คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ม.ล.ไกรฤกษ์ เกษมสันต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท และการกำหนดค่าทนายความเกินอัตราที่ศาลชั้นต้นกำหนดได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหลายรายการ แม้ผู้ร้องอุทธรณ์ตอนแรกเฉพาะทรัพย์สินบางรายการว่าเป็นของผู้ร้อง ส่วนตอนหลังอุทธรณ์ว่าทรัพย์สินรายการที่เหลือก็เป็นของผู้ร้องโดยซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายในราคาถูก จึงทำให้บิลเงินสดและใบส่งของชั่วคราวไม่มีชื่อร้านผู้จำหน่ายสินค้า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ของผู้ร้อง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าทรัพย์สินบางรายการในตอนหลังของอุทธรณ์เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องซื้อมาจากพนักงานขายสินค้าซึ่งนำมาเร่ขายถูกรวมอยู่ด้วย หาใช่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์โต้แย้งทรัพย์สินในรายการส่วนที่เหลือไม่ เมื่อมีราคารวมกันเกินกว่าห้าหมื่นบาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์และราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10561/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: ตำรวจมีอำนาจสอบสวนและดำเนินคดีได้ แม้ไม่มีการร้องทุกข์จากกรมศุลกากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรผู้ทำการแทนกรมศุลกากรออกข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินการของกรมศุลกากรเป็นไปโดยเรียบร้อยตามหน้าที่ รวมทั้งอำนาจยึดทรัพย์สินอันพึงริบตามมาตรา 24 แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้เฉพาะกรมศุลกากรโดยอธิบดีกรมศุลกากรเท่านั้น ที่มีอำนาจดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดหรือมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด โดยหากไม่มีการร้องทุกข์แล้วเจ้าพนักงานตำรวจจะไม่มีอำนาจดำเนินการสอบสวนในความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าวได้เช่นเดียวกับคดีอาญาแผ่นดินทั่วไป เมื่อความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม หรือข้อจำกัดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้นและเกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิด และพนักงานสอบสวนย่อมทำการสอบสวนเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 และมาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 121 ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมศุลกากรจะได้มอบหมายให้ผู้ใดแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการเอาผิดแก่จำเลยหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนกระทำโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6643/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดแย้งในคำให้การของผู้ค้ำประกันส่งผลต่อประเด็นข้อพิพาท และการวินิจฉัยฟ้องเคลือบคลุม
ประเด็นข้อพิพาทย่อมเกิดจากคำฟ้องและคำให้การที่ปฏิเสธฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และในคดีแต่ละเรื่องอาจมีประเด็นข้อพิพาทมากกว่าหนึ่งประเด็นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำให้การต่อสู้ของจำเลย ประเด็นใดที่จำเลยให้การไม่ชัดเจนย่อมถือว่าจำเลยมิได้ปฏิเสธในเรื่องนั้นเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทอื่นที่จำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วไม่ได้ คำให้การของจำเลยที่ 3 ที่ขัดกันเองเฉพาะประเด็นเรื่องเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 3 มิได้ปฏิเสธฟ้องโจทก์ในประเด็นนี้เท่านั้น ส่วนประเด็นเรื่องฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมนั้นเป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้ว ซึ่งศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยให้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยและคดีพอวินิจฉัยได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางร่วมกับเจ้าของรวม การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด
โจทก์ จำเลยที่ 2 และธ . ทำกำแพงพิพาทเป็นรั้วยาวตลอดแนวเขตด้านทิศตะวันตกของที่ดินแปลงใหญ่ที่ถือกรรมสิทธิ์รวมกัน เพื่อปิดกั้นมิให้บุคคลภายนอกและที่ดินแปลงอื่นทางด้านทิศตะวันตกเข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดิน
แปลงใหญ่ หลังจากนั้นได้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงใหญ่เป็น 4 แปลง โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง และยังคงถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงที่เหลือเพราะประสงค์จะใช้เป็นทางส่วนบุคคลเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับที่ดินที่แต่ละคนต่างเป็นเจ้าของ โดยมิได้รื้อถอนกำแพงพิพาททางด้านทิศตะวันตกของที่ดินแปลงที่เหลือดังกล่าว แล้ว ธ. ยกที่ดินของตนและที่ดินที่ถือกรรมสิทธิ์รวามให้แก่จำเลยที่ 1 การที่โจทก์ซึ่งได้รับยกให้ที่ดินแปลงที่ติดกับกำแพงพิพาททางด้านทิศตะวันตกขอให้จำเลยทั้งสองเปิดแนวกำแพงพิพาทเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับที่ดินแปลงที่ตนได้รับยกให้ ไม่เป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์ซึ่งเจ้าของรวมทุกคนต้องเห็นชอบด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสุดท้าย เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยินยอม โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เปิดแนวกำแพงพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมตกลงใช้ทางร่วม การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด
โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 2103 มาโดยทำกำแพงพิพาทเป็นรั้วยาวตลอดแนวเขตเฉพาะทางด้านทิศตะวันตก เพื่อปิดกั้นมิให้บุคคลภายนอกเข้ามายุ่งเกี่ยว ต่อมาเมื่อมีการแบ่งที่ดินออกเป็น 4 แปลง โดยโจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. เป็นเจ้าของคนละ 1 แปลง แล้ว โจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ยังถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงที่แบ่งแยกคือโฉนดเลขที่ 117913 ซึ่งอยู่ติดกับแนวกำแพงพิพาท โดยมิได้มีการรื้อถอนกำแพงพิพาทเพราะประสงค์จะใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 117913 เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 2 และ ธ. ซึ่ง ธ. ได้จดทะเบียนให้ส่วนของ ธ. แก่จำเลยที่ 1 ในเวลาต่อมาเท่านั้น แม้ต่อมาโจทก์จะเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 193899 ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่การที่โจทก์ขอให้เปิดแนวกำแพงพิพาทบริเวณด้านหน้าของที่ดินดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 193899 ด้วย จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์ซึ่งเจ้าของรวมทุกคนต้องเห็นชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1358 วรรคสุดท้าย มิได้เป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 1360 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของรวมไม่ยินยอมให้ที่ดินแปลงอื่นของโจทก์มาใช้ประโยชน์ด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เปิดแนวกำแพงพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากละเมิด, เงินทดแทนสปส., ดอกเบี้ย, และการคำนวณหนี้ผิดนัด
เงินที่โจทก์ได้รับจากสำนักงานประกันสังคมเป็นค่าทดแทนที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 18 ไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสาม ได้จำเลยไม่อาจเอาค่าทดแทนที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับดังกล่าวมาขอลดหย่อนค่าขาดไร้อุปการะได้
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดที่ได้เกิดขึ้นแล้วนับแต่เวลาทำละเมิดมิใช่เป็นการชดเชยหนี้ในอนาคต และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของค่าขาดไร้อุปการะซึ่งเป็นหนี้เงินอย่างหนึ่งได้ในระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้บริษัทผู้รับอาวัลถูกระงับกิจการ และมีกระบวนการปฏิรูปสถาบันการเงิน
จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบกิจการบริษัทเงินทุนเป็นผู้รับอาวัลให้แก่โจทก์ แม้ก่อนที่ตั๋วสัญญาใช้เงินจะถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ และต่อมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (คณะกรรมการ ปรส.) ได้มีประกาศเรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ก็ตาม คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดังกล่าวมิได้มีผลให้หนี้ระหว่างจำเลยที่ 2 และโจทก์ระงับไป จำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่เช่นเดิม ส่วนการบังคับชำระหนี้จะดำเนินการโดยวิธีใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อพิจารณาประกอบกับมาตรา 26 แห่ง พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงินจะเห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายบัญญัติห้ามไว้แต่เฉพาะจะฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลาย ในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ปรส. ไม่ได้เท่านั้น ส่วนประกาศของคณะกรรมการ ปรส. ว่าด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ก็มิได้บังคับว่า เจ้าหนี้จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการ ปรส. เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดขอบเขตการฟ้องคดีสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินงาน หนี้ยังคงบังคับได้ แม้มีการประกาศของ ปรส.
การที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนระงับการดำเนินกิจการมิได้มีผลให้หนี้ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ระงับไป ส่วนการบังคับชำระหนี้จะดำเนินการโดยวิธีใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อพิจารณาประกอบกับมาตรา 26 แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 ที่ห้ามไว้แต่เฉพาะจะฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ปรส. ไม่ได้ เท่านั้น ส่วนประกาศของคณะกรรมการ ปรส. ว่าด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ก็มิได้บังคับว่า เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ ปรส. เท่านั้น และโดยสภาพโจทก์ไม่สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เพราะวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง คือวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2541 ยังไม่มีประกาศของคณะกรรมการ ปรส. ออกใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดชอบหนี้แม้ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกัน แม้ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณา แต่ก็มีผลเพียงให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาคดีของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนเท่านั้น ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 และหากต่อมาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จะลดลงตามแผนฟื้นฟูกิจการก็ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์เต็มจำนวน ตามมาตรา 90/60 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4515/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการยื่นฟื้นฟูกิจการต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ศาลฎีกาชี้ว่าการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้น การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดในอนาคตของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 อาจรับผิดไม่เต็มจำนวนหนี้ก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระเงินให้โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าหากยอดหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดลดลงจำนวนเท่าใดก็ให้นำมาหักจากยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องรับผิดตามคำพิพากษาจึงไม่ชอบ
of 37