พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิมต่างจากคำขอเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์คืน หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคากับค่าใช้ทรัพย์ และศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคากับค่าใช้ทรัพย์ ส่วนคดีนี้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ได้ไปติดตามรถยนต์คืนมาได้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถคืนและรถที่ยึดกลับคืนมาได้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม เสื่อมราคา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าใช้จ่ายในการยึดรถและค่าเสื่อมราคาพร้อมดอกเบี้ย ความเสียหายของโจทก์คดีนี้จึงเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนคำขอบังคับก็แตกต่างกันและมิใช่ประเด็นที่ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมิใช่กรณีที่จะไปว่ากล่าวชั้นบังคับในคดีก่อนได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ vs. ความเสียหายใหม่: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องคดีใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เนื่องจากความเสียหายเกิดขึ้นหลังคำพิพากษาคดีก่อน
คดีมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 17716/2539 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นได้ว่า ความเสียหายของโจทก์ตามฟ้องคดีนี้ เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องคดีนี้ จึงต่างจากคำขอของโจทก์ให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายในคดีก่อน และมิใช่เป็นประเด็นที่ศาลในคดีก่อนไว้วินิจฉัยแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมิใช่กรณีที่จะไปว่ากล่าวชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ฉะนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน แต่เนื่องจากคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้มีการวินิจฉัยคดีตามลำดับชั้นศาล จึงพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การรับฟังพยานหลักฐานนอกสัญญา, และการวินิจฉัยข้อพิพาทสัญญาเช่า
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้ตามฟ้องโจทก์จะอ้างว่าที่ดินพิพาทมีผู้ประสงค์จะเช่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า ทางนำสืบของโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะเสียหายถึงเดือนละ 15,000 บาท จึงกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพียงเดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ทราบถึงการที่จำเลยกั้นแบ่งห้องให้บุคคลภายนอกเช่า โจทก์เพิ่งมาทราบภายหลังจึงได้บอกเลิกการเช่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
จำเลยเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ระบุในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินว่าเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย แม้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว จึงต้องฟังว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย แต่จำเลยให้การว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าซึ่งในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว นอกจากศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินแล้ว ศาลจำต้องฟังพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบมาประกอบว่า โจทก์หรือจำเลยได้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดผิดไปจากข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน อันจะถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงที่ได้ปฏิบัติมาต่อกันได้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่าไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ยื่นฟ้องโดยแต่งตั้ง ป. เป็นทนายความและให้ ป. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย โจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมแต่งทนายความพร้อมใบแต่งทนายความแล้ว เมื่อ ป. ยื่นฟ้องฎีกาจึงไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมแต่งทนายความอีก
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ทราบถึงการที่จำเลยกั้นแบ่งห้องให้บุคคลภายนอกเช่า โจทก์เพิ่งมาทราบภายหลังจึงได้บอกเลิกการเช่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
จำเลยเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ระบุในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินว่าเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย แม้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว จึงต้องฟังว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย แต่จำเลยให้การว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าซึ่งในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว นอกจากศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินแล้ว ศาลจำต้องฟังพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบมาประกอบว่า โจทก์หรือจำเลยได้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดผิดไปจากข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน อันจะถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงที่ได้ปฏิบัติมาต่อกันได้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่าไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ยื่นฟ้องโดยแต่งตั้ง ป. เป็นทนายความและให้ ป. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย โจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมแต่งทนายความพร้อมใบแต่งทนายความแล้ว เมื่อ ป. ยื่นฟ้องฎีกาจึงไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมแต่งทนายความอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และประเด็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งเกินกว่าขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง เป็นค่าเช่าที่ค้าง 138,000 บาท ค่าซ่อมแซมตึกพิพาท 200,000 บาท และค่าไฟฟ้า 7,708 บาท เมื่อจำเลยไม่ได้อุทธรณ์และโจทก์อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวขอให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้องเดิมและขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้ง ดังนั้น จำนวนเงินที่พิพาทกันในส่วนค่าซ่อมแซมตึกพิพาทจึงเป็นเงิน 200,000 บาทเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยไม่กำหนดค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้ตามฟ้องแย้ง จำเลยจะฎีกาให้โจทก์ชำระค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้จำเลย 420,000 บาท เต็มตามฟ้องแย้งอีกหาได้ไม่ ทุนทรัพย์ที่จำเลยฎีกาคงเป็นเงินค่าซ่อมแซม 200,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เท่านั้น จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้าซ่อมแซมตึกพิพาท เนื่องจาก โจทก์ย่อมให้หักเงินประกัน 240,000 บาท โจทก์ผิดสัญญาเช่าไม่สงวนตึกพิพาทเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำและไม่บำรุงรักษารวมทั้งซ่อมแซมเล็กน้อย ทำให้เกิดความเสียหาย โจทก์ต้องรับผิดชำระค่าซ่อมแซมตึกพิพาทให้แก่จำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเวนคืน, การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทน, และหน้าที่วางเงินค่าทดแทน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์อีก 146,400 บาท เมื่อรวมกับดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแล้วไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ควรได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่เกิน 200,000 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองเพิ่มเงินค่าทดแทนโดยปราศจากพยานหลักฐานในเรื่องราคาที่ดินของโจทก์ จึงไม่ถูกต้องเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯวินิจฉัยเพิ่มให้เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมชอบด้วยกฎหมายตามความหมายของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
กรมทางหลวงจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างและดูแลทางหลวงแผ่นดิน การสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นงานราชการภายใต้การบริหารของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้สั่งการและรับผิดชอบ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ดังนั้น การใดที่อธิบดีกรมทางหลวงกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และการดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์อยู่ในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมวินิจฉัยเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนไม่เต็มตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกได้
คำว่า วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม หมายถึงวันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่กันในครั้งแรกซึ่งผ่านไปก่อนการฟ้องคดีแล้ว มิใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 แต่โจทก์ไม่ไปรับ ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสองประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายจำเลยต้องนำเงินไปวางในวันถัดจากวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538
กรมทางหลวงจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างและดูแลทางหลวงแผ่นดิน การสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นงานราชการภายใต้การบริหารของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้สั่งการและรับผิดชอบ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ดังนั้น การใดที่อธิบดีกรมทางหลวงกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และการดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์อยู่ในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมวินิจฉัยเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนไม่เต็มตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกได้
คำว่า วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม หมายถึงวันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่กันในครั้งแรกซึ่งผ่านไปก่อนการฟ้องคดีแล้ว มิใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 แต่โจทก์ไม่ไปรับ ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสองประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายจำเลยต้องนำเงินไปวางในวันถัดจากวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คดีเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ ซึ่งให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท และจำเลยมิได้ต่อสู้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวอันจะทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ คู่ความในคดีเดิมจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองคดีนี้เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดีซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการรื้อถอน จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับบริวารของจำเลยให้ออกจากไปจากที่ดินของโจทก์ เมื่อคู่ความในคดีเดิมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสองและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงด้วยตามมาตรา 248 วรรคสาม ผู้ร้องฎีกาว่า บ้านที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปรื้อถอนเป็นบ้านของผู้ร้อง มิใช่ของจำเลย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่วินิจฉัย ทำให้จำกัดสิทธิฎีกา ย้อนสำนวนให้พิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้งบางส่วนและศาลอุทธรณ์ยังคงวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย โดยให้โจทก์ชำระเท่ากับจำนวนค่าสินค้าที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างชนะคดีตามฟ้องและฟ้องแย้งบางส่วน แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าให้ยกฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลยในส่วนค่าเสียหาย จึงไม่ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยมา ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษา ทั้งผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความได้ กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 243(1)
คดีของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินจำนวน230,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแย้งในส่วนค่าเสียหายดังกล่าว จึงเป็นการกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีถึงวันฟ้อง แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์652,999.16 บาท ซึ่งเกินกว่าที่จะต้องเสีย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย
คดีของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินจำนวน230,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแย้งในส่วนค่าเสียหายดังกล่าว จึงเป็นการกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีถึงวันฟ้อง แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์652,999.16 บาท ซึ่งเกินกว่าที่จะต้องเสีย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาขัดแย้งข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้เดิม และจำกัดสิทธิฎีกา ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้งบางส่วน และศาลอุทธรณ์ยังคงวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลย โดยให้โจทก์ชำระเท่ากับจำนวนค่าสินค้าที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งเท่ากับว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างชนะคดีตามฟ้องและฟ้องแย้งบางส่วน แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าให้ยกฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจำเลยในส่วนค่าเสียหาย จึงไม่ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยมา ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษา ทั้งผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความได้ กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 243 (1)
คดีของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินจำนวน 230,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแย้งในส่วนค่าเสียหายดังกล่าว จึงเป็นการกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีถึงวันฟ้อง แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ 652,999.16 บาท ซึ่งเกินกว่าที่จะต้องเสีย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย
คดีของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินจำนวน 230,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแย้งในส่วนค่าเสียหายดังกล่าว จึงเป็นการกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้ชนะคดีตามฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาจึงเป็นเงินจำนวน 230,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีถึงวันฟ้อง แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ 652,999.16 บาท ซึ่งเกินกว่าที่จะต้องเสีย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถเป็นการฝากทรัพย์ จำเลยต้องรับผิดชอบรถหาย
โจทก์นำรถจักรยานยนต์ไปจอดไว้ที่สถานที่รับจอดรถของจำเลยโดยจำเลยคิดค่าบริการเป็นรายวันและออกบัตรอนุญาตจอดรถให้ โจทก์นำรถเข้าไปจอดในบริเวณสถานที่รับจอดรถของจำเลย โจทก์ล็อกกุญแจรถและเก็บกุญแจไว้ที่โจทก์ ในระหว่างจอดพนักงานของจำเลยเป็นผู้ดูแลรถโจทก์ หากโจทก์จะนำรถออกจากสถานที่จอดรถต้องแสดงบัตรอนุญาตต่อพนักงานของจำเลยซึ่งเฝ้าประตูทางเข้าออก หากไม่มีบัตรอนุญาตมาแสดง พนักงานของจำเลยจะไม่อนุญาตให้โจทก์นำรถออกจากสถานที่จอดรถ แสดงว่าโจทก์ส่งมอบรถจักรยานยนต์พิพาทให้จำเลยและจำเลยยอมรับรถจักรยานยนต์พิพาทจากโจทก์มาอยู่ในความอารักขาของจำเลยแล้ว โดยมีพนักงานของจำเลยเป็นผู้ดูแลรถ แม้บัตรอนุญาตให้จอดรถจักรยานยนต์จะไม่มีข้อความใดระบุว่าเป็นการรับฝากรถก็ตาม แต่การปฏิบัติระหว่างโจทก์และจำเลยเข้าลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 657 เมื่อรถจักรยานยนต์พิพาทของโจทก์หายไปในระหว่างการรับฝากของจำเลย จำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีมีทุนทรัพย์ การขยายระยะเวลาชำระ และการใช้ดุลพินิจของศาล
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และยังมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทและให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ถือได้ว่า คำขอส่วนแรกเป็นคำขอหลัก คำขอส่วนหลังเป็นคำขอต่อเนื่อง แต่ก็มีผลเพียงก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ในการอุทธรณ์ฎีกาโดยไม่จำต้องพิจารณาถึงราคาทรัพย์สินพิพาทเท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้โจทก์มีสิทธิชำระค่าขึ้นศาลแบบคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่ประการใดไม่ ทั้งนี้ตามตาราง 1 (3) ท้าย ป.วิ.พ. โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์พิพาทในอัตราสองบาทห้าสิบสตางค์ต่อทุกหนึ่งร้อยบาท แต่ไม่ให้น้อยกว่าสองร้อยบาท
แม้การประทับตรากำหนดวันให้โจทก์มาทราบคำสั่งศาลเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานศาล แต่โจทก์ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ในตราประทับดังกล่าว เป็นการยืนยันต่อศาลว่าโจทก์จะไปทราบคำสั่งในวันดังกล่าวเอง ทั้งตราประทับยังมีข้อความด้วยว่าถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องมีหมายแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบอีก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ภายในวันที่ 5 กันยายน 2542 แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยังชำระค่าธรรมเนียมศาลได้จนถึงวันที่ 6 กันยายน 2542 หรือหากจะขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลอีก โจทก์ต้องยื่นคำร้องภายในวันดังกล่าว การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลในวันที่ 7 กันยายน 2542 จึงเป็นการยื่นเกินกำหนด และเมื่อในคำร้องฉบับดังกล่าวโจทก์มิได้ระบุถึงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องภายในกำหนด จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า มีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยอันควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่
การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรว่าจะอนุญาตกี่ครั้งหรือเป็นเวลานานเพียงใดตามป.วิ.พ. มาตรา 23
หาเป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ไม่ คดีนี้ศาลมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2542 ว่า อนุญาตอีกเพียงครั้งเดียว ย่อมชอบแล้ว
แม้การประทับตรากำหนดวันให้โจทก์มาทราบคำสั่งศาลเป็นการกระทำโดยเจ้าพนักงานศาล แต่โจทก์ก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ในตราประทับดังกล่าว เป็นการยืนยันต่อศาลว่าโจทก์จะไปทราบคำสั่งในวันดังกล่าวเอง ทั้งตราประทับยังมีข้อความด้วยว่าถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องมีหมายแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบอีก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ภายในวันที่ 5 กันยายน 2542 แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยังชำระค่าธรรมเนียมศาลได้จนถึงวันที่ 6 กันยายน 2542 หรือหากจะขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลอีก โจทก์ต้องยื่นคำร้องภายในวันดังกล่าว การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลในวันที่ 7 กันยายน 2542 จึงเป็นการยื่นเกินกำหนด และเมื่อในคำร้องฉบับดังกล่าวโจทก์มิได้ระบุถึงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องภายในกำหนด จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า มีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยอันควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลหรือไม่
การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรว่าจะอนุญาตกี่ครั้งหรือเป็นเวลานานเพียงใดตามป.วิ.พ. มาตรา 23
หาเป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ไม่ คดีนี้ศาลมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2542 ว่า อนุญาตอีกเพียงครั้งเดียว ย่อมชอบแล้ว