พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในคดีละเมิดร่วมกัน: การแบ่งแยกค่าเสียหายเพื่อคำนวณทุนทรัพย์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์กำหนดตามคำพิพากษาเป็นค่าปลงศพมีจำนวน 50,000 บาท แต่เป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับร่วมกันไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่กำหนดให้โจทก์ทั้งสองได้รับรวมกันมาจำนวน 200,000 บาท นั้น เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสอง เมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งเป็นเงินคนละ 100,000 บาท และนำไปรวมกับค่าเสียหายที่เป็นค่าปลงศพจำนวน 50,000 บาทแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการห้ามฎีกาในคดีที่เกี่ยวข้องกับค่าเช่าและการครอบครองที่ดิน
คดีเดิมเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท อันเป็นคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ส่วนคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับบริวารของจำเลย และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสาม
ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะบริวารของจำเลย ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องมีสิทธิพิเศษเหนือที่ดินพิพาทเพราะผู้ร้องคัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการเปลี่ยนเจตนายึดถือที่ดินมาเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องแย่งการครอบครองเกิน 1 ปีแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวาร ผู้ร้องจะยื่นคำร้องว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ร้องในชั้นบังคับคดีเพียงว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่เท่านั้น
ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะบริวารของจำเลย ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องมีสิทธิพิเศษเหนือที่ดินพิพาทเพราะผู้ร้องคัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการเปลี่ยนเจตนายึดถือที่ดินมาเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องแย่งการครอบครองเกิน 1 ปีแล้ว จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยกับบริวาร ผู้ร้องจะยื่นคำร้องว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับผู้ร้องในชั้นบังคับคดีเพียงว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามตามมาตรา 249 และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา รวมถึงประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยให้ เนื่องจากไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นเป็นข้อพิพาทไว้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแต่ประการใด และไม่วินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง: การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เรื่องพฤติการณ์พิเศษขยายเวลาอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ในการต่อสู้คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าใช้จ่ายและค่าฤชาธรรมเนียมมาโดยตลอด และยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าเล่าเรียนบุตรอีก 3 คน ทั้งผู้ตายสามีจำเลยที่ 2 ก็มีหนี้สินเป็นจำนวนมากซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องแบกรับภาระเองทั้งสิ้นค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องวางในชั้นอุทธรณ์แม้จะมีจำนวนไม่มากแต่ก็ถือว่าสูงสำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ก็มิได้บัญญัติว่าเหตุใดเป็นพฤติการณ์พิเศษแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเป็นเรื่อง ๆ ไป การที่ศาลวินิจฉัยว่าเหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ว่าหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลไม่ทันมิใช่พฤติการณ์พิเศษ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกัน ก็ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 เช่นกัน
ฎีกาในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกัน ก็ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8651/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเรื่องค่าเสียหายเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษา และการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องค่าเสียหายที่ยุติไปแล้ว
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกากำหนดค่าขาดประโยชน์เพิ่มขึ้นตามที่โจทก์ฟ้องจำนวน 69,840 บาท ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในค่าขาดประโยชน์รถยนต์ 36,000 บาท ค่าขาดราคา 60,000 และค่าติดตามรถคืน 1,000 บาท จำเลยทั้งสองอุทธรณ์เฉพาะค่าขาดประโยชน์และค่าขาดราคา ส่วนโจทก์มิได้อุทธรณ์ เท่ากับโจทก์เห็นด้วยกับค่าขาดประโยชน์ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ค่าขาดประโยชน์ลดลงเหลือจำนวน 21,600 บาท โจทก์จะฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่าที่โจทก์ฟ้องจำนวน 69,840 บาทไม่ได้ โจทก์คงมีสิทธิฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ในส่วนค่าขาดประโยชน์เพิ่มขึ้นได้ไม่เกิน 36,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามา ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์จึงมีเพียง 14,400 บาท การที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้สูงขึ้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหาย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงมิใช่ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 31,600 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์โดยมิได้พิพากษารวมค่าติดตามยึดรถคืนจำนวน 1,000 บาท เข้าไปด้วย ซึ่งค่าเสียหายในส่วนนี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์โต้แย้ง ทำให้คำพิพากษาและคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ไร้ผล ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 247
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 31,600 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์โดยมิได้พิพากษารวมค่าติดตามยึดรถคืนจำนวน 1,000 บาท เข้าไปด้วย ซึ่งค่าเสียหายในส่วนนี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วเพราะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์โต้แย้ง ทำให้คำพิพากษาและคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ไร้ผล ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4043/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ฎีกาไม่เกินสองแสนบาท, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การแยกคำนวณทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน
คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินจำนวน 688,295 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสี่ตามความเสียหายของแต่ละคน ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ทั้งสี่ฎีกาขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้โจทก์ทั้งสี่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสี่จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน เมื่อทุนทรัพย์ชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสี่แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงิน 126,580.79 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 111,596.30 บาท นับถัดจากฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท แม้จำเลยจะเสียค่าขึ้นศาลมาในชั้นฎีกาในจำนวนทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้น 277,298.06 บาท ก็ตาม แต่ทุนทรัพย์ที่แท้จริงที่พิพาทในชั้นฎีกาเป็นเงินจำนวน 126,580.79 บาท ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยฎีกาว่าจำเลยได้ชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ที่เกี่ยวข้องกับวงศ์ญาติและบริวาร โดยเฉพาะเมื่อมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินดังกล่าว ต่อมาโจทก์บอกกล่าวให้ออกไป แต่จำเลยเพิกเฉย ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดิน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยเป็นที่สุดว่าที่ดินเป็นของโจทก์และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลย แต่เป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินได้เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่ จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่เมื่อที่ดินมีราคา 97,950 บาท และอาจให้เช่าได้เดือนละ 2,500 บาท โจทก์และจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยและยกคำร้องศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ที่ผู้ร้องฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยซื้อที่ดินมาจากโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่: ปัญหาบริวารและการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยเป็นที่สุดว่าที่ดินเป็นของโจทก์และมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาท การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่าผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลย แต่เป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินได้ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่ ที่ดินพิพาทมีราคา 97,950 บาท และอาจให้เช่าได้เดือนละ 2,500 บาท โจทก์และจำเลยจึงห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยและยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ที่ผู้ร้องฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยซื้อที่ดินมาจากโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยจำเลยแต่เพียงผู้เดียว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสี่คนละ 1 ส่วน รวม 4 ส่วนในเจ็ดส่วน คิดเป็นเงินรวม 204,000 บาท เท่ากับคนละ 50,100 บาท แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติตามที่ศาลล่างวินิจฉัยว่า นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อปี 2526 จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โดยมิได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสี่หรือทายาทอื่น ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2540 จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติตามที่ศาลล่างวินิจฉัยว่า นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อปี 2526 จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โดยมิได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสี่หรือทายาทอื่น ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2540 จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง