คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม. 16

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับศพผู้เสียชีวิตโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่จำกัดตามมูลค่า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ฉ. ผู้ตายอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แสดงตนต่อโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอรับศพผู้ตาย โดยแสดงหลักฐานเพียงใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 3 เท่านั้น ส่วนหลักฐานอื่นตามระเบียบของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ที่แจ้งให้โจทก์นำมาแสดงไม่มี แต่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1กลับมอบศพผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไป เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มีสิทธิในการรับศพผู้ตายออกจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับศพผู้ตายไป จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ส่วนคำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้ แต่โลงที่โจทก์กล่าวอ้างมีราคาเพียง 4,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์นำคดีส่วนนี้ไปฟ้องยังศาลแขวงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและดุลพินิจการรับคำฟ้อง: ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีอำนาจจัดตั้งที่ทำการ ณ นางรอง และใช้ดุลพินิจรับฟ้องได้
ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดให้มีการนั่งพิจารณา ณ ที่ทำการศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) โดยอาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ย่อมทำให้ทั้งศาลจังหวัดบุรีรัมย์กับศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ต่างมีอำนาจชำระคดีนี้ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลใดศาลหนึ่งดังกล่าวได้ การที่ศาลจังหวัด บุรีรัมย์มีคำสั่งเรื่องกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาล เพราะเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและ ประหยัดแก่ประชาชนในพื้นที่ สำหรับคดีนี้เมื่อความผิดที่โจทก์ ฟ้องเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) และไม่ปรากฏว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจ ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์ นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) นั้นจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4810/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการกำหนดสถานที่ทำการศาล: การใช้ดุลพินิจตามมาตรา 35 ว.ส. และการจัดตั้งศาลสาขาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดให้มีการนั่งพิจารณาณ ที่ทำการศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบกับมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาย่อมทำให้ทั้งศาลจังหวัดบุรีรัมย์กับศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)ต่างมีอำนาจชำระคดีนี้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลใดศาลหนึ่งดังกล่าวได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งเรื่องกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาลเพราะเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและประหยัด แก่ประชาชนในพื้นที่ สำหรับคดีนี้เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้อง เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)และไม่ปรากฏว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจ ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)นั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสาร: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีปลอมแปลงเอกสารธรรมดา แต่ต้องฟ้องภายในกำหนดเวลา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและ ร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและความชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีอาญา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลในการกำหนดสถานที่นั่งพิจารณาคดีและการรับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 35
ป.วิ.พ.มาตรา 35 บัญญัติให้การนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใดจะต้องกระทำในศาลนั้น ในวันที่ศาลเปิดทำการและตามเวลาทำงานที่ศาลได้กำหนดไว้ แต่ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือเป็นการจำเป็น ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นหรือในวันหยุดงานหรือในเวลาใด ๆ ก็ได้เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดีดังนั้น คำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณา ณ สถานที่อื่นหรือในวันหยุดงาน หรือในเวลาใด ๆ ตามบทบัญญัติดังกล่าว ย่อมรวมถึงการนั่งพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาคดีอันได้แก่ การยื่นคำฟ้อง คำร้อง คำขอต่าง ๆ มิใช่แปลจำกัดเคร่งครัดแต่เฉพาะการนั่งพิจารณาคดีเป็นรายเรื่องไป
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 1 (9) จะให้คำนิยามคำว่า การนั่งพิจารณา หมายความว่า การที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับการพิจารณาคดีเช่นชี้สองสถานสืบพยาน ทำการไต่สวน ฟังคำขอต่าง ๆ และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจา แต่เมื่อถ้อยคำในมาตรา 35 มีวัตถุประสงค์แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น กล่าวคือ หมายความรวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการนั่งพิจารณาด้วยแล้ว การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งกำหนดการนั่งพิจารณาคดีของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ ณ อาคารที่ว่าการ อำเภอนางรอง (หลังเก่า) จังหวัดบุรีรัมย์โดยให้มีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่อำเภอนางรองและอำเภออื่นๆ ดังกล่าวในคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35 แห่ง ป.วิ.พ.จึงเป็นคำสั่งที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจออกคำสั่งซึ่งมีความหมายถึงการนั่งพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่อำเภอนางรองและอำเภออื่น ๆ ที่ระบุในคำสั่ง รวมทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการนั่งพิจารณาคดีดังกล่าวด้วย
เมื่อคดีที่โจทก์ฟ้องมูลคดีเกิดขึ้นที่อำเภอนางรองและจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอนางรอง ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)ตามคำสั่งของศาลจังหวัดบุรีรัมย์ และเมื่อไม่ปรากฎว่ามีอุปสรรคหรือเหตุขัดข้องที่โจทก์ไม่อาจยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง) ได้ การที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยให้โจทก์นำคำฟ้องไปยื่นที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ (นางรอง)นั้น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ คำสั่งศาลจังหวัดบุรีรัมย์ที่ไม่รับคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมพิจารณาคดีต่างศาล: ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณารวมกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ศาลพลเรือนประทับฟ้องแล้วสั่งให้พิจารณารวมกับคดีของศาลทหาร และพิพากษารวมกันมา โดยมีตุลาการศาลทหารและผู้พิพากษาศาลพลเรือนชุดเดียวกันรวมสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา เป็นการไม่ชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมว่าด้วยอำนาจศาลและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 25เพราะคดีต่างศาลกันจะพิจารณารวมกันไม่ได้ เป็นเรื่องศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าคดีนี้ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาของศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์จึงยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ให้เป็นการถูกต้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมพิจารณาคดีระหว่างศาลพลเรือนและศาลทหารที่ไม่ชอบตามกฎหมาย และผลกระทบต่ออำนาจศาลอุทธรณ์
ศาลพลเรือนประทับฟ้องแล้วสั่งให้พิจารณารวมกับคดีของศาลทหาร และพิพากษารวมกันมา โดยมีตุลาการศาลทหารและผู้พิพากษาศาลพลเรือนชุดเดียวกันรวมสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา เป็นการไม่ชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมว่าด้วยอำนาจศาลและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 25 เพราะคดีต่างศาลกันจะพิจารณารวมกันไม่ได้ เป็นเรื่องศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาต้องถือว่าคดีนี้ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาของศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์จึงยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ให้เป็นการถูกต้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสมรู้ร่วมใจช่วยเหลือการปล้นทรัพย์ และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
จำเลยเป็นผู้จัดหาอาวุธปืนและเครื่องแบบตำรวจให้ผู้ร้ายไปใช้ในการปล้นทรัพย์ต้องมีความผิดฐานสมรู้
กำหนดโทษสำหรับผู้สมรู้กฎหมายบัญญัติว่าให้ลงโทษ 2 ใน 3 จากอาญาที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิด มิได้ให้ถือเอากำหนดโทษแห่งตัวการเป็นเกณฑ์
จำเลยให้ความช่วยเหลือผู้ร้ายในพระนครแล้วผู้ร้ายไปทำการปล้นทรัพย์ในเขตต์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นศาลที่ชำระตัวการปล้นทรัพย์นั้น มีอำนาจชำระจำเลยซึ่งเป็นผู้สมรู้ในการปล้นได้ด้วย
of 3