คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 223 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. หากศาลชั้นต้นอนุญาตโดยไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยได้
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่จำเลยคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้และรับอุทธรณ์โจทก์ส่งไปให้ศาลฎีกา จึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่จำเลยคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้และรับอุทธรณ์โจทก์ส่งไปให้ศาลฎีกาจึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่จำเลยคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้และรับอุทธรณ์โจทก์ส่งไปให้ศาลฎีกาจึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน และผลของการฟ้องพ้นกรอบเวลาตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ มาตรา 26 วรรคหนึ่งได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน60 วัน นับแต่วันรับอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน 1 ปี นับแต่พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์
โจทก์อุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์2537 โดยรัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2537 ดังนี้ โจทก์จะต้องอุทธรณ์ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2537 หากถือว่าโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์และรัฐมนตรีรับอุทธรณ์ในวันดังกล่าวนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์มาภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ สิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับแต่วันที่ 8 กันยายน2537 ซึ่งจะครบ 1 ปีในวันที่ 7 กันยายน 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25ตุลาคม 2538 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์อันพ้นกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา223 ทวิ ว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวฟังขึ้นก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ทั้งสองได้ และต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีก อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นนี้มาจำนวน 200,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินกว่า 200 บาท ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลดดอกเบี้ยสัญญา: ปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดดอกเบี้ยจากอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ลงเป็นร้อยละ 15 ต่อปี เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เงิน มิใช่เป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์จึงขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้วดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา223 ทวิ ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา: ข้อพิพาทเรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดดอกเบี้ยจากอัตราร้อยละ19ต่อปีลงเป็นร้อยละ15ต่อปีเนื่องจากดอกเบี้ยเป็นข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เงินมิใช่เป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายโจทก์จึงขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้วดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีประกันภัยค้ำจุน: 2 ปีนับจากวันเกิดเหตุวินาศภัย
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ชนรถยนต์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้นเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882เหตุวินาศภัยเกิดเมื่อวันที่2มีนาคม2534โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่1มีนาคม2536คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วจำเลยจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง200บาทตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง1ข้อ2(ก)เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีทุนทรัพย์: ฟ้องแย้งขอคืนสมุดบัญชีเพื่อหลักฐานการฝากถอนเงิน ไม่ใช่ราคาของสมุด
จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนสมุดบัญชีเงินฝาก1เล่มราคา10บาทให้แก่จำเลยเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เพราะจำเลยมิได้ประสงค์จะถือเอาราคาของกระดาษสมุดบัญชีเงินฝากเป็นสำคัญแต่มุ่งประสงค์เอาหลักฐานการฝากถอนเงินที่มีอยู่ในธนาคารตามสมุดบัญชีเงินฝากเท่านั้นจึงเป็นการฟ้องเรียกหลักฐานการฝากเงินถือว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8486/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองก่อนมีศาลปกครอง และความชอบด้วยกฎหมายของระเบียบพนันชนไก่
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา จำเลยคัดค้านว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงปนข้อกฎหมาย ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 223 ทวิ แห่ง ป.วิ.พ. ขอให้ยกคำร้อง ซึ่งตามคำคัดค้านของจำเลยแปลความหมายได้ว่า หากอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงปนอยู่ด้วยก็ไม่คัดค้าน เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยไม่คัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
โจทก์ฟ้องขอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกใช้บังคับ โดยอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นคดีปกครอง เมื่อยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ศาลยุติธรรมย่อมเป็นสถาบันที่มีอำนาจหน้าที่รับฟ้องคดีปกครองเพื่อเยียวยาตรวจสอบกฎหมายหรือระเบียบที่ฝ่ายบริหารตราออกใช้บังคับโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
การที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการตามคำขอให้โจทก์ได้เพราะขัดต่อระเบียบของจำเลย เป็นการปฏิบัติภายในขอบอำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบของจำเลย ถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวของจำเลยก่อให้เกิดผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้ยกเลิกระเบียบดังกล่าวต่อศาลยุติธรรมได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 โดยมีพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ และการออกระเบียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดแหล่งอบายมุข มิให้ประชาชนลุ่มหลงมัวเมาในการพนันอันจะเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมและความยากจนของประชาชน โดยลดจำนวนบ่อนและลดวันอนุญาตเล่นการพนันชนไก่และกัดปลา และกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตว่าต้องมีฐานะมั่นคงพอเชื่อถือได้และมีความประพฤติเรียบร้อย สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมให้อนุมัติได้เดือนละหนึ่งครั้ง และห้ามอนุมัติการอนุญาตเพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเหตุผลของพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ที่ต้องการควบคุมแหล่งอบายมุขโดยมิได้วางระเบียบห้ามเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาเสียเลย ระเบียบกระทรวง-มหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส vs. สินส่วนตัว: ทรัพย์มรดกที่ได้มาระหว่างสมรสก่อน/หลังการแก้ไขกฎหมายแพ่ง
ทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม6รายการเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมการพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มาเมื่อเจ้ามรดกได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับร. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมมาตรา1466แม้ต่อมาจะมีบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับมีมาตรา1471บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวและมาตรา1474บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือและพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ได้ระบุว่าเป็นสินสมรสจึงเป็นสินสมรสอันแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งบรรพ5เดิมก็ตามก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกเพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิมจึงจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1471มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่เมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสเจ้ามรดกคงมีส่วนแต่เพียงครึ่งเดียวที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม4รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน4รายการนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งแม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
of 13