คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1358

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการครอบครองปรปักษ์: การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
ผู้ร้อง ผู้คัดค้านและบุคคอื่นถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทร่วมกัน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1348 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกันและเจ้าของรวมคนอื่นมีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ชัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตามมาตรา 1360 ตราบใดที่ยังไม่มีการแบ่งแยกที่ดินกันเป็นส่วนสัดการที่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดเข้าครอบครองส่วนหนึ่งส่วนใดของที่ดิน ก็ต้องถือว่าครอบครองที่ดินส่วนนั้น ๆ ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งเท่านั้นดังนั้น การที่ผู้ร้องได้เข้าไปครบอครองทำนาในที่ดินพิพาทหาทำให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่เว้นเสียแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยการบอกกล่าวไปยังเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือทรัพย์แทนเจ้าของรวมคนอื่นอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วม: เจตนาการยกให้ต้องชัดเจนและระยะเวลาการยึดถือต้องครบตามกฎหมาย
แม้เดิมที่พิพาทจะเป็นของ ป. แต่ผู้เดียว แต่เมื่อออกโฉนดแล้ว ที่ดินพิพาทกลับมีชื่อ ช.ด. และผู้คัดค้าน เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย แสดงให้เห็นเจตนาของ ป.ว่า ต้องการให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้มีชื่อในโฉนดทุกคน การที่ ป.ยกที่ดินพิพาทให้แก่ ช. แต่ผู้เดียว โดยผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นมิได้แสดงเจตนายกให้โดยชัดแจ้ง ช. จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่น โดยเฉพาะในส่วนของผู้คัดค้าน การที่ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งครอบครองที่ดินพิพาทต่อมา จึงถือว่า ครอบครองแทนผู้คัดค้านและเจ้าของรวมคนอื่น ผู้ร้องสืบสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทต่อจาก ช.ย่อมไม่มีสิทธิดีกว่า ช. ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้ร้องว่าเมื่อปลายปี 2532 ผู้คัดค้านได้มาพบเพื่อขอแบ่งที่ดินพิพาท แต่ผู้ร้องปฏิเสธอ้างว่า ที่ดินเป็นของผู้ร้อง เท่ากับผู้ร้องเพิ่งเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 นับแต่วันดังกล่าวถึงวันยื่นคำร้อง ยังไม่ครบ 10 ปีตามมาตรา 1382 ผู้ร้องจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการครอบครองร่วม สิทธิในการขอออกโฉนดที่ดิน และการบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์ที่ 1 กับพวกและจำเลยเป็นทายาทของ พ.เมื่อพ. ตายจำเลยยื่นคำร้องขอรับมรดกในที่ดินพิพาท แต่ถูกโจทก์ที่ 1 กับพวกคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินให้คู่กรณีไปฟ้องร้องกันภายใน 60 วันเพราะตกลงกันไม่ได้ จำเลยมิได้ฟ้องร้องภายในกำหนดจนเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 กับพวกและจำเลยเป็นผู้รับมรดกของ พ. ร่วมกัน ดังนี้ แม้จำเลยจะอยู่ในที่พิพาทตลอดมาก็แสดงว่าจำเลยยอมละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 วรรคแรก โจทก์ที่ 1 กับพวกมีสิทธิร่วมกับจำเลยในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ที่ 1 กับพวกขอออกโฉนดที่ดินพิพาท แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะจำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วย ย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่ 1 กับพวกถูกกระทบกระเทือน และจำเลยมีหน้าที่ต้องอนุมัตตามความต้องการของเจ้าของส่วนข้างมาก โจทก์ที่ 1 มีสิทธิฟ้องขอให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการครอบครองแทน เจ้าของร่วมไม่ได้ยกที่ดินให้บุคคลอื่น
ที่พิพาทเป็นของ ส.กับล.และเจ้าของร่วมคนอื่นๆพ.ซึ่งเป็นบุตรของ ส. กับ ล. ปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาท แสดงว่าเจ้าของร่วมคนอื่นไม่ได้ปล่อยให้ ล. ครอบครองแต่ผู้เดียว แม้ต่อมาล. จะอยู่ในที่พิพาทเพียงผู้เดียว ที่พิพาทก็ยังเป็นของเจ้าของร่วมทุกคน ถือว่า ล. ครอบครองแทนในฐานะเจ้าของร่วมเมื่อ ล. ตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรก็ได้ไปซึ่งทรัพย์มรดกเพียงเท่าที่ ล. มีร่วมอยู่เท่านั้นคือเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่งและครอบครองแทนผู้มีชื่อ ในโฉนด คนอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600การที่ผู้ร้องครอบครองที่พิพาทจึงไม่ใช่เป็นการครอบครองโดยอาศัยอำนาจของตนเอง ผู้ร้องย่อมไม่ได้สิทธิในที่พิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม & หลักฐานสัญญาที่ชัดเจน
แม้จำเลยจะมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในที่ดินที่เช่าและส่วนของจำเลยกับส่วนของโจทก์ยังไม่ได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ซึ่งจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตามที่โจทก์ฟ้องจริงแต่มิได้ผิดสัญญาจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญา สัญญาที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยตกลงทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียวโดยลำพัง ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจต่างหากนอกจากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญา จึงฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยมิให้เข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ได้
จำเลยได้ทำวังกุ้งอยู่ก่อนแล้ว ได้จ้างผู้อื่นขุดดินทำคันกั้นน้ำ แต่ที่ดินแปลงที่จำเลยทำไม่พอทำวังกุ้งจึงได้มาตกลงเช่าที่ดินในส่วนของโจทก์เพิ่มขึ้น เห็นได้ว่าแม้จำเลยได้ลงทุนในการทำวังกุ้งมากก็ตาม แต่จำเลยได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนนั่นเอง สัญญาเช่ามีกำหนด 5 ปี ไม่มีข้อตกลงใด ๆ บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าจำเลยตกลงเช่าที่ดินโจทก์โดยมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลา 10 ปี สัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ไม่ใช่สัญญาเช่าที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญญาเช่าที่ดิน: สัญญาเช่า 5 ปีมีผลเหนือข้อตกลงด้วยวาจา 10 ปี แม้มีการลงทุนทำประโยชน์ในที่ดิน
แม้จำเลยจะมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในที่ดินที่เข่าและส่วนของจำเลยกับส่วนของโจทก์ยังไม่ได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ซึ่งจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตามที่โจทก์ฟ้องจริงแต่มิได้ผิดสัญญาจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญา สัญญาที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยตกลงทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียวโดยลำพัง ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจต่างหากนอกจากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญา จึงฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยมิให้เข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ได้ จำเลยได้ทำวังกุ้งอยู่ก่อนแล้ว ได้จ้างผู้อื่นขุดดินทำคันกั้นน้ำ แต่ที่ดินแปลงที่จำเลยทำไม่พอทำวังกุ้งจึงได้มาตกลงเช่าที่ดินในส่วนของโจทก์เพิ่มขึ้น เห็นได้ว่าแม้จำเลยได้ลงทุนในการทำวังกุ้งมากก็ตามแต่จำเลยได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนนั่นเองสัญญาเช่ามีกำหนด 5 ปี ไม่มีข้อตกลงใด ๆ บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าจำเลยตกลงเช่าที่ดินโจทก์โดยมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลา 10 ปีสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ไม่ใช่สัญญาเช่าที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนด 10 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมสิทธิเช่า ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนสิทธิระหว่างเจ้าของร่วมด้วยกัน
โจทก์และบุตรโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกันในสิทธิการเช่าตึกพิพาทโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิดังกล่าวแทน ต่อมาได้มีการโอนเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของ อ. เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว เพราะทั้งโจทก์และ อ. ต่างเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมสิทธิเช่า: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าระหว่างเจ้าของร่วมด้วยกัน
โจทก์และบุตรโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกันในสิทธิการเช่าตึกพิพาทโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิดังกล่าวแทน ต่อมาได้มีการโอนเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของ อ. เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว เพราะทั้งโจทก์และ อ. ต่างเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: ข้อห้ามฟ้องบุพการีและข้อยกเว้น, เจ้าของรวมมีอำนาจดำเนินคดี
โจทก์ที่2อยู่ในฐานะผู้สืบสันดานคือเป็นหลานจำเลยจำเลยอยู่ในฐานะเป็นยายย่อมเป็นบุพการีของโจทก์ที่2การที่โจทก์ที่2ฟ้องจำเลยจึงเป็นการฟ้องบุพการีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562โจทก์ที่2จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยสำหรับโจทก์ที่1เป็นเพียงบุตรเขยไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานของจำเลยจำเลยไม่ได้เป็นบุพการีของโจทก์ที่1ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามทั้งหมดโจทก์ที่1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในที่พิพาทย่อมมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งระหว่างญาติ: การฟ้องบุพการี (ยาย) ของผู้สืบสันดาน (หลาน) และข้อยกเว้น
โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะผู้สืบสันดานคือเป็นหลานจำเลยจำเลยอยู่ในฐานะเป็นยายย่อมเป็นบุพการีของโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยจึงเป็นการฟ้องบุพการี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นเพียงบุตรเขยไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานของจำเลย จำเลยไม่ได้เป็นบุพการีของโจทก์ที่ 1 ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามทั้งหมด โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในที่พิพาทย่อมมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้
of 10