พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2731/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดอสังหาริมทรัพย์ครอบคลุมดอกผลนิตินัย (ค่าเช่า) แม้เกิดขึ้นหลังยึด ไม่ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 271
ค่าเช่าห้องพักเป็นดอกผลนิตินัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม ในการยึดอสังหาริมทรัพย์นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 304 วรรคสอง บัญญัติให้ครอบไปถึงเครื่องอุปกรณ์และดอกผลนิตินัยของอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ย่อมครอบไปถึงค่าเช่าอันเป็นดอกผลนิตินัยแห่งทรัพย์นั้นด้วย ไม่ว่าดอกผลนิตินัยนั้นจะมีอยู่ก่อนหรือขณะยึดอสังหาริมทรัพย์ และผู้นำยึดไม่จำต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบถึงความมีอยู่แห่งดอกผลนิตินัยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์นำยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดค่าเช่าห้องพัก ซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกยึดได้ แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้วก็ตาม กรณีหาใช่เป็นการอายัดทรัพย์เพิ่มเติมเมื่อพ้นระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ การบังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการทรัพย์สินและดอกผลหลังปลดล้มละลาย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ปลดจำเลยจากล้มละลายมีผลเพียงให้จำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของตนซึ่งได้มานับแต่วันที่ได้รับการปลดจากล้มละลายแล้วเท่านั้น ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีอำนาจในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย ทั้งจำเลยซึ่งได้ถูกปลดจากล้มละลายนั้นยังมีหน้าที่ช่วยในการจำหน่ายและแบ่งทรัพย์สินของตนซึ่งตกอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 79 เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งตกอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน ทั้งผู้คัดค้านได้รวบรวมต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทอันเป็นเอกสารสำคัญสำหรับที่ดินพิพาทไว้แล้วก่อนศาลมีคำสั่งปลดจำเลยจากล้มละลาย ดังนั้น เงินค่าเช่าซึ่งเป็นดอกผลของที่ดินพิพาทดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 ย่อมตกเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ด้วย ผู้คัดค้านจึงมีอำนาจในการจัดการและรวบรวมเงินค่าเช่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเพื่อแบ่งชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน: เบี้ยปรับเมื่อผิดนัดชำระหนี้ ศาลยืนตามสัญญากู้
หนังสือสัญญากู้เงิน ข้อ 2 และข้อ 4 และบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินมีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงิน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้ในอัตราคงที่ตามบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงิน โดยในปีแรกอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี ปีที่ 2 อัตราร้อยละ 4.5 ต่อปี และปีที่ 3 อัตราร้อยละ 5.5 ต่อปี ต่อจาก 3 ปีนั้นแล้วจึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แต่ถ้าจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใด ไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยคงที่ในระยะ 3 ปีแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ และเป็นดอกผลนิตินัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปีที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทั้งสองหลังจากที่จำเลยทั้งสองตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ เห็นได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินข้อ 4 ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ดอกเบี้ยจำนวนนี้จึงเป็นค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ซึ่งถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 373 วรรคหนึ่ง
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง โดยขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) และข้อ (4) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาสำหรับส่วนที่เกิน 300 บาท แก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง โดยขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) และข้อ (4) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจากจำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้อง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาสำหรับส่วนที่เกิน 300 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6348/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญากู้เงิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นไม่เป็นเบี้ยปรับ
คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้าน และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ถือได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
หนังสือสัญญากู้เงินระบุว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงหรือต่ำกว่าได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 และ พ. ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่ทำสัญญาได้อยู่แล้วแม้ยังมิได้ผิดนัดหรือผิดสัญญา อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในระหว่างสัญญาโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นและต่ำลงหลายครั้ง โดยยังไม่คิดดอกเบี้ยถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 และ พ. นอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และแม้ว่าสัญญาข้อ 3 จะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดในข้อ 1 ได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีก็มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 3 แต่อย่างใด ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี จึงหาใช่เบี้ยปรับที่ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ไม่
หนังสือสัญญากู้เงินระบุว่า ผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงหรือต่ำกว่าได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 และ พ. ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่ทำสัญญาได้อยู่แล้วแม้ยังมิได้ผิดนัดหรือผิดสัญญา อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในระหว่างสัญญาโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นและต่ำลงหลายครั้ง โดยยังไม่คิดดอกเบี้ยถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 และ พ. นอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และแม้ว่าสัญญาข้อ 3 จะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดในข้อ 1 ได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีก็มิใช่อัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 3 แต่อย่างใด ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี จึงหาใช่เบี้ยปรับที่ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา (เบี้ยปรับ) และเบี้ยประกันภัยตามสัญญากู้ยืม: ศาลฎีกาวินิจฉัยขอบเขตการเรียกร้อง
สัญญากู้ยืมเงินมีใจความว่า ในระยะ 2 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์คิดดอกเบี้ยคงที่ได้เพียงร้อยละ 5.25 ต่อปี เท่านั้น จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 2 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาเว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 2 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาหรือหลังจากนั้น โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5.25 ต่อปี ในระยะเริ่มแรกก็ดี และหลังจากล่วงพ้นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญาก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม แต่สำหรับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้ ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379
จำเลยจะมีหน้าที่ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จะต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่จำนองไว้แก่โจทก์ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ทำประกันภัยได้เอง และจำเลยยินยอมชำระเบี้ยประกันภัยคืนแก่โจทก์ แต่เบี้ยประกันภัยภายหลังวันฟ้องเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคต จะถือว่าจำเลยละเลยเสียไม่ชำระหนี้ยังไม่ได้ จึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยหลังวันฟ้อง
จำเลยจะมีหน้าที่ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จะต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่จำนองไว้แก่โจทก์ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ทำประกันภัยได้เอง และจำเลยยินยอมชำระเบี้ยประกันภัยคืนแก่โจทก์ แต่เบี้ยประกันภัยภายหลังวันฟ้องเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคต จะถือว่าจำเลยละเลยเสียไม่ชำระหนี้ยังไม่ได้ จึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยหลังวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินสมควร
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นดอกเบี้ยอันเป็นดอกผลนิตินัยหรือเป็นเบี้ยปรับย่อมขึ้นอยู่กับข้อที่ว่าเจ้าหนี้เรียกเอาเงินนั้นโดยอาศัยเหตุใด หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามที่กำหนดในสัญญาโดยมิได้คำนึงว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ ย่อมเป็นดอกเบี้ยอันเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับตามอัตราที่เปลี่ยนแปลง ศาลจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านั้นไม่ได้ แต่ถ้าอาศัยข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เรียกเอาจากลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ย่อมเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ และเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383
สัญญากู้เงินระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระเงินกู้และดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา ผู้กู้ตกลงเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของต้นเงินที่ผิดนัด และเอกสารแสดงรายการชำระหนี้มีข้อความในตอนหมายเหตุว่า เริ่มคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ21.00 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญากู้เงินเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้แม้จะระบุว่าเงินดังกล่าวเป็นดอกเบี้ย แต่ก็เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
สัญญากู้เงินระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระเงินกู้และดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา ผู้กู้ตกลงเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของต้นเงินที่ผิดนัด และเอกสารแสดงรายการชำระหนี้มีข้อความในตอนหมายเหตุว่า เริ่มคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ21.00 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญากู้เงินเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้แม้จะระบุว่าเงินดังกล่าวเป็นดอกเบี้ย แต่ก็เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน โดยคำนึงถึงความเสียหายที่แท้จริง
สัญญากู้เงินระหว่างธนาคารโจทก์และจำเลยระบุว่า ในระยะ 3 ปีแรก โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้เพียงร้อยละ 7.86 ต่อปีเท่านั้น ต่อจาก 3 ปี นั้นแล้ว จึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้แต่ต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงตามกฎหมายแต่ถ้าจำเลยผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น3 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้เงินและไม่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยก่อน ปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยกู้เงินโจทก์ได้เพียง 3 เดือนเศษก็ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ต่อมาอีก 5 เดือน โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ หาใช่เป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามปกติโดยอาศัยข้อตกลงในสัญญากู้เงินไม่จึงเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ อันเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งเมื่อศาลได้คำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์แล้วสามารถลดลงเป็นร้อยละ 15ต่อปีได้กรณีมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลแต่อย่างใด
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการถอนเงินตามคำสั่งศาลเพิกถอนการอายัดก่อนพิพากษา การถอนเกินจำนวนที่ศาลสั่งต้องคืน
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เลิกห้างจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินฝากในธนาคารของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนพิพากษาตามคำร้องของโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดดังกล่าวศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเงินก่อนพิพากษาโดยคิดตามอัตราส่วนการลงหุ้นระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 2 โดยแบ่งเป็น9 ส่วน และให้เพิกถอนเพียง 4 ส่วนใน 9 ส่วน เป็นเงิน 26,492,000 บาทเพื่อให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสใช้เงินหมุนเวียนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1ต่อไปได้ แม้ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 จะแสดงรายละเอียดว่าเงินที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัด 4 ส่วนนั้น เป็นเงิน 48,496,745.08 บาทก็ตามแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเพียง 26,492,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2มิได้โต้แย้งในยอดเงินดังกล่าว แสดงว่าจำเลยที่ 2 เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่ศาลสั่งให้เพิกถอนการอายัดนั้นว่าเพียงพอที่จะนำไปใช้หมุนเวียนในกิจการของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจถอนเงินเกินกว่าจำนวนที่ศาลสั่งได้แม้ส่วนที่เกินจะเป็นเงินดอกเบี้ยของเงินฝากที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดก็ตาม แต่เงินดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เลิกห้างและมีการชำระบัญชีต่อไป จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินส่วนที่ถอนจากธนาคารเกินไปมาคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8485/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ กรณีเรียกร้องรายได้จากทรัพย์มรดก: รายได้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิตเป็นดอกผลของที่ดิน ไม่ใช่มรดก
รายได้จากการกรีดยางของสวนยางมรดกที่ได้มาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรม มิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกแต่เป็นดอกผลของที่ดินทรัพย์มรดกตกได้แก่เจ้าของที่ดินตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และ 1360 โจทก์ทราบดีว่าจำเลยได้นำน้ำยางไปจำหน่ายหารายได้ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อน โจทก์ชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบรายได้ดังกล่าวแก่โจทก์เสียในคราวเดียวกัน แต่กลับมาฟ้องเรียกร้องเป็นคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองคุ้มครองหนี้ภายหน้า-ดอกเบี้ยนิตินัย: สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงคุ้มครองหนี้ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้, ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ไม่ใช่เบี้ยปรับ
สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันเอกสารหมาย จ.16 และ จ.17 จำเลยที่ 2 ทำขึ้นเพื่อเป็นประกันหนี้กู้ยืมที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน2529 ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า เพื่อเป็นประกันหนี้เงินเบิกเกินบัญชีหนี้เงินกู้แล้ว ยังจำนองเป็นประกันหนี้สินอื่นใดบรรดาที่ผู้จำนองและหรือจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่แล้วในขณะทำสัญญานี้และหรือที่จะเกิดขึ้นต่อไปในภายหน้าและตามบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันระบุว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการดังนั้น สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว นอกจากจะประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ขณะทำสัญญาจำนองแล้ว ยังประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าหรือหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย การที่จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพิ่มเติมอีก ถือเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในภายหน้า สัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกัน จึงมีผลผูกพันเป็นประกันหนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวในทันทีโดยไม่จำต้องจดทะเบียนจำนองหรือขึ้นเงินจำนองอีก
ตามสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในครั้งแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยไม่ถึงร้อยละ 18.5 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป โดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ กรณีหาใช่เรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ไม่
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2543)
ตามสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในครั้งแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยไม่ถึงร้อยละ 18.5 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป โดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ กรณีหาใช่เรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ไม่
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2543)