คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินป่าช้าสาธารณะ แม้เลิกใช้แล้วก็ยังเป็นสมบัติของแผ่นดิน ไม่ออกโฉนดให้เอกชนได้
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของป่าช้าซึ่งสาธารณชนใช้เผาและฝังศพมานานหลายสิบปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาทางการจะไม่ให้เผาและฝังศพอีก ได้มีการล้างป่าช้าและสร้างสำนักงานราชการขึ้นแต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ถอนสภาพที่ดินจากป่าช้าสาธารณะสำหรับสาธารณชนใช้ร่วมกันตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น แม้สาธารณชนจะเลิกใช้บริเวณที่พิพาทเป็นป่าช้าที่พิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ทางราชการจะออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินป่าช้าสาธารณะ แม้เลิกใช้แล้ว ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จนกว่าจะมีกฎหมายถอนสภาพ
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของป่าช้าซึ่งสาธารณชนใช้เผาและฝังศพมานานหลายสิบปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาทางการจะไม่ให้เผาและฝังศพอีก ได้มีการล้างป่าช้าและสร้างสำนักงานราชการขึ้น แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาให้ถอนสภาพที่ดินจากป่าช้าสาธารณะสำหรับสาธารณชนใช้ร่วมกันตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น แม้สาธารณชนจะเลิกใช้บริเวณที่พิพาทเป็นป่าช้า ที่พิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ทางราชการจะออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่พิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจฟ้องกรณีบุกรุกได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินและ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
กระทรวงศึกษาธิการซื้อที่ดินจากเอกชนเพื่อใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาแล้วมอบให้โรงเรียนประชาบาลใช้ประโยชน์อัน ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน กระทรวงการคลังได้ทำการรังวัดสำรวจขึ้นทะเบียนเป็นที่หลวง แต่ไม่ปรากฏว่าได้ขึ้นทะเบียนอะไรไว้คงขึ้นทะเบียนเป็นพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้ของแผนกศึกษาธิการอำเภอซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการเนื้อที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลังจึงไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและไม่มีอำนาจฟ้องผู้อยู่ในที่ดินนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีคำสั่งมอบหมายให้จังหวัดเทศบาล และสุขาภิบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินภายในเขตของตน ตามคำสั่งที่ 890/2498 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้ว ฉะนั้น จังหวัดเทศบาลและสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินภายในเขตของตน อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้เป็นราชการแผ่นดินอย่างหนึ่งย่อมอยู่ในความรับผิดชอบและควบคุมดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินและควบคุมดูแลราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ เมื่อมีบุคคลใดบุกรุกหรือเข้าครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันของจังหวัดเทศบาลหรือสุขาภิบาลในจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่บุคคลนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรุกที่สาธารณะ: ผู้ว่าฯ-กระทรวงการคลัง มีอำนาจฟ้องได้ตามกฎหมาย
กระทรวงศึกษาธิการซื้อที่ดินจากเอกชนเพื่อใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาแล้วมอบให้โรงเรียนประชาบาลใช้ประโยชน์อันตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน กระทรวงการคลังได้ทำการรังวัดสำรวจขึ้นทะเบียนเป็นที่หลวง แต่ไม่ปรากฏว่าได้ขึ้นทะเบียนอะไรไว้คงขึ้นทะเบียนเป็นพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้ของแผนกศึกษาธิการอำเภอซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการเนื้อที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลังจึงไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและไม่มีอำนาจฟ้องผู้อยู่ในที่ดินนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีคำสั่งมอบหมายให้จังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินภายในเขตของตน ตามคำสั่งที่ 890/2498 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้ว ฉะนั้น จังหวัดเทศบาล และสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินภายในเขตของตน อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้เป็นราชการแผ่นดินอย่างหนึ่งย่อมอยู่ในความรับผิดชอบและควบคุมดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และควบคุมดูแลราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ เมื่อมีบุคคลใดบุกรุกหรือเข้าครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันของจังหวัดเทศบาลหรือสุขาภิบาลในจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่บุคคลนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินของปลัดจังหวัดรักษาราชการแทน และผลของประกาศหวงห้ามที่ดินก่อนมีกฎหมาย
จังหวัดโดยปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน โดยอ้างว่ามีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) แต่ขณะฟ้อง มาตรา 37 นั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2499 เปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายประการ แต่ไม่มีประเด็นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ทั้งคู่ความก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้อฎีกา แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ก็ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้ วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้น อันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกสาธารณสมบัติแผ่นดินของปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าฯ และผลใช้บังคับของประกาศหวงห้ามที่ดิน
จังหวัดโดยปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสาธารณะสมบัติของแผ่นดินโดยอ้างว่ามีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) แต่ขณะฟ้อง มาตรา 37 นั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2499 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2499 เปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายประการแต่ไม่มีประเด็นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ทั้งคู่ความก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้อฎีกา แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ก็ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้นอันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์: การใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยไม่ต้องมีเอกสารทางราชการ และการพิสูจน์สภาพที่ดิน
ที่ดินซึ่งประชาชนในหมู่บ้านใช้ร่วมกันสำหรับเลี้ยงสัตว์พาหนะโคกระบือและเป็นที่ป่าช้ามา 80 ปี เศษแล้ว เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) คือ ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น เกิดขึ้นและเป็นอยู่ตามสภาพของที่ดิน และการใช้ร่วมกันของประชาชน โดยไม่ต้องมีประกาศพระราชกฤษฎีกาสงวนไว้หรือขึ้นทะเบียนหรือมีเอกสารของทางราชการกำหนดให้เป็นที่สาธารณประโยชน์เช่นนั้น ทั้งผู้ใดไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินได้
จำเลยเคยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาหาว่าแผ้วถางป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีประเด็นโดยตรงว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช่ร่วมกันหรือไม่ แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องในคดีอาญา ก็จะนำคำพิพากษานั้นมาใช้ยันในคดีแพ่งซึ่งนายอำเภอเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่สาธรณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินใช้ประโยชน์ร่วมกัน 80 ปีเศษ ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ต้องมีเอกสารราชการ
ที่ดินซึ่งประชาชนในหมู่บ้านใช้ร่วมกันสำหรับเลี้ยงสัตว์พาหนะโคกระบือและเป็นที่ป่าช้ามา 80 ปีเศษแล้วเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) คือ ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็น ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้นเกิดขึ้นและเป็นอยู่ตามสภาพของที่ดิน และการใช้ร่วมกันของประชาชน โดยไม่ต้องมีประกาศพระราชกฤษฎีกาสงวนไว้หรือขึ้นทะเบียนหรือมีเอกสารของทางราชการกำหนดให้เป็นที่สาธารณประโยชน์เช่นนั้นทั้งผู้ใดไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินได้
จำเลยเคยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาหาว่าแผ้วถางป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีประเด็นโดยตรงว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือไม่ แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องในคดีอาญา ก็จะนำคำพิพากษานั้นมาใช้ยันในคดีแพ่งซึ่งนายอำเภอเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428-1429/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ: กระทรวงการคลังมีอำนาจฟ้องได้ แม้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื่องจากพระบรมราชโองการและกฎหมายพิเศษ
ที่ดินซึ่งรัฐบาลซื้อจากเอกชนเพื่อสร้างสถานที่ราชการ และได้มีพระบรมราชโองการ ให้ขึ้นทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังแต่ครั้งสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ในทะเบียนที่ราชพัสดุมีหมายหตุไว้ในช่องใช้ราชการหรือจัดให้เช่าทำประโยชน์ว่าให้เช่าปลูกโรงชั่วคราว ที่ดินราชพัสดุซึ่งอยุ่ติดต่อกันได้ใช้ปลูกสร้างเป็นที่ทำการแขวงการทาง กรมธนารักษ์ในกระทรวงการคลังมอบให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ดูแล แม้ที่ดินดังกล่าวจะยังมิได้ใช้ปลูกสร้างสถานที่ราชการ ก็เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ซึ่งมิใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2512)
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2506 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร หรือกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากสาธารณสมบัติของแผ่นดิน นั้น หาได้ยกเว้นมิให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกชนิดไม่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 บัญญัติว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้อธิบดีมีอำนาจดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามควรแก่กรณี อำนาจหน้าที่ดังว่านี้ รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้ แต่โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวการคลังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินราชพัสุรายพิพาท และขึ้นทะเบียนไว้แล้วก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือเป็นกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินราชพัสดุ อธิบดีกรมที่ดินจึงไม่มีอำนาจ และเมื่อมีประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย บัญญัติว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการมหาดไทยมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นทบวงการเมืองได้ กระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจครอบครองที่ราชพัสดุอยู่เช่นเดิม โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้ที่พิพาทขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมเป็นกฎหมายทั่วไปที่กำหนดอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมายของกระทรวงและทบวงการเมืองต่างๆ ย่อมไม่ลบล้างอำนาจของกระทรวงการคลังซึ่งได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย อันเป็นกฎหมายพิเศษ เพราะกฎหมายพิเศษย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป กระทรวงการคลังจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ราชพัสดุรายพิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2511)
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428-1429/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ: กระทรวงการคลังมีอำนาจฟ้องได้ แม้มีกฎหมายเฉพาะอื่น
ที่ดินซึ่งรัฐบาลซื้อจากเอกชนเพื่อสร้างสถานที่ราชการ และได้มีพระบรมราชโองการให้ขึ้นทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลังแต่ครั้งสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ในทะเบียนที่ราชพัสดุมีหมายเหตุไว้ในช่องใช้ราชการหรือจัดให้เช่าทำประโยชน์ว่าให้เช่าปลูกโรงชั่วคราว ที่ดินราชพัสดุซึ่งอยู่ติดต่อกันได้ใช้ปลูกสร้างเป็นที่ทำการแขวงการทางกรมธนารักษ์ในกระทรวงการคลังมอบให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ดูแลแม้ที่ดินดังกล่าวจะยังมิได้ใช้ปลูกสร้างสถานที่ราชการ ก็เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ซึ่งมิใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2512)
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2506 มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติว่า กระทรวงการคลังมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร หรือกิจการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น หาได้ยกเว้นมิให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกชนิดไม่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 บัญญัติว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้อธิบดีมีอำนาจดูแลรักษาดำเนินการคุ้มครองป้องกันได้ตามควรแก่กรณี อำนาจหน้าที่ดังว่านี้รัฐมนตรีจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้แต่โดยที่ได้มีพระบรมราชโองการให้กระทรวงการคลังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินราชพัสดุรายพิพาท และขึ้นทะเบียนไว้แล้วก่อนใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือเป็นกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ราชพัสดุ อธิบดีกรมที่ดินจึงไม่มีอำนาจ และเมื่อมีประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย บัญญัติว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองได้กระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจครอบครองที่ราชพัสดุอยู่เช่นเดิม โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้ที่พิพาทขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมเป็นกฎหมายทั่วไปที่กำหนดอำนาจและหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมายของกระทรวงและทบวงการเมืองต่างๆ ย่อมไม่ลบล้างอำนาจของกระทรวงการคลังซึ่งได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย อันเป็นกฎหมายพิเศษ เพราะกฎหมายพิเศษย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป กระทรวงการคลังจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ราชพัสดุรายพิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1149/2511)
สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินหาได้ไม่
of 8