คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 248

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการรับรองฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 และผลกระทบต่อคำสั่งศาล
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยได้ยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นคือ ท.และ ส. หรือผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 ท.มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และให้ส่งสำนวนพร้อมคำร้องดังกล่าวไปให้ ส.พิจารณาคำร้องลำดับต่อไป ต่อมา ส.มีคำสั่งไม่รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และ ส.ให้ส่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการส่งสำนวนพร้อมคำร้องขอไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำสั่งดังกล่าว แต่กลับมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา243 (2) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งฎีกาของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของจำเลยก่อน และมีคำสั่งฎีกาใหม่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาข้อเท็จจริงและการปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัยไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามเนื้อหาเป็นเรื่องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกา จึงให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีกาที่จะรับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกาไม่ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ล่าช้าและการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัย ไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาศาลชั้นต้นให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีการับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกา ฎีกาของจำเลยไม่เป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทสิทธิครอบครองที่ดินและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์บางส่วน โดยอ้างว่าที่ดินส่วนนั้นอยู่ในเขตหนองน้ำสาธารณประโยชน์ คำสั่งของจำเลยย่อมมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินส่วนที่ถูกเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยและให้ศาลแสดงสิทธิครอบครองของโจทก์อันมีอยู่เหนือที่ดินดังกล่าว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้แก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์บางส่วนและขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยจะต้องได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธาน เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา82,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์บางส่วน โดยอ้างว่าที่ดินส่วนนั้นอยู่ในเขตหนองน้ำสาธารณประโยชน์ คำสั่งของจำเลยย่อมมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินส่วนที่ถูกเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยและให้ศาลแสดงสิทธิครอบครองของโจทก์อันมีอยู่เหนือที่ดินดังกล่าว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนที่ขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้แก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์บางส่วนและขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยก็ตาม แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยจะต้องได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธานเมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 82,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท & ฎีกาข้อเท็จจริง – ที่ดินสาธารณประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ประมาณ 17 ไร่ จำเลยมีคำสั่งให้แก้ไขเนื้อที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา โดยอ้างว่าน.ส.3 ของโจทก์เฉพาะที่ดินส่วนนั้นออกทับหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3ที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง เท่ากับกล่าวอ้างว่าคำสั่งเพิกถอนของจำเลยมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินส่วนที่ถูกเพิกถอน ซึ่งถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้แก้ไข น.ส.3 ของโจทก์และขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์อีกต่อไปก็ตาม แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยต้องได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ดังนั้น คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธาน เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 82,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบคำสั่งทำให้คดีขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท & ฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ประมาณ 17 ไร่ จำเลยมีคำสั่งให้แก้ไขเนื้อที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา โดยอ้างว่าน.ส.3 ของโจทก์เฉพาะที่ดินส่วนนั้นออกทับหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3ที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง เท่ากับกล่าวอ้างว่าคำสั่งเพิกถอนของจำเลยมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินส่วนที่ถูกเพิกถอน ซึ่งถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้แก้ไข น.ส.3 ของโจทก์และขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์อีกต่อไปก็ตาม แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยต้องได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ดังนั้น คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธาน เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 82,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบคำสั่งทำให้คดีขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานและการไม่อ้างตนเองเป็นพยานเมื่อไม่ได้ยื่นคำให้การและไม่ได้ขออนุญาต
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณา จากคดีเดิมเป็นสำคัญ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณี กรณีแรกเป็นการยืนบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยาน ได้สิ้นสุดลงแล้วกับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้อง เป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87(2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานและการสืบพยาน: สิทธิจำเลยในการนำพยานเข้าสืบ
คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ
ป.วิ.พ.มาตรา 88 ได้แยกการยื่นบัญชีระบุพยานไว้ 2 กรณีกรณีแรกเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้สิ้นสุดลงแล้ว กับไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เลยอีกกรณีหนึ่ง แต่ทั้งสองกรณีเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตพร้อมกับแสดงเหตุอันสมควรให้ศาลทราบเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่ง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีเพราะเห็นว่าจำเลยประวิงคดี แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นในวันนั้น แต่การที่จะเลื่อนไปสืบพยานจำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานเข้าสืบ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานทั้งมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยก็ไม่อาจนำพยานเข้าสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยไม่สอบจำเลยเรื่องมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานเสียก่อน จึงชอบแล้ว
จำเลยที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานแต่มีสิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ ต้องเป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199วรรคสอง ซึ่งจำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้ หรือมิฉะนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้อำนาจตามมาตรา 87 (2) ที่จะรับฟังพยานแม้จะเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่กรณีของจำเลยเมื่อไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การพิจารณาประเภทคดีและระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องโต้แย้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาปรับเข้ากับตัวบทกฎหมาย โดยไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง แต่เป็น ฎีกาในข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามฎีกา โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยครอบครองหรือยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ แล้วโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ดังกล่าวคืนดังที่โจทก์ฎีกาไม่ กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นับแต่เวลาที่จำเลยกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
of 113