พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ป.วิ.พ. เนื่องจากเป็นการโต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นเงิน 150,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 200,000 บาท โดยดอกเบี้ยภายหลังวันฟ้องไม่นำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 190 (1) คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน-การบอกเลิกสัญญาเช่า-อำนาจฟ้อง: กรณีมิสซังถือครองที่ดิน
ที่ดินพิพาทเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ที่ให้จำเลยเช่า การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ เป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ แม้จะครอบครองทำประโยชน์นานเท่าใดก็ไม่อาจอ้างการแย่งการครอบครองในที่ดินพิพาทได้ นอกจากจะได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามคำให้การของจำเลยมายันโจทก์ได้ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
โจทก์นำสืบส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่า โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงและนำสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร มิใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตม์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งสำเนาเอกสารมิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะของวัดบาทหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ข้อ 5 และข้อ 18 ไม่ให้มิสซังถือที่ดินแทนผู้อื่น แต่ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนมิสซัง เมื่อมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพมหานคร โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อ ว. เป็นผู้ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คู่ความพิพาทกันในเรื่องสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทซึ่งมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง และเรื่องขับไล่เพราะผิดสัญญาเช่าซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมาซึ่งแต่ละส่วนแยกจากกันได้ สิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่จึงต้องแยกพิจารณาตามส่วนดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่อยู่ในประเด็นเรื่องขับไล่ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
โจทก์นำสืบส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่า โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงและนำสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้
การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร มิใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตม์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งสำเนาเอกสารมิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะของวัดบาทหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ข้อ 5 และข้อ 18 ไม่ให้มิสซังถือที่ดินแทนผู้อื่น แต่ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแทนมิสซัง เมื่อมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพมหานคร โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อ ว. เป็นผู้ครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คู่ความพิพาทกันในเรื่องสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทซึ่งมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง และเรื่องขับไล่เพราะผิดสัญญาเช่าซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมาซึ่งแต่ละส่วนแยกจากกันได้ สิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่จึงต้องแยกพิจารณาตามส่วนดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่อยู่ในประเด็นเรื่องขับไล่ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การปรับปรุงอาคาร, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อย
จำเลยเช่าอาคารจากโจทก์เป็นเวลา 10 ปี การที่จำเลยเปลี่ยนลักษณะการใช้อาคารจากร้านขายของเป็นร้านอาหารประเภทบาร์เบียร์เป็นการกระทำเพื่อความสะดวกสบายในการใช้สอยทรัพย์สินที่เช่าจากโจทก์เท่านั้น ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยพร้อมกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ จะฎีกาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกัน กล่าวคือ ถ้าหากฎีกาประเด็นเรื่องขับไล่ก็ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าเดือนละ 14,000 บาท ฎีกาของจำเลยในส่วนเรื่องขับไล่จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ส่วนในเรื่องค่าเสียหายซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีจำนวนเพียง 42,000 บาท ไม่เกิน 200,000 บาท ย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยพร้อมกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ จะฎีกาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกัน กล่าวคือ ถ้าหากฎีกาประเด็นเรื่องขับไล่ก็ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าเดือนละ 14,000 บาท ฎีกาของจำเลยในส่วนเรื่องขับไล่จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ส่วนในเรื่องค่าเสียหายซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีจำนวนเพียง 42,000 บาท ไม่เกิน 200,000 บาท ย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล และการครอบครองปรปักษ์ที่ต้องห้ามฎีกาตามทุนทรัพย์
เทศบาลตำบลโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีนายกเทศมนตรีเป็นผู้แทนนิติบุคคลมีอำนาจกระทำกิจการแทนโจทก์ การที่ ว. ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีมอบอำนาจให้ทนายความฟ้องจำเลยซึ่งบุกรุกที่ดินของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามบทบัญญัติของกฎหมาย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเพื่อประโยชน์ของโจทก์และเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหาร โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากสภาเทศบาล โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ฟ้องขับไล่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างและขนย้ายสัมภาระสิ่งของออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทเกินกว่า 10 ปี จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องและฟ้องแย้งราคาที่ดินพิพาทไม่เกิน 200,000 บาท และที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้กรรมสิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างและขนย้ายสัมภาระสิ่งของออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทเกินกว่า 10 ปี จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องและฟ้องแย้งราคาที่ดินพิพาทไม่เกิน 200,000 บาท และที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้กรรมสิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสน ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม-อายุความ-การครอบครองปรปักษ์
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสี่คนละ 1 ส่วน คิดเป็นเงิน 240,000 บาท แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน ที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างจำเลยและโจทก์ทั้งสี่แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเนื่องจากจำเลยร่วมกับ ห. เข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทมาตั้งแต่แรกและต่อมา ห. ได้ยกที่ดินพิพาทในส่วนของ ห. ให้แก่จำเลยแล้วก็ดี จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนจนได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้วก็ดี และแม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นก็ตามแต่จำเลยก็ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการยึดถือเพื่อตนแล้วก็ดี เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่ ห. ถึงแก่ความตายเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่ ห. ถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่ ห. ถึงแก่ความตายเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่ ห. ถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายวงแชร์เป็นนิติบุคคล: นิติกรรมโมฆะ สิทธิเรียกร้องสมาชิกวงแชร์
พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้นิติบุคคลเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์" มาตรา 6 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้..." และมาตรา 7 บัญญัติว่า "บทบัญญัติในมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์" จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ต่างหากจากกัน ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะกรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่กรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นนิติบุคคล กฎหมายหาได้ให้สิทธิเช่นว่านั้นไม่ ฉะนั้น หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าแชร์รายพิพาทมีห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นนายวงแชร์ตามที่จำเลยกล่าวอ้าง การเล่นแชร์รายนี้ย่อมเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เช็คพิพาทที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ค่าแชร์ที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวจึงปราศจากมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย แม้โจทก์และจำเลยต่างเป็นสมาชิกวงแชร์ด้วยกัน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้ ข้อเท็จจริงที่ว่าการเล่นแชร์รายนี้มีห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นนายวงแชร์หรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องวินิจฉัย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาจึงไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงที่ยังมิได้วินิจฉัยดังกล่าวอาจเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามลำดับชั้นศาลเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (3), 243 (3) (ข) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในข้อเท็จจริง - ทุนทรัพย์น้อยกว่า 95,476.24 บาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นพยานหลักฐาน
ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เพียงแต่อ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ขึ้นมาโต้แย้งว่าการได้มาซึ่งพยานหลักฐานในส่วนดังกล่าวมิชอบ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง หาได้เป็นข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพื่อเอาชนะคดีโดยชัดแจ้งไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีเพียง 95,476.24 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6739/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาเฉพาะส่วนต่างของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และขอบเขตการโต้เถียงข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 200,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์เต็มตามฟ้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์เท่ากับจำเลยเห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้จำเลยชำระเงิน 285,321 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยคงมีสิทธิฎีกาเฉพาะในส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เพิ่มขึ้นเท่านั้น ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีเพียง 85,321 บาท การที่จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5957/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, ภาระการพิสูจน์สัญญาเช่า, สิทธิการครอบครองที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทอ้างว่าให้เช่าได้เดือนละ 20,000 บาท ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 10,000 บาท โจทก์ไม่ฎีกา ถือว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่าให้จำเลยอาศัยทำประโยชน์ในที่พิพาท จำเลยให้การยอมรับว่าเข้าทำประโยชน์ไม่ใช่ในฐานะผู้อาศัย แต่ในฐานะผู้เช่าตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาที่ตกลงให้จำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและอาคารเก็บสินค้าด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยแล้วให้จำเลยทำสัญญาเช่าครั้งละ 3 ปี จนครบกำหนด 15 ปี เป็นการที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ใหม่ ภาระการพิสูจน์ที่จะนำสืบให้เห็นว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าที่พิพาทกับจำเลยจริง จึงตกแก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องว่าให้จำเลยอาศัยทำประโยชน์ในที่พิพาท จำเลยให้การยอมรับว่าเข้าทำประโยชน์ไม่ใช่ในฐานะผู้อาศัย แต่ในฐานะผู้เช่าตามสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาที่ตกลงให้จำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและอาคารเก็บสินค้าด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยแล้วให้จำเลยทำสัญญาเช่าครั้งละ 3 ปี จนครบกำหนด 15 ปี เป็นการที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นต่อสู้ใหม่ ภาระการพิสูจน์ที่จะนำสืบให้เห็นว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าที่พิพาทกับจำเลยจริง จึงตกแก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดก: ทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนเป็นเกณฑ์พิจารณาการฎีกา
โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของ น. ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของ น. จากจำเลยทั้งสองโดยให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนการโอนที่ดินและนำมาแบ่งแยกเป็น 5 ส่วน แล้วโอนให้แก่โจทก์ทั้งสามคนละหนึ่งส่วนคิดเป็นเนื้อที่คนละ 2 งาน 71 ตารางวา จึงเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิฟ้องเรียกส่วนแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยทั้งสองเฉพาะตัว โจทก์แต่ละคนชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้โดยลำพัง แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องคดีรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน เมื่อโจทก์ทั้งสามตีราคาที่ดินดังกล่าวเป็นเงิน 339,250 บาท และโจทก์ที่ 2 ขอให้โอนที่ดินแก่โจทก์ที่ 2 เพียง 1 ใน 5 ส่วน คิดเป็นเนื้อที่ 2 งาน 71 ตารางวา คิดเป็นเงิน 67,850 บาท เฉพาะโจทก์ที่ 2 จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง