พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรื้อถอนอาคารรุกล้ำที่ดิน & ข้อจำกัดสิทธิฟ้องร้องกรณีข้อบัญญัติท้องถิ่น
การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครหรือไม่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้าง ฯ ข้อ 74 ได้ หากโจทก์เห็นว่าหน้าต่างของอาคารที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างเมื่อเปิดแล้วจะรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพอแปลได้ว่าโจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างหรือส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16 เมตร จำเลยทั้งสองให้การว่า มิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์หากแต่ปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีที่โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกัน เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ตีราคาที่ดินส่วนที่พิพาทกันเพื่อให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงระวางที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ตั้งของที่ดินส่วนที่พิพาทซึ่งมีสภาพเป็นทางเข้าวัดโจทก์แล้วเห็นว่ามีราคาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16 เมตร จำเลยทั้งสองให้การว่า มิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์หากแต่ปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีที่โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกัน เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ตีราคาที่ดินส่วนที่พิพาทกันเพื่อให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงระวางที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ตั้งของที่ดินส่วนที่พิพาทซึ่งมีสภาพเป็นทางเข้าวัดโจทก์แล้วเห็นว่ามีราคาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรื้อถอนอาคารรุกล้ำที่ดิน & ข้อจำกัดการฟ้องบังคับตามข้อบัญญัติท้องถิ่น
จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครหรือไม่ เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ หากโจทก์เห็นว่าหน้าต่างของอาคารที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างเมื่อเปิดแล้วจะรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพอแปลได้ว่า โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างหรือส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ส่วนประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่นั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16 เมตร จำเลยทั้งสองให้การว่า มิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์หากแต่ปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีที่โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกันจึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ตีราคาที่ดินส่วนที่พิพาทกันเพื่อให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงระวางที่ดินเลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ตั้งของที่ดินส่วนที่พิพาทซึ่งมีสภาพเป็นทางเข้าวัดโจทก์แล้ว เห็นว่ามีราคาไม่ถึง 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดที่ดิน การคัดค้านเขต และการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์
ฎีกาของโจทก์ทั้งสามที่ว่า โจทก์ทั้งสามไม่ได้ปักหลักเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิคัดค้านการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ทั้งสาม เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ว่า โจทก์ทั้งสามนำชี้แนวเขตที่ดินของตนรุกล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินของจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิคัดค้านการรังวัดดังกล่าว อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยมีสิทธิคัดค้านการรังวัดแนวเขตแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามตามฟ้องหรือไม่ครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลยแล้ว ส่วนข้อที่ว่าจำเลยไม่คัดค้านการรังวัดภายในกำหนดตามกฎหมายที่ดิน จำเลยจึงหมดสิทธิคัดค้านนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้วว่าโจทก์ทั้งสามนำรังวัดรุกล้ำที่ดินของจำเลย จำเลยในฐานะของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิขัดขวางหรือคัดค้านการกระทำของโจทก์ทั้งสามได้เสมอ ดังนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ทั้งสามในข้อดังกล่าว เพราะไม่ทำให้ผลคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เปลี่ยนแปลงไป
ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยมีสิทธิคัดค้านการรังวัดแนวเขตแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามตามฟ้องหรือไม่ครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลยแล้ว ส่วนข้อที่ว่าจำเลยไม่คัดค้านการรังวัดภายในกำหนดตามกฎหมายที่ดิน จำเลยจึงหมดสิทธิคัดค้านนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้วว่าโจทก์ทั้งสามนำรังวัดรุกล้ำที่ดินของจำเลย จำเลยในฐานะของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิขัดขวางหรือคัดค้านการกระทำของโจทก์ทั้งสามได้เสมอ ดังนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ทั้งสามในข้อดังกล่าว เพราะไม่ทำให้ผลคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่และบังคับคดีที่ดิน/บ้าน: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากที่ดินและบ้านซึ่งปลูกสร้างในที่ดินพร้อมเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 36,000 บาท จำเลยไม่ยื่นคำให้การ และโจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินและบ้านดังกล่าวหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 4,500 บาท คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท โจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง และมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีบ้านของผู้ร้อง เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ร้องไม่เป็นบริวารของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทซึ่งคู่ความในส่วนของคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ คดีในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสาม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษว่าไม่ใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง และมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีบ้านของผู้ร้อง เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ร้องไม่เป็นบริวารของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน คดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องจึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยผู้ถูกฟ้องขับไล่ซึ่งอยู่บนอสังหาริมทรัพย์และคดีระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทซึ่งคู่ความในส่วนของคดีฟ้องขับไล่นั้นต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ว่าศาลจะฟังว่าบุคคลดังกล่าวสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้หรือไม่ คดีในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันและความรับผิดร่วม: ศาลฎีกาชี้ว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในสัญญาซื้อขาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าปรับเพราะผิดสัญญาซื้อขายรวม 4 ฉบับ โดยมีจำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายรายฉบับรวม 4 ฉบับ หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับและหลักประกันสัญญาตามรายสัญญา แม้โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายรวมกันมาทั้งสี่ฉบับการกำหนดค่าปรับก็ต้องพิจารณาภายในวงเงินตามสัญญาซื้อขายแต่ละฉบับ จำนวนทุนทรัพย์แห่งคดีจึงต้องคำนวณแยกตามสัญญาซื้อขายและหนังสือค้ำประกันนั้นเป็นรายสัญญา เมื่อมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาในแต่ละสัญญาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับรวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 7,325.37 บาท และหลักประกันสัญญารวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 3,212.57 บาท รวมเป็นเงิน 10,537.94 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าปรับให้ 3,000 บาท คงเหลือจำนวนค่าปรับที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 7,537.94 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับปัญหาในการกำหนดค่าปรับเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะเห็นพ้องกับการกำหนดค่าปรับของศาลอุทธรณ์และไม่ฎีกาค่าปรับในส่วนนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขได้ตามมาตรา 142 (5)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 กำหนดอัตราค่าปรับให้หน่วยราชการใช้และถือปฏิบัติเป็นหลักทั่วไปเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม หากให้แต่ละหน่วยราชการต่างกำหนดค่าปรับเองกรณีผิดสัญญาก็จะทำให้เกิดความลักลั่นไม่เป็นธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าอัตราค่าปรับที่กำหนดในระเบียบดังกล่าวจะเหมาะสมแก่ทุกกรณี เมื่อค่าปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันเป็นความรับผิดที่เกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าปรับตามสัญญาซื้อขายแก่โจทก์ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันระบุว่า ยอมผูกพันตนโดยไม่มีเงื่อนไขที่จะค้ำประกันชนิดเพิกถอนไม่ได้เช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น และให้โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อนซึ่งมีลักษณะต้องร่วมรับผิดอยู่แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับรวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 7,325.37 บาท และหลักประกันสัญญารวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 3,212.57 บาท รวมเป็นเงิน 10,537.94 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าปรับให้ 3,000 บาท คงเหลือจำนวนค่าปรับที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 7,537.94 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับปัญหาในการกำหนดค่าปรับเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะเห็นพ้องกับการกำหนดค่าปรับของศาลอุทธรณ์และไม่ฎีกาค่าปรับในส่วนนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขได้ตามมาตรา 142 (5)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 กำหนดอัตราค่าปรับให้หน่วยราชการใช้และถือปฏิบัติเป็นหลักทั่วไปเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม หากให้แต่ละหน่วยราชการต่างกำหนดค่าปรับเองกรณีผิดสัญญาก็จะทำให้เกิดความลักลั่นไม่เป็นธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าอัตราค่าปรับที่กำหนดในระเบียบดังกล่าวจะเหมาะสมแก่ทุกกรณี เมื่อค่าปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันเป็นความรับผิดที่เกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าปรับตามสัญญาซื้อขายแก่โจทก์ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันระบุว่า ยอมผูกพันตนโดยไม่มีเงื่อนไขที่จะค้ำประกันชนิดเพิกถอนไม่ได้เช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น และให้โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อนซึ่งมีลักษณะต้องร่วมรับผิดอยู่แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10830/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 คดีมี/ไม่มีทุนทรัพย์ - ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ 74 ตารางวา ราคาประเมินตารางวาละ 1,000 บาท เป็นทุนทรัพย์ 74,000 บาทจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินอีกส่วนหนึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นที่ดินของกรมชลประทาน เท่ากับว่าจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ฉะนั้นคำฟ้องของโจทก์ทั้งส่วนที่มีทุนทรัพย์และส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าตามสัญญาเช่า เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8738/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหมั้นผิดนัด การฟ้องคดีขาดอายุความ การพิพากษาแก้ผลคดี
โจทก์ที่ 1 เป็นคู่หมั้น โจทก์ที่ 2 เป็นมารดาโจทก์ที่ 1 ใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสามฐานผิดสัญญาหมั้น ซึ่งเป็นคดีมิใช่เกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว แต่เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้อนจะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความสามารถยกขึ้นว่ากล่าวภายหลังได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง ก็ตาม แต่จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้จากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็น ไม่เกี่ยวกับคู่ความที่จะต้องนำสืบหรือมีข้อกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ศาลจะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเพื่อใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายไม่ได้
จำเลยที่ 2 เป็นมารดาของจำเลยที่ 1 มาร่วมเจรจาและรับรู้วันประกอบพิธีหมั้น อันเป็นธรรมเนียมประเพณีไทยที่ต้องมีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมารับรู้การหมั้น ถือว่า จำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญาหมั้นรายนี้แล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 ถือเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานเพื่อเป็นเกียรติแก่การหมั้นเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงมิใช่คู่สัญญาในการหมั้นครั้งนี้แต่อย่างใด
เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่แน่ชัดว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ถอนหมั้นกันเมื่อใดแต่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 แจ้งโจทก์ที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 ได้แจ้งเรื่องถอนหมั้นให้ประธานในพิธีหมั้นทราบแล้ว ก็ถือว่า โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้มีการถอนหมั้นกันอย่างเป็นทางการในวันที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ที่ 2 ทราบ
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2546 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่อยู่ในเขตอำนาจโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นฟ้องใหม่ยังศาลที่มีเขตอำนาจ ต่อมาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 โจทก์ทั้งสองจึงยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ คดีโจทก์ทั้งสองไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 ที่ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด
แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟ้องซ้อนจะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความสามารถยกขึ้นว่ากล่าวภายหลังได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง ก็ตาม แต่จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้จากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็น ไม่เกี่ยวกับคู่ความที่จะต้องนำสืบหรือมีข้อกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง ศาลจะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเพื่อใช้ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายไม่ได้
จำเลยที่ 2 เป็นมารดาของจำเลยที่ 1 มาร่วมเจรจาและรับรู้วันประกอบพิธีหมั้น อันเป็นธรรมเนียมประเพณีไทยที่ต้องมีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมารับรู้การหมั้น ถือว่า จำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญาหมั้นรายนี้แล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 ถือเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานเพื่อเป็นเกียรติแก่การหมั้นเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงมิใช่คู่สัญญาในการหมั้นครั้งนี้แต่อย่างใด
เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่แน่ชัดว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ถอนหมั้นกันเมื่อใดแต่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 แจ้งโจทก์ที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 ได้แจ้งเรื่องถอนหมั้นให้ประธานในพิธีหมั้นทราบแล้ว ก็ถือว่า โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้มีการถอนหมั้นกันอย่างเป็นทางการในวันที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ที่ 2 ทราบ
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2546 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่อยู่ในเขตอำนาจโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นฟ้องใหม่ยังศาลที่มีเขตอำนาจ ต่อมาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2546 โจทก์ทั้งสองจึงยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ คดีโจทก์ทั้งสองไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 ที่ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง การครอบครองปรปักษ์ต้องสุจริต
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนบ้านและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ จำเลยให้การกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินพิพาทราคา 104,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 104,000 บาท ส่วนค่าเสียหายเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันหลังจากวันฟ้องเป็นค่าเสียหายในอนาคตไม่อาจนำไปคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาได้ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อในการยึดหน่วงราคาเมื่อทรัพย์สินชำรุด และขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารและส่งมอบทาวน์เฮ้าส์พิพาทคืนให้โจทก์กับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าออกไปจากทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ เป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง การวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
โจทก์มอบอำนาจให้ ข. ทำสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น พร้อมที่ดินกับจำเลยในราคา 1,900,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาจำนวน 100,000 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวด โดยจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวและจำเลยชำระเงินให้โจทก์เป็นเวลา 5 งวด เมื่อทาวน์เฮ้าส์ที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยมีความชำรุดบกพร่องหลายแห่ง จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์แก้ไขความชำรุดบกพร่องและยึดหน่วงยังไม่ต้องชำระราคาค่าซื้อในงวดสุดท้ายได้ การที่จำเลยยังไม่ชำระราคาค่าซื้องวดสุดท้าย เพราะโจทก์ยังมิได้แก้ไขความชำรุดบกพร่องจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 และมาตรา 488
โจทก์มอบอำนาจให้ ข. ทำสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น พร้อมที่ดินกับจำเลยในราคา 1,900,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาจำนวน 100,000 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวด โดยจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวและจำเลยชำระเงินให้โจทก์เป็นเวลา 5 งวด เมื่อทาวน์เฮ้าส์ที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยมีความชำรุดบกพร่องหลายแห่ง จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์แก้ไขความชำรุดบกพร่องและยึดหน่วงยังไม่ต้องชำระราคาค่าซื้อในงวดสุดท้ายได้ การที่จำเลยยังไม่ชำระราคาค่าซื้องวดสุดท้าย เพราะโจทก์ยังมิได้แก้ไขความชำรุดบกพร่องจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 และมาตรา 488
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาถูกจำกัดเนื่องจากทุนทรัพย์พิพาทแต่ละรายไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสามแต่ละคนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละแปลงอยู่ติดต่อกัน จำเลยทั้งสามได้ทำการรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิครอบครอง คดีจึงมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นการพิพาทด้วยสิทธิในที่ดิน จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์ทั้งสามจะมีคำขอห้ามจำเลยทั้งสามยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และให้ยกเลิกหรือระงับหรือเพิกถอนการแจกหรือออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงมาด้วยก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นหลักเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสามย่อมได้ไปซึ่งสิทธิในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละแปลง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 จึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่คนละคนแยกกัน ที่ดินพิพาทสามแปลงรวมเนื้อที่ 32 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา ราคา 229,250 บาท ของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่เศษ ของโจทก์ที่ 2 เนื้อที่ 10 ไร่เศษ และของโจทก์ที่ 3 เนื้อที่ 12 ไร่ เศษ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง