คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 90/25

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของลูกหนี้ที่ฟื้นฟูกิจการ: การทวงหนี้ก่อนศาลสั่งฟื้นฟูต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ตนเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และบุคคลภายนอกนั้นไม่ได้รับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 แต่หากสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนจะต้องไปใช้วิธีการฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งต่างหาก ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9), 90/25 และ 90/59 คดีนี้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อบุคคลภายนอกของโจทก์ ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ผู้ทำแผนจึงต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 ดังกล่าว โจทก์โดยผู้ทำแผนไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องก่อนฟื้นฟูกิจการต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์เป็นลูกหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การที่โจทก์จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้แก่ตนเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของโจทก์นั้น ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จะต้องใช้วิธีการทวงหนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/39 กล่าวคือผู้ทำแผนต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการทวงหนี้ โจทก์โดยผู้ทำแผนจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง แต่หากสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนจะต้องไปใช้วิธีการฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งต่างหากตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9), 90/25 และ 90/59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5178-5179/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดของบริษัทฟื้นฟูกิจการ, อายุความ, และดอกเบี้ยค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีผลประกอบการที่ดีและมีกำไรมาโดยตลอด แต่ต่อมาเมื่อกลางปี 2540 โจทก์เกิดขาดสภาพคล่องกะทันหันจนถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2541 และแต่งตั้งบริษัท พ. เป็นผู้ทำแผน เมื่อมีการตรวจสอบรายการทางการเงินของโจทก์พบว่า การรายงานสินทรัพย์สุทธิและกำไรสุทธิมีความคลาดเคลื่อน และระหว่างเดือนธันวาคม 2537 ถึงกรกฎาคม 2540 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นผู้บริหารงานของโจทก์ได้ร่วมกันชำระเงิน 3,950,000,000 บาทให้แก่บุคคลหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องโดยไม่ชอบ โดยโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยแต่ละคนโดยละเอียดถึงวันที่มีการเบิกถอนเงิน จ่ายเงิน และโอนเงินจำนวนเท่าใดจากธนาคารอะไร ให้ใคร ที่บัญชีเลขที่เท่าใด พร้อมรายละเอียดแห่งความเสียหายที่จำเลยแต่ละคนได้ก่อให้แก่โจทก์ตามเอกสารที่แนบมาท้ายฟ้อง เป็นคำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยแต่ละคนทำผิดสัญญาโดยโอนเงินให้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกโดยไม่ชอบ พร้อมทั้งบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนทำการอย่างไร เมื่อใด ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เท่าใด โดยแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องมาท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่บรรยายโดยชัดแจ้งแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่แก้ไข มาตรา 90/25 บัญญัติว่า เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และมาตรา 90/24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นแก่ผู้ทำแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวโดยไม่ชักช้า อำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนให้เริ่มแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว และให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารของลูกหนี้ หรือผู้บริหารชั่วคราวสิ้นสุดลง หมายความว่า เมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารลูกหนี้ และผู้บริหารชั่วคราวเป็นอันสิ้นสุดลง โดยให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน การฟ้องคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้สำเร็จลุล่วง ผู้ทำแผนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีนี้ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ร่วมกันทำละเมิดในการทำงานตามหน้าที่ในทางการที่จ้าง อันถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 โดยนำคดีมาฟ้องในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ซึ่งไม่พ้นกำหนด 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายจากการทำละเมิดแก่โจทก์ด้วยการเบิกถอนเงินจากบัญชีธนาคารแล้วจ่ายให้แก่บริษัทและบุคคลอื่นโดยไม่ชอบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นจำนวนเงิน 3,950,000,000 บาท ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดหลายครั้ง แม้โจทก์จะได้นำเช็คและรายการที่เรียกเก็บเงินตามเช็คมาแสดงต่อศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นยอดรวมหลายครั้งว่าแต่ละครั้งเป็นเงินจำนวนเท่าใด แต่ไม่ได้แยกให้ชัดว่าจำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินตามเช็คแต่ละใบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และจ่ายออกไปโดยไม่ชอบเมื่อใด จำนวนเท่าใด และศาลแรงงานกลางก็มิได้รับฟังข้อเท็จจริงโดยละเอียดดังกล่าว โจทก์นำสืบได้เพียงว่าโจทก์ทราบมูลเหตุที่ฟ้องร้องคดีนี้ในวันประชุมคณะกรรมการโจทก์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2540 ดังนั้น แม้ว่ามูลหนี้จากการทำละเมิดให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันทำละเมิดและต้องคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 206 ประกอบมาตรา 224 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดแต่ละครั้งเมื่อใด จำนวนเท่าใด การที่ศาลแรงงานกลางให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องนั้น จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414-5415/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้บริหารแผนและการจำกัดอำนาจผู้บริหารลูกหนี้หลังฟื้นฟูกิจการ
ผู้ร้องเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทนิยามใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/1 เมื่อศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้วอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารลูกหนี้ย่อมสิ้นสุดลง ครั้นเมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วอำนาจดังกล่าวและบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และเมื่อศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้ว สิทธิและอำนาจของผู้ทำแผนตกเป็นของผู้บริหารแผนนับแต่ผู้บริหารแผนได้รับทราบคำสั่ง ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติในมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง, มาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ดังนี้ การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ร้องออกคำสั่งใด ๆ แก่พนักงานของลูกหนี้หรือติดต่อภายในพื้นที่ของลูกหนี้และห้ามผู้ร้องเข้าไปในสถานที่ทำงานหรือโรงงานของลูกหนี้เนื่องจากจะทำให้การบริหารงานมีเหตุขัดข้อง และก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำงาน ผู้บริหารแผนย่อมมีอำนาจทำได้เช่นเดียวกับที่ผู้บริหารแผนไม่ให้ผู้ร้องใช้ทรัพย์สินต่าง ๆ ของลูกหนี้ก็เป็นอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของผู้ทำแผนเพื่อนำทรัพย์สินของลูกหนี้มาไว้ในความอารักขาแห่งตนรวมทั้งเป็นการให้ผู้บริหารของลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 90/21 วรรคสาม, มาตรา 90/24 วรรคสอง และ 90/59 วรรคสอง ส่วนที่ยังค้างอยู่
สำหรับเรื่องค่าตอบแทนของผู้ร้องนั้น ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารของลูกหนี้ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท หากข้อบังคับมิได้กำหนดไว้ การจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและข้อบังคับของลูกหนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้บริหารแผนตามมาตรา 90/25 ประกอบมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งให้งดจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารของลูกหนี้เนื่องจากหมดอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างเวลาดังกล่าวจึงอยู่ในกรอบอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะกระทำได้
ส่วนสถานะของผู้ร้องที่เป็นผู้บริหารของลูกหนี้นั้น แม้ว่าในระหว่างการฟื้นฟูกิจการอำนาจของผู้บริหารลูกหนี้ในการบริหารจัดการกิจการของลูกหนี้จะสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติข้างต้น โดยมีผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวแทน แล้วแต่กรณี แต่เมื่อคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงโดยการยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว อำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้กลับเป็นของผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 90/74 หรือ 90/75 แล้วแต่กรณี และการที่ผู้ร้องเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้บริหารสูงสุดในการดำเนินธุรกิจจัดการกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการซึ่งถือเป็นการกระทำในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดไปแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงให้มีการพักการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราวเท่านั้น เช่นนี้ การที่ผู้บริหารมีหนังสือแจ้งข้อกำหนดต่าง ๆ ให้ผู้ร้องปฏิบัติ จึงมีผลบังคับได้เท่าที่ไม่กระทบถึงสถานะและสิทธิของผู้ร้องซึ่งยังดำรงสถานะเป็นผู้บริหารหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ในการที่จะดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายล้มละลายได้ให้อำนาจและคุ้มครองไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414-5415/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้บริหารลูกหนี้หลังฟื้นฟูกิจการ: การจำกัดอำนาจและการรักษาสถานะหลังคำสั่งศาล
ผู้ร้องเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทนิยามใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/1 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารของลูกหนี้ย่อมสิ้นสุดลง การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง มาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง
ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การกำหนดค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารของลูกหนี้ ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท หรือมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 90 เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและข้อบังคับของลูกหนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้บริหารแผน การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งให้งดจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารของลูกหนี้ เนื่องจากหมดอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่อยู่ในกรอบอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะกระทำได้
ตามมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง มาตรา 90/25 ประกอบกับมาตรา 90/74 และมาตรา 90/75 คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิได้ทำให้สถานะผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดไปแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงให้มีการพักการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
การที่ผู้ร้องมีฐานะเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้บริหารสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ จัดการกิจการของลูกหนี้และเมื่อผู้ร้องดำเนินกิจการของลูกหนี้ในฐานะดังกล่าวแล้ว จะต้องรายงานผลการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการของลูกหนี้ทราบ การที่ผู้ร้องดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงถือเป็นการกระทำในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการมีอำนาจกระทำการแทนลูกหนี้และร่วมรับผิดในค่าชดเชยแรงงาน แต่ไม่เป็นการส่วนตัว
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าชดเชยต่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างแต่ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแพ่งหลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ: ศาลฎีกาอนุญาตฟ้องได้หากมูลหนี้เกิดหลังมีคำสั่งฟื้นฟู
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง อันเป็นการขอให้ศาลล้มละลายมีคำสั่งเพื่อแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/13 ประกอบมาตรา 90/12(4) เมื่อศาลล้มละลายได้มีคำสั่งยกคำร้องอันถือได้ว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 90/79(4)
การขออนุญาตฟ้องลูกหนี้ผู้ร้องหลังจากที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) เป็นเรื่องสำคัญ เพราะกรณีของผู้ร้องยังมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยให้กระจ่างชัดว่า ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/27 หรือไม่ เนื่องจากผู้ร้องกล่าวอ้างว่ามูลแห่งหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งหากกรณีเป็นดังที่อ้างผู้ร้องก็ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้คงมีเพียงหนทางเดียวที่ผู้ร้องจะขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องได้ก็ด้วยการขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิตามมาตรา 90/12(4) ในกรณีที่ศาลเห็นว่าการจำกัดสิทธิของผู้ร้องนั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) การที่ศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยอ้างว่ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการทั้ง ๆ ที่คำร้องได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว อีกทั้งเป็นคำสั่งซึ่งกระทำโดยผู้พิพากษาคนเดียว จึงเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาด อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 ศาลฎีกาเห็นสมควรรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นได้
ผู้ร้องมีหนังสือถึงลูกหนี้ในวันที่ 14 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 1 วัน ระบุว่า ผู้ร้องขอเชิญลูกหนี้ยื่นข้อเสนอขายสินค้าที่แน่นอนให้ผู้ร้องพิจารณาสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัท อ. และลูกหนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท อ. ในการเสนอขายสินค้าจึงยังไม่เกิด จนกระทั่งวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัท อ. ว่า ผู้ร้องระบุการประกวดราคาไม่เกิน 69.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐสินค้า20.000เมตริกัน จึงขอให้บริษัท อ. หาเรือที่มั่นคงมีตารางแน่นอน ครั้นวันรุ่งขึ้นลูกหนี้โดยผู้ทำแผนจึงแจ้งแก่บริษัทดังกล่าวว่า ผู้ร้องได้ยืนยันการซื้อสินค้าตามหนังสือสั่งซื้อของผู้ร้องลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ที่มีถึงบริษัท อ. ที่อยู่ ณ กรุงปารีส แสดงว่า มูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและบริษัท อ. พร้อมทั้งลูกหนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิใช่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/27
ผู้ทำแผนกระทำการในนามของลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะเป็นการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องมาจากการติดต่อทางการค้ากับผู้ร้องในนามของลูกหนี้ในฐานะของกรรมการลูกหนี้มาตั้งแต่ก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามมาตรา 90/12(9)
ผู้ร้องอ้างว่าลูกหนี้ผิดสัญญาจึงดำเนินการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกหนี้ เป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา 90/13 หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ได้ จึงถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/13(1) ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7236/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตจ่ายค่าใช้จ่ายจากการฟ้องคดีของ ผู้ทำแผน/ผู้บริหารแผน ในคดีฟื้นฟูกิจการ
เมื่อ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 หมวด 3/1 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กำหนดให้ศาลเข้ามากำกับตรวจสอบ และอนุญาตให้มีการกระทำการต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงไป มีอำนาจในการแต่งตั้ง ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน รวมทั้งให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง กรณีจึงรวมถึงการอนุญาต หรือมีคำสั่งอื่นใดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย เช่นนี้ เมื่อเกิดปัญหาประการใดๆ เกี่ยวกับการดำเนินการฟื้นฟูกิจการและกฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คณะกรรมการเจ้าหนี้ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ทั้งแผนก็มิได้กำหนดไว้เป็นประการอื่นโดยชัดแจ้ง บุคคลที่เกี่ยวข้องมีสิทธิยื่นคำร้องเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวต่อศาลโดยตรงได้
การที่ผู้ทำแผนดำเนินคดีแก่ผู้ตรวจสอบรายงานการเงินและกรรมการของลูกหนี้โดยกล่าวอ้างกระทำละเมิดต่อลูกหนี้ เป็นเหตุให้ผู้ทำแผนคนเดิม ผู้ทำแผนคนใหม่ และผู้บริหารแผน ถูกบุคคลดังกล่าวฟ้องคดีข้อหาละเมิด ย่อมถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้ทำแผนคนเดิม เหตุนี้ค่าทนายความและค่าใช้จ่าย อันเกิดจากการต่อสู้คดีของผู้ทำแผนคนเดิม ผู้ทำแผนคนใหม่ และผู้บริหารแผน เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/62 (1) เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว ผู้บริหารแผนสามารถนำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ชำระค่าทนายความและค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
การที่กฎหมายให้ผู้ทำแผนมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้ทำแผนจึงมีฐานะเป็นผู้แทนของลูกหนี้ในวันที่จะกระทำการใดๆ แทนลูกหนี้ในช่วงเวลาจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการภายใต้บังคับของมาตรา 90/45 ประกอบกับ มาตรา 90/14 (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 การที่ผู้ทำแผนคนเดิมฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ ผู้ตรวจสอบรายงานการเงินกับพวก โดยอ้างว่า กระทำละเมิดต่อลูกหนี้ นั้น กรณีมิใช่เป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินได้ หากว่ามีการแพ้คดี ผู้ทำแผนจะกระทำการดังกล่าวได้ จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลที่รับคำร้องขอ เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว การฟ้องร้องดำเนินคดีดังกล่าว จึงอยู่ในขอบอำนาจ และกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ ความสัมพันธ์และความรับผิดระหว่างลูกหนี้กับผู้ทำแผน จึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 816
of 3