คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 798 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์/ฎีกา เนื่องจากศาลชั้นต้นยกฟ้อง และการนำสืบพยานบุคคลแทนการมีหลักฐานหนังสือ
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วมแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยร่วมนั้นเป็นการไม่ชอบและถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การกู้ยืมเงินเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง การนำสืบถึงการตั้งตัวแทนจึงต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยลงลายมือชื่อที่ช่องผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินแทนจำเลยร่วม ปัญหาเรื่องข้อห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 กรณีจึงต้องฟังว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินโจทก์
เนื้อหาของฎีกาส่วนที่เป็นสาระสำคัญในประเด็นว่าโจทก์ส่งมอบเงินที่กู้ยืมให้เพียง 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดไว้ล่วงหน้าในอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่เกินว่ากฎหมายกำหนด และจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วน ล้วนแต่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น คงมีส่วนเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อยในรายละเอียด โดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และด้วยเหตุผลใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1657/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง: การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ การให้สัตยาบันถือว่าชอบแล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อน..." มิได้บัญญัติว่า การบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการที่โจทก์มอบอำนาจให้ ว. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 798 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้การตั้งตัวแทนต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อ ว. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องคดี แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ ว. เป็นการบอกกล่าวของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ถือว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5900/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายรับรถเช่าซื้อ: ไม่ถือเป็นการมอบอำนาจทำสัญญา หากจำเลยที่ 1 ผิดนัด มีหน้าที่ส่งมอบรถและชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์และลงลายมือชื่อรับมอบรถยนต์ไว้ในสัญญาเช่าซื้อล่วงหน้าโดยยังไม่ได้รับรถยนต์ไป การที่จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ไปรับรถยนต์ที่เช่าซื้อจากโจทก์ ไม่ใช่เป็นการมอบให้เป็นตัวแทนในการทำสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลล่างที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 แต่ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอย่างไรก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีที่ให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับจำนองของตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ แม้การแต่งตั้งตัวแทนไม่เป็นหนังสือ
โจทก์ที่ 1 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำนิติกรรมแทนโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 1 รับจำนองที่ดินจากจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่จำเลยกู้ยืมไปจากโจทก์ที่ 2 เป็นการกระทำแทนโจทก์ที่ 2 แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับจำนองเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่ากระทำการแทนโจทก์ที่ 2 ก็เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 2 ตัวการซึ่งยังไม่เปิดเผยชื่อแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาจำนองซึ่งโจทก์ที่ 1 ได้ทำไว้แทนตน ซึ่งโจทก์ที่ 2 มีสิทธิกระทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 และเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่ง ที่การตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญาจำนองเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้การตั้งตัวแทนของโจทก์ที่ 2 เพื่อทำสัญญาจำนองกับจำเลยจะมิได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อสิทธิของโจทก์ที่ 2 ตามสัญญาจำนองเป็นสิทธิที่มีอยู่ในฐานะตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5797/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและการรับผิดในฐานะตัวแทน ผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และผลของการทำสัญญาซื้อขาย
ที่จำเลยฎีกาว่า การตั้งตัวแทนซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือแต่โจทก์จำเลยมิได้ทำเป็นหนังสือต่อกันจึงไม่สมบูรณ์นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง คดีที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนโจทก์ จำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกแล้วรับเงินค่าที่ดินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินแก่โจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยเฉพาะว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์โดยจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์หรือไม่ กรณีไม่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลฟ้อง ดังนั้น การที่โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5797/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งตัวแทนซื้อขายที่ดินโดยไม่ทำเป็นหนังสือ และสิทธิในการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า การตั้งตัวแทนซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือแต่โจทก์จำเลยมิได้ทำเป็นหนังสือต่อกันจึงไม่สมบูรณ์นั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
คดีที่โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนโจทก์ จำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกแล้วรับเงินค่าที่ดินไปเป็นประโยชน์ส่วนตน ขอให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินแก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันโดยเฉพาะว่าจำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์โดยจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์หรือไม่ กรณีไม่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลฟ้อง ดังนั้น การที่โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 798 วรรคหนึ่ง