พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิไล่เบี้ยและการรับช่วงสิทธิที่ขัดแย้งกับสุจริตของผู้รับประโยชน์
กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 154 เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นประธานกรรมการของลูกหนี้ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของลูกหนี้ไว้ ต่อมาภายหลังเจ้าหนี้ได้ทำหนังสือสละสิทธิไล่เบี้ย และสละสิทธิในการรับช่วงสิทธิบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่เหนือลูกหนี้ทุกอันดับให้ไว้แก่บริษัทลูกหนี้ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาตรวจกิจการของลูกหนี้แล้วพบว่าเจ้าหนี้ได้เอาเงินของลูกหนี้ไปซื้อที่ดินมาเป็นของเจ้าหนี้เป็นส่วนตัวและเพื่อให้เจ้าหนี้จะได้บริหารงานของลูกหนี้ต่อไป แม้หากเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับลูกหนี้ทำหนังสือดังกล่าวขึ้นก็ตาม แต่เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยและเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นได้เชื่อว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิดังกล่าวจริง เจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ยกข้อไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคแรก ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นประธานกรรมการของลูกหนี้ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของลูกหนี้ไว้ ต่อมาภายหลังเจ้าหนี้ได้ทำหนังสือสละสิทธิไล่เบี้ย และสละสิทธิในการรับช่วงสิทธิบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่เหนือลูกหนี้ทุกอันดับให้ไว้แก่บริษัทลูกหนี้ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาตรวจกิจการของลูกหนี้แล้วพบว่าเจ้าหนี้ได้เอาเงินของลูกหนี้ไปซื้อที่ดินมาเป็นของเจ้าหนี้เป็นส่วนตัวและเพื่อให้เจ้าหนี้จะได้บริหารงานของลูกหนี้ต่อไป แม้หากเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับลูกหนี้ทำหนังสือดังกล่าวขึ้นก็ตาม แต่เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยและเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นได้เชื่อว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิดังกล่าวจริง เจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ยกข้อไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคแรก ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิไล่เบี้ยและการรับช่วงสิทธิในคดีล้มละลาย ผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้
กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 154เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาด้วนกันเอง เจ้าหนี้ซึ่งเป็นประธานกรรมการของลูกหนี้ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของลูกหนี้แล้ว ต่อมาภายหลังเจ้าหนี้ได้ทำหนังสือสละสิทธิไล่เบี้ย และสละสิทธิในการับช่วงสิทธิบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่เหนือลูกหนี้ทุกอันดับให้ไว้แก่บริษัทลูกหนี้เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามา ตรวจ กิจการของลูกหนี้แล้วพบว่าเจ้าหนี้ได้เอาเงินของลูกหนี้ไปซื้อที่ดินมาเป็นของเจ้าหนี้เป็นส่วนตัวและเพื่อให้เจ้าหนี้จะได้บริหารงานของลูกหนี้ต่อไป แม้หากเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับลูกหนี้ทำหนังสือดังกล่าวขึ้นก็ตาม แต่เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยและเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นได้เชื่อว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิดังกล่าวจริง เจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ยกข้อไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก ดังนี้เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและการค้ำประกันหนี้: ผลกระทบจากคำพิพากษาเดิมและหน้าที่ของผู้แทน
จำเลยทั้งสามค้ำประกันหนี้ของ ม. และโจทก์เคยฟ้อง ม. และจำเลยทั้งสามกับพวกในเรื่องตัวแทนละเมิดมาแล้ว คดีดังกล่าวศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามในฐานะกรรมการโจทก์สมคบร่วมกันจ่ายเงินโจทก์ซื้อหุ้น เกินไปกว่าราคาที่โจทก์ซื้อรวม 10,814,416.53 บาทจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้คืนโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์นำเอาหนี้จำนวนเดียวกันซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้วมาฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 144 วรรคหนึ่งอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของ ม. อีก ส่วนที่จำเลยทั้งสามค้ำประกันหนี้ของธ. และ ม.นั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ธ.และ ม.เป็นหนี้โจทก์จริง ดังนั้น แม้ว่าจำเลยทั้งสามจะทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของ ธ.และ ม. ลูกหนี้โจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ต้องการเข้าโครงการ4 เมษายน เพื่อรับสิทธิรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทย มิได้มีเจตนาผูกพันตามที่แสดงออกมาก็ตาม ก็ปรากฏว่าขณะทำสัญญาค้ำประกันจำเลยทั้งสามเป็นผู้แทนโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการและจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการซึ่งถือว่าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนนิติบุคคล จึงถือว่าความรู้ของจำเลยทั้งสามเป็นความรู้ของโจทก์ไม่ได้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 74 ส่วนจำเลยที่ 2ก็ไม่ปรากฏว่ามีกรรมการคนอื่นของโจทก์รู้เห็นด้วยเมื่อธ.และม.เป็นหนี้โจทก์จริง และจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาค้ำประกันบุคคลทั้งสองไว้ต่อโจทก์เช่นนี้สัญญาค้ำประกันก็ไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 154 จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค้ำประกัน - การคืนหนังสือค้ำประกันโดยความเข้าใจผิด - ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดชอบ - ไม่ถือเป็นการระงับสิ้นหนี้
จำเลยที่1ได้ยื่นซอง ประกวดราคาเสนอขายเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงให้โจทก์ตามใบเสนอราคาเมื่อวันที่4มีนาคม2530โดยให้สนองรับคำเสนอราคานั้นได้ภายใน120วันนับแต่วันที่เสนอราคาคือภายในวันที่2กรกฎาคม2530ต่อมาก่อนครบกำหนดระยะเวลา120วันนั้นจำเลยที่1และโจทก์ได้ตกลงขยายระยะเวลาการยืนราคาตามใบเสนอราคาออกไปจนถึงวันที่4สิงหาคม2530จำเลยที่1จึงต้องผูกพันต่อโจทก์ตามคำเสนอของตนในใบเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้มีการขยายการยืนราคาออกไปนั้นการตกลง ขยายระยะเวลายืนราคาตามใบเสนอราคาออกไปมิใช่เป็นการผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศประกวดราคาจำเลยที่3ผู้ค้ำประกันจึงต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันตลอดเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการยื่นซองประกวดราคา แม้ในใจจริงจำเลยที่3 เจตนา ค้ำประกันจำเลยที่1ภายในกำหนดระยะเวลา120วันนับแต่วันที่4มีนาคม2530มิได้เจตนาค้ำประกันจำเลยที่1ตลอดเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาก็ตามแต่ตามสัญญาค้ำประกันก็มิได้กำหนดระยะเวลาค้ำประกันไว้เพียง120วันนับแต่วันที่4มีนาคม2530แต่จำเลยที่3กลับทำสัญญาค้ำประกันโดยแสดงเจตนาว่าจะไม่เพิกถอนการค้ำประกันในระหว่างเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ถึงเจตนาในใจของจำเลยที่3ว่าต้องการผูกพันเพียง120วันจำเลยที่3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาตามที่ได้ แสดงเจตนาออกมา การที่โจทก์ได้คืนหนังสือสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยที่3ด้วยความเข้าใจผิดของพนักงานโจทก์ซึ่งโจทก์มิได้มีเจตนาประสงค์จะปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่3แม้จำเลยที่3ได้รับหนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็น หลักฐานแห่งหนี้คืนไปซึ่งเข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา327วรรคสามว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตามแต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่โจทก์ส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันคืนจำเลยที่3จำเลยที่1ยังไม่ได้มาทำสัญญา ซื้อขายกับโจทก์ตามกำหนดนัดให้ถูกต้องจำเลยที่1ยังต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาอยู่และจำเลยที่3ผู้ค้ำประกันยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา698จำเลยที่3จึงจะอ้างว่าเมื่อได้รับเวนคืนต้นฉบับหนังสือสัญญาค้ำประกันจากโจทก์โดยสุจริตจำเลยที่3ก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายจัดสรรที่ดิน: กรรมสิทธิ์ยังเป็นของลูกหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้
บริษัทลูกหนี้และ ศ. กรรมการผู้จัดการบริษัทลูกหนี้ในขณะนั้นเคยถูกฟ้องคดีอาญาข้อหาจัดสรรที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับต่อมาบริษัทลูกหนี้ขายที่ดินที่จะจัดสรรให้ ย. และ ย. ยกที่ดินนี้ให้ ศ. ในวันเดียวกันแล้ว ศ.ได้ขายที่ดินบางส่วนและนำเงินที่ขายได้เข้าบริษัทลูกหนี้ตลอดมาแสดงให้เห็นว่าเป็นการทำ นิติกรรมโดย เจตนาลวงโดยสมรู้กันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็นของบริษัทลูกหนี้โดย ศ. กรรมการผู้จัดการถือไว้แทนบริษัทลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียก ย. กรรมการผู้จัดการของบริษัทลูกหนี้มาสอบสวนและให้ส่งดวงตราต่างๆของลูกหนี้มาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เก็บรักษาไว้เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา19วรรคแรก ย. ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องโต้แย้งมูลหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่ต้องประทับตราของลูกหนี้และถือว่า ย. มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ได้มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว เจ้าหนี้ผู้ยื่น คำขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำ พยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและในการตรวจ คำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า ศ. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวงและเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้
ที่ดินและบ้านพิพาทเดิมโจทก์เป็นผู้ซื้อจาก บ. และจำนองไว้กับธนาคาร แม้ได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย แต่โจทก์และครอบครัวยังคงอยู่อาศัยในที่พิพาท และเป็นผู้ชำระหนี้จำนองเป็นรายเดือนตลอดมา สาเหตุที่โจทก์ต้องทำนิติกรรมพิพาท เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ไปชำระหนี้ อีกทั้งสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทมีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขพิเศษให้โจทก์มีสิทธิซื้อคืนได้ตลอดเวลาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่ซื้อโดยแท้จริง นิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยมิได้ซื้อขายกันจริง จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย นิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ
กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่
กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะจากเจตนาลวงร่วมกัน และสิทธิในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้ซื้อเดิม
ที่ดินและบ้านพิพาทเดิมโจทก์เป็นผู้ซื้อจาก บ. และจำนองไว้กับธนาคาร แม้ได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยแต่โจทก์และครอบครัวยังคงอยู่อาศัยในที่พิพาท และเป็นผู้ชำระหนี้จำนองเป็นรายเดือนตลอดมา สาเหตุที่โจทก์ต้องทำนิติกรรมพิพาท เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ไปชำระหนี้อีกทั้งสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทมีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขพิเศษให้โจทก์มีสิทธิซื้อคืนได้ตลอดเวลาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่ซื้อโดยแท้จริง นิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยมิได้ซื้อขายกันจริง จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมายนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาทำสัญญาซื้อขายลดเช็ค แม้ผู้จัดการทำแทนโดยมิชอบ ผู้ซื้อยังผูกพันตามสัญญาได้ หากไม่มีเจตนาซ่อน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 เดิม(มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติไว้ความว่า ในการอันใดถ้าประโยชน์ทางได้เสียของนิติบุคคลฝ่ายหนึ่งกับของตัวผู้จัดการอีกฝ่ายหนึ่งเป็นปฏิปักษ์แก่กันในการอันนั้น ผู้จัดการเป็นอันไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนได้ การที่ ส.ผู้จัดการโจทก์สาขาลอง กับ ป. ต้องการขายลดเช็คให้โจทก์เอง โดยให้จำเลยทั้งสามออกหน้าเป็นผู้ขายลดเช็คนั้นส.ผู้จัดการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ตามมาตรา 80 เดิม(มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) และความรู้ของ ส. ผู้จัดการโจทก์ดังกล่าวจะถือเป็นความรู้ของโจทก์ด้วยไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกับ ส. ผู้จัดการโจทก์และ ป. ขายลดเช็คให้โจทก์ จำเลยทั้งสามต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คที่จำเลยทั้งสามแสดงเจตนาต่อโจทก์ด้วย อายุความฟ้องร้องตามสัญญาขายลดเช็ค ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาทำสัญญา, ตัวแทนไม่มีอำนาจ, อายุความหนี้, และผลของการกระทำโดยตัวแทนที่ขัดกับประโยชน์ของต้นสังกัด
จำเลยทั้งสามแสดงเจตนาขายลดเช็คกับธนาคารโจทก์สาขาลองจำเลยทั้งสามจึงต้องผูกพันตามที่แสดงออกมานั้น แม้ในข้อเท็จจริงจำเลยทั้งสามจะมิได้เจตนาผูกพันตนตามที่แสดงออกมาก็ไม่ทำให้การแสดงเจตนาตกเป็นโมฆะเว้นแต่โจทก์จะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา117 เดิม (มาตรา 154 ที่แก้ไขใหม่) แม้ ส. ผู้จัดการโจทก์สาขาลองซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ในขณะนั้นรู้ความจริงว่าส. กับป. ต้องการขายลดเช็คเองโดยให้จำเลยทั้งสามออกหน้าเป็นผู้ขายลดเช็คส. ไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 80 เดิม (มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) ความรู้ของ ส. ว่าจำเลยทั้งสามเป็นเพียงตัวแทน ส. และ ป. จึงถือเป็นความรู้จากโจทก์ด้วยไม่ได้ จำเลยทั้งสามต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค สิทธิเรียกร้องต้นเงินตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) คือ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละเงื่อนเวลาชำระราคาและโอนกรรมสิทธิ์: ศาลบังคับได้แม้ก่อนครบกำหนด หากจำเลยโต้แย้งสิทธิโจทก์
การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 154 วรรคสองอาจจะเป็นการแสดงออกของผู้ได้รับประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธหนี้ของโจทก์อย่างเดียวโดยมิได้ยกเงื่อนเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้ เป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นโดยปริยาย ศาลจะหยิบยกปัญหาเรื่องเงื่อนเวลาขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์พร้อมที่จะชำระราคาที่ดินพิพาททั้งหมดให้จำเลยที่ 1 และแจ้งให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1ไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามนัด ทั้งต่อมายังมีหนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกับให้รับชำระราคาจากโจทก์ก่อนครบกำหนดเงื่อนเวลาได้.