พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลของโจทก์ในคดีล้มละลาย ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แต่ศาลอาจงดสืบพยานได้
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มิได้บัญญัติเรื่องทิ้งฟ้องหรือการขาดนัดพิจารณาไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม โจทก์สืบพยานไปบ้างแล้วการที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดต่อมาจึงมิใช่กรณีจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องหรือขาดนัดพิจารณา แต่เป็นกรณีที่โจทก์ไม่มาตรงตามกำหนดนัดเพื่อสืบพยานโจทก์ต่อไปถือได้เพียงว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบเพิ่มเติมจากที่ได้สืบไปแล้ว ซึ่งศาลอาจสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียได้เท่านั้น ไม่ชอบที่จะจำหน่ายคดีโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้ และความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด
หนี้ตามเช็คพิพาท โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีรวมเข้าด้วย แต่หนี้ดังกล่าวเกิดจากมูลหนี้เดิมที่ห้างจำเลยที่ 1 ซื้ออาหารสัตว์ไปจากโจทก์แล้วค้างชำระ และห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวในเงินที่ค้างชำระนั้นรวมเข้าไปด้วย กรณีมิใช่เป็นเรื่องการกู้ยืมเงิน จึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมาฟ้องจำเลยทั้งสี่ขอให้ล้มละลายได้
ห้างจำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารฯ โดยระบุผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินไว้คือ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ลงลายมือชื่อร่วมกัน 2 คน พร้อมประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทพร้อมประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ด้วย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดได้นั้น จะต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ มาตรา 9 หรือมาตรา 10 หากไม่ได้ความจริงตามมาตราดังกล่าว หรือจำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้องเมื่อเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.16 เป็นพยานเอกสารที่อาจแสดงได้ว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี และเมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานนั้นตามมาตรา 87 (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านั้นได้ แม้จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้อีกฝ่ายหนึ่งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม
เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยที่นำสืบมามีเหตุผลเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังอยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด แม้จำเลยที่ 4 จะไม่มีทรัพย์สินเลย แต่เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กรณีก็มีเหตุไม่ควรให้จำเลยที่ 4 ล้มละลาย
ห้างจำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารฯ โดยระบุผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินไว้คือ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ลงลายมือชื่อร่วมกัน 2 คน พร้อมประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทพร้อมประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ด้วย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดได้นั้น จะต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ มาตรา 9 หรือมาตรา 10 หากไม่ได้ความจริงตามมาตราดังกล่าว หรือจำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้องเมื่อเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.16 เป็นพยานเอกสารที่อาจแสดงได้ว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ทั้งหมดหรือไม่ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี และเมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานนั้นตามมาตรา 87 (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบกับมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านั้นได้ แม้จะมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้อีกฝ่ายหนึ่งภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม
เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยที่นำสืบมามีเหตุผลเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยังอยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด แม้จำเลยที่ 4 จะไม่มีทรัพย์สินเลย แต่เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 กรณีก็มีเหตุไม่ควรให้จำเลยที่ 4 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: ศาลพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้และสถานะทางธุรกิจของลูกหนี้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยเป็นลูกค้ากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางครั้งเป็นจำนวนถึง16,700,000 บาท แสดงว่าโจทก์เชื่อว่าจำเลยมีความสามารถในการประกอบธุรกิจหากำไรมาใช้หนี้โจทก์ได้ ทั้งบางครั้งจำเลยสามารถนำเงินเข้ามาหักบัญชีได้เป็นจำนวนถึง 4,900,000 บาท จนกระทั่งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 จำเลยนำเงินเข้าหักบัญชีเป็นจำนวนถึง 4,453,159.05 บาท คงเหลือเงินที่เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเพียง 761,028.32 บาท ซึ่งจำเลยเคยเป็นหนี้มีจำนวนมากกว่าจำนวนที่โจทก์ฟ้องหลายเท่า จำเลยยังสามารถชำระหนี้ได้และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นอีก ทั้งจำเลยก็ยังประกอบธุรกิจการค้าเหมือนเดิม แม้โจทก์จะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8(9) ก็เป็นแต่เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้นศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้จึงยังไม่พอถือว่าจำเลยสมควรตกเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลาย ต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ แม้มีเหตุตามกฎหมายก็ต้องดูข้อเท็จจริงประกอบ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยเป็นลูกค้ากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารโจทก์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางครั้งเป็นจำนวนถึง16,700,000 บาท แสดงว่าโจทก์เชื่อว่าจำเลยมีความสามารถในการประกอบธุรกิจหากำไรมาใช้หนี้โจทก์ได้ ทั้งปรากฏว่าบางครั้งจำเลยสามารถนำเงินเข้ามาหักบัญชีได้เป็นจำนวนถึง 4,900,000บาท จนกระทั่งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 จำเลยนำเงินเข้าหักบัญชีเป็นจำนวนถึง 4,453,159.05 บาท คงเหลือเงินที่เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเพียง 761,028.32 บาท ซึ่งจำเลยเคยเป็นหนี้มีจำนวนมากกว่าจำนวนที่โจทก์ฟ้องหลายเท่า จำเลยยังสามารถชำระหนี้ได้และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้รายอื่นอีก ทั้งจำเลยก็ยังประกอบธุรกิจการค้าเหมือนเดิมดังนี้ แม้โจทก์จะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ก็เป็นแต่เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้นส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนี้จึงยังไม่พอถือว่าจำเลยสมควรตกเป็นบุคคลล้มละลาย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และหลักเกณฑ์ 'คดีมีมูล' ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง และในวันนัดได้สอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้วเห็นว่าวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป วินิจฉัยให้ยกคำร้องของจำเลยเสียนั้น ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และหลักเกณฑ์ 'คดีมีมูล' ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง และในวันนัดได้สอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้วเห็นว่าวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป วินิจฉัยให้ยกคำร้องของจำเลยเสียนั้น ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องแสวงหาความจริงตามกฎหมาย หากมีพยานหลักฐานว่าลูกหนี้อาจชำระหนี้ได้ ศาลต้องดำเนินการสืบพยาน
การพิจารณาคดีล้มละลาย ย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายได้บัญญัติไว้ในมาตรา 14 ว่า ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่สองแสนบาทเศษแต่พยานโจทก์เบิกความรับว่าจำเลยถือหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งซึ่งชำระเงินค่าหุ้นแล้วถึงสามแสนบาทเกินจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ และจำเลยยังเป็นผู้จัดการบริษัทอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ตามบัญชีทรัพย์ซึ่งจำเลยแนบมาในคำร้องขอสืบพยานจำเลยยังปรากฏว่า จำเลยมีทรัพย์สินอันมีมูลค่ากว่าเก้าแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด โดยไม่ฟังพยานจำเลยเสียเลยนั้นย่อมไม่เพียงพอต่อการพิจารณาหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่สองแสนบาทเศษแต่พยานโจทก์เบิกความรับว่าจำเลยถือหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งซึ่งชำระเงินค่าหุ้นแล้วถึงสามแสนบาทเกินจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ และจำเลยยังเป็นผู้จัดการบริษัทอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ตามบัญชีทรัพย์ซึ่งจำเลยแนบมาในคำร้องขอสืบพยานจำเลยยังปรากฏว่า จำเลยมีทรัพย์สินอันมีมูลค่ากว่าเก้าแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด โดยไม่ฟังพยานจำเลยเสียเลยนั้นย่อมไม่เพียงพอต่อการพิจารณาหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องแสวงหาความจริงจากพยานหลักฐานรอบด้านก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การพิจารณาคดีล้มละลาย ย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายได้บัญญัติไว้ในมาตรา 14 ว่าในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้นศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่สองแสนบาทเศษแต่พยานโจทก์เบิกความรับว่าจำเลยถือหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งซึ่งชำระเงินค่าหุ้นแล้วถึงสามแสนบาทเกินจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ และจำเลยยังเป็นผู้จัดการบริษัทอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ตามบัญชีทรัพย์ซึ่งจำเลยแนบมาในคำร้องขอสืบพยานจำเลยยังปรากฏว่า จำเลยมีทรัพย์สินอันมีมูลค่ากว่าเก้าแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยเด็ดขาดโดยไม่ฟังพยานจำเลยเสียเลยนั้น ย่อมไม่เพียงพอต่อการพิจารณาหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่สองแสนบาทเศษแต่พยานโจทก์เบิกความรับว่าจำเลยถือหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่งซึ่งชำระเงินค่าหุ้นแล้วถึงสามแสนบาทเกินจำนวนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ และจำเลยยังเป็นผู้จัดการบริษัทอีกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ตามบัญชีทรัพย์ซึ่งจำเลยแนบมาในคำร้องขอสืบพยานจำเลยยังปรากฏว่า จำเลยมีทรัพย์สินอันมีมูลค่ากว่าเก้าแสนบาท การที่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ฝ่ายเดียวว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์จำเลยเด็ดขาดโดยไม่ฟังพยานจำเลยเสียเลยนั้น ย่อมไม่เพียงพอต่อการพิจารณาหาความจริงดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะหนี้กู้ยืมมีประกัน vs. จำนำ และการหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ทำหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์และรับเงินไปโดยนำใบรับของคลังสินค้ามามอบไว้ ดังนี้ เป็นการกู้เงินโดยมีใบรับของคลังสินค้าเป็นประกันมิใช่จำนำ และต่อมาจำเลยก็นำสินค้านั้นขายไปหมดแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ แล้วจำเลยย้ายที่อยู่หลายคราวเป็นการถาวร เมื่อจำเลยย้ายไปโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ เวลาโจทก์ฟ้องก็ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้ไม่ได้ ต้องประกาศหนังสือพิมพ์ ก็ต้องถือว่าได้ไปเสียจากเคหสถาที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับขำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข.
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ แล้วจำเลยย้ายที่อยู่หลายคราวเป็นการถาวร เมื่อจำเลยย้ายไปโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ เวลาโจทก์ฟ้องก็ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้ไม่ได้ ต้องประกาศหนังสือพิมพ์ ก็ต้องถือว่าได้ไปเสียจากเคหสถาที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับขำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนตามกฎหมาย การมีหนี้สินเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ
หลักกฎหมายในการที่จะฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ จะต้องประกอบพร้อมทั้ง 3 ประการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา9 มิใช่เพียงข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียวเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานใน มาตรา 8 โดยโจทก์ได้ทวงถามหลายครั้ง จำเลยก็ไม่ชำระหนี้แต่จำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ใครและจำเลยมีทรัพย์สมบัติมาก เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานใน มาตรา 8 โดยโจทก์ได้ทวงถามหลายครั้ง จำเลยก็ไม่ชำระหนี้แต่จำเลยนำสืบได้ว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ใครและจำเลยมีทรัพย์สมบัติมาก เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว จะฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้