างชื่อสาวเอวอน สั่งสินค้านำหลักฐานของผู้อื่นไปแอบอ้างสมัครทำให้จำเลยเสียหาย เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้าง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำทุจริตต่อหน้าที่ของลูกจ้างและฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ แต่รู้เห็นยินยอมให้อ.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนำอุปกรณ์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างออกไปทำหน้าที่ผู้จัดการประจำเขตการขายที่โจทก์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ และการเป็นผู้จัดการประจำเขตเป็นคุณสมบัติเฉพาะบุคคลซึ่งผ่านการคัดเลือกจากจำเลย หาใช่มอบหมายให้บุคคลภายนอกซึ่งไม่ผ่านการคัดเลือกมาทำการแทนได้ไม่ การที่โจทก์ไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่รับเงินค่าจ้างทุกเดือนย่อมเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์จะอ้างว่าเป็นลูกจ้างรายเดือนวันที่ไม่ทำงานยังมีสิทธิได้ค่าจ้างจึงไม่เป็นการทุจริตหาได้ไม่ เพราะลูกจ้างจะได้ค่าจ้างในวันที่ไม่ทำงานต้องเป็นกรณีลาหยุดงานโดยชอบหรือเป็นกรณีอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง
แม้ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยไม่ได้ระบุว่าการกระทำใดเป็นความผิด และมีเพียงบทลงโทษการที่โจทก์ไม่ออกไปทำงานก็ตามแต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลย มีตำแหน่งผู้จัดการประจำเขตการขายรับผิดชอบงานขาย และจำเลยได้มีหนังสือส่งถึงโจทก์โดยตรง กล่าวย้ำถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งของโจทก์ ซึ่งลักษณะงานต้องติดต่อกับสาวเอวอนตลอดเวลา และหนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดระบุชัดว่า รถยนต์ที่บริษัทจำเลยจัดหาให้โจทก์ จำเลยไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้จัดการประจำเขตนำไปใช้เด็ดขาด การที่โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบต้องติดต่อสาวเอวอนตลอดเวลา แต่โจทก์ละเลยต่อหน้าที่ ไม่ออกปฏิบัติงาน โดยรู้เห็นยินยอมให้ผู้อื่นออกแสดงเป็นผู้จัดการประจำเขต ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอยู่ในตัว และที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.ซึ่งไม่ใช่พนักงานของจำเลย นำรถยนต์ประจำตำแหน่งของจำเลยไปใช้ย่อมเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยโดยแจ้งชัด และนอกจากนี้การที่โจทก์รู้เห็นยินยอมให้ อ.เรียกเก็บค่าสมัครสาวเอวอนโดยไม่มีสิทธิ แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้าจากจำเลยแล้วไม่ชำระค่าสินค้า ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงเกียรติคุณ และเสียทางทำมาหาได้ ถือได้ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมในการก่อความเสียหายดังกล่าวให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรง
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังว่าโจทก์ยินยอมให้ อ.นำอุปกรณ์ไปรับสมัครสาวเอวอน เก็บค่าสมัคร แอบอ้างชื่อสาวเอวอนสั่งสินค้านำหลักฐานของผู้อื่นไปแอบอ้างสมัคร ทำให้จำเลยเสียหาย เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้าง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทนายความทำสัญญาประนีประนอม: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบของจำเลยว่า จำเลยแต่งตั้งให้ ก. เป็นทนายความและใบแต่งทนายความดังกล่าวระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลพิพากษาตามยอมจึงมิใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ ถือได้ว่าศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความในใบแต่งทนายความระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ทนายความมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และมิได้ยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความดังกล่าวในใบแต่งทนายความ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยทนายจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบจึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5780/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทนายความทำสัญญาประนีประนอม: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลแรงงานมีคำสั่งคำร้องให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบของจำเลยว่า จำเลยแต่งตั้งให้ ก.เป็นทนายความ และใบแต่งทนายความดังกล่าวระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลพิพากษาตามยอมจึงมิใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ ถือได้ว่าศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความในใบแต่งทนายความระบุให้ทนายจำเลยมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ดังนั้น ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มอบอำนาจให้ทนายความมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และมิได้ยินยอมให้ทนายความกรอกข้อความดังกล่าวในใบแต่งทนายความ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยทนายจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 54