พบผลลัพธ์ทั้งหมด 130 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9571/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ การกำหนดระยะเวลาบอกกล่าว และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา
สิทธิการบอกเลิกสัญญาและวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อตามมาตรา 573 และให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 574 ไม่ใช่กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 จึงไม่อาจนำวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าในกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ตามมาตรา 560 มาใช้บังคับในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญาเช่าซื้อแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ใช้วิธีแสดงเจตนามีหนังสือทวงถามไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ก่อน หากไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดให้ถือเอาหนังสือนั้นเป็นการบอกเลิกสัญญาจึงบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 387 ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ภายใน 3 วัน หากไม่ชำระขอถือเอาหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ระยะเวลา 3 วันที่โจทก์กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่จำนวน 29,810 บาทนั้น นับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 387 แล้ว เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้มาตั้งแต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี รวมไว้ในสัญญาเช่าซื้อและค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระซึ่งเป็นอัตราอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองได้ ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ได้โดยวินิจฉัยว่าตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเฉพาะแต่การกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญาเช่าซื้อแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ใช้วิธีแสดงเจตนามีหนังสือทวงถามไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ก่อน หากไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดให้ถือเอาหนังสือนั้นเป็นการบอกเลิกสัญญาจึงบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 387 ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ภายใน 3 วัน หากไม่ชำระขอถือเอาหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ระยะเวลา 3 วันที่โจทก์กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่จำนวน 29,810 บาทนั้น นับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 387 แล้ว เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้มาตั้งแต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี รวมไว้ในสัญญาเช่าซื้อและค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระซึ่งเป็นอัตราอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองได้ ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ได้โดยวินิจฉัยว่าตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเฉพาะแต่การกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8304/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีเช็คพิพาทมูลคดีเกิดที่ไหน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลที่มีเขตอำนาจเหนือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นเป็นศาลมูลคดีเกิด
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับชำระหนี้ตามเช็คอันมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหุ้นในบริษัท ก. ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ส่วนจำเลยให้การว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการติดตามลูกหนี้ของบริษัท ก. จึงเห็นได้เหตุที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิเป็นหนี้เกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก. ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นศาลมูลคดีเกิดด้วยศาลหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดปัตตานี
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นและต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ที่ว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นหรือไม่จึงเป็นคดีปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ (2)(ก)
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นและต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ที่ว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นหรือไม่จึงเป็นคดีปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตารางท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ (2)(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น การอ้างเหตุผลเรื่องการเจรจาถือเป็นข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ จะต้องเป็นการอุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อ 3 ว่าเหตุผลข้อหนึ่งที่โจทก์จำเป็นต้องนำคดีนี้ขึ้นสู่ศาลโดยมิได้ผ่านขบวนการอนุญาโตตุลาการเพราะโจทก์พยายามจัดให้มีการเจรจาเพื่อหาข้อยุติข้อพิพาทแล้วแต่จำเลยไม่ประสงค์จะให้มีการเจรจา คู่ความจึงนำคดีมาฟ้องโดยไม่ผ่านขั้นตอนการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีก่อนเข้าสู่ขบวนการอนุญาโตตุลาการอุทธรณ์ข้อ 4 ว่า จำเลยมีโอกาสยกข้อต่อสู้เรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมาตั้งแต่ขณะยื่นคำให้การแล้ว คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180อุทธรณ์ทั้งสองข้อดังกล่าวของโจทก์เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ชอบที่จะดำเนินการส่งอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาต่อไปที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ที่ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตแก้ไขคำให้การและคำพิพากษาเรื่องอำนาจฟ้องที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งรับอุทธรณ์โดยตรง
โจทก์อุทธรณ์ทั้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเรื่องอำนาจฟ้องหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์มิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อน แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อที่ว่า โจทก์นำคดีนี้ขึ้นสู่ศาลโดยมิได้ผ่านขบวนการอนุญาโตตุลาการก็เพราะโจทก์พยายามจัดให้มีการเจรจาเพื่อหาข้อยุติข้อพิพาทแล้ว แต่จำเลยไม่ประสงค์จะให้มีการเจรจา และอุทธรณ์ข้อที่ว่า จำเลยมีโอกาสยกข้อต่อสู้เรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมาตั้งแต่ขณะยื่นคำให้การแล้ว คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 180 อุทธรณ์ทั้งสองข้อดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์โจทก์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลในคดีอาญา: สิทธิอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 54(2) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มีผลเท่ากับจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ระบุประเด็นอายุความ ทำให้ไม่อาจอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาส่งสำนวนคืน
คดีนี้เนื้อหาของคำพิพากษาศาลชั้นต้นคงมีเพียงคำบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและ ค่าฤชาธรรมเนียมเท่านั้น หาได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องอายุความอันเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจพิพากษาคดีได้ด้วยวาจาซึ่งไม่จำต้องจดแจ้งรายการแห่งคดีหรือเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ก็ตาม แต่ก็ต้องมีคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (5) ด้วย มิฉะนั้นคู่ความย่อมไม่อาจอุทธรณ์ได้โดยชัดแจ้งเนื่องจากไม่ทราบว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีอย่างไร เมื่อปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง จึงต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 และยังรับวินิจฉัยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรง ต่อศาลฎีกาของจำเลยที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและการปรับลดเบี้ยปรับ: ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยและขอบเขตการลดเบี้ยปรับตามกฎหมาย
แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลฎีกา พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
จำเลยกู้เงินจากโจทก์ ตกลงชำระเงินกู้ภายใน 25 ปี ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายเดือน โดยมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 1 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี มีระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญากู้ ส่วนระยะเวลาที่เหลือจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของโจทก์ ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้ และมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 ว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ และมีประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปี นับแต่วันทำสัญญา ต้องถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตกลงกันว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดอกเบี้ยภายหลังวันผิดนัดที่เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี จึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่สมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญา ไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดหรือไม่ก็ตามโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาข้อ 1
จำเลยกู้เงินจากโจทก์ ตกลงชำระเงินกู้ภายใน 25 ปี ผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายเดือน โดยมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 1 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี มีระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญากู้ ส่วนระยะเวลาที่เหลือจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของโจทก์ ซึ่งโจทก์อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ดังกล่าวได้ และมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 ว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ และมีประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ ในช่วงระยะเวลาห้าปี นับแต่วันทำสัญญา ต้องถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตกลงกันว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดอกเบี้ยภายหลังวันผิดนัดที่เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปี จึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนที่สมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปีนับแต่วันทำสัญญา ไม่ว่าจำเลยจะผิดนัดหรือไม่ก็ตามโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญาข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ให้กู้ อำนาจฟ้องเกิดจากหลักฐานหนังสือ
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่งอยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ด้วย
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน: เอกสารระบุจำนวนเงินและลายมือชื่อผู้กู้เพียงพอแล้ว แม้ไม่ระบุชื่อผู้ให้กู้
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรก อยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้วไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 223 ทวิ และต้องพิจารณาข้อเท็จจริงก่อน
โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินค่าเบี้ยประกันภัยจำนวน 13,172 บาทขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์และขอให้พิพากษาให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีอย่างเป็นหนี้ร่วมด้วย แต่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 2,567,362.10 บาทโดยมิได้แยกส่วนที่เป็นเบี้ยประกันภัยออกต่างหากศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ชี้สองสถานไว้ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน1,976,386.78 บาทพร้อมดอกเบี้ยต่อโจทก์ จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยก่อนว่าจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ชดใช้นั้นรวมเบี้ยประกันแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องวินิจฉัยก่อน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป