คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1358

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินจากการอนุญาตของเจ้าของ และการละเมิดจากผู้มีกรรมสิทธิร่วม
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของและปกครองที่พิพาทอยู่ได้อนุญาตให้โจทก์ใช้ที่ดินเพาะพันธุ์ข้าวได้แล้ว โจทก์ก็มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้ที่ดินนั้นได้ เมื่อโจทก์สับถางที่ดินไว้เรียบร้อยแล้วจำเลย ที่ 2 แม้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยในที่พิพาทกลับเข้าไปแย่งปลูกข้าวในที่ดินนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์เข้าทำอยู่ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายที่ดินและการไถ่ถอนจำนอง การลงนามมอบอำนาจไม่ใช่การขยายเวลาไถ่ถอน
เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กล่าวว่า "ฝ่ายที่ 2(คือ จำเลย) สัญญาจะทำการไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 597 และโอนกรรสิทธิให้แก่ฝ่ายที่ 1 ให้เป็นกรรมสิทธิให้เป็นการเสร็จสิ้นใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญานี้" ส่วนข้อความอีกตอนหนึ่งท้ายสัญญามีว่า "และได้ลงนามไว้ในหนังสือมอบอำนาจของหอทะเบียนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นก่อนหรือหลังกำหนด 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้"
ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดที่ 597 ภายใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วเพราะเห็นได้ว่าก่อนหรือหลัง 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้ " นั้นย่อมหมายความแต่เฉพาะเรื่องการลงนามในหนังสือมอบอำนาจเท่านั้น มิได้มุ่งหวังว่าจำเลยจะทำการไถ่ถอนจำนองภายหลัง 4 เดือนนานเท่าใดก็ได้
ส่วนข้อที่โจทก์จำเลยร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องนายวัทธนา ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากโฉนดที่ 597 ภายหลังกำหนด 4 เดือน นั้นก็เป็นเรื่องที่ร่วมกันฟ้องผู้อื่นโดยเหตุที่มีชื่อถือกรรมสิทธิร่วมกันในโฉนด เป็นคนละเรื่องกับความยินยอมเลื่อนระยะเวลาไถ่ถอนการจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและไถ่ถอนจำนอง: การตีความกำหนดเวลาตามสัญญา
เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กล่าวว่า "ฝ่ายที่ 2 (คือจำเลย) สัญญาจะทำการไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 597 และโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ฝ่ายที่ 1 ให้เป็นกรรมสิทธิ์ให้เป็นการเสร็จสิ้นใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญานี้ " ส่วนข้อความอีกตอนหนึ่งท้ายสัญญามีว่า " และได้ลงนามไว้ในหนังสือมอบอำนาจของหอทะเบียนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นก่อนหรือหลังกำหนด 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้"
ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดที่ 597 ภายใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว เพราะเห็นได้ว่าก่อนหรือหลัง 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้ " นั้น ย่อมหมายความแต่เฉพาะเรื่องการลงนามในหนังสือมอบอำนาจเท่านั้น มิได้มุ่งหวังว่าจำเลยจะทำการไถ่ถอนจำนองภายหลัง 4 เดือนนานเท่าใดก็ได้
ส่วนข้อที่โจทก์จำเลยร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องนายวัทธนาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากโฉนดที่ 597 ภายหลังกำหนด 4 เดือนนั้น ก็เป็นเรื่องที่ร่วมกันฟ้องผู้อื่นโดยเหตุที่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนด เป็นคนละเรื่องกับความยินยอมเลื่อนระยะเวลาไถ่ถอนการจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินร่วมกันและแบ่งครอบครองเป็นสัดส่วน การบุกรุกที่ดินส่วนแบ่งของผู้อื่นเป็นเหตุให้ต้องรับผิด
หลายคนตกลงร่วมกันซื้อที่ดินมีโฉนดเดียวกันแปลงหนึ่งเมื่อซื้อแล้วก็รังวัดแบ่งเขตกันครอบครองเป็นส่วนสัดที่ตกลงซื้อ เช่นนี้ย่อมทำได้ และในกรณีนี้ต่อมาหากผู้ซื้อผู้หนึ่งบุกรุกส่วนของอีกผู้หนึ่งก็ต้องรับผิดในเรื่องค่าเสียหาย จะอ้างสิทธิในฐานะเป็นเจ้าของร่วมขึ้นต่อสู้หาได้ไม่+

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินร่วมกันและครอบครองเป็นส่วนสัด ผู้บุกรุกต้องรับผิดค่าเสียหาย
หลายคนตกลงร่วมกันซื้อที่ดินมีโฉนดเดียวกันแปลงหนึ่งเมื่อซื้อแล้วก็รังวัดแบ่งเขตกันครอบครองเป็นส่วนสัดที่ตนตกลงซื้อ เช่นนี้ย่อมทำได้ และในกรณีนี้ต่อมาหากผู้ซื้อผู้หนึ่งบุกรุกส่วนของอีกผู้หนึ่งก็ต้องรับผิดในเรื่องค่าเสียหายจะอ้างสิทธิในฐานะเป็นเจ้าของร่วมขึ้นต่อสู้หาได้ไม่ และขอให้แบ่งแยกที่ดินตามส่วนที่ซื้อและครอบครองนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกและนิติกรรมยกทรัพย์สินที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่จดทะเบียน การครอบครองไม่ถึง 10 ปี
ทำนิติกรรมยกที่บ้าน ที่สวนให้กัน โดยทำเป็นหนังสือกันเองมิได้จะเบียนนั้น การให้ย่อมไม่สมบูรณ์ผู้รับครอบครองยังไม่ถึง 10 ปี หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ ผู้ให้ฟ้องเรียกคืนได้
โจทก์ฟ้องว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับจำเลย ขอให้ศาลแบ่งจำเลยไม่ปฏิเสธข้อนี้ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ได้ร่วมกันจดทะเบียนมรดกที่รายนี้แล้ว จำเลยจะเถียงว่าเป็นมรดกยังไม่ได้แบ่งกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่มีการจดทะเบียน และผลของการครอบครองไม่ถึง 10 ปี
ทำนิติกรรมยกที่บ้านที่สวนให้กัน โดยทำเป็นหนังสือกันเองมิได้จดทะเบียนนั้น การให้ย่อมไม่สมบูรณ์ผู้รับครอบครองยังไม่ถึง 10 ปี หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ ผู้ให้ฟ้องเรียกคืนได้
โจทก์ฟ้องว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับจำเลย ขอให้ศาลแบ่งจำเลยไม่ปฏิเสธข้อนี้ ทั้งปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้ร่วมกันจดทะเบียนรับมรดกที่รายนี้แล้ว จำเลยจะเถียงว่าเป็นมรดกยังไม่ได้แบ่งกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ตึกส่วนควบที่ดิน & สัญญาเช่าที่เจ้าของร่วมไม่ได้ยินยอม
เจ้าของที่ดินทำสัญญากับผู้เช่าให้ผู้เช่าปลูกตึกคนกรีตลงในที่ดินของตนโดยให้ผู้เช่าเป็นผู้ออกเงินค่าปลูกสร้างเป็นเงินจำนวนหนึ่ง แล้วเจ้าของที่ดินยอมให้ผู้เช่าเช่าตึกนั้นมีกำหนด 3 ปี ดังนี้ เป็นเพียงผู้เช่าออกเงินค่าก่อสร้างไปแทนเจ้าของที่ดินเท่านั้น ตามลักษณะของทรัพย์ที่เป็นตึก จะแยกจากที่ดินไปได้ ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน จึงตกเป็นของเจ้าของที่ดินด้วย
การที่เจ้าของร่วมคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์มาแต่แรกแต่คนเดียวเอาทรัพย์ให้ผู้อื่นเช่าแล้วเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งมาฟ้องขอให้ทำลายสัญญาเช่าโดยอ้างว่าไม่ได้รับความยินยอม จากตนและเจ้าของร่วมคนที่ฟ้องจะต้องนำสืบว่าตนและเจาของร่วมคนอื่นอีกคนหนึ่งไม่ได้ยินยอมและผู้เช่าผู้เป็นคู่สัญญาก็รู้ถึงความเห็นส่วนมากของเจาของร่วมนี้ด้วย ึงจะพ้นจากความรับผิดได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับเงินค่าก่อสร้างตึกที่จำเลยออกแทนไป เพื่อขับไล่จำเลยออกจากตึกนี้ แต่เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะขับไล่ทั้งจำเลยก็มิได้ขอเรียกเงินจำนวนนี้จากโจทก์จึงเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะใช้เขาหรือไม่ ไม่ใช่คำบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินส่วนควบ สัญญาเช่าที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม และสิทธิในการเรียกค่าปลูกสร้าง
เจ้าของที่ดินทำสัญญากับผู้เช่าให้ผู้เช่าปลูกตึกคอนกรีตลงในที่ดินของตน โดยให้ผู้เช่าเป็นผู้ออกเงินค่าปลูกสร้างเป็นเงินจำนวนหนึ่งแล้วเจ้าของที่ดินยอมให้ผู้เช่าเช่าตึกนั้นมีกำหนด 3 ปี ดังนี้ เป็นเพียงผู้เช่าออกเงินค่าก่อสร้างไปแทนเจ้าของที่ดินเท่านั้น ตามลักษณะของทรัพย์ที่เป็นตึก จะแยกจากที่ดินไม่ได้ ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน จึงตกเป็นของเจ้าของที่ดินด้วย
การที่เจ้าของร่วมคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้จัดการทรัพย์มาแต่แรกแต่คนเดียวเอาทรัพย์ให้ผู้อื่นเช่า แล้วเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งมาฟ้องขอให้ทำลายสัญญาเช่าโดยอ้างว่าไม่ได้รับความยินยอมจากตนและเจ้าของร่วมคนอื่นอีกคนหนึ่งนั้นเป็นหน้าที่เจ้าของร่วมคนที่ฟ้องจะต้องนำสืบว่าตนและเจ้าของร่วมคนอื่นอีกคนหนึ่งไม่ได้ยินยอมและผู้เช่าผู้เป็นคู่สัญญาก็รู้ถึงความเห็นส่วนมากของเจ้าของร่วมนี้ด้วยจึงจะปลีกพ้นจากความรับผิดได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับเงินค่าก่อสร้างตึกที่จำเลยออกแทนไปเพื่อขับไล่จำเลยออกจากตึกนี้ แต่เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะขับไล่ทั้งจำเลยก็มิได้ขอเรียกเงินจำนวนนี้จากโจทก์ จึงเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะใช้เขาหรือไม่ไม่ใช่คำบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการแทนเจ้าของร่วมในหนี้จำนอง การซื้อทอดตลาด และสิทธิในการแบ่งแยกกรรมสิทธิ
การที่เจ้าของร่วมในหนี้จำนวนหนึ่ง แต่คนเดียวได้เอาเงินจำนวนนั้นไปรับจำนองที่พิพาท และได้ขอพิสูจน์หนี้จำนอง เต็มตามสัญญาจำนอง ตลอดจนได้ซื้อทอดตลาดที่พิาพทโอนใส่ชื่อเป็นผู้ซื้อแต่คนเดียว ก็ดี ดังนี้ ถือว่าเป็นการจัดการแทนเจ้าของร่วมคนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการตั้งตัวแทนและจกยกอายุความได้สิทธิหรือเสียสิทธิ มาต่อสู้ไม่ได้ เจ้าของร่วมคนอื่นฟ้องขอแบ่งแยกส่วนกรรมสิทธิในที่พิพาทได้
of 10