พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ฐานะลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย ต้องมีหลักฐานแสดงทรัพย์สินทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ในเขตศาล
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)เป็นเพียงข้อสันนิษฐานถึงพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเป็น เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงด้วยว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพียงใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 โดยคำนึงถึงเหตุอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลย ตกอยู่ในภาวะดังกล่าวจริง เดิมศาลจังหวัดนนทบุรีพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 170,784 บาทแก่โจทก์คดีถึงที่สุด แต่โจทก์ไม่สามารถสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำยึดมาชำระหนี้ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) ซึ่งโจทก์นำสืบให้เห็นแต่เพียงว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินในเขตจังหวัดนนทบุรีและไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์ แต่หานำสืบให้เห็นด้วยว่าในเขตจังหวัดนครสวรรค์จำเลยก็ไม่มีทรัพย์สินเช่นเดียวกัน อีกทั้งเหตุที่โจทก์อ้างเป็นเหตุฟ้องจำเลยให้ล้มละลายนี้สืบเนื่องจากกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้โดยโจทก์ไม่มีหลักฐานอื่น สนับสนุนหรือนำมาประกอบให้เพียงพอที่จะแสดงหรือพิสูจน์ ให้เห็นได้เป็นข้อสำคัญว่า จำเลยไม่มีความสามารถชำระหนี้ หรือเป็นบุคคลตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังเป็นลูกหนี้บุคคลอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนได้ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,500 บาท และร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ แม้หนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แต่เมื่อรวมกับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แล้วก็ยังมีจำนวนน้อยกว่า 50,000 บาท ส่วนหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นการกำหนดให้จำเลยกระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยจะพึงเลือกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 198 หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องกระทำก่อนจึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน เมื่อโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลย และจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน และปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ กรณีจึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ หนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ดังนี้โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้
คดีล้มละลาย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 (1)
คดีล้มละลาย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอน ทำให้ไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,500 บาท และร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์แม้หนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แต่เมื่อรวมกับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แล้วก็ยังมีจำนวนน้อยกว่า 50,000 บาทส่วนหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นการกำหนดให้จำเลยกระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยจะพึงเลือกได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องกระทำก่อนจึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน เมื่อโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลย และจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน และปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ กรณีจึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ หนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ดังนี้โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้ คดีล้มละลาย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาทตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว, อายุความบังคับคดี, และการฟ้องซ้ำ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9หรือมาตรา 10 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีทรัพย์สินหลายอย่างเพียงพอชำระหนี้โจทก์ได้ แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ แม้จำเลยมิได้นำสืบพยานมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นก็ตามแต่การที่จำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ได้โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนให้เห็น จึงไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังเป็นความจริง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งเมื่อวันที่13 มิถุนายน 2529 แต่ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าวจำเลยยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงย้ายไม่อาจอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมเพื่อบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ได้ทั้งอายุความในสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีกำหนดสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 ก็ยังไม่เริ่มนับเช่นกัน เนื่องจากมาตรา 193/12ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมถึงกำหนดที่จำเลยต้องชำระหนี้ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2529 แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมบังคับคดีได้ ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2529พร้อมกับอายุความในสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมที่เริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิร้องขอให้บังคับคดีและสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมยังไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ คดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว มีประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนคดีล้มละลายเรื่องนี้มีประเด็นว่า เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ การวินิจฉัยคดีสองเรื่องนี้จึงมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีล้มละลายและการบังคับคดี: การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีทรัพย์สินหลายอย่างเพียงพอชำระหนี้โจทก์ได้ แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ทั้งที่จำเลยมิได้นำสืบพยานมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นก็ตาม แต่การที่จำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ได้โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนให้เห็น จึงไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังเป็นความจริง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน2529 แต่ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงยังไม่อาจอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมเพื่อบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 ได้ ทั้งอายุความในสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีกำหนดสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/32 ก็ยังไม่เริ่มนับเช่นกัน เนื่องจากมาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมถึงกำหนดที่จำเลยต้องชำระหนี้ในวันที่15 กรกฎาคม 2529 แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมบังคับคดีได้ ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม2529 พร้อมกับอายุความในสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมที่เริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 จึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิร้องขอให้บังคับคดีและสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมยังไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้
คดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว มีประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนคดีล้มละลายเรื่องนี้มีประเด็นว่า เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ การวินิจฉัยคดีสองเรื่องนี้จึงมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีทรัพย์สินหลายอย่างเพียงพอชำระหนี้โจทก์ได้ แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ทั้งที่จำเลยมิได้นำสืบพยานมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นก็ตาม แต่การที่จำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ได้โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนให้เห็น จึงไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังเป็นความจริง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน2529 แต่ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงยังไม่อาจอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมเพื่อบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 ได้ ทั้งอายุความในสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีกำหนดสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/32 ก็ยังไม่เริ่มนับเช่นกัน เนื่องจากมาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมถึงกำหนดที่จำเลยต้องชำระหนี้ในวันที่15 กรกฎาคม 2529 แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมบังคับคดีได้ ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม2529 พร้อมกับอายุความในสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมที่เริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 จึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิร้องขอให้บังคับคดีและสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมยังไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้
คดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว มีประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนคดีล้มละลายเรื่องนี้มีประเด็นว่า เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ การวินิจฉัยคดีสองเรื่องนี้จึงมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: ระยะเวลาบังคับคดี, เหตุผลล้มละลาย, และการปล่อยปละละเลยเจ้าหนี้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และมาตรา 279 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีแต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานตามปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อปรากฏว่าวันครบกำหนดสิบปีที่จะบังคับคดีได้เป็นวันอาทิตย์ เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่จะขอบังคับคดีได้เป็นวันหยุดทำการโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีได้ถึงในวันจันทร์อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: การบังคับคดีหมดอายุ & เหตุไม่ควรล้มละลาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และมาตรา 279 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีแต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานตามปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อปรากฏว่าวันครบกำหนดสิบปีที่จะบังคับคดีได้เป็นวันอาทิตย์ เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่จะขอบังคับคดีได้เป็นวันหยุดทำการโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีได้ถึงในวันจันทร์อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7258/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหมดอายุและผลกระทบต่อการฟ้องล้มละลาย
ป.วิ.พ.มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอบังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา และมาตรา 279 วรรคหนึ่งบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการบังคับคดีแต่ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกในวันทำการงานตามปกติ เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อปรากฏว่าวันครบกำหนดสิบปีที่จะบังคับคดีได้เป็นวันอาทิตย์เมื่อวันสุดท้ายของระยะเวลาที่จะขอบังคับคดีได้เป็นวันหยุดทำการ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมีสิทธิที่จะขอบังคับคดีได้ถึงในวันจันทร์อันเป็นวันเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/8
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีเท่านั้น มิได้ดำเนินการบังคับคดี คงปล่อยปละละเลยมาเป็นเวลานานจนถึงวันสุดท้ายที่จะบังคับคดีได้ จึงมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งมิฉะนั้นนับถัดจากวันฟ้องคดีล้มละลายนี้แล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ก็พ้นกำหนดเวลาที่จะบังคับคดีได้ และเป็นหนี้ที่ไม่อาจจะขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากโจทก์แล้ว จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีก กรณีจึงมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และสิทธิในการยกข้อกฎหมาย
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ขายทอดตลาดทรัพย์ คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 ทั้งข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้ว จำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดีเป็นเงินรวมกันประมาณ 1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์ แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้ว จำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดีเป็นเงินรวมกันประมาณ 1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์ แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: หนี้ร่วม, การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้, และผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วม
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดียังมิได้ขายทอดตลาดทรัพย์ คู่ความย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ทั้งข้ออ้างของโจทก์เป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงว่า จำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000 บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดี เป็นเงินรวมกันประมาณ1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน เป็นหนี้โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 มีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งรวมกันเดือนละ 25,000 บาท แต่เมื่อลำพังแต่เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งดังกล่าวยังไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด ทั้งโจทก์ไม่สามารถยึดเงินเดือนมาชำระหนี้ได้ และนอกจากจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ในคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ยังเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดอีก 2 คดี เป็นเงินรวมกันประมาณ1,000,000 บาท ซึ่งแม้จำเลยที่ 2 จะได้นำเงินไปวางศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์แล้วคดีหนึ่งแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมดและหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คน ร่วมกันชำระหนี้ต่อโจทก์แม้โจทก์ยังมิได้นำยึดทรัพย์ของพวกจำเลยทั้งสองดังกล่าว แต่เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและหนี้นั้นถึงกำหนดชำระแล้วโจทก์จึงนำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลายได้ แม้การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นก็ตาม แต่เมื่อข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ และคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด เมื่อไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสองเด็ดขาดด้วยกัน