พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินของวัดให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย ไม่ขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนายินยอมให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการเทคอนกรีตในที่ดินพิพาทเป็นผืนเดียวกับถนนสายเถินบุรี เพื่อใช้เป็นที่จอดรถ เป็นวงเวียนให้รถอ้อม และให้สร้างป้องตำรวจในที่ดินพิพาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย กรณีดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิอุทิศที่ดินวัดเพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่ขัดต่อกฎหมายคณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนายินยอมให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการเทคอนกรีตในที่ดินพิพาทเป็นผืนเดียวกับถนนสายเถินบุรี เพื่อใช้เป็นที่จอดรถ เป็นวงเวียนให้รถอ้อม และให้สร้างป้อมตำรวจในที่ดินพิพาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะสละสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยาย กรณีดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยเรื่องสาธารณสมบัติของแผ่นดินนอกประเด็นข้อพิพาท และการบังคับคดีตามคำพิพากษา
ปัญหาว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณา และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดีปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนถึงแม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนอกประเด็นฟ้อง: ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาได้หากกระทบความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณา และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองโดยที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถึงแม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองที่ดินสาธารณประโยชน์: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มี พ.ร.ฎ. กำหนดเขต และพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพไม่ทำให้ความผิดหมดไป
ที่ดินที่เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)นั้น หาจำต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตที่ดินเพื่อสงวนไว้เป็นที่ดินสาธารณะก่อนไม่ การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองก่นสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็น การฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิศาลที่มีอำนาจชำระคดีรวมทั้งศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือไม่ เพราะเป็นองค์ความผิดตามบทมาตราที่โจทก์อ้างหาใช่เรื่องที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ ส่วนกฎกระทรวงฉบับที่ 26(พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 2 ตอนท้ายที่ระบุว่า" ถ้ามีผู้คัดค้านให้อธิบดีรอการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้จนกว่าจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น" มีความหมายว่าการพิสูจน์สิทธิของผู้คัดค้านเป็นเพียงเงื่อนไขในการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าจะต้องเสนอเป็นคดีแพ่งเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไม่ การฟ้องจำเลยในคดีนี้จึงเป็นการพิสูจน์สิทธิในที่ดินไปในตัว เท่ากับได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้ว การที่ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันมีผลเป็นเพียงทำให้ที่ดินที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองนั้นไม่มีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันอีกต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันไม่เป็นความผิดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง-ฟ้องขับไล่ไม่ได้ แม้เคยให้เช่าก่อน
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยแต่ละคนรวม 47 สำนวน ออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย โดยบรรยายฟ้องว่า ที่ดินที่จำเลยแต่ละสำนวนบุกรุกนั้นให้เช่าได้ไม่เกิน เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีทั้ง 47 สำนวน จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นฎีกาที่โจทก์ทั้งสามฎีกาว่า โจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและได้ครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์หรือผู้ใดก็หามีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองไม่ แม้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และท. จะได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนแล้วให้ ก. เช่าก็จะถือว่าโจทก์ทั้งสามมอบให้ ก. ครอบครองแทนมิได้เพราะโจทก์ทั้งสามและ ท. ไม่มีสิทธิจะให้เช่าหรือมอบให้ผู้ใดครอบครองแทน การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ท. ให้ ก.เช่าที่ดินพิพาททำประโยชน์ก็เท่ากับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ท. สละการครอบครองที่ดินที่ตนไม่มีสิทธินั้นให้แก่ ก.แล้ว ดังนั้นระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทอยู่โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ปัญหาข้อนี้จำเลยส่วนใหญ่ได้ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสามแต่เป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยบางคนจะไม่ได้ให้การต่อสู้ให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินงอกริมตลิ่ง แม้ติดทางน้ำสาธารณะ เจ้าของที่ดินเดิมยังมีสิทธิออกโฉนดได้
แม้จะเกิดที่งอกริมตลิ่งเข้าไปในทางน้ำสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้ประโยชน์เพื่อการชลประทานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) ก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ซึ่งตกได้แก่เจ้าของที่ดินที่เกิดที่งอกนั้นเปลี่ยนแปลงไป เจ้าของที่ดินที่เกิดที่งอกย่อมนำไปขอออกโฉนดที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณประโยชน์เกิดจากการอุทิศที่ดิน แม้ไม่มีการแสดงเจตนาชัดแจ้ง
การที่เจ้าของที่ดินเดิมและจำเลยยอมให้ที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นทางพิพาทในที่ดินของจำเลยให้ประชาชนใช้สัญจรไปมาเป็นเวลาช้านานหลายสิบปี มีการวางท่อประปา เดินสายไฟฟ้าที่ไหล่ทาง มีการสร้างซ่อมสะพานข้ามคู คลอง โดยใช้เงินของทางราชการในทางที่ต่อจากทางพิพาทเพื่อให้ประชาชนได้ใช้สอย ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้ทางเดินโดยวิสาสะ แต่แสดงให้เห็นว่าเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) เจ้าของที่ดินเดิมหาจำต้องแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งว่าเป็นการยกให้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้สอยที่ดินพิพาทระหว่างเอกชน vs. ที่สาธารณสมบัติ โจทก์ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิเหนือกว่า
ไม่ว่าจะฟังว่าที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งหรือที่ชายตลิ่งที่พลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตามสิทธิของโจทก์ซึ่งครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิใช้สอยดีกว่าจำเลย แต่จะใช้ยันต่อรัฐได้หรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือที่ดินสาธารณสมบัติ: การรบกวนสิทธิและอำนาจฟ้องคดี
ที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ข้อหาบุกรุก
ในส่วนทางแพ่งนั้น แม้ที่พิพาทจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนที่จำเลยกับพวกจะนำเอาเสาปูนซีเมนต์เข้าไปปักและอ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ในระหว่างโจทก์จำเลย สิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือที่พิพาทย่อมดีกว่าจำเลยการที่จำเลยที่ 1 กับพวกนำเอาเสาปูนซีเมนต์ไปปักในที่พิพาทดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การนำสืบข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องย่อมกระทำได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบศาลมีอำนาจยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ในส่วนทางแพ่งนั้น แม้ที่พิพาทจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนที่จำเลยกับพวกจะนำเอาเสาปูนซีเมนต์เข้าไปปักและอ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ในระหว่างโจทก์จำเลย สิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่เหนือที่พิพาทย่อมดีกว่าจำเลยการที่จำเลยที่ 1 กับพวกนำเอาเสาปูนซีเมนต์ไปปักในที่พิพาทดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนสิทธิของโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การนำสืบข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดตามฟ้องย่อมกระทำได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบศาลมีอำนาจยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น