พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8973/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานช่วยเหลือการนำเข้าของเถื่อน โดยการฟ้องยึดทรัพย์แล้วประมูลซื้อเองเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 20 และมาตรา 120 มิได้มีข้อความตอนใดที่ระบุเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบ หรือระบุว่าหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่ฝ่ายจำเลย ฉะนั้นเรื่องหน้าที่นำสืบและการวินิจฉัยพยานหลักฐานย่อมเป็นไปตามหลักที่ใช้ทั่วไปแก่คดีอาญาทั้งปวง คือโจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 1 และจะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักรับฟังโดยปราศจากความสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
จำเลยที่ 1 วางแผนการฟ้องคดีเพื่อให้มีการยึดทรัพย์รถยนต์ของกลางซึ่งนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้เสียอากรออกขายทอดตลาด แล้วจำเลยที่ 1 เข้าสู้ราคาแต่เพียงผู้เดียว เมื่อประมูลซื้อจากการขายทอดตลาดได้ ก็นำไปจดทะเบียนเพื่อให้ได้ทะเบียนรถยนต์ใหม่แล้วนำไปขายต่อ ถือได้ว่าเป็นการช่วยซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสีย หรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง หรือโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ
จำเลยที่ 1 วางแผนการฟ้องคดีเพื่อให้มีการยึดทรัพย์รถยนต์ของกลางซึ่งนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้เสียอากรออกขายทอดตลาด แล้วจำเลยที่ 1 เข้าสู้ราคาแต่เพียงผู้เดียว เมื่อประมูลซื้อจากการขายทอดตลาดได้ ก็นำไปจดทะเบียนเพื่อให้ได้ทะเบียนรถยนต์ใหม่แล้วนำไปขายต่อ ถือได้ว่าเป็นการช่วยซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสีย หรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง หรือโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาสูบ: ศาลอุทธรณ์ไม่สามารถเพิ่มโทษจากบทกฎหมายอื่นนอกเหนือจากที่ฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัมฯ และเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาสูบฯ มาตรา 19 วรรคหนึ่ง, 24 วรรคหนึ่ง, 49, 50 จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องโดยไม่สืบพยาน เนื่องจากคดีมีโทษปรับสถานเดียวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาสูบฯ ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่อาจแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอ หรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215
ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ตามฟ้องมิใช่เรื่องอันเกี่ยวแก่ศุลกากร จึงมิอาจปรับบทมาตรา 120 ของ พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ได้
ข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ตามฟ้องมิใช่เรื่องอันเกี่ยวแก่ศุลกากร จึงมิอาจปรับบทมาตรา 120 ของ พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือในความผิดศุลกากร: ข้อจำกัดขนาดระวางบรรทุกและองค์ประกอบความผิด
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำหรือยอมให้ผู้อื่นนำของที่ต้องเสียภาษีลงในเรือหรือออกจากเรือในทะเล ซึ่งอาจเป็นทางแก่การฉ้อประโยชน์รายได้ของแผ่นดิน หรือเป็นการหลีกเลี่ยง ข้อจำกัด หรือข้อห้าม ซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 31 เพียงแต่ระบุในคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวเท่านั้น เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวไม่ได้
มาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดการกระทำความผิดคดีนี้บัญญัติว่า เรือชนิดใด ๆ อันมีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตัน? หากใช้ในการย้ายถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้าม ท่านว่าให้ริบเสียสิ้น? แสดงว่า พ.ร.บ.ศุลกากรได้บัญญัติถึงการริบเรือที่นำมาใช้ในการกระทำความผิดตามบทมาตราดังกล่าวไว้เป็นพิเศษโดยชัดแจ้งว่า เฉพาะเรือที่มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตันเท่านั้น ที่จะพึงริบได้ ดังนั้น การริบเรือที่มีระวางบรรทุกเกิน 250 ตัน จึงไม่อาจกระทำได้ ซึ่งจะเห็นเจตนารมณ์ของบทกฎหมายดังกล่าวได้จากมาตรา 32 วรรคสอง ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ถ้าเรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำตามวรรคหนึ่งมีระวางบรรทุกเกินสองร้อยห้าสิบตัน ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบเรือนั้นได้ตามสมควรแก่การกระทำความผิด
มาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายหรือพระราชบัญญัติอื่น ให้ยกเอาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) มาใช้บังคับแก่คดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ได้
มาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดการกระทำความผิดคดีนี้บัญญัติว่า เรือชนิดใด ๆ อันมีระวางบรรทุกไม่เกินสองร้อยห้าสิบตัน? หากใช้ในการย้ายถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี หรือที่ต้องจำกัด หรือต้องห้าม ท่านว่าให้ริบเสียสิ้น? แสดงว่า พ.ร.บ.ศุลกากรได้บัญญัติถึงการริบเรือที่นำมาใช้ในการกระทำความผิดตามบทมาตราดังกล่าวไว้เป็นพิเศษโดยชัดแจ้งว่า เฉพาะเรือที่มีระวางบรรทุกไม่เกิน 250 ตันเท่านั้น ที่จะพึงริบได้ ดังนั้น การริบเรือที่มีระวางบรรทุกเกิน 250 ตัน จึงไม่อาจกระทำได้ ซึ่งจะเห็นเจตนารมณ์ของบทกฎหมายดังกล่าวได้จากมาตรา 32 วรรคสอง ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า ถ้าเรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำตามวรรคหนึ่งมีระวางบรรทุกเกินสองร้อยห้าสิบตัน ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบเรือนั้นได้ตามสมควรแก่การกระทำความผิด
มาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายหรือพระราชบัญญัติอื่น ให้ยกเอาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) มาใช้บังคับแก่คดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับศุลกากร ความรับผิดร่วม และการบังคับโทษปรับ รวมถึงการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่
การที่จำเลยคดีนี้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนที่ให้การรับสารภาพ แม้ความผิดครั้งเดียวกันนี้ศาลได้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยกันไปแล้วก็ตาม ความผิดของจำเลยคดีนี้ก็หาได้ระงับลงไม่ ศาลจึงต้องลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ด้วย โดยปรับจำเลยคดีนี้รวมกับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องถือว่าค่าปรับจำเลยคดีนี้เป็นจำนวนเดียวกันกับค่าปรับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้ว่า หากจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนชำระค่าปรับหรือถูกกักขังแทนค่าปรับไปแล้วเพียงใดก็ให้นำมาหักออกจากโทษปรับของจำเลยคดีนี้ได้ ทั้งเพื่อมิให้เป็นการลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคดีนี้รวมกันเป็นเงินเกินกว่าสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับด้วยว่า ในกรณีที่ต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้แบ่งกักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากความผิดตามฟ้องมีผู้ร่วมกระทำผิด 2 คน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ โดยมิได้ระบุว่าโทษปรับคดีนี้เป็นโทษปรับจำนวนเดียวกับคดีก่อน และมิได้กำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับให้ชัดเจนจึงยังไม่ถูกต้อง
ความผิดของจำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนในครั้งนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้ริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว สินค้าของกลางในคดีก่อน กับสินค้าของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งริบของกลางแล้ว และไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่ง ริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางจากเงินที่ได้จากการขายสินค้าของกลาง ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 วรรคสอง ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมเพียงครั้งเดียว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในคดีนี้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบ ของราคาของกลางหรือค่าปรับอีกจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาครั้งที่ 2/2547)
ความผิดของจำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนในครั้งนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้ริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว สินค้าของกลางในคดีก่อน กับสินค้าของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งริบของกลางแล้ว และไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่ง ริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางจากเงินที่ได้จากการขายสินค้าของกลาง ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 วรรคสอง ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมเพียงครั้งเดียว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในคดีนี้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบ ของราคาของกลางหรือค่าปรับอีกจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาครั้งที่ 2/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษปรับศุลกากร: ลงโทษจำเลยผู้กระทำผิดเพียงผู้เดียว ไม่สามารถแบ่งโทษให้ผู้ร่วมกระทำผิดที่ยังไม่ถูกฟ้อง
ความผิดตามพ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน เมื่อจำเลยถูกฟ้องคดีนี้เพียงผู้เดียว จำเลยจึงเป็นบุคคลเดียวที่กระทำความผิดและต้องถูกลงโทษตามคำพิพากษา บุคคลอื่นที่ร่วมกระทำความผิดเมื่อยังไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลย ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดอันจะถูกลงโทษคำพิพากษาในคดีนี้ร่วมกับจำเลยได้ กรณีไม่อาจแบ่งแยกลดจำนวนความรับผิดสำหรับโทษในความผิดครั้งแรกนี้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การลงโทษปรับเป็นรายบุคคลหรือไม่ และขอบเขตความรับผิดชอบของจำเลย
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน เมื่อจำเลยถูกฟ้องคดีนี้เพียงผู้เดียว จำเลยจึงเป็นบุคคลเดียวที่กระทำความผิดและต้องถูกลงโทษตามคำพิพากษา บุคคลอื่นที่ร่วมกระทำความผิดเมื่อยังไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลย ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดอันจะถูกลงโทษคำพิพากษาในคดีนี้ร่วมกับจำเลยได้ กรณีไม่อาจแบ่งแยกลดจำนวนความรับผิดสำหรับโทษในความผิดครั้งแรกนี้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการขายทอดตลาดของกลางที่เป็นของต้องห้ามตามกฎหมายศุลกากร การกระทำไม่เป็นความผิด
การกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิเกี่ยวกับการช่วยรับเอาไว้ซึ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดซึ่งมีกฎหมายห้ามนำเข้าหรือส่งออกไว้นั้นมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91)ฯ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9)ฯ ที่กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งให้กรมศุลกากรเพื่อทำการทำลายโดยไม่มีการนำออกมาจำหน่ายตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 25ดังนั้น แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดโดยเจ้าหน้าที่หน่วยราชการเป็นผู้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา 64 ทวิ ก็เป็นการนำสินค้าต้องห้ามออกขายทอดตลาดโดยมิชอบ เนื่องจากเป็นการขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นของต้องห้ามตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ จึงต้องด้วยมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรฯ แตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ใช้บังคับ การขายทอดตลาดเลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้ามจึงขัดต่อกฎหมายและไม่ทำให้กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายได้
การที่จำเลยครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยรู้ว่าทรัพย์ของกลางได้มาจากการขายทอดตลาดโดยเปิดเผยจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้เข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
การที่จำเลยครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยรู้ว่าทรัพย์ของกลางได้มาจากการขายทอดตลาดโดยเปิดเผยจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้เข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7407/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเลื่อยโซ่ที่ถูกริบและนำออกขายทอดตลาดโดยมิชอบ แม้ผู้ซื้อจะสุจริต แต่เลื่อยโซ่ยังคงเป็นของต้องห้ามตามกฎหมายศุลกากร
การกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ เกี่ยวกับการช่วยรับเอาไว้ซึ่งของต้องห้ามหรือต้องจำกัดนี้ ของต้องห้ามดังกล่าวได้แก่ของซึ่งมีกฎหมายห้ามการนำเข้าหรือส่งออกไว้
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91) พ.ศ. 2521 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ. ควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ได้กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งเลื่อยโซ่ ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการทำลายเครื่องเลื่อยโซ่โดยไม่มีการ นำออกมาจากจำหน่าย ดังนั้น โดยสภาพของเลื่อยโซ่จึงไม่อาจนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้เพราะต้องห้าม ตามกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดอันเป็นการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ โดยดำเนินการขายตามความใน พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา 64 ทวิ แต่เนื่องจากทรัพย์ของกลางเป็นของต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ศุลกากรกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรใช้บังคับ เมื่อศาลสั่งริบเลื่อยโซ่ของกลางอันเป็นของต้องห้าม จึงต้องมีการจัดการให้เป็นไปตามมาตรา 25 การที่ เจ้าหน้าที่ได้นำของต้องห้ามดังกล่าวมาขายทอดตลาดโดยขัดต่อบทกฎหมาย การขายทอดตลาดจึงหาทำให้เลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้าม กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
แม้เลื่อยโซ่ของกลางเป็นของต้องห้าม แต่จำเลยผู้ครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์มาจากการ ขายทอดตลาด โดยจำเลยรู้ว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวได้มาจากการทอดตลาดโดยเปิดเผยและจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเลื่อยโซ่ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้ และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 91) พ.ศ. 2521 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ. ควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2496 ได้กำหนดว่า เลื่อยโซ่พร้อมอุปกรณ์เป็นสินค้าต้องห้ามจะนำเข้าในราชอาณาจักรมิได้ หากเจ้าพนักงานยึดเลื่อยโซ่ได้จะต้องส่งเลื่อยโซ่ ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด จากนั้นกรมศุลกากรจะทำการทำลายเครื่องเลื่อยโซ่โดยไม่มีการ นำออกมาจากจำหน่าย ดังนั้น โดยสภาพของเลื่อยโซ่จึงไม่อาจนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้เพราะต้องห้าม ตามกฎหมายดังกล่าว แม้ต่อมาจะได้มีการนำเลื่อยโซ่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดอันเป็นการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ใช้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ โดยดำเนินการขายตามความใน พ.ร.บ. ป่าไม้ มาตรา 64 ทวิ แต่เนื่องจากทรัพย์ของกลางเป็นของต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ศุลกากรกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 120 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร ที่บัญญัติว่า เมื่อใดบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นก็ให้ยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรใช้บังคับ เมื่อศาลสั่งริบเลื่อยโซ่ของกลางอันเป็นของต้องห้าม จึงต้องมีการจัดการให้เป็นไปตามมาตรา 25 การที่ เจ้าหน้าที่ได้นำของต้องห้ามดังกล่าวมาขายทอดตลาดโดยขัดต่อบทกฎหมาย การขายทอดตลาดจึงหาทำให้เลื่อยโซ่ซึ่งเป็นของต้องห้าม กลับเป็นของชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
แม้เลื่อยโซ่ของกลางเป็นของต้องห้าม แต่จำเลยผู้ครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการที่มีผู้ซื้อทรัพย์มาจากการ ขายทอดตลาด โดยจำเลยรู้ว่าทรัพย์ของกลางดังกล่าวได้มาจากการทอดตลาดโดยเปิดเผยและจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเลื่อยโซ่ดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ประชาชนครอบครองใช้สอยได้ และมิใช่ของต้องห้ามหรือของต้องจำกัด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ: ความผิดครั้งเดียวและบทบัญญัติเฉพาะ
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ที่บัญญัติให้ลงโทษปรับ 4 เท่าของราคาของรวมค่าอากรนั้น เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ดังนั้นการปรับจำเลยเรียงตัว คนละ 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยกันย่อมเป็น การปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งเกินกว่า 4 เท่า ขัดต่อ บทกฎหมายดังกล่าว และในมาตรา 120 ก็บัญญัติไว้เป็นพิเศษ ว่าเมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ กรณีจึงไม่อาจนำความ ในมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดเรือของกลางในคดีศุลกากร: การเรียกร้องคืนภายใต้ประมวลกฎหมายอาญาเมื่อมีฟ้องคดี
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12)พ.ศ.2497 มาตรา 3 บัญญัติว่า 'สิ่งใดๆ อันจะพึงต้องริบตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจยึดในเวลาใดๆ และ ณ สถานที่ใดๆ ก็ได้.
สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนดหกสิบวันสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด สามสิบวันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึด. ให้ถือว่าเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ. และให้ตกเป็นของแผ่นดิน' นั้น. ใช้บังคับเฉพาะกรณีการร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดโดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลเท่านั้น. หากพระราชบัญญัติศุลกากรฯประสงค์จะใช้บังคับแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย ก็คงจะได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลาง 'นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด' ไว้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1327 วรรคแรก. หากถือว่าของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอให้ศาลพิพากษาริบของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วให้ยกเป็นของแผ่นดินอีก.
มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญานี้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย.เว้นแต่กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น. ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติ.เกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วย. ฉะนั้นในคดีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลและศาลพิพากษาสั่งริบเรือของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32. ต้องถือว่าเป็นการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคแรก ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเรือของกลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36.
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไม่ขัดกันกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 เพราะใช้บังคับต่างกรณีกัน. ดังนี้จะนำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติไว้ใจความว่า เมื่อใดพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นให้ยกเอาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรขึ้นใช้บังคับมาบังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2512).
สิ่งที่ยึดไว้นั้น ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนดหกสิบวันสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด สามสิบวันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึด. ให้ถือว่าเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของ. และให้ตกเป็นของแผ่นดิน' นั้น. ใช้บังคับเฉพาะกรณีการร้องขอคืนของกลางที่ถูกยึดโดยไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลเท่านั้น. หากพระราชบัญญัติศุลกากรฯประสงค์จะใช้บังคับแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย ก็คงจะได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาเรียกร้องคืนของกลาง 'นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด' ไว้ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1327 วรรคแรก. หากถือว่าของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้วพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่จำต้องร้องขอให้ศาลพิพากษาริบของกลางที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วให้ยกเป็นของแผ่นดินอีก.
มาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ของประมวลกฎหมายอาญานี้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย.เว้นแต่กฎหมายนั้นจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น. ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวก็มิได้บัญญัติ.เกี่ยวกับการร้องขอคืนของกลางที่มีตัวผู้ต้องหาและมีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วย. ฉะนั้นในคดีที่ได้มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลและศาลพิพากษาสั่งริบเรือของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32. ต้องถือว่าเป็นการริบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 วรรคแรก ผู้มีสิทธิเรียกร้องเอาเรือของกลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36.
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไม่ขัดกันกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 เพราะใช้บังคับต่างกรณีกัน. ดังนี้จะนำพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติไว้ใจความว่า เมื่อใดพระราชบัญญัติศุลกากรแตกต่างกับบทกฎหมายอื่นให้ยกเอาบทบัญญัติในพระราชบัญญัติศุลกากรขึ้นใช้บังคับมาบังคับในกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาลไม่ได้. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2512).