พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, อายุความค่าทดแทนเวนคืน, การชำระหนี้โดยไม่มีมูล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 180,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 กันยายน 2538ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เมื่อรวมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องคือวันที่ 14มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์เวนคืนที่ดินของจำเลยเป็นเนื้อที่แน่นอน 5 ตารางวา แต่ความจริงถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา อันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะนั้น การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 5 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10กำหนดแต่เมื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษแล้วปรากฏว่าถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา จำเลยก็ต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 3 ตารางวาซึ่งเป็นส่วนที่รับไว้โดยที่ดินไม่ได้ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงิน เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
การฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าการจ่ายเงินค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือการคืนเงินค่าที่ดินที่ลดลงให้กระทำภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทำการรังวัดแบ่งแยกแล้วเสร็จ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิถุนายน2538 แจ้งผลการรังวัดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทราบ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 5 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10กำหนดแต่เมื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษแล้วปรากฏว่าถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา จำเลยก็ต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 3 ตารางวาซึ่งเป็นส่วนที่รับไว้โดยที่ดินไม่ได้ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงิน เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
การฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าการจ่ายเงินค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือการคืนเงินค่าที่ดินที่ลดลงให้กระทำภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทำการรังวัดแบ่งแยกแล้วเสร็จ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิถุนายน2538 แจ้งผลการรังวัดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทราบ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์, อายุความมิใช่สภาพแห่งข้อหา
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2536 เมื่อโจทก์อุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่อย่างไร ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อใดจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์เพิ่งทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2540 นอกจากจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามแล้วยังเป็นฎีกาในข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง อีกด้วย
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความจึงมิใช่เรื่องฎีกานอกฟ้องนอกประเด็น
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความจึงมิใช่เรื่องฎีกานอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และขอบเขตของข้อห้าม
ข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ต้องใช้บังคับแก่การฎีกาทั้งในประเด็นแห่งคดีตลอดจนในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นสาขาของคดีด้วย ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ซึ่งพอแปลได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท: การฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งและข้อห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องใช้บังคับแก่การฎีกาทั้งในประเด็นแห่งคดีตลอดจนในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นสาขาของคดีด้วยดังนั้น ที่จำเลยฎีกาถึงความเข้าใจของตนว่ามีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเพื่อแสดงว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9230/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคดีผสมระหว่างคดีไม่มีทุนทรัพย์กับคดีมีทุนทรัพย์ และข้อจำกัดในการฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยพร้อมกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งกับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมา ดังนี้ จะฎีกาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกัน กล่าวคือถ้าหากฎีกาประเด็นเรื่องขับไล่ก็ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ10,000 บาทหรือไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าเดือนละ10,500 บาท ฎีกาของจำเลยในส่วนเรื่องขับไล่จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ส่วนในเรื่องค่าเสียหายปรากฏว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีจำนวนเพียง 132,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายหรือหากโจทก์ได้รับความเสียหายก็ไม่เกินเดือนละ 10,500 บาทนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8660/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำนวนทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินที่ยังค้างชำระจำนวน 423,933.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยฎีกาแต่เพียงว่าจำเลยค้างชำระอยู่ 353,333.50 บาท เท่านั้น คดีของจำเลยจึงมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเพียง 70,600 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แม้โจทก์อ้างจำเลยผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาตกลงให้โจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ของจำเลย โดยโจทก์มอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อประกันการชำระหนี้ค่าสินค้าในวงเงิน 100,000 บาท ให้แก่จำเลย จำเลยผิดสัญญาส่งสินค้าให้ร้านค้าต่าง ๆ ทำให้สินค้าที่โจทก์รับมาจำหน่ายไม่ได้ โจทก์ขาดรายได้แต่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยคืนสัญญาค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งผลของคำขอนั้นจะทำให้โจทก์ได้คืนหลักประกันที่ให้ไว้แก่ธนาคารเพื่ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยดังกล่าวและจำเลยขาดหลักประกันการเรียกค่าสินค้าค้างชำระจากโจทก์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือที่เรียกว่าคดีมีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ก็คือหลักประกันตามหนังสือค้ำประกันที่โจทก์เรียกคืนจำนวน 100,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกจำนวนหนี้ตามสัญญาเพื่อพิจารณาข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์ที่พิพาท
แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเป็นเงิน 216,326 บาทแต่มูลหนี้ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของจำเลยแยกออกตามฟ้องเป็น 3 จำนวน คือ หนี้ตามสัญญาเช่ารถชุดเกรดถนนจำนวน 31,125 บาท หนี้ตามสัญญาซื้อขายหินคลุกจำนวน72,720 บาท และหนี้ตามสัญญาจ้างทำของค่าราดยางถนนจำนวน 112,481 บาท หนี้ตามสัญญาเช่าทรัพย์ หนี้ตามสัญญาซื้อขายและหนี้ตามสัญญาจ้างทำของตามฟ้องฎีกาของจำเลยต่างเป็นหนี้คนละรายโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันมูลความแห่งคดีของหนี้ทั้งสามรายจึงสามารถแยกออกจากกันได้ดังนั้น ทุนทรัพย์ในคดีที่จะนำมาพิจารณาว่าต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ จึงต้องแยกตามสัญญาเป็นคนละส่วนกันเมื่อปรากฏว่ามูลหนี้ที่พิพาทกันแต่ละสัญญามีจำนวนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5971/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ทำให้คู่ความฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทคนละ 1 ส่วน รวม 4 ส่วน ใน 9 ส่วนคิดเป็นเงินรวม 279,632 บาท จำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดก แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่ฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์และฎีกา: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ที่พิพาท
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 34273 จากชื่อบิดาจำเลยเป็นชื่อโจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินระหว่างบิดาจำเลยกับจำเลยในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 33900 และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 33900 ดังกล่าวเป็นชื่อโจทก์ทั้งห้าและจำเลยร่วมกัน กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งห้าได้รับส่วนแบ่งข้าวลดลง โจทก์ทั้งห้าเสียค่าขึ้นศาลโดยตีราคาที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวรวมกับค่าเสียหายแล้ว เป็นทุนทรัพย์ตามคำฟ้องทั้งสิ้น226,800 บาท ปรากฏตามที่โจทก์ทั้งห้าอ้างในคำฟ้องว่าบิดาจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 33900 และ 34273ดังกล่าวไว้แทนทายาททุกคนด้วย ซึ่งจำเลยก็ทราบดีเพราะจำเลยได้เข้าทำนาในที่ดินนั้นแทนบิดาจำเลย โจทก์ทั้งห้าในฐานะทายาทซึ่งมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวจึงขอให้จำเลยแบ่งที่ดินทั้งสองแปลงโดยใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยด้วย จึงเท่ากับโจทก์ทั้งห้าอ้างว่าโจทก์แต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงนั้นร่วมกับจำเลยโดยมีส่วนคนละเท่า ๆ กัน ทุนทรัพย์ตามคำฟ้องของโจทก์แต่ละคนย่อมคำนวณแบ่งแยกจากกันได้เป็นจำนวนเท่า ๆกัน คนละ 45,360 บาท ซึ่งไม่เกินจำนวน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์ในข้อดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งห้าและพิพากษายืนจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เมื่อปรากฏตามฎีกาของโจทก์ทั้งห้าคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าวในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยทุนทรัพย์ที่พิพาทกันชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงมีจำนวนเพียง 45,360 บาท หาใช่จำนวน 226,800 บาทไม่ซึ่งเป็นจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งทั้งเป็นข้อฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1อันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่งด้วย ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
เมื่อปรากฏตามฎีกาของโจทก์ทั้งห้าคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าวในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยทุนทรัพย์ที่พิพาทกันชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงมีจำนวนเพียง 45,360 บาท หาใช่จำนวน 226,800 บาทไม่ซึ่งเป็นจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งทั้งเป็นข้อฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1อันเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่งด้วย ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้