พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้าที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน: การจดทะเบียนเช่าเป็นสำคัญ
จำเลยประสงค์จะให้เช่าที่ดินมีกำหนดเวลาเกิน 3 ปีจึงระบุในสัญญาว่าจำเลยมอบให้โจทก์ไปจัดการให้จดทะเบียนณ สำนักงานที่ดิน แล้วจำเลยยอมจ่ายค่านายหน้าให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 5% ของเงินดังกล่าวโดยจ่ายให้ในวันจดทะเบียนที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน จึงเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน คือถือการจดทะเบียนการเช่าระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าที่สำนักงานที่ดินเป็นเงื่อนไขความสำเร็จของการเป็นนายหน้า เมื่อยังมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าเพราะผู้เช่าผิดสัญญา ดังนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกค่านายหน้าจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: สิทธิเมื่อชี้ช่องซื้อขายสำเร็จ แม้เลิกสัญญา แต่เงินส่วนเกินพิเศษต้องมีเงื่อนไขชัดเจน
จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้ สัญญาจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์สองจำนวน คือ ถ้าโจทก์ขายได้ราคาเกินกว่า3,500,000 บาท ส่วนที่เกินนั้นเป็นของโจทก์จำนวนหนึ่งกับบำเหน็จร้อยละ 5 ของราคา 3,500,000 บาทอีกจำนวนหนึ่งโจทก์ได้ชี้ช่องให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับผู้ซื้อแล้วในราคา 5,000,000 บาท เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการทำสัญญากันเป็นผลสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการแล้ว แม้จำเลยจะตกลงเลิกสัญญากับผู้จะซื้อในภายหลัง โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่ดิน 3,500,000 บาทจากจำเลย ส่วนเงิน 1,500,000 บาทอีกจำนวนหนึ่งนั้นเป็นข้อตกลงพิเศษอีกส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกันได้กับข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้าร้อยละ 5 ค่าบำเหน็จส่วนนี้คู่สัญญาตกลงกันว่าถ้าโจทก์ขายได้สูงกว่านั้นก็ให้โจทก์รับไป ย่อมมีความหมายว่าหากมีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันเป็นผลจากที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการ กรณีนี้คู่กรณีตกลงเลิกสัญญากันหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไม่จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินนั้นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: สิทธิเมื่อชี้ช่องได้ผู้ซื้อ แม้เลิกสัญญา & ข้อตกลงพิเศษส่วนเกิน
จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้ สัญญาจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์สองจำนวน คือ ถ้าโจทก์ขายได้ราคาเกินกว่า 3,500,000 บาท ส่วนที่เกินนั้นเป็นของโจทก์จำนวนหนึ่ง กับบำเหน็จร้อยละ 5 ของราคา 3,500,000 บาท อีกจำนวนหนึ่งโจทก์ได้ชี้ช่องให้จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวกับผู้ซื้อแล้ว ในราคา 5,000,000 บาท เช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการทำสัญญากันเป็นผลสำเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการแล้ว แม้จำเลยจะตกลงเลิกสัญญากับผู้จะซื้อในภายหลัง โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าบำเหน็จนายหน้าอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่ดิน 3,500,000 บาทจากจำเลย ส่วนเงิน 1,500,000 บาท อีกจำนวนหนึ่งเป็นข้อตกลงพิเศษอีกส่วนหนึ่งต่างหากแยกจากกันได้กับข้อตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้าร้อยละ 5 ค่าบำเหน็จส่วนนี้คู่สัญญาตกลงกันว่าถ้าโจทก์ขายได้สูงกว่านั้นก็ให้โจทก์รับไป ย่อมมีความหมายว่าหากมีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันเป็นผลจากที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการ กรณีนี้คู่กรณีตกลงเลิกสัญญากันหาได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดไม่ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินส่วนเกินนั้นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายแทนเด็ก: เงื่อนไขการขออนุญาตศาลและการปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายต่อกันโดยระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมขายแทน ส. ผู้เยาว์ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ขายจะดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอขายความหมายของสัญญาจะขายที่ดินรายนี้ของเด็กก็ต่อเมื่อศาลอนุญาตให้ขาย เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอขายที่ดินของเด็กแล้ว ศาลสั่งไม่อนุญาต ก็ย่อมเป็นอันไม่ซื้อขายกันตามข้อสัญญา การที่ศาลไม่อนุญาตให้ขาย มิใช่เป็นการที่จำเลยขัดขวางมิให้เงื่อนไขสำเร็จแต่อย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายแทนเด็ก: เงื่อนไขการขออนุญาตศาลและการปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกันต่อโดยระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมขายแทน ส.ผู้เยาว์ ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ขายจะดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอขาย ความหมายของสัญญาจะขายที่ดินรายนี้ของเด็กก็ต่อเมื่อศาลอนุญาตให้ขาย เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอขายที่ดินของเด็กแล้ว ศาลสั่งไม่อนุญาต ก็ย่อมเป็นอันไม่ซื้อขายกันตามข้อสัญญา การที่ศาลไม่อนุญาตให้ขาย มิใช่เป็นการที่จำเลยขัดขวางมิให้เงื่อนไขสำเร็จแต่อย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมจำหน่ายทรัพย์สิน: สิทธิจำหน่ายเฉพาะส่วนตน และผลของการซื้อจากเจ้าของร่วมโดยไม่ได้รับความยินยอม
การที่เจ้าของร่วมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้เสียอากรค่านาหรือเงินค่าบำรุงท้องที่นั้น ต้องถือว่าเสียในนามของเจ้าของร่วม
ผู้ที่ซื้อที่ดินทั้งหมดจากเจ้าของร่วมคนหนึ่ง แม้การซื้อขายจะทำต่ออำเภอและเสียค่าตอบแทนก็ดี ก็ไม่เกิด ภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์ เพราะเจ้าของร่วมมีสิทธิ จำหน่ายแต่เฉพาะส่วนของตน.
ผู้ที่ซื้อที่ดินทั้งหมดจากเจ้าของร่วมคนหนึ่ง แม้การซื้อขายจะทำต่ออำเภอและเสียค่าตอบแทนก็ดี ก็ไม่เกิด ภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์ เพราะเจ้าของร่วมมีสิทธิ จำหน่ายแต่เฉพาะส่วนของตน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายผิดนัด จำเลยโอนให้ผู้อื่นได้หรือไม่ และสิทธิของโจทก์คืออะไร
จำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินไว้กับโจทก์ โดยกำหนดวันโอนไว้แน่นอนแล้ว แต่ก่อนถึงกำหนดวันโอน จำเลยกลับเอาที่ดินไปขายแก่ผู้อื่นเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการผิดสัญญา โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาก่อนกำหนดได้ โดยจำเลยจะยกเงื่อนเวลามาเป็นประโยชน์แก่จำเลยไม่ได้
ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุไว้ว่า ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญายอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าเสียหายได้ 6,000 บาท ดังนี้ ไม่แปลว่าเจ้าหนี้จะเรียกได้แต่เฉพาะค่าเสียหายเท่านั้นเจ้าหนี้อาจเลือกฟ้องขอให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญาก็ได้ตามมาตรา 380 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(อ้างฎีกาที่ 131/2489)
ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุไว้ว่า ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญายอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าเสียหายได้ 6,000 บาท ดังนี้ ไม่แปลว่าเจ้าหนี้จะเรียกได้แต่เฉพาะค่าเสียหายเท่านั้นเจ้าหนี้อาจเลือกฟ้องขอให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญาก็ได้ตามมาตรา 380 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(อ้างฎีกาที่ 131/2489)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน แม้มีข้อตกลงค่าเสียหาย โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้
จำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินไว้กับโจทก์ โดยกำหนดวันโอนไว้แน่นอนแล้ว แต่ก่อนถึงกำหนดวันโอน จำเลยกลับเอาที่ดินไปขายแก่ผู้อื่นเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการผิดสัญญา โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาก่อนกำหนดได้ โดยจำเลยจะยกเงื่อนเวลามาเป็นประโยชน์แก่จำเลยไม่ได้
ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุไว้ว่า ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญา ยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าเสียหายได้ 6000 บาท ดังนี้ ไม่แปลว่าเจ้าหนี้จะเรียกได้แต่ฉะเพาะค่าเสียหายเท่านั้น เจ้าหนี้อาจเลือกฟ้องขอให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญาก็ได้ตามมาตรา 380 ป.ม.แพ่ง ฯ
(อ้างฎีกาที่ 131/2489)
ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุไว้ว่า ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญา ยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าเสียหายได้ 6000 บาท ดังนี้ ไม่แปลว่าเจ้าหนี้จะเรียกได้แต่ฉะเพาะค่าเสียหายเท่านั้น เจ้าหนี้อาจเลือกฟ้องขอให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญาก็ได้ตามมาตรา 380 ป.ม.แพ่ง ฯ
(อ้างฎีกาที่ 131/2489)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและการฟ้องละเมิด/ผิดสัญญา: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัยการฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้อนุบาลนายชัยยะว่าเดิมนายชัยยะให้จำเลยเช่าที่พิพาทแล้วผิดสัญญานายชัยยะฟ้องขับไล่แล้วนายชัยยะกับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาลว่า จำเลยยอมรับซื้อที่ดินและสิ่งของ จำเลยหาได้ปฏิบัติตามสัญญานั้นไม่ กลับเพิกเฉยจนล่วงพ้นกำหนดในสัญญา และโดยเหตุที่ที่ดินเป็นของโจทก์ โจทก์จึงถือว่าจำเลยอยู่ต่อมาเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ส่วนจำเลยต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความเองดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างโจทก์ว่าฝ่ายจำเลยก็เป็นผู้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเช่นนี้ อาจไม่เป็นฟ้องซ้ำก็ได้ ถ้าหากข้อเท็จจริงเป็นอย่างจำเลยว่า คือฝ่ายโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเองแล้ว ก็อาจเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนซึ่งนายชัยยะทำยอมกับจำเลยไปแล้วก็ได้ ฉะนั้นการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงต้องฟังข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันต่อไปก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาที่แท้จริงของสัญญา: การผัดผ่อนชำระหนี้และการใช้สิทธิโดยไม่ชอบธรรม
จำเลยทำสัญญาแบ่งขายที่ดินที่จำนองไว้ส่วนหนึ่งให้โจทก์โดยตกลงกันให้โจทก์ชำระเงินจำนวนหนึ่งกับดอกเบี้ยให้แก่ผู้รับจำนองมีเงื่อนไขว่าจะชำระดอกเบี้ยที่ค้างภายใน 6 เดือน ดอกเบี้ยต่อไปจะชำระ 2 เดือนต่อครั้ง ถ้าไม่ชำระตามสัญญาเป็นอันว่าหมดสิทธิ ต่อมาโจทก์ไปค้าต่างจังหวัด ไม่ได้ชำระดอกเบี้ยตามกำหนด แต่ทั้งนี้เพราะผู้รับจำนองยินยอมผ่อนผันการชำระดอกเบี้ย ถึงกำหนดแล้วจำเลยฉวยโอกาสในการที่โจทก์ค้างชำระดอกเบี้ยโดยรีบไปชำระแทนโจทก์ โดยมิได้บอกกล่าวให้โจทก์ทราบเสียก่อน ดังนี้จะถือว่าโจทก์ผิดนัดหมดสิทธิในที่ดินตามสัญญาไม่ได้