พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166-6167/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้จัดการมรดก: พิจารณาความเหมาะสม, ความขัดแย้ง, และพินัยกรรม
บุคคลที่ศาลจะตั้งเป็นผู้จัดการมรดก นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมอื่นๆ ประกอบด้วยที่ผู้ร้องเบิกความว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้ตายจำนวน 8,000,000 บาท โดยเป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืม ตามหนังสือรับรองว่าเป็นหนี้และสัญญากู้เงิน ซึ่งการที่ผู้จัดการมรดกเป็นเจ้าหนี้กองมรดกอยู่เป็นจำนวนมากจึงอยู่สองสถานะ คือเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การจัดการมรดกอาจมีผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของทายาทอื่นโดยตรงทั้งก่อนผู้ตายจะถึงแก่กรรมประมาณ 10 วัน ผู้ตายได้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐานว่าโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ร.8 ถึง ร.12 หายไป แต่กลับปรากฏว่าโฉนดที่ดินทั้ง 5 ฉบับ อยู่ที่ผู้ร้อง โดยผู้ร้องเบิกความอ้างว่าผู้ตายมอบให้ผู้ร้องเพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งถ้าผู้ตายมอบให้จริงก็ไม่น่าหลงลืมจนไปแจ้งความ นอกจากนี้ผู้ร้องยังเป็นผู้มีอารมณ์รุนแรง มีสาเหตุกับบุตรและหลานของตนเองจนกระทั่งผู้คัดค้านที่ 1 และ ส. ซึ่งเป็นหลานไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน จากพฤติการณ์ดังกล่าวทำให้เชื่อว่าถ้าผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจะมีอุปสรรคและมีข้อโต้แย้งกับเครือญาติ ผู้ร้องจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมสินสมรสหลังหย่า: การซื้อขายโดยไม่ยินยอมและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ร่วมกับจำเลยขณะเป็นสามีภรรยากันได้ซื้อที่ดินและทาวน์เฮาส์พิพาทระหว่างผ่อนชำระหนี้จำนองทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์ร่วมกับจำเลยจดทะเบียนหย่ากันต่อมาโจทก์ร่วมขายทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นพี่สาวของโจทก์ร่วมอ้างว่า มีการตกลงตามสัญญาหย่าว่าทรัพย์ดังกล่าวขณะยังผ่อนชำระไม่หมดเป็นของโจทก์ร่วมเมื่อผ่อนชำระหมดแล้วจึงจะยกให้จำเลย แต่ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าข้อ 2 มีว่า "เรื่องทรัพย์สินที่ดิน 21 ตารางวา พร้อมบ้านเลขที่ 161/899 ถนนจรัญสนิทวงค์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ระหว่างผ่อนส่งกับบริษัท ค. ซึ่งหากผ่อนส่งชำระเสร็จสิ้นแล้วจะยกกรรมสิทธิ์ให้ฝ่ายหญิง" ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าจำเลยยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้โจทก์ร่วมทั้งหมดเพียงแต่หากโจทก์ร่วมผ่อนชำระหมดแล้ว โจทก์ร่วมจะยกกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ร่วมให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อตกลงแบ่งแยกสินสมรสกันไว้ การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติว่า ให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน กล่าวคือ คนละกึ่งหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ผู้รับโอนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินพิพาทเท่าที่โจทก์ร่วมผู้โอนมีอยู่กึ่งหนึ่งเท่านั้น มิใช่ทั้งหมดดังโจทก์ฎีกา แม้โจทก์จะรับซื้อมาโดยสุจริตก็ตาม และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ และวรรคสองบัญญัติว่า แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่ายได้ก็แต่โดยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ร่วมนำทรัพย์พิพาทไปขายโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมจึงผูกพันแต่เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ผลตามกฎหมายจึงมีว่าโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์พิพาทคนละเท่าๆ กันในทุกส่วนของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาทและจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายทรัพย์สินพิพาทระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม สินสมรส การซื้อขายโดยไม่ยินยอม และสิทธิในการเพิกถอนสัญญา
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาที่ว่าเรื่องทรัพย์สินที่ดิน 21 ตารางวา พร้อมบ้านอันเป็นทรัพย์พิพาท ซึ่งอยู่ระหว่างผ่อนส่งกับบริษัท หากผ่อนส่งชำระเสร็จสิ้นแล้วจะยกกรรมสิทธิ์ให้ฝ่ายหญิง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าจำเลยยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ร่วมทั้งหมด เพียงแต่ถ้าหากโจทก์ร่วมผ่อนชำระหมดแล้ว โจทก์ร่วมจะยกกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ร่วมให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อไม่มีข้อตกลงแบ่งแยกสินสมรสกันไว้ การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533
โจทก์ร่วมนำทรัพย์พิพาทไปขายให้โจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมจึงผูกพันแต่เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ผลตามกฎหมายจึงมีว่าโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์พิพาทคนละเท่าๆ กันในทุกส่วนของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท และจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้ ในกรณีที่ไม่อาจโอนส่วนกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์และโจทก์ร่วมต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ราคาในส่วนนี้แทน
โจทก์ร่วมนำทรัพย์พิพาทไปขายให้โจทก์โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมจึงผูกพันแต่เฉพาะส่วนกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ผลตามกฎหมายจึงมีว่าโจทก์และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์พิพาทคนละเท่าๆ กันในทุกส่วนของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์พิพาท และจำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้ ในกรณีที่ไม่อาจโอนส่วนกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์และโจทก์ร่วมต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ราคาในส่วนนี้แทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายละเอียดฟ้องอาญา: เพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาหรือไม่? ศาลฎีกาชี้ ป.วิ.อ.ม.158(5) เน้นให้จำเลยเข้าใจข้อหา ไม่ต้องลงรายละเอียดทุกขั้นตอน
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประสงค์แต่เพียงให้คำฟ้องมีรายละเอียดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาดีก็พอ เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดจำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืนยิงและไตร่ตรองไว้ก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยิงผู้ตายอย่างไร ใครเป็นผู้ยิงและผู้ตายถูกยิงที่ส่วนใดของร่างกายด้วยอาวุธชนิดใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเพียงพอของฟ้องอาญา: รายละเอียดการกระทำความผิดและพยานแวดล้อมเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ รวมทั้งมูลเหตุจูงใจที่ทำให้จำเลยทั้งสองกระทำความผิด โดยได้ระบุด้วยว่ามีผู้เห็นเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าขณะที่เกิดเหตุการฆ่ามีจำเลยทั้งสองเท่านั้นที่อยู่ในที่เกิดเหตุ คนร้ายไม่มีทางที่จะเป็นผู้อื่น แม้ไม่มีรายละเอียดโดยชัดแจ้งเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองว่าร่วมยิงอย่างไร ใครเป็นผู้ยิง และผู้ตายถูกยิงที่ส่วนใดของร่างกาย ด้วยอาวุธปืนชนิดใดทั้งไม่มีข้อยืนยันว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยิงผู้ตายก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ที่ประสงค์แต่เพียงให้มีรายละเอียดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็พอแล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในชั้นสืบพยาน เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอด จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืนยิงและไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อในการยึดหน่วงราคาเมื่อทรัพย์สินชำรุด และขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารและส่งมอบทาวน์เฮ้าส์พิพาทคืนให้โจทก์กับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าออกไปจากทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ เป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง การวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
โจทก์มอบอำนาจให้ ข. ทำสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น พร้อมที่ดินกับจำเลยในราคา 1,900,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาจำนวน 100,000 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวด โดยจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวและจำเลยชำระเงินให้โจทก์เป็นเวลา 5 งวด เมื่อทาวน์เฮ้าส์ที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยมีความชำรุดบกพร่องหลายแห่ง จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์แก้ไขความชำรุดบกพร่องและยึดหน่วงยังไม่ต้องชำระราคาค่าซื้อในงวดสุดท้ายได้ การที่จำเลยยังไม่ชำระราคาค่าซื้องวดสุดท้าย เพราะโจทก์ยังมิได้แก้ไขความชำรุดบกพร่องจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 และมาตรา 488
โจทก์มอบอำนาจให้ ข. ทำสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น พร้อมที่ดินกับจำเลยในราคา 1,900,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาจำนวน 100,000 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวด โดยจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวและจำเลยชำระเงินให้โจทก์เป็นเวลา 5 งวด เมื่อทาวน์เฮ้าส์ที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยมีความชำรุดบกพร่องหลายแห่ง จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์แก้ไขความชำรุดบกพร่องและยึดหน่วงยังไม่ต้องชำระราคาค่าซื้อในงวดสุดท้ายได้ การที่จำเลยยังไม่ชำระราคาค่าซื้องวดสุดท้าย เพราะโจทก์ยังมิได้แก้ไขความชำรุดบกพร่องจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 และมาตรา 488
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12414/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากคดีอาญาเดิมที่ไม่เคยฟ้องมาก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 173 บัญญัติว่า เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว? (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น? ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า ฟ้องโจทก์จะเป็นฟ้องซ้อนได้นั้นในเบื้องต้นโจทก์ในคดีแรกและโจทก์ในคดีหลังต้องเป็นโจทก์คนเดียวกัน รวมถึงบุคคลที่ไม่เคยยื่นฟ้องแต่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับโจทก์ เช่นเจ้าของรวมฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์รวม และคำว่าโจทก์รวมถึงคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาขอให้จำเลยใช้หรือคืนราคาทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เป็นต้น หลักเกณฑ์อีกประการหนึ่งคือ เรื่องที่นำมาฟ้องในคดีหลังยังต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีแรกด้วย
พนักงานอัยการเคยฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ไปแล้ว แต่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วย เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ในคดีแรกยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวนี้มาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกได้แล้วไม่เรียก การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่างการพิจารณาของศาลอาญากรุงเทพใต้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้แต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)
พนักงานอัยการเคยฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ไปแล้ว แต่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วย เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่า ในคดีแรกยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวนี้มาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกได้แล้วไม่เรียก การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกเงินต้นและดอกเบี้ยในระหว่างการพิจารณาของศาลอาญากรุงเทพใต้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 คำฟ้องของโจทก์คดีนี้ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 6 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2333-2336/2541 ของศาลอาญากรุงเทพใต้แต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12414/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย
คำฟ้องของโจทก์จะเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ได้นั้น ในเบื้องต้นโจทก์ในคดีแรกและโจทก์ในคดีหลังต้องเป็นโจทก์คนเดียวกัน ซึ่งคำว่าโจทก์นี้ร่วมถึงบุคคลที่ไม่เคยยื่นฟ้องแต่อยู่ในฐานะเดียวกับโจทก์ เช่น เจ้าของรวมฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์รวม และคำว่าโจทก์รวมถึงคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ขอให้จำเลยใช้หรือคืนราคาทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องที่นำมาฟ้องในคดีหลังต้องเป็นเรื่องเดียวกับคดีแรกด้วยกล่าวคือ มูลเหตุที่มาแห่งคดีต้องอาศัยหลักแหล่งแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน ในกรณีเรียกค่าเสียหายในเรื่องเดียวกัน โจทก์จะต้องฟ้องมาในคราวเดียวกันจะมาฟ้องเพิ่มในภายหลังเป็นอีกคดีหนึ่งไม่ได้แม้โจทก์จะสงวนสิทธิไว้ก็ตาม สำหรับคดีนี้แม้พนักงานอัยการจะฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนต้นเงินแทนผู้เสียหายคืนให้โจทก์ในคดีอาญาไปแล้วก็ตาม แต่การที่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วยนั้นก็เนื่องมาจาก ป.วิ.อ. มาตรา 43 ให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องเรียกได้เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยคดีแรกจึงยังไม่มีการฟ้องเรียกเงินดอกเบี้ยมาก่อน และไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้แล้วแต่ไม่เรียก หากแปลความว่าฟ้องของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีหลังซึ่งเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นฟ้องซ้อนทั้งหมด ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ผลจะกลายเป็นว่าคดีใดพนักงานอัยการฟ้องคดีส่วนแพ่งแทนผู้เสียหายไปแล้วจำเลยคนนั้นกลับไม่ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยและก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็นระหว่างจำเลยด้วยกันรับผิดไม่เท่ากัน โดยผู้เสียหายมิได้กระทำผิดขั้นตอนกระบวนพิจารณาแต่ประการใด และซ้ำเติมผู้เสียหายซึ่งเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทั้งในทางอาญาและทางแพ่ง กฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เช่นนั้น ดังนั้น ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาคดีก่อนเฉพาะต้นเงินเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการจ่ายเงินคืนให้ลูกหนี้/ผู้จัดการมรดก แม้ลูกหนี้สาบสูญ เงินยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากผู้มีสิทธิเรียกร้องทันเวลา
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 และการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตามมาตรา 318 ซึ่งหากมีเงินสุทธิเหลืออยู่ต้องจ่ายในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยตามมาตรา 322 วรรคสอง และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการจ่ายเงินที่เหลือแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และแจ้งให้ลูกหนี้มารับเงินคืนด้วย หากยังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น เงินส่วนที่เหลือนั้นก็ยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลส่งหมายแจ้งให้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษามารับเงินโดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤษภาคม 2536 แต่ขณะนั้นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่แล้ว โดยไม่มีใครรู้เห็นว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จนต่อมาศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคนสาบสูญและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และปรากฏว่าผู้ร้องทราบว่ามีเงินส่วนที่เหลือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิได้รับคืน เมื่อเดือนตุลาคม 2542 ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอรับเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี ย่อมมีสิทธิขอรับเงินนี้ได้ เงินจำนวนนี้ยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินบังคับคดีค้างจ่ายของผู้จัดการมรดกของลูกหนี้สาบสูญ ภายใน 5 ปีนับจากวันที่ทราบสิทธิ
ตาม ป.วิ.พ มาตรา 316, 318 และ 322 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหลังจากมีการจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว คือการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายโดยเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำรายการรับ - จ่าย เสร็จแล้วก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายตามบัญชีนั้นต่อไป ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดียังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติโดยมีคำสั่งหรือดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เช่น ส่งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ให้จำเลยทราบแล้ว จึงจะถือว่าเงินส่วนที่เหลือนั้นเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยร้องขอ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเป็นคนสาบสูญเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 โดยในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลรายงานผลการส่งหมายว่าจำเลยออกไปจากบ้านนานแล้ว ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ขอให้ศาลส่งบัญชีทรัพย์แสดงรายการรับ - จ่ายให้จำเลยทราบพร้อมแจ้งให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือคืน 2 ครั้ง โดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายก็รายงานว่าจำเลยออกจากบ้านไปนานแล้ว ทั้งในขณะนั้นเป็นระยะเวลาที่จำเลยไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้เห็นว่าจำเลยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่อยู่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือแล้วเมื่อผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยเรียกเอาในวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี นับแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่ามีเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับคืนค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องมีสิทธิเรียกเอาได้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยร้องขอ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเป็นคนสาบสูญเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 โดยในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลรายงานผลการส่งหมายว่าจำเลยออกไปจากบ้านนานแล้ว ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ขอให้ศาลส่งบัญชีทรัพย์แสดงรายการรับ - จ่ายให้จำเลยทราบพร้อมแจ้งให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือคืน 2 ครั้ง โดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายก็รายงานว่าจำเลยออกจากบ้านไปนานแล้ว ทั้งในขณะนั้นเป็นระยะเวลาที่จำเลยไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้เห็นว่าจำเลยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่อยู่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือแล้วเมื่อผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยเรียกเอาในวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี นับแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่ามีเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับคืนค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องมีสิทธิเรียกเอาได้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323