คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 105

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4867/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ไปให้การตามนัดสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ทำให้หมดสิทธิเสนอพยานหลักฐานต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ขอเลื่อนการสอบสวนตามคำขอรับชำระหนี้ โดยอ้างว่ายังหาเอกสารที่จะใช้ประกอบการสอบสวนไม่พบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เลื่อนวันนัดสอบสวนเจ้าหนี้ไปตามที่เจ้าหนี้ขอ แต่ถึงวันนัดเจ้าหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้ไม่ติดใจให้การสอบสวนและส่งเอกสารประกอบคำให้การ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการสอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้ได้
เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ดังกล่าวมีอยู่จริง เมื่อเจ้าหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการสอบสวนพยานหลักฐานของเจ้าหนี้โดยชอบแล้ว เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิเสนอพยานหลักฐาน และในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะรับพยานหลักฐานนั้นไว้แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่พิจารณาพยานหลักฐานที่เจ้าหนี้ยื่นไว้ต่อศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการในการโต้แย้งหนี้ในคดีล้มละลาย และหน้าที่การพิสูจน์หนี้ของเจ้าหนี้
ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกส. กรรมการผู้จัดการของบริษัทลูกหนี้มาสอบสวนและให้ส่งดวงตราต่างๆของลูกหนี้มาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เก็บรักษาไว้เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา19วรรคแรกส. ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องโต้แย้งมูลหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่ต้องประทับตราของลูกหนี้เหมือนเช่นกรณีลูกหนี้จะไปทำนิติกรรมสัญญาก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์และถือว่าส. มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ได้มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ที่ยืนคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและในการตรวจคำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าศ.ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายจัดสรรที่ดิน: กรรมสิทธิ์ยังเป็นของลูกหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้
บริษัทลูกหนี้และ ศ. กรรมการผู้จัดการบริษัทลูกหนี้ในขณะนั้นเคยถูกฟ้องคดีอาญาข้อหาจัดสรรที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาตศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับต่อมาบริษัทลูกหนี้ขายที่ดินที่จะจัดสรรให้ ย. และ ย. ยกที่ดินนี้ให้ ศ. ในวันเดียวกันแล้ว ศ.ได้ขายที่ดินบางส่วนและนำเงินที่ขายได้เข้าบริษัทลูกหนี้ตลอดมาแสดงให้เห็นว่าเป็นการทำ นิติกรรมโดย เจตนาลวงโดยสมรู้กันเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็นของบริษัทลูกหนี้โดย ศ. กรรมการผู้จัดการถือไว้แทนบริษัทลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียก ย. กรรมการผู้จัดการของบริษัทลูกหนี้มาสอบสวนและให้ส่งดวงตราต่างๆของลูกหนี้มาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เก็บรักษาไว้เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา19วรรคแรก ย. ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องโต้แย้งมูลหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่ต้องประทับตราของลูกหนี้และถือว่า ย. มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ได้มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว เจ้าหนี้ผู้ยื่น คำขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำ พยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและในการตรวจ คำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า ศ. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ถือเป็นการจัดการสินสมรส และการงดสอบสวนพยานที่จำเลยไม่มาตามหมาย
การค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ใช่การจัดการเกี่ยวกับสินสมรสสามีไม่จำต้องรับความยินยอมจากภรรยาก็ใช้บังคับได้ ในชั้นสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยการไต่สวนจำเลยโดยเปิดเผยและการส่งประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปยังภูมิลำเนาจำเลยซึ่งเป็นสถานที่เดียวกันกับที่ปิดหมายนัดสอบสวนพยานลูกหนี้ซึ่งจำเลยก็ทราบทุกครั้งทั้งมิได้แจ้งว่าย้ายภูมิลำเนาแล้ว จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อเห็นว่าได้ส่งหมายเรียกให้จำเลยโดยชอบแล้วจำเลยไม่มา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะสั่งงดสอบสวนพยานจำเลยเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3207/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย: การสอบสวนหนี้สินต้องให้ความเป็นธรรมและตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์1,578,355.08 บาท โดยเป็นเงินต้น 785,056.68 บาท ดอกเบี้ย793,298.40 บาท ยอดดอกเบี้ยเป็นการคำนวณนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้ ต. จะให้การเป็นพยานเจ้าหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนว่าในส่วนของดอกเบี้ยเป็นการขอรับชำระนับแต่วันชำระครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏเหตุที่เจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยก่อนหน้านั้น การสอบสวนในเรื่องหนี้สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 105 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และทำความจริงในเรื่องหนี้สินให้ปรากฏ เมื่อ ต.ให้การถึงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าว แต่เมื่อคำนวณแล้วปรากฏว่าต่างกับจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระมาก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องสอบสวนต่อไปว่าเหตุใดเจ้าหนี้จึงยื่นขอรับชำระเกินเพื่อให้ ต.อธิบาย ต. คำนวณแล้วก็จะทราบว่าที่ให้การไปนั้นผิดหลง ความจริงเป็นการขอรับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นมา มิใช่ถือโอกาสจากความผิดพลาดของพยานดังกล่าวมาเป็นเหตุอ้างมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในส่วนนั้นเป็นการไม่ให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ หนี้ค่าดอกเบี้ยจำนวน 286,366.85 บาท ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อ้างว่าเจ้าหนี้ขอเกินมาเป็นหนี้ค่าดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจนถึงวันที่มีการชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามที่ยื่นขอมาเต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบหลักฐานหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์หนี้จริงเพื่อรับชำระ
เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ทียื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริง และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้นั้นเจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ ไม่ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ตามคำประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน หรือแม้แต่เป็นหนี้ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด ผู้ขอรับชำระหนี้ก็ต้องนำสืบตามข้ออ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจพิจารณาปรับลดหนี้ได้
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของคดีอื่น คำพิพากษานั้นไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาล ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สอบสวนและทำความเห็นเสนอต่อศาลว่าเจ้าหนี้ควรได้รับชำระหนี้น้อยกว่าหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าหนี้ขอรับชำระ และศาลพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายโดยชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 แล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียงศาลละ 25 บาท เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และการไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายของความเห็น
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนการนำพยานมาให้สอบสวนและยกคำร้องขออนุญาตนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนใหม่ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 ลำพังความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หามีผลบังคับไม่ ศาลอาจวินิจฉัยยกหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กรณีไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามมาตรา 146 ดังนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลสั่งกลับคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4245/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ ไม่ถือเป็นคำวินิจฉัยที่ทำให้เสียหาย
ในชั้นการตรวจคำขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสอบสวนเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนต่อศาล การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการนำพยานมาให้สอบสวนและมีคำสั่งยกคำร้องที่ขออนุญาตนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนใหม่ เป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนตรวจคำขอรับชำระหนี้เท่านั้น และยังไม่เป็นการแน่นอนว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำความเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้นั้นหรือไม่ต่อมาหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นควรอนุญาตหรือให้ยกคำขอรับชำระหนี้ด้วยเหตุใดก็ตาม ลำพังความเห็นดังกล่าวก็หามีผลบังคับแต่อย่างใดไม่ ศาลอาจวินิจฉัยยกหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นจึงยังไม่เป็นการกระทำหรือเป็นคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากเจ้าหนี้เป็นจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ในวันเดียวกันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2ยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวตลอดจนดอกเบี้ยและเงื่อนไขในสัญญาโดยไม่ได้ระบุวงเงินค้ำประกันไว้ แสดงว่าลูกหนี้ที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ในวงเงินเพียง20,000 บาท ดังนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญานับแต่วันผิดนัด จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คำพิพากษาในคดีแพ่งที่ให้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ร่วมรับผิดกับลูกหนี้จำเลยที่ 1 เต็มตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เจ้าหนี้นั้น ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะสอบสวนและมีความเห็นให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา 94,105 และศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามมาตรา 107(3) ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ชำระเป็นหนี้ที่ผูกพันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าหนี้ย่อมขอรับชำระหนี้นี้ในคดีล้มละลายได้.
of 8