คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1358

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าของเจ้าของรวมและการฟ้องขับไล่ผู้เช่าค้างค่าเช่า
ตึกแถวพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้ง 14 คน จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวและไม่ชำระค่าเช่า โจทก์ที่1 ซึ่งเป็น เจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมมีสิทธิบอกเลิกการเช่าโดยมอบอำนาจ ให้ทนายความกระทำแทนได้ เพราะเป็นการจัดการอันเป็นการทำการเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสองเมื่อโจทก์ที่ 1 มีสิทธิบอกเลิกการเช่าซึ่งถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สัญญาเช่าจึงเป็นอันระงับ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบอกเลิกสัญญาเช่าของเจ้าของรวมและการฟ้องขับไล่ผู้เช่าค้างค่าเช่า
ตึกแถวพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้ง 14 คน จำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวดังกล่าวและไม่ชำระค่าเช่า โจทก์ที่1 ซึ่งเป็น เจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมมีสิทธิบอกเลิกการเช่าโดยมอบอำนาจ ให้ทนายความกระทำแทนได้ เพราะเป็นการจัดการอันเป็นการทำการเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 1 มีสิทธิบอกเลิกการเช่าซึ่งถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สัญญาเช่าจึงเป็นอันระงับ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งครอบครองที่ดิน: โฉนดร่วม ไม่ตัดสิทธิการแบ่งส่วนสัดเดิม หากมีหลักฐานการครอบครองเป็นสัดส่วน
เมื่อโจทก์จำเลยได้แบ่งกันครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัดมาแต่แรกแล้วแม้โจทก์จำเลยจะมีชื่อร่วมกันในโฉนดก็ตาม แต่ก็เป็นเพราะเจ้าพนักงานที่ดินแนะนำให้ขอออกโฉนดร่วมกันไปก่อนเนื่องจากที่พิพาทเป็นที่ดินตกสำรวจจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่ดินแปลงพิพาทเท่ากันตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนการจดทะเบียนได้
การที่จำลยยื่นเรื่องราวขอรับมรดกของเจ้ามรดกในที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนรับมรดกที่ดินพิพาทมา ตลอดจนการยอมรับว่าบิดาจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่แทนในนามของเจ้ามรดกตลอดมา เท่ากับเป็นการยอมรับความเป็นเจ้าของของเจ้ามรดก มิใช่เป็นการครอบครองในลักษณะเป็นปรปักษ์ต่อเจ้ามรดก จำเลยจึงไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
หลังจากเจ้ามรดกตายมีทายาทอื่นที่มิใช่โจทก์จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อมา โฉนดที่ดินพิพาทยังคงมีชื่อเจ้ามรดกถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยเพิ่งจะยื่นขอโอนรับมรดก แสดงว่าที่ดินพิพาทยังเป็นของเจ้ามรดกอันจะพึงตกได้แก่บรรดาทายาทซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าของร่วมกันมา ในเบื้องต้นต้องถือว่าได้ครอบครองไว้แทนกัน
การที่จำเลยซึ่งมิใช่ทายาทของเจ้ามรดก เอาที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนโอนรับมรดกโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของทายาทที่แท้จริง แล้วจดทะเบียนโอนยกให้แก่ ข. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกชอบที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนรับมรดก และการจดทะเบียนการให้นั้นเสียได้ เพราะจำเลยได้สิทธิมาโดยไม่ชอบ ข.ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกโดยไม่ชอบและสิทธิของทายาทที่แท้จริง ศาลมีอำนาจเพิกถอนการจดทะเบียน
การที่จำเลยยื่นเรื่องราวขอรับมรดกของเจ้ามรดกในที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนรับมรดกที่ดินพิพาทมา ตลอดจนการยอมรับว่าบิดาจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่แทนในนามของเจ้ามรดกตลอดมา เท่ากับเป็นการยอมรับความเป็นเจ้าของของเจ้ามรดก มิใช่เป็นการครอบครองในลักษณะเป็นปรปักษ์ต่อเจ้ามรดก จำเลยจึงไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
หลังจากเจ้ามรดกตาย มีทายาทอื่นที่มิใช่โจทก์จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อมา โฉนดที่ดินพิพาทยังคงมีชื่อเจ้ามรดกถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยเพิ่งจะยื่นขอโอนรับมรดก แสดงว่าที่ดินพิพาทยังเป็นของเจ้ามรดกอันจะพึงตกได้แก่บรรดาทายาทซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าของร่วมกันมา ในเบื้องต้นต้องถือว่าได้ครอบครองไว้แทนกัน
การที่จำเลยซึ่งมิใช่ทายาทของเจ้ามรดก เอาที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนโอนรับมรดกโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของทายาทที่แท้จริง แล้วจดทะเบียนโอนยกให้แก่ ข. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกชอบที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนรับมรดกและการจดทะเบียนการให้นั้นเสียได้ เพราะจำเลยได้สิทธิมาโดยไม่ชอบ ข. ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมกันทำลายทรัพย์สินเพื่อปรับปรุง - ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ได้ร่วมกันซื้อที่ดินและปลูกบ้านพิพาทด้วยเงินที่ทำมาหากินได้มาด้วยกันจึงเป็นเจ้าของร่วมกันต่อมาจำเลยรื้อบ้านปลูกใหม่เพราะห้องน้ำและตัวบ้านชำรุดการก่อสร้างใหม่ใช้ส่วนประกอบของบ้านเดิมผสมสร้างด้วยเพื่ออยู่อาศัยและทำการค้าตามเดิม ดังนี้จำเลยในฐานะภรรยาโจทก์และเป็นเจ้าของบ้านร่วมกับโจทก์มีสิทธิจัดการดังกล่าวเพื่อรักษาบ้านให้ถาวรขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ที่โจทก์ฎีกาว่า หากศาลเห็นว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของบ้านพิพาทร่วมกันขอให้พิพากษาให้จำเลยใช้ราคาบ้านครึ่งหนึ่งนั้นโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมทรัพย์สินมีสิทธิจัดการทรัพย์สินเพื่อรักษาความถาวรได้ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปทรง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ได้ร่วมกันซื้อที่ดินและปลูกบ้านพิพาทด้วยเงินที่ทำมาหากินได้มาด้วยกันจึงเป็นเจ้าของร่วมกัน ต่อมาจำเลยรื้อบ้านปลูกใหม่ เพราะห้องน้ำและตัวบ้านชำรุด การก่อสร้างใหม่ใช้ส่วนประกอบของบ้านเดิมผสมสร้างด้วยเพื่ออยู่อาศัยและทำการค้าตามเดิม ดังนี้จำเลยในฐานะภรรยาโจทก์และเป็นเจ้าของบ้านร่วมกับโจทก์มีสิทธิจัดการดังกล่าวเพื่อรักษาบ้านให้ถาวรขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ที่โจทก์ฎีกาว่า หากศาลเห็นว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของบ้านพิพาทร่วมกันขอให้พิพากษาให้จำเลยใช้ราคาบ้านครึ่งหนึ่งนั้น โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง สัญญาซื้อหุ้น และการรับผิดในหนี้สิน กรณีผู้กู้ตัวจริงไม่ใช่ผู้ลงนามในสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินบริษัท บ. โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน คู่สัญญารู้อยู่ว่ามิได้มีการกู้และค้ำประกันตามนั้น ความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาอันแสดงเจตนาลวงนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 สัญญากู้อันถูกอำพรางไว้นั้น จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะจำเลยที่ 2 ทำไปในฐานะเป็นทายาทของกองมรดก ส.ซึ่งมีอำนาจจัดการกู้เงินเพื่อประโยชน์ของกองมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1745 ประกอบด้วยมาตรา 1358
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ความจริงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไปขอกู้เงินจากบริษัท บ.ซึ่งที่ประชุมของบริษัททราบดีว่ากองมรดกของ ส. เป็นผู้กู้แต่ให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมอำพรางจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ มิใช่เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะกรณีเป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งมาตรา 94 ไม่ตัดสิทธิจำเลยในอันที่จะนำสืบแสดงว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง มาตรา 94 ก็ห้ามแต่เฉพาะเรื่องการนำพยานบุคคลเข้ามาสืบแทนเอกสารเท่านั้นไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยเอกสารโดยมีการสืบพยานบุคคลประกอบข้อความและลายมือชื่อในเอกสารนั้น
จำเลยเพียงแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่า ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น ไม่มีเหตุอันสมควรชอบที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และจำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมโดยเฉพาะไม่ได้ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็อาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ในฐานะที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางและเจตนาลวงในสัญญากู้ยืมและค้ำประกัน การพิสูจน์เพื่อแสดงเจตนาที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินบริษัท บ. โดยมีจำเลยที่ เป็นผู้ค้ำประกัน คู่สัญญากู้อยู่ว่ามิได้มีการกู้และค้ำประกันตามนั้น ความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาอันแสดงเจตนาลวงนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 สัญญากู้อันถูกอำพรางไว้นั้น จำเลยที่ 2ก็ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะจำเลยที่ 2 ทำไปในฐานะเป็นทายาทของกองมรดก ส. ซึ่งมีอำนาจจัดการกู้เงินเพื่อประโยชน์ของกองมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1745 ประกอบด้วยมาตรา 1358
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ความจริงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ได้ตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไปขอกู้เงินจากบริษัท บ. ซึ่งที่ประชุมของบริษัททราบดีว่ากองมรดกของ ส. เป็นผู้กู้ แต่ให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมอำพราง จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ มิใช่เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะกรณีเป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งมาตรา 94 ไม่ตัดสิทธิจำเลยในอันที่จะนำสืบแสดงว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง มาตรา 94 ก็ห้ามแต่เฉพาะเรื่องการนำพยานบุคคลเข้ามาสืบแทนเอกสารเท่านั้นไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยเอกสาร โดยมีการสืบพยานบุคคลประกอบข้อความและลายมือชื่อในเอกสารนั้น
จำเลยเพียงแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่า ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น ไม่มีเหตุอันสมควรชอบที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และจำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมโดยเฉพาะไม่ได้ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็อาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ในฐานะที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของร่วมมรดกและการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินร่วม ศาลยืนยึดสิทธิเจ้าหนี้
ผู้ตายถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกสวนของตนให้แก่ผู้ใดไว้ สวนจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทุกคน
ครอบครัวของจำเลยอยู่ร่วมเรือนเดียวกันกับผู้ร้อง จำเลยแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของสวนยางพารารายนี้เช่น เป็นผู้นำสำรวจที่ดินสวนยางพารานี้เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่และเป็นผู้ไปเสียภาษีบำรุงท้องที่เอง ทั้งได้ไปแจ้งใบสุทธิยางผู้ร้องรับว่าสวนยางพารายังมิได้แบ่งปันกันในระหว่างทายาท ฉะนั้นจำเลยซึ่งเป็นทายาทด้วยผู้หนึ่ง จึงมีสิทธิเป็นเจ้าของสวนยางพารารวมอยู่ด้วย
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษา จึงมีสิทธิที่จะยึดสวนยางพาราซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของรวมบางส่วนเพื่อบังคับชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขัดทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกันไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์มีสิทธิจะยึดที่ดินแปลงใดของจำเลยตามคำพิพากษามาบังคับชำระหนี้ก็ได้เพราะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยสิ้นเชิง
of 10