พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง แม้ไม่ได้เข้าเวร ย่อมมีอำนาจสอบสวน
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็น พนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป. ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่างจากฟ้อง ศาลมีอำนาจพิจารณาตามความจริง
ป. ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ. โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสองซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง พนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: พนักงานสอบสวนมีอำนาจฟ้องได้ แม้ไม่ได้ทำการสอบสวนเอง สัญญาไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน
จำเลยได้ทำสัญญาประกันตัว ป. กับพวก ผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของร้อยตำรวจโท ช.ในฐานะที่ร้อยตำรวจโทช. เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงมิได้ทำในฐานะส่วนตัว เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน จำเลยก็ต้องรับผิดชอบต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยได้แม้พันตำรวจโท ธ. มิได้ทำการสอบสวนหรือร่วมทำการสอบสวนคดีที่ ป. กับพวกตกเป็นผู้ต้องหา ตลอดจนมิใช่เป็นคู่สัญญาประกันแต่พันตำรวจโท ธ. ในฐานะพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงขณะยื่นคำฟ้อง ก็มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยได้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 104 และมาตรา 118แห่ง ป.รัษฎากร เพราะฉะนั้นสัญญาประกันดังกล่าวแม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนฟ้องคดี และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องอากรแสตมป์ในการทำสัญญาประกัน
ขณะฟ้องพันตำรวจโท อ.เป็นสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของตนได้ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติไว้ พันตำรวจโท อ.จึงเป็นพนักงานสอบสวนตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (6) ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคนการดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น..."ดังนั้น พันตำรวจโท อ.ในฐานะสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งอันถือได้ว่าเป็นพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น ย่อมมีอำนาจในการสอบสวน ให้ประกัน และฟ้องคดีในนามโจทก์ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับสัญญาประกันที่ผู้ประกันทำไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งได้ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใดระบุอำนาจและหน้าที่ไว้ว่าพนักงานสอบสวนผู้สอบสวนคดีเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีได้
เอกสารมีใจความว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินรวม 3 ฉบับ ไปประกัน ม.ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการ ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นใบมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 7 (ก) ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท และขีดฆ่าแล้วจึงจะสมบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่เอกสารดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ไว้ 10 บาท โดยไม่ขีดฆ่า ย่อมถือว่ายังไม่ปิดอากรแสตมป์สมบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จะใช้เป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกัน ม.ไปจากโจทก์ไม่ได้
สัญญาประกันต้องลงลายมือชื่อผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันในสัญญา กับต้องมีข้อความตาม (1) (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 จึงเป็นกิจการอันกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคแรก ดังนั้น การนำสืบในประเด็นดังกล่าวถือได้ว่ากฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อใบมอบอำนาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกัน ม.ไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ผูกพันตามสัญญาประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์
เอกสารมีใจความว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินรวม 3 ฉบับ ไปประกัน ม.ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการ ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นใบมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 7 (ก) ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท และขีดฆ่าแล้วจึงจะสมบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่เอกสารดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ไว้ 10 บาท โดยไม่ขีดฆ่า ย่อมถือว่ายังไม่ปิดอากรแสตมป์สมบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จะใช้เป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกัน ม.ไปจากโจทก์ไม่ได้
สัญญาประกันต้องลงลายมือชื่อผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันในสัญญา กับต้องมีข้อความตาม (1) (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 จึงเป็นกิจการอันกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคแรก ดังนั้น การนำสืบในประเด็นดังกล่าวถือได้ว่ากฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อใบมอบอำนาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกัน ม.ไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ผูกพันตามสัญญาประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของพนักงานสอบสวน และผลของการไม่สมบูรณ์ของเอกสารมอบอำนาจต่อการผูกพันตามสัญญา
ขณะฟ้องพันตำรวจโทอ.เป็นสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของตนได้ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18วรรคสอง บัญญัติไว้ พันตำรวจโทอ.จึงเป็นพนักงานสอบสวนตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสี่ บัญญัติว่า"ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคนการดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น..."ดังนั้น พันตำรวจโทอ. ในฐานะสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งอันถือได้ว่าเป็นพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น ย่อมมีอำนาจในการสอบสวน ให้ประกัน และฟ้องคดีในนามโจทก์ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับสัญญาประกันที่ผู้ประกันทำไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งได้ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใดระบุอำนาจและหน้าที่ไว้ว่าพนักงานสอบสวนคดีเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีได้ เอกสารมีใจความว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินรวม 3 ฉบับ ไปประกัน ม. ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการ ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นใบมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 7(ก)ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท และขีดฆ่าแล้วจึงจะสมบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่เอกสารดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ไว้10 บาท โดยไม่ขีดฆ่า ย่อมถือว่ายังไม่ปิดอากรแสตมป์สมบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จะใช้เป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกันม. ไปจากโจทก์ไม่ได้ สัญญาประกันต้องลงลายมือชื่อผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันในสัญญา กับต้องมีข้อความตาม (1)(2)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 จึงเป็นกิจการอันกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798 วรรคแรก ดังนั้น การนำสืบในประเด็นดังกล่าวถือได้ว่ากฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อใบมอบอำนาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันม.ไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ผูกพันตามสัญญาประกันที่จำเลยที่ 2ทำไว้ต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันของพนักงานสอบสวน: ทำสัญญาเอง ฟ้องเองได้
พนักงานสอบสวนมิใช่หน่วยงาน แต่เป็นบุคคลธรรมดามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวนคดีอาญา และมีอำนาจสั่งคำร้องขอให้ประกันตัวผู้ต้องหาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยขอประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนและทำสัญญาประกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันได้ตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเอง มิใช่เป็นการกระทำแทนหรือกระทำในนามกรมตำรวจ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนของกองปราบปรามในคดีอาญาที่เกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักรชอบด้วยกฎหมาย
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยออกโดย อาศัยอำนาจตาม ความในมาตรา 6แห่ง พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2508ข้อ 8 กำหนดให้กองปราบปรามมีเขตอำนาจรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.อ. และตาม บทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร และตาม ระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยกำหนดหน้าที่การงานในราชการกรมตำรวจ (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2519ข้อ 15(ก)7 กำหนดให้กองกำกับการ 7 ซึ่ง เป็นหน่วยงานสังกัดกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่สืบสวนคดีอาญาต่าง ๆ ตาม กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ฯลฯ ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น การสอบสวนคดีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ ซึ่ง มิได้ทำการสอบสวนโดย พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ความผิดได้ เกิดขึ้น แต่ เป็นการสอบสวนโดย เจ้าพนักงานตำรวจแผนก 3 กองกำกับการ 7 กองปราบปราม จึงถือ ว่าเป็นการสอบสวนโดยเจ้าพนักงานซึ่ง กฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน และเป็นการสอบสวนที่ ชอบด้วย กฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2(6)120พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องคดีต่อ ศาลอาญา ซึ่ง มี อำนาจรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีความผิดต่อเนื่อง-รับของโจร: ความผิดเกิดขึ้นต่างท้องที่ แต่เชื่อมโยงกัน
แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกัน โดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่งนำไปจำหน่ายแก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่งดังนั้นพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีต่อเนื่อง: ปล้นทรัพย์-รับของโจร, อำนาจศาล, การปรับบทความผิด
แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจทก์เกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกันโดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่งนำไปจำหน่ายแก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง ดังนั้นพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19
จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24
จำเลยที่ 4 ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ปล้นเอามาซึ่งความผิดฐานปล้นทรัพย์มีอัตราสูงกว่าความผิดฐานรับของโจร โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจรต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญา: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ไม่มีเขตอำนาจ ทำให้การฟ้องคดีไม่ชอบ
การสอบสวนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา120 ต้องสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) ประกอบด้วยมาตรา 18 เมื่อเหตุเกิดในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ ม. เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลบางซื่อย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน เมื่อไม่มีเหตุอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสองที่จะทำให้ ม. มีอำนาจสอบสวนได้ ทั้งถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการแทนพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 128 บัญญัติไว้การสอบสวนพยานผู้กล่าวหาของ ม. จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ จ.พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้จะสอบสวนจำเลย ทำแผนที่เกิดเหตุ ตรวจสถานที่เกิดเหตุและทำบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุ ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยก็ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่าจ. เห็นว่าการสอบสวนเฉพาะส่วนของตนเป็นการสอบสวนเสร็จแล้วตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140 การสอบสวนของ จ. เป็นการสอบสวนเพียงบางส่วนของคดี เมื่อการสอบสวนทั้งคดีรวมการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้ด้วย การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 และไม่เป็นการสอบสวนตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย ข้อที่ว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย