พบผลลัพธ์ทั้งหมด 366 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4087/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: ผู้รับจ้างต้องแก้ไขงานชำรุดตามสัญญา หากไม่ทำตาม ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่น แต่ต้องแจ้งให้แก้ไขก่อน
ตามหนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างเอกสารหมาย จ. 6 ข้อ 6 ระบุว่า "ภายในกำหนด 12 เดือน นับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานนี้จากผู้รับจ้างเป็นต้นไป ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายแก่งานจ้างนี้โดยผู้รับจ้างทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สัมภาระที่ไม่ดี ผู้รับจ้างจะทำการแก้ไขใหม่ทันทีโดยไม่คิดราคาสิ่งของสัมภาระและค่าแรงงานจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพริ้วไม่จัดการแก้ไขหรือซ่อมให้เป็นที่เรียบร้อยภายในกำหนดเวลาที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างมีอำนาจจ้างผู้อื่นทำแทนต่อไป โดยผู้รับจ้างยินยอมจ่ายเงินค่าจ้างในการแก้ไขเท่าที่สร้างจริงโดยสิ้นเชิง" จากข้อตกลงดังกล่าวมีความหมายว่า ภายใน 12 เดือน นับแต่วันรับมอบงานที่ก่อสร้าง ถ้ามีความชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานที่ก่อสร้าง โจทก์มีอำนาจจ้างผู้อื่นแก้ไขซ่อมแซมงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างต้องมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างให้แก้ไขซ่อมแซมภายในเวลาที่กำหนดก่อนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่แก้ไขซ่อมแซม แต่หนังสือที่โจทก์แจ้งแก่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงหนังสือแจ้งเกี่ยวกับเรื่องจำเลยที่ 1 ก่อสร้างบางรายการไม่ถูกต้องตามแบบ ไม่ดำเนินการเก็บงานให้เรียบร้อย จะให้บริษัท ป. เข้าดำเนินการตรวจสอบซ่อมแซมและก่อสร้างให้เรียบร้อยถูกต้องตามแบบโดยจำเลยที่ 1 ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเท่านั้น ถึงจะมีบางฉบับระบุด้วยว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นความเสียหายส่วนใดของงานก่อสร้าง และแม้บางฉบับโจทก์จะได้สรุปความเสียหายให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงรายละเอียดงานก่อสร้างซ่อมแซม และขอให้จำเลยที่ 1 ส่งผู้ควบคุมงานเพื่อตรวจสอบงานก่อสร้างบางอย่างที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ก็ตาม แต่ในขณะที่โจทก์มีหนังสือฉบับดังกล่าวก็เป็นระยะเวลาภายหลังที่โจทก์ตัดสินใจให้บริษัท ป. เข้าซ่อมแซมงานก่อสร้างแล้ว ดังนั้น หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขซ่อมแซมความชำรุดเสียหายงานก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดตาม เงื่อนไขในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง เอกสารหมาย จ. 6 ข้อ 6 เท่ากับว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้แก้ไขซ่อมแซมงานก่อสร้างที่ชำรุดเสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4087/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมางาน: โจทก์ต้องแจ้งให้จำเลยแก้ไขงานชำรุดก่อนบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำสัญญารับจ้างเหมางานก่อสร้างสถานีบริการและติดตั้งอุปกรณ์ตามฟ้องจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันความเสียหายให้แก่โจทก์ ต่อมามีเหตุชำรุดเสียหายแก่งานที่ก่อสร้างหลายรายการ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาจ้างดังกล่าว ข้อ 6 ซึ่งระบุว่าถ้ามีความชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานที่ก่อสร้าง โจทก์มีอำนาจจ้างผู้อื่นแก้ไขซ่อมแซมงานได้ โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างต้องมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างให้แก้ไขซ่อมแซมภายในเวลาที่กำหนดก่อนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่แก้ไขซ่อมแซม เมื่อหนังสือที่โจทก์แจ้งจำเลยที่ 1 เป็นเพียงหนังสือแจ้งเกี่ยวกับการเก็บงานที่จำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการให้เรียบร้อยโดยเท้าความถึงเอกสารอื่น แม้จะระบุว่ามีความเสียหายเพิ่มเติมเกิดขึ้นอีกแต่ก็ไม่มีรายละเอียดว่าเป็นความเสียหายส่วนไหนของงานก่อสร้างและหนังสือดังกล่าวแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์จะให้บริษัท ป. เข้าดำเนินการตรวจสอบ ซ่อมแซม รวมทั้งเก็บรายละเอียดงานก่อสร้างที่ยังบกพร่องอยู่ให้เรียบร้อยแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้นอีกทั้งโจทก์จะให้บริษัท ป. ดำเนินการซ่อมแซมแทนจำเลยที่ 1 ในงานก่อสร้างที่ตรวจพบความชำรุดบกพร่องทันทีและในส่วนที่อาจเกิดขึ้นอีกในภายหลัง โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายอันเป็นกรณีตามสัญญาข้ออื่น โจทก์ไม่อาจนำเงื่อนไขในสัญญาจ้าง ข้อ 6 มาใช้กับข้อสัญญาข้ออื่นได้ หนังสือที่โจทก์แจ้งจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างข้ออื่น ไม่ใช่หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขซ่อมแซมความชำรุดเสียหายงานก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขในสัญญาจ้าง ข้อ 6 เท่ากับว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ไม่ต้องรับผิดด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้ฎีกา แต่หนี้อันเกิดจากการค้ำประกันเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระหนี้หลังคำพิพากษา ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากผิดนัดชำระ โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์ได้
จำเลยจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ จำเลยเสนอขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายเดือนซึ่งผู้แทนโจทก์ยินยอมตามเงื่อนไขและได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการยึดทรัพย์ไว้เพื่อรอฟังผลการชำระหนี้ภายนอก คงมีความหมายเพียงว่าถ้าจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์โดยไม่ผิดนัด โจทก์จะยังไม่ใช้สิทธิบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลย แต่มิได้หมายความว่าสิทธิในการบังคับคดีแก่จำเลยจะหมดสิ้นไป ทั้งข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่ได้ตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ดังนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 ครั้ง แต่ละครั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข โจทก์จึงชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระหนี้หลังคำพิพากษา ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากผิดนัดชำระ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองเสนอขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายเดือนซึ่งผู้แทนโจทก์ยินยอมตามเงื่อนไขและได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการยึดไว้เพื่อรอฟังผลการชำระหนี้ภายนอกคงมีความหมายเพียงว่า ถ้าจำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ตามเงื่อนไขที่เสนอโดยไม่ผิดนัด โจทก์จะยังไม่ใช้สิทธิบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง แต่มิได้หมายความว่าสิทธิในการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองจะหมดสิ้นไป ทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่มีข้อความใดที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน หลังจากเจ้าพนักงานบังคบคดีงดการบังคับคดีไว้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 ครั้ง ในแต่ละครั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโจทก์จึงชอบที่จะดำเนินการบังคบคดีแก่จำเลยทั้งสองต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกและปลอมแปลงเอกสารของพนักงานธนาคาร และเงื่อนไขการรวมโทษเกิน 20 ปี
ขณะที่จำเลยกระทำผิดในคดีนี้และคดีก่อน จำเลยเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้เสียหายอยู่ด้วยในทุกคดีโดยถือโอกาสที่เป็นพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับเอกสารและทรัพย์โดยมีเจตนาเพื่อเบียดบังเอาเงินของลูกค้าผู้ฝากเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตนคดีนี้และคดีก่อนจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 วรรคแรก การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ด้วย และเมื่อคดีนี้ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268 วรรคสอง เป็นกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี การนับโทษต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกิน 20 ปี ไม่ได้แต่คดีก่อนเมื่อรวมโทษจำคุกทุกคดีและทุกกระทงโดยไม่รวมโทษจำคุกในคดีนี้ด้วยปรากฏว่าจำเลยถูกลงโทษจำคุก 23 ปี 6 เดือน ซึ่งเกิน 20 ปีแล้วจึงไม่อาจนับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีก่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจองห้องพัก การบอกเลิกสัญญา สิทธิในการรับเงินคืน และการครอบครองปรปักษ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ชำระเงินค่าจองห้องพักโรงแรมให้จำเลยไปแล้ว ต่อมาโจทก์บอกเลิกการจองห้องพักให้จำเลยทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันตามวิธีปฏิบัติของธุรกิจโรงแรมเกี่ยวกับการบอกเลิกการเข้าพักซึ่งจำเลยจะต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่จำเลยไม่ยอมคืนเงินให้ เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวถึงว่าห้องพักแต่ละห้องราคาเท่าใด ค่าอาหารและค่าจัดเลี้ยงมีราคาเท่าใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
โจทก์ทำคำเสนอขอจองห้องพักไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2534 จำเลยทำคำสนองตอบรับการจองห้องพักในวันเดียวกัน สัญญาจึงเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2534 ไม่ใช่วันที่โจทก์ชำระเงินค่าห้องพักให้จำเลย ส่วนวันที่ 6 ถึงวันที่ 12 มกราคม 2535เป็นระยะเวลาเข้าพัก แต่ในวันที่สัญญาเกิดโจทก์ไม่ได้ชำระเงินแก่จำเลยเพิ่งจะโอนเงินงวดแรกให้จำเลยในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 งวดที่สองเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน2534 ส่วนอีกร้อยละ 30 จะชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการพัก ดังนั้น เงินที่โจทก์โอนให้แก่จำเลยภายหลังจากวันที่สัญญาจองห้องพักเกิดขึ้นแล้วจึงไม่ใช่มัดจำที่จำเลยจะพึงริบเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(2) เพราะไม่ใช่เงินหรือสิ่งใดที่โจทก์ให้จำเลยไว้ในวันเข้าทำสัญญา ทั้งไม่ใช่หลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาตามมาตรา 377 หากแต่เป็นเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลยเป็นงวด ๆ ตามข้อตกลงในสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกการจองห้องพักซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาโจทก์และจำเลยต้องกลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามมาตรา 391 วรรคแรก จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์บอกเลิกการจองห้องพักอันเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์และจำเลยต้องกลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่สัญญาเลิกกันเป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก ในเรื่องการคืนเงินอันเกิดจากการเลิกสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่วันบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 193/30 จะนำอายุความ 1 ปี เรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 419 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะขณะจำเลยรับเงินค่าห้องพักเป็นการรับไว้โดยชอบ มิใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลจะอ้างกฎหมายได้
โจทก์ชำระเงินค่าจองห้องพักให้แก่จำเลย เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทันทีเพราะเงินเป็นสังกมทรัพย์ เมื่อจำเลยได้รับเงินไว้เกิน 5 ปี แล้ว ต่อมาโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจำเลยมีหน้าที่และความรับผิดเกิดขึ้นใหม่ในอันที่จะต้องคืนค่าห้องพักที่รับไว้ให้แก่โจทก์ แต่ไม่จำต้องคืนเป็นเงินอันเดียวกับเงินที่โจทก์ชำระไว้ คงคืนให้ตามจำนวนที่จะต้องคืน กรณีจึงมิใช่จำเลยครอบครองปรปักษ์เงินค่าห้องพักที่รับไว้ จำเลยจะอ้างมาปัดความรับผิดในการชำระเงินคืนหาได้ไม่
โจทก์ทำคำเสนอขอจองห้องพักไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2534 จำเลยทำคำสนองตอบรับการจองห้องพักในวันเดียวกัน สัญญาจึงเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2534 ไม่ใช่วันที่โจทก์ชำระเงินค่าห้องพักให้จำเลย ส่วนวันที่ 6 ถึงวันที่ 12 มกราคม 2535เป็นระยะเวลาเข้าพัก แต่ในวันที่สัญญาเกิดโจทก์ไม่ได้ชำระเงินแก่จำเลยเพิ่งจะโอนเงินงวดแรกให้จำเลยในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 งวดที่สองเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน2534 ส่วนอีกร้อยละ 30 จะชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดการพัก ดังนั้น เงินที่โจทก์โอนให้แก่จำเลยภายหลังจากวันที่สัญญาจองห้องพักเกิดขึ้นแล้วจึงไม่ใช่มัดจำที่จำเลยจะพึงริบเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(2) เพราะไม่ใช่เงินหรือสิ่งใดที่โจทก์ให้จำเลยไว้ในวันเข้าทำสัญญา ทั้งไม่ใช่หลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาตามมาตรา 377 หากแต่เป็นเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลยเป็นงวด ๆ ตามข้อตกลงในสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกการจองห้องพักซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาโจทก์และจำเลยต้องกลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามมาตรา 391 วรรคแรก จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์บอกเลิกการจองห้องพักอันเป็นการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์และจำเลยต้องกลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่สัญญาเลิกกันเป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก ในเรื่องการคืนเงินอันเกิดจากการเลิกสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่วันบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 193/30 จะนำอายุความ 1 ปี เรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 419 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะขณะจำเลยรับเงินค่าห้องพักเป็นการรับไว้โดยชอบ มิใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลจะอ้างกฎหมายได้
โจทก์ชำระเงินค่าจองห้องพักให้แก่จำเลย เงินดังกล่าวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทันทีเพราะเงินเป็นสังกมทรัพย์ เมื่อจำเลยได้รับเงินไว้เกิน 5 ปี แล้ว ต่อมาโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจำเลยมีหน้าที่และความรับผิดเกิดขึ้นใหม่ในอันที่จะต้องคืนค่าห้องพักที่รับไว้ให้แก่โจทก์ แต่ไม่จำต้องคืนเป็นเงินอันเดียวกับเงินที่โจทก์ชำระไว้ คงคืนให้ตามจำนวนที่จะต้องคืน กรณีจึงมิใช่จำเลยครอบครองปรปักษ์เงินค่าห้องพักที่รับไว้ จำเลยจะอ้างมาปัดความรับผิดในการชำระเงินคืนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจองห้องพักและการคืนเงินเมื่อบอกเลิกสัญญา เงินที่ชำระภายหลังทำสัญญาไม่ถือเป็นมัดจำ
โจทก์ทำคำเสนอทางโทรสารขอจองห้องพักระหว่างวันที่ 6 ถึง 12 มกราคม 2535 ไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2534 จำเลยทำคำสนองทางโทรสารตอบรับการจองห้องพักไปถึงโจทก์ในวันเดียวกัน สัญญาจองห้องพักจึงเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2534 โจทก์โอนเงินค่าเช่าห้องพักงวดแรกตามสัญญาให้จำเลยในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 และโอนเงินงวดที่ 2 ให้จำเลยในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 เงินที่โจทก์โอนให้แก่จำเลยภายหลังจากวันที่สัญญาจองห้องพักเกิดขึ้นแล้วจึงไม่ใช่มัดจำที่จำเลยจะพึงริบได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) เพราะไม่ใช่เงินหรือสิ่งใดที่โจทก์ให้จำเลยไว้ในวันเข้าทำสัญญา ทั้งไม่ใช่หลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจองห้องพักเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2534 โจทก์และจำเลยต้องกลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคแรก สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินอันเกิดจากการเลิกสัญญานี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จะนำอายุความ 1 ปี เรื่องลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนและการไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการชำระบัญชี
โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการบังกะโลให้เช่า จำเลยไม่จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย งบกำไรขาดทุน ไม่แบ่งปันผลกำไรให้โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญ เป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (1), 1061 และ 1062 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งผลกำไรหรือขอบังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินอันมีลักษณะคืนทุนโดยที่ยังมิได้ชำระบัญชีหรือตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และไม่มีฝ่ายใดฎีกาในปัญหานี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนและการแบ่งผลกำไรที่ผิดสัญญา ห้างหุ้นส่วนต้องชำระบัญชีตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการบังกะโลให้เช่า จำเลยไม่จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย งบกำไรขาดทุน ไม่แบ่งปันผลกำไรให้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นการประพฤติผิดสัญญาหุ้นส่วนในสาระสำคัญเป็นเหตุที่จะเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(1) มาตรา 1061 และมาตรา 1062 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งผลกำไรหรือขอบังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปอันมีลักษณะคืนทุนโดยที่ยังมิได้ชำระบัญชีหรือตกลงให้จัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนด้วยวิธีอื่นระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จำนองบางส่วนและการหักหนี้ การบังคับคดีต่อลูกหนี้ร่วม
คดีปรากฏในชั้นอุทธรณ์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท (ตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันไว้) โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป กรณีจึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป และต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ 7,280,180.66 บาท ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย และมูลหนี้ดังกล่าวจำนวน 1,500,000 บาท เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนอง คำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งต้องรับผิดซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2