พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วิ่งราวทรัพย์: การกระทำเข้าข่ายลักทรัพย์โดยฉกฉวย แม้จะมีการโต้แย้งเรื่องอำนาจการสอบสวนของพนักงาน
จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษแต่จำเลยกลับหยิบเอาธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับจากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไปโดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งหรือเข้าใจผิดเพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าจำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานครร้อยตำรวจโทส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) บัญญัติว่า พนักงานสอบสวน หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน มาตรา 18 วรรคสองก็บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปในจังหวัดพระนครและธนบุรีมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่5 ตุลาคม 2515 ออกตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508 ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้ความว่าความผิดเกิดบริเวณท่าช้างวังหลวงในกรุงเทพมหานครร้อยตำรวจโทส. ซึ่งรับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก 4 กองกำกับการ 8 กองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแม้กรมตำรวจวางระเบียบไว้ว่า กองปราบปรามจะทำการสอบสวนความผิดอาญาได้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งหรืออนุญาตจากอธิบดีกรมตำรวจหรือรองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของกรมตำรวจดังนั้นเมื่อร้อยตำรวจโท ส. ได้รับอนุญาตให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้วถึงแม้ว่าจะได้รับอนุญาตภายหลังจากร้อยตำรวจโท ส. สอบสวนคดีนี้เสร็จแล้วการสอบสวนที่ร้อยตำรวจโท ส. กระทำแต่ต้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เสียหายจากการใช้เช็ค - โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิร้องทุกข์ได้ แม้เงินถูกนำฝากบัญชีห้างหุ้นส่วน
วัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อและออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระราคานั้นเป็นของส่วนตัวของโจทก์ร่วมมิได้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ที่โจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดและถูกปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายและชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีได้ส่วนการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงินเองและนำสืบในชั้นพิจารณาว่าเรียกเก็บเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.นั้นก็มิได้แตกต่างกันแต่อย่างใดเพราะการที่โจทก์ร่วมจะนำเงินตามเช็คที่เรียกเก็บเข้าฝากในบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ก็เป็นสิทธิของโจทก์ร่วมที่จะทำได้หาทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.กลายเป็นผู้เสียหายไปไม่. การบันทึกคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งจะจดลงไว้อย่างไรและที่ใดก็เป็นเรื่องระเบียบภายในของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีผลกระทบต่ออำนาจในการสอบสวนและดำเนินคดีและในปัญหาที่ว่าเขตรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละแห่งจะมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เพียงใดนั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีเช็ค: การโอนเช็คไม่ถือเป็นความผิดต่อเนื่องจากสถานที่ออกเช็ค
แม้เช็คที่สั่งจ่ายแก่ผู้ถืออาจโอนเปลี่ยนมือกันได้ การโอนเปลี่ยนมือกัน ระหว่างผู้ทรงคนแรกกับผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ทรงคนถัดไปก็มิใช่การกระทำของจำเลย ถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้เสียหายรับโอนเช็คจึงไม่มีอำนาจสอบสวน แม้ผู้เสียหายจะได้ร้องทุกข์แล้ว การสอบสวนจึงไม่ชอบและพนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีเช็ค: การโอนเช็คไม่ถือเป็นความผิดต่อเนื่องจากสถานที่ออกเช็ค
แม้เช็คที่สั่งจ่ายแก่ผู้ถืออาจโอนเปลี่ยนมือกันได้การโอนเปลี่ยนมือกัน ระหว่างผู้ทรงคนแรกกับผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ทรงคนถัดไปก็มิใช่การกระทำของจำเลย ถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้เสียหายรับโอนเช็คจึงไม่มีอำนาจสอบสวน แม้ผู้เสียหายจะได้ร้องทุกข์แล้ว การสอบสวนจึงไม่ชอบและพนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่มิชอบช่วยเหลือผู้กระทำผิดตัดไม้ในเขตป่าสงวน มีความผิดตามมาตรา 200
จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ จึงเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับป่าสงวนแห่งชาติจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสืบสวนสอบสวนความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ หรือความผิดอาญาอื่นใดที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจของตนได้ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้ตำรวจเป็นผู้ทำการสอบสวนฝ่ายเดียวนั้นเป็นแต่ระเบียบภายในกระทรวง หาได้ลบล้างอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติด้วยตนเองได้ทั้งผู้ต้องหาและไม้กับรถยนต์มาเป็นของกลาง การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้สิบตำรวจเอกพ. ทำบันทึกว่าได้แต่ไม้ของกลางอย่างเดียว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะช่วยผู้กระทำความผิดไม่ให้ต้องรับโทษและในการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยผู้ต้องหาไปนั้น จำเลยที่ 1 ได้เป็นผู้สั่งการและรู้เห็นด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 จำเลยที่ 2 เป็นป่าไม้อำเภอ ได้ร่วมไปจับกุมผู้ต้องหากับจำเลยที่ 1 ด้วย ชั้นแรกจำเลยที่ 2 ได้ให้สิบตำรวจเอก พ. เขียนบันทึกการจับกุมว่าได้ผู้ต้องหา 7 คน แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้ทำบันทึกการจับกุมขึ้นใหม่ว่าจับผู้ต้องหาไม่ได้เลย และให้ผู้ร่วมจับกุมรวมทั้งจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ การที่จำเลยที่ 2 ยอมลงชื่อในบันทึกการจับกุมฉบับหลังนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมทราบอยู่แล้วว่าบันทึกฉบับนี้ทำขึ้นฝ่าฝืนต่อความจริงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ากระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนต่างทราบแล้วว่า ผู้ต้องหาทั้ง 7 คนที่ถูกจับมาต้องหาว่ากระทำผิดฐานลักลอบตัดไม้ในป่า แต่แทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในข้อหาดังกล่าว จำเลยที่ 3 กลับตั้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาเหล่านี้ว่ากระทำผิดฐานขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่และไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวและให้จำเลยที่ 4 ทำการเปรียบเทียบปรับแล้วปล่อยผู้ต้องหาและรถของกลางไป การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4จึงเป็นการกระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และที่จำเลยที่ 3ที่ 4 อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้นเมื่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในเรื่องนี้มิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบดีอยู่แล้วจึงจะอ้างมาเป็นเหตุยกเว้นโทษหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 เป็นสารวัตรใหญ่ซึ่งทราบดีว่าในการจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้รายนี้ นอกจากไม้แล้วยังได้ตัวผู้ต้องหาและได้รถยนต์บรรทุกไม้มาเป็นของกลางด้วย แต่จำเลยที่ 5กลับบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าไม่มีผู้กระทำผิดและให้มีการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาในข้อหาอื่นที่มิใช่ข้อหาเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ และเป็นผู้สรุปความเห็นให้งดการสอบสวนเสนอต่อผู้กำกับการตำรวจว่าจับไม้ไม่ได้ตัวผู้กระทำผิด ได้แต่ไม้ของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ช่วยเจ้าของรถยนต์เจ้าของไม้ และช่วยผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754-1755/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนคดีเช็คพิพาท: ความผิดต่อเนื่องและสถานที่กระทำผิด
จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ร่วมที่บ้านตำบลบางกระสออำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรี เมื่อโจทก์ร่วมนำเช็คไปเบิกเงินที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาอินทามระธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมจึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรี เช่นนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรี มีอำนาจสอบสวนคดีนี้เพราะเป็นความผิดต่อเนื่อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(3) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4-5/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702-1703/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีเช็ค: การกระทำผิดต่อเนื่องหลายท้องที่และอำนาจสอบสวน
จำเลยออกเช็คของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาดินแดง ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่เขตพญาไท กรุงเทพ ให้แก่โจทก์ร่วม เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์ร่วมนำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางนา เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาดินแดง ปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้น โจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ให้ดำเนินคดีกับจำเลย โดยอ้างว่า จำเลยออกเช็คให้โจทก์ร่วมที่ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ดังนี้ แม้ความผิดมิได้เกิดขึ้นในท้องที่ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพราะธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินมิได้ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนั้นก็ตาม แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็อ้างว่าจำเลยกระทำผิดในเขตอำเภอพระประแดง โดยออกเช็คในท้องที่นั้น ถ้าเป็นความจริงก็ถือได้ว่า การกระทำผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่อำเภอพระประแดงต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดงย่อมมีอำนาจสอบสวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 (3) พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ มีอำนาจฟ้อง และศาลจังหวัดสมุทรปราการ ย่อมมีอำนาจชำระคดีตามมาตรา 22 เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้ วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้พิจารณาพิพากษาใหม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4-8/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702-1703/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวนและฟ้องคดีเช็ค: การกระทำผิดต่อเนื่องหลายท้องที่
จำเลยออกเช็คของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาดินแดงซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่เขตพญาไท กรุงเทพ ให้แก่โจทก์ร่วมเมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์ร่วมนำเช็คนั้นไปเข้าบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางนา เพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาดินแดง ปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้น โจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการให้ดำเนินคดีกับจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้โจทก์ร่วมที่ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ดังนี้แม้ความผิดมิได้เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ เพราะธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินมิได้ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนั้นก็ตาม แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็อ้างว่าจำเลยกระทำผิดในเขตอำเภอพระประแดง โดยออกเช็คในท้องที่นั้น ถ้าเป็นความจริงก็ถือได้ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่อำเภอพระประแดงต่อเนื่องกับการกระทำผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดงย่อมมีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19(3) พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการมีอำนาจฟ้อง และศาลจังหวัดสมุทรปราการย่อมมีอำนาจชำระคดีตามมาตรา 22 เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้พิจารณาพิพากษาใหม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่4-5/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีเช็ค: ความผิดเกิดขึ้น ณ สถานที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน
ออกเช็คลงวันล่วงหน้าที่อำเภอปากพนัง เป็นเช็คที่สั่งธนาคารที่นครศรีธรรมราชจ่ายเงิน โจทก์เอาเช็คเข้าบัญชีธนาคารที่ปากพนังมาเรียกเก็บที่ธนาคารนครศรีธรรมราช ธนาคารนครศรีธรรมราชไม่จ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่มีพอจ่าย ความผิดเกิดเมื่อธนาคารนครศรีธรรมราชปฏิเสธการจ่ายเงิน พนักงานสอบสวนปากพนังไม่มีอำนาจสอบสวน อัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนประกันภัยและประเด็นความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวน
โจทก์ครอบครองตึกของผู้อื่นในฐานะผู้อาศัย โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยตึกนั้นได้ตาม มาตรา 863 ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเมื่อไฟไหม้ตึก มีแต่สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเครื่องตกแต่งของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2510 มาตรา 31 ที่จะแจ้งเหตุสงสัยให้นายทะเบียนออกคำสั่งให้บริษัทงดจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่หมายความถึงรองผู้กำกับซึ่งรักษาการแทนผู้กำกับการตำรวจและแจ้งไปยังนายทะเบียนในฐานะรักษาการแทนผู้กำกับการตำรวจ มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การแจ้งและคำสั่งของนายทะเบียนไม่มีผลให้บริษัทงดจ่ายค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ไม่จ้างคนยามเฝ้าสถานที่และจัดหาเครื่องดับเพลิงหลังจากที่ถูกวางเพลิงมาครั้งหนึ่ง ไม่เป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2510 มาตรา 31 ที่จะแจ้งเหตุสงสัยให้นายทะเบียนออกคำสั่งให้บริษัทงดจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่หมายความถึงรองผู้กำกับซึ่งรักษาการแทนผู้กำกับการตำรวจและแจ้งไปยังนายทะเบียนในฐานะรักษาการแทนผู้กำกับการตำรวจ มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การแจ้งและคำสั่งของนายทะเบียนไม่มีผลให้บริษัทงดจ่ายค่าสินไหมทดแทน
โจทก์ไม่จ้างคนยามเฝ้าสถานที่และจัดหาเครื่องดับเพลิงหลังจากที่ถูกวางเพลิงมาครั้งหนึ่ง ไม่เป็นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง