พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดการฎีกาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยค่าเสียหายที่ต่ำกว่า และผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต่อห้อง กับให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์คิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 50,000 บาท แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าอาจนำห้องพิพาทออกให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ10,500 บาท ต่อห้องแต่โจทก์ขอคิดค่าขาดประโยชน์จากจำเลยเดือนละ 10,000 บาท ต่อห้อง ซึ่งหมายถึงห้องพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 10,000 บาท หรือมากกว่านี้ต่อห้องก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท ต่อห้อง โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาข้อเท็จจริงจึงยุติว่าห้องพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต่อห้อง กรณีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่าเพราะวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่ามีเพียงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า เมื่อจำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์สัญญาเช่าย่อมผูกพันโจทก์และจำเลย โดยโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทหรือได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ธนบัตรปลอมสำเร็จ แม้ผู้เสียหายยังไม่รับเงินสมบูรณ์ ศาลฎีกาพิจารณาโทษเบาลงได้เพื่อความยุติธรรม
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ฉะนั้น ปัญหาข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาซึ่งยุติไปตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยอีก จำเลยมีธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และจำเลยได้ นำธนบัตรดังกล่าวไปใช้ซื้อผลไม้จากผู้เสียหาย ถือได้ว่า เป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 แล้ว แม้ว่าผู้เสียหายจะยังไม่ทันรับไว้สมบูรณ์ด้วยการทอนเงิน ที่เหลือจากค่าซื้อผลไม้แก่จำเลยก็ตาม ปัญหาว่า ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกแก่จำเลยหนัก เกินไปหรือไม่แม้เป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อฎีกาของจำเลยได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่จำเลยจะพึงได้รับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์รุนแรงเกินไป ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้น พิจารณาได้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ความยุติธรรม และพิพากษาวางโทษจำคุกแก่จำเลยในสถานเบากว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาโทษในฎีกาเมื่อรับเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และความผิดสำเร็จจากการใช้ธนบัตรปลอม
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ฉะนั้นปัญหาข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกาซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่ยกขึ้นวินิจฉัยอีก
จำเลยมีธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และจำเลยได้นำธนบัตรดังกล่าวไปใช้ซื้อผลไม้จากผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จตาม ป.อ.มาตรา 244 แล้ว แม้ว่าผู้เสียหายจะยังไม่ทันรับไว้สมบูรณ์ด้วยการทอนเงินที่เหลือจากค่าซื้อผลไม้แก่จำเลยก็ตาม
ปัญหาว่า ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกแก่จำเลยหนักเกินไปหรือไม่แม้เป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อฎีกาของจำเลยได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่จำเลยจะพึงได้รับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์รุนแรงเกินไป ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นพิจารณาได้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ความยุติธรรม และพิพากษาวางโทษจำคุกแก่จำเลยในสถานเบากว่านั้นได้
จำเลยมีธนบัตรรัฐบาลไทยปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และจำเลยได้นำธนบัตรดังกล่าวไปใช้ซื้อผลไม้จากผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นความผิดสำเร็จตาม ป.อ.มาตรา 244 แล้ว แม้ว่าผู้เสียหายจะยังไม่ทันรับไว้สมบูรณ์ด้วยการทอนเงินที่เหลือจากค่าซื้อผลไม้แก่จำเลยก็ตาม
ปัญหาว่า ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกแก่จำเลยหนักเกินไปหรือไม่แม้เป็นปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามฎีกาก็ตาม แต่เมื่อฎีกาของจำเลยได้ขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่จำเลยจะพึงได้รับตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์รุนแรงเกินไป ศาลฎีกาก็ชอบที่จะยกขึ้นพิจารณาได้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ความยุติธรรม และพิพากษาวางโทษจำคุกแก่จำเลยในสถานเบากว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตฎีกาข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้นไม่รับฎีกา และหน้าที่ของศาลในการส่งคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
ในชั้นฎีกาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และบุคคลผู้มีอำนาจรับรองหรืออนุญาต ให้ฎีกานี้มาตราดังกล่าวก็บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วว่ามีบุคคลใดบ้าง จึงไม่จำต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงมาใช้บังคับโดยอนุโลม คำว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งหมายถึงผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ด้วยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ. 2532 มาตรา 8 ซึ่งการยื่นขอให้รับรองหรืออนุญาตตามมาตรานี้จะต้องยื่นภายใน กำหนดอายุฎีกา แต่การที่จำเลยทั้งสองขอให้อธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองหรืออนุญาตให้ฎีกาหลังจากที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองแล้ว ซึ่งในชั้นฎีกา ไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในเรื่องนี้เหมือนเช่นในชั้นอุทธรณ์ ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 230 วรรคสามจึงต้องนำมาตรา 230 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 247 ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ภายใน 7 วัน เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้อง เช่นว่านั้นก็ต้องส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่ง ของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตฎีกาและการส่งคำร้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค พิจารณาหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา
การยื่นขอให้รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาหรือ อนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 จะต้องยื่นภายในกำหนดอายุฎีกา ในชั้นฎีกา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังเช่นในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งและกรณีเกี่ยวกับบุคคลผู้มีอำนาจรับรองหรืออนุญาตให้ฎีกานี้มาตรา 248 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า มีบุคคลใดบ้าง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจ อนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงคืออธิบดีผู้พิพากษาภาค มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ คำว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 หมายถึงผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ด้วย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ. 2532 มาตรา 8 ในกรณีผู้ฎีกาขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาครับรองหรือ อนุญาตให้ฎีกาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของ จำเลยแล้ว ในชั้นฎีกาไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในเรื่องนี้กรณีจึงต้องนำมาตรา 230 วรรคสาม มาใช้บังคับโดย อนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 กล่าวคือ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึง อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคภายใน 7 วัน เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค เพื่อมีคำสั่ง ยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งก็คือการไม่อนุญาต หรืออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั่นเอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาวันที่ 13 พฤษภาคม 2541แต่จำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2541 และยื่นคำร้องขอให้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคอนุญาตให้ฎีกาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2541 ต้องถือว่าเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป เสียก่อนมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งประการใดในคำร้อง ของ จำเลยทั้งสองและมิได้ ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนคดีนี้ไปยังอธิบดีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาคพิจารณาและมีคำสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาในข้อเท็จจริง: กำหนดเวลาและอำนาจศาล
การยื่นขอให้รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาหรืออนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 จะต้องยื่นภายในกำหนดอายุฎีกา
ในชั้นฎีกา ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังเช่นในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และกรณีเกี่ยวกับบุคคลผู้มีอำนาจรับรองหรืออนุญาตให้ฎีกานี้มาตรา 248 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่ามีบุคคลใดบ้าง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงคืออธิบดีผู้พิพากษาภาคมาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
คำว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามป.วิ.พ.มาตรา 248 หมายถึง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคด้วย ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ. 2532 มาตรา 8
ในกรณีผู้ฎีกาขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาครับรองหรืออนุญาตให้ฎีกาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ในชั้นฎีกาไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในเรื่องนี้ กรณีจึงต้องนำมาตรา 230 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 กล่าวคือ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคภายใน 7 วัน เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งก็คือการไม่อนุญาตหรืออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั่นเอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 แต่จำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2541และยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคอนุญาตให้ฎีกาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม2541 ต้องถือว่าเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป มีคำสั่งเสียก่อนมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งประการใดในคำร้องของจำเลยทั้งสองและมิได้ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนคดีนี้ไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคพิจารณาและมีคำสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
ในชั้นฎีกา ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังเช่นในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และกรณีเกี่ยวกับบุคคลผู้มีอำนาจรับรองหรืออนุญาตให้ฎีกานี้มาตรา 248 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่ามีบุคคลใดบ้าง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยผู้มีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงคืออธิบดีผู้พิพากษาภาคมาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
คำว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามป.วิ.พ.มาตรา 248 หมายถึง ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคด้วย ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอุทธรณ์ภาค พ.ศ. 2532 มาตรา 8
ในกรณีผู้ฎีกาขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาครับรองหรืออนุญาตให้ฎีกาหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ในชั้นฎีกาไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในเรื่องนี้ กรณีจึงต้องนำมาตรา 230 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 247 กล่าวคือ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ฎีกาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นถึงอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคภายใน 7 วัน เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องนั้นพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค เพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งก็คือการไม่อนุญาตหรืออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั่นเอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 แต่จำเลยทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2541และยื่นคำร้องขอให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคอนุญาตให้ฎีกาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม2541 ต้องถือว่าเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลา ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมด้วยสำนวนความไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป มีคำสั่งเสียก่อนมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งประการใดในคำร้องของจำเลยทั้งสองและมิได้ส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนคดีนี้ไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาคพิจารณาและมีคำสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: การแบ่งความรับผิดระหว่างผู้ก่อความเสียหายหลายฝ่าย และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน499,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 287,808.90 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 213,191.78 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากโจทก์และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างขาดความระมัดระวังด้วยกัน พฤติการณ์มิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน จึงให้จำเลยที่ 1 ที่ 3และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 143,437.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 106,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว หากฟังว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายความเสียหายส่วนที่โจทก์ก่อก็มีเพียงเล็กน้อย จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 3และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิการฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการแบ่งความรับผิดชอบจากความประมาทเลินเล่อ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน 499,375 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 287,808.90 บาทพร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 213,191.78 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยที่ 2ให้ยกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแล้วเห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโจทก์และจำเลยที่ 3 ที่ 4ต่างขาดความระมัดระวังด้วยกัน พฤติการณ์มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันจึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 143,437.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 106,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 อนุมัติ ให้จ่ายเงินตามเช็คโดยประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว หากฟังว่า โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายส่วนที่โจทก์ ก่อก็มีเพียงเล็กน้อย จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น เป็นฎีกา ในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งความรับผิดในความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อทางธนาคาร และข้อจำกัดในการฎีกาตามมูลค่าคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน 499,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน287,808.90 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง และให้จำเลยที่ 1และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 213,191.78 บาทพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องโจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นอัน ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากโจทก์และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างขาดความระมัดระวังด้วยกัน พฤติการณ์มิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน จึงให้จำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 143,437.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงิน จำนวน 106,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว หากฟังว่า โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายส่วนที่ โจทก์ก่อก็มีเพียงเล็กน้อย จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้าม มิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่และอำนาจพิเศษของผู้ไม่เป็นบริวาร
เดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านซึ่งจำเลยเช่าไปจากโจทก์ อันเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆออกจากอสังหาริมทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏในสำนวนว่าโจทก์ให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทในอัตราค่าเช่าเท่าใดคงได้ความว่า ผู้ร้องเสียค่าเช่าให้โจทก์ในอัตราเดือนละ120 บาท จึงฟังได้ว่าค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท คู่ความในคดีฟ้องขับไล่เดิมย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าผู้ร้องสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ก็ตามคดีนี้ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสาม คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลอ้างว่ามิใช่บริวารของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) การที่คดีฟ้องขับไล่ระหว่างโจทก์ จำเลยในคดีเดิม จะมีการส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียก ไปยังภูมิลำเนาของจำเลยถูกต้องผิดพลาดหรือไม่ หาได้มีผล เกี่ยวข้องกับคดีของผู้ร้องไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจะร้องขอ ให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเดิมหาได้ไม่