คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 223 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะทรัพย์สินสมรสตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่ย้อนหลังบังคับกับทรัพย์สินที่ได้มาภายใต้กฎหมายเดิม
ทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 6 รายการ เป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาขณะที่ใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม การพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา เมื่อเจ้ามรดกได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัว ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับ ร. ตาม ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม มาตรา 1466 แม้ต่อมาจะมีบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับมีมาตรา 1471 บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัว และมาตรา 1474บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือและพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ได้ระบุว่าเป็นสินสมรส จึงเป็นสินสมรส อันแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งบรรพ 5 เดิมก็ตาม ก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดก เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม จึงจะนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 มาตรา 1471 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่ เมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสเจ้ามรดกคงมีส่วนแต่เพียงครึ่งเดียวที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท
ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม 4 รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1466 ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน 4 รายการนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
เมื่อจำเลยคัดค้านคำร้องขอของโจทก์ที่ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเมื่อจำเลยคัดค้าน ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อจำเลยคัดค้านคำร้องขอของโจทก์ที่ขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกากรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตจึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีประนีประนอมหลังหย่า ต้องวินิจฉัยโดยประธานศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องในคดที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามสัญญาประนีประนอมหลังการจดทะเบียนหย่าว่า คดีนี้เป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จึงไม่รับฟ้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 12กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลชั้นต้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธาน-ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 12 ดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดและการรับประกันภัย: การรับช่วงสิทธิและข้อยกเว้นอายุความ
จำเลยทั้งสามขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่การที่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาของจำเลยทั้งสามว่าสำเนาให้โจทก์รวมสั่งในอุทธรณ์และสั่งในอุทธรณ์ว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดรับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามโดยมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสามอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาก็พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิวรรคแรกแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์โดยให้จำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และจำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่2จึงต้องฟ้องจำเลยที่1และที่2ภายใน1ปีนับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคแรกมิฉะนั้นคดีขาดอายุความส่วนความรับผิดของจำเลยที่3นั้นเกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัยจึงต้องนำอายุความ2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา882วรรคหนึ่งมาปรับแก่คดีเมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่พ้นกำหนด2ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยคดีเกี่ยวกับจำเลยที่3จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่แจ้งสำเนาคำร้องอุทธรณ์แก่คู่ความอีกฝ่าย ทำให้กระบวนการพิจารณาไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องของจำเลยดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้าน เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 27 ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่น หรือการส่งคำคู่ความ หรือเอกสารอื่น ๆ ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์: บิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันมีมูลเหตุจากการละเมิดที่จำเลยขับรถยนต์ชนเด็กชาย ส. ผู้เยาว์ เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่แม้ผู้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็จะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตาม ป.พ.พ. มาตรา1574 (12) โจทก์ฟ้องจำเลยในนามของตนเอง ทั้งโจทก์เป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ส. จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะกระทำการแทนเด็กชาย ส. แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงและการฟ้องเคลือบคลุม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาว่าศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานไม่ชอบนั้นเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วยและอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงหาถูกต้องไม่ แต่เนื่องด้วยคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิวรรคท้าย จึงหาเป็นประโยชน์ไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายอื่นต่อไปทีเดียว
ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่า ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่า-เสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยได้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากผู้มีชื่อ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกจากการใช้รถที่ก่อความเสียหายขึ้น โดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างหรือโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ก็ตาม ก็คงเป็นการบรรยายถึงความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ขับไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยมีฐานะเช่นใด มีนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
of 13