พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วม: ต้องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือและแจ้งเจ้าของรวม มิฉะนั้นไม่เกิดสิทธิ
จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ม. แบ่งที่ดินมรดกแก่จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของ ม. โดยให้เป็นของจำเลยที่ 1 จำนวน 2 ไร่ 3 งาน5 ตารางวา และของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จำนวน 3 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา คิดเป็นเงินรวม313,833.32 บาท แม้จำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แยกกันเพราะเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งห้าตีราคาเป็นทุนทรัพย์รวมกันมีราคา 313,833.32 บาท ที่ดินแต่ละส่วนที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องแย้งจึงมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ดังนั้น ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ละส่วนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งห้าได้ให้การในตอนต้นว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว แต่จำเลยทั้งห้าก็ให้การอีกตอนหนึ่งว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของ ก. ด้วยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ว่าม. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคนเดียวมิใช่ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งมีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่น ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ทายาทผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้บอกกล่าวไปยัง ก. ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน ก. อีกต่อไปตามมาตรา 1381 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทนผู้มีสิทธิครอบครองได้ และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
ท้ายอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดีไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 และมาตรา 167 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
จำเลยทั้งห้าได้ให้การในตอนต้นว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว แต่จำเลยทั้งห้าก็ให้การอีกตอนหนึ่งว่าจำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในส่วนของ ก. ด้วยการครอบครองปรปักษ์ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งห้าที่ว่าม. ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคนเดียวมิใช่ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยทั้งห้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งมีจำเลยที่ 1 พ. และ ก. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่น ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัด การที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดินก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้น หาก่อให้เริ่มเกิดสิทธิที่จะอ้างว่าตนครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเสียแต่คนเดียวไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ทายาทผู้สืบสิทธิจาก พ. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท หาทำให้จำเลยทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่ เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ได้บอกกล่าวไปยัง ก. ว่าจะไม่ยึดถือทรัพย์สินแทน ก. อีกต่อไปตามมาตรา 1381 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงฐานะยึดถือแทนผู้มีสิทธิครอบครองได้ และไม่อาจถือได้ว่ามีการแย่งการครอบครอง
ท้ายอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมิได้ขอให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยทั้งห้าใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นด้วย เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแก่ฝ่ายที่ชนะคดีไม่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะมีคำขอหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 และมาตรา 167 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยฎีกาแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือเป็นการทิ้งฎีกา คดีจึงถูกจำหน่ายออกจากสารบบ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหาย อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาจากจำเลยโดยจำเลยขายฝาก จำเลยให้การว่าการขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน ขอให้ยกฟ้อง เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่เคยขายฝากให้โจทก์ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท อันเป็นการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
จำเลยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นกรณีที่จำเลยผู้ฎีกาเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246,247
จำเลยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นกรณีที่จำเลยผู้ฎีกาเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, การสืบพยานนอกฟ้อง, และการใช้คำให้การในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานหนี้
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องดังกล่าวทั้งมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ในคดีแพ่ง มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่อาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์จำนวน 70,200 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า การนำสืบพยานโจทก์แตกต่างในข้อสาระสำคัญไปจากคำฟ้องเป็นการสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์จำนวน 70,200 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า การนำสืบพยานโจทก์แตกต่างในข้อสาระสำคัญไปจากคำฟ้องเป็นการสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: การบังคับใช้คำพิพากษาเฉพาะโจทก์ที่อุทธรณ์เมื่อหนี้ของแต่ละโจทก์แยกจากกันได้
โจทก์ทั้งสามต่างฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ลูกจ้าง กับจำเลยที่ 2 นายจ้าง ให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม และยกฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวอุทธรณ์ ขอให้จำเลยที่ 2 นายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่อุทธรณ์ คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสามต่างใช้สิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกัน รับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับ แม้จะฟ้องรวมกันมาแต่หนี้ของโจทก์แต่ละคนสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์เพียงผู้เดียว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่มีผลไปถึงคดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษา ให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ทั้งที่คดีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ยุติไปแล้วจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ศาลฎีกายกฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา จึงไม่มีค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกาที่จะต้องคืนให้
ศาลฎีกายกฎีกาของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา จึงไม่มีค่าขึ้นศาล ชั้นฎีกาที่จะต้องคืนให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินขัดแย้งกับสิทธิภารจำยอม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินที่ใช้วางท่อระบายน้ำทิ้งเป็นที่ดินของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าใช้ที่ดินตรงที่วางท่อระบายน้ำทิ้งโดยเจตนาจะให้ได้ภารจำยอม ฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความในการใช้ที่ดินตรงที่วางท่อระบายน้ำทิ้งจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจังหวัดนครราชสีมาจำเลยที่ 18 และพิพากษาว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายซึ่งหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ย่อมีผลทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์คืนมาคำขอในส่วนที่ขอให้พิพากษาว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 18 อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มาด้วย แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 18 ก็ต้องได้ความว่าหนองน้ำในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ ไม่ใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ ดังนั้น คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธาน ถือได้ว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินและค่าเสียหายรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ค่าเสียหายปีต่อ ๆ ไปนับแต่วันฟ้องปีละ 20,000 บาท เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันฟ้องไม่อาจนำมาคำนวณเป็นจำนวนทุนทรัพย์ได้
ศาลอุทธรณ์ฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับที่ดินสาธารณประโยชน์ พิพากษายืนให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง โจทก์ฎีกาว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์มิได้ออกทับที่สาธารณประโยชน์เป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
ค่าเสียหายปีต่อ ๆ ไปนับแต่วันฟ้องปีละ 20,000 บาท เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันฟ้องไม่อาจนำมาคำนวณเป็นจำนวนทุนทรัพย์ได้
ศาลอุทธรณ์ฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ออกทับที่ดินสาธารณประโยชน์ พิพากษายืนให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง โจทก์ฎีกาว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์มิได้ออกทับที่สาธารณประโยชน์เป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์เกินกำหนดห้ามอุทธรณ์ฎีกาข้อเท็จจริง: คดีครอบครองที่ดินและเพิกถอนใบแทน น.ส.3ก.
โจทก์ฟ้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งเพิกถอนการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่พิพาท และขอให้พิพากษาว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว ดังนั้น หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง คือ 18,375 บาท ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท และทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยอุทธรณ์และฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท โดยแสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถืออันเป็นการแย่งการครอบครอง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง จึงเป็นอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาดังกล่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ทับทางสาธารณประโยชน์ และการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ จำเลยกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ซึ่งหากศาลพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามคำขอของโจทก์ก็ย่อมเป็นผลให้โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนที่ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่อ้างว่าออกทับที่ดินของโจทก์จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินมีราคา 32,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ขอให้เปิดทางสาธารณประโยชน์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในส่วนที่ทับทางเกวียนแต่ประการใด ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะส่วนที่ทับทางเกวียน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นมาแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ขอให้เปิดทางสาธารณประโยชน์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในส่วนที่ทับทางเกวียนแต่ประการใด ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะส่วนที่ทับทางเกวียน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นมาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับรองฎีกาในข้อเท็จจริงต้องเป็นผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีเท่านั้น แม้มีคำสั่งอื่นก็มิอาจใช้สิทธิได้
ส. เป็นผู้พิพากษาที่เพียงแต่มีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้องของจำเลยเท่านั้น อันเป็นคำสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้ว และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งการมีคำสั่งดังกล่าว ส. ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นเลย ส. จึงไม่มีอำนาจรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ การที่ ส. รับรองให้ฎีกาจึงไม่ชอบ ถือว่าคดีนี้ยังคงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นที่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หนองน้ำสาธารณประโยชน์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับรองฎีกาต้องเป็นผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดี และคดีต้องไม่เกินราคาทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ให้อำนาจผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้นั้น มีเจตนารมณ์ให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นเองเป็นผู้รับรองให้ฎีกาเพราะเป็นผู้ทราบดีว่ามีเหตุสมควรที่จะรับรองให้ฎีกาหรือไม่ ดังนั้น ผู้พิพากษา ส. ที่เพียงแต่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสามขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อันเป็นคำสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้ว จึงไม่มีอำนาจรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ การที่ ส. รับรองให้ฎีกาจึงไม่ชอบ ถือว่าคดียังคงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง การที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย