พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การบุกรุกครอบครองและสิทธิในที่ดิน แม้ยังไม่ขึ้นทะเบียน
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ900ไร่มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้านจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตามดังนี้จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใดจำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การครอบครองและบุกรุกที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์โดยไม่ชอบ
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ 900 ไร่ มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้านจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตาม ดังนี้ จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใดจำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519-9520/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: สิทธิครอบครอง vs. หนังสือรับรองการทำประโยชน์, อำนาจฟ้อง, การใช้ประโยชน์
ที่ดินพิพาทเป็นเขตทุ่งสัตว์สาธารณะและป่าสงวนแห่งชาติการที่จำเลยขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมทำให้รัฐเสียหายผู้มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวคือเจ้าพนักงานของรัฐเท่านั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้แต่เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยส่วนที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนั้นเนื่องจากที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)จึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุที่ประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินสาธารณะ: อำนาจฟ้อง, การครอบครอง, และขอบเขตการใช้ประโยชน์
ที่ดินพิพาทเป็นเขตทุ่งสัตว์สาธารณะและป่าสงวนแห่งชาติการที่จำเลยขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมทำให้รัฐเสียหาย ผู้มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว คือ เจ้าพนักงานของรัฐเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนได้ แต่เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ส่วนที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนั้น เนื่องจากที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามป.พ.พ.มาตรา 1304 (2) จึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุที่ประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4930/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินริมตลิ่ง vs. ที่ดินรกร้าง: สิทธิในที่ดินและการครอบครองปรปักษ์
ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกจดที่ดอนไม่ได้จดแม่น้ำที่ดินของโจทก์ก็ไม่ได้เกิดที่งอกริมตลิ่งหากแต่เป็นที่งอกที่เกิดจากที่ดอนนอกแนวเขตที่ดินของโจทก์ที่งอกดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1308 จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลยซึ่งเท่ากับปฎิเสธว่าที่พิพาทมิใช่ที่งอกริมตลิ่งการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า"โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่งอกริมตลิ่งหรือไม่"และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทมิใช่ที่งอกริมตลิ่งโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องถือว่าเป็นการวินิจฉัยตรงตามประเด็นข้อพิพาทแล้วหาใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ ฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นปัญหาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงและไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่ไม่เป็นนิติบุคคล, การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติ, และความรับผิดชอบของกรมที่ดินในการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 638(เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่า นิติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่1 และกรมที่ดินจำเลยที่ 3 ตามลำดับเท่านั้น และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องนิติบุคคล, การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะ, และความรับผิดชอบของกรมที่ดินในการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68(เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่า นิติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่1 และกรมที่ดินจำเลยที่ 3 ตามลำดับเท่านั้น และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นส่วนราชการ, การอุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณะ, และความรับผิดของกรมที่ดิน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา638(เดิม)ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่านิติบุคคลนั้นจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่2และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่4มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใดจำเลยที่2และจำเลยที่4จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานครจำเลยที่1และกรมที่ดินจำเลยที่3ตามลำดับเท่านั้นและไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2และจำเลยที่4 การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ(จำเลยที่1ในขณะนั้น)ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกเป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121มาตรา7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2477มาตรา3อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดินแต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่3หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61ดังนั้นจำเลยที่3ในฐานะที่เป็นกรมย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นส่วนราชการ, การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติ, และความรับผิดชอบการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา68เดิมที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่านิติบุคคลนั้นจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นเมื่อไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่2และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่4มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใดจำเลยที่2และที่4จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานครจำเลยที่1และกรมที่ดินจำเลยที่3ตามลำดับเท่านั้นไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2และที่4 แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดินในคดีนี้แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่3หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61ดังนั้นจำเลยที่3ในฐานะที่เป็นกรมย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่3 การที่วัดโจทก์ยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพในขณะนั้นขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)การอุทิศเช่นว่านี้ย่อมมีได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121มาตรา7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2477มาตรา3อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นส่วนราชการ, การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ, และความรับผิดของกรมที่ดินต่อการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68 (เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่า นิติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนคร จำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และกรมที่ดินจำเลยที่ 3ตามลำดับเท่านั้น และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 4
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่ 1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121มาตรา 7 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใด อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่ 1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121มาตรา 7 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใด อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3