คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชา มั่นสกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมยกที่ดินเป็นทางสาธารณะจากความผิดพลาด เจ้าของมีสิทธิเรียกคืนได้ ศาลสั่งให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
++ เรื่อง ที่ดิน เพิกถอนนิติกรรม ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว คงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1305 การที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่า ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อปี 2523 โจทก์ซื้อบ้านเลขที่ 52/6 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 10265 ตำบลลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน(บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นบ้านและที่ดินจัดสรรในโครงการหมู่บ้านสยามวิลล่าของบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทสินธนาวุฒิ จำกัด ต่อมาวันที่ 6 มกราคม 2524 โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 18 ตารางวา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่1265 และอยู่ติดกับที่ดินที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 ในราคาตารางวาละ3,500 บาท เป็นเงิน 63,000 บาท จากจำเลยที่ 1 โจทก์วางเงินมัดจำเป็นเงิน 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์เข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนับแต่วันทำหนังสือวางมัดจำ โจทก์จึงขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจากสำนักงานเขตบางเขน แล้วปลูกสร้างอาคารบนที่ดินพิพาทจากนั้นขอเลขหมายประจำบ้านจากสำนักงานเขตบางเขนและได้เลขหมายประจำบ้าน 52/60
++ ครั้นวันที่ 15 เมษายน2528 โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทอีกครั้งหนึ่งโดยโจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทที่ค้างอีก 53,000 บาท ให้จำเลยที่ 1และมีข้อตกลงกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งขณะนั้นจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์
++ แต่เมื่อวันที่ 5 กันยายน2533 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265ให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยมิได้ขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดิน 1265 ให้โจทก์ตามข้อตกลง
++
++ ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์และขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 นั้น
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำพิพากษาดังเช่นที่จำเลยที่ 2 ฎีกา หากแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 โดยมิได้บังคับจำเลยทั้งสองให้ไปจดทะเบียนเพิกถอนแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
++
++ คงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการแรกว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้หรือไม่
++ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ทำหนังสือและจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที การโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 เพื่อโอนให้โจทก์จึงเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับไม่ได้เพราะขัดต่อกฎหมาย
++
++ ในข้อนี้ ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องการโอนขายที่ดินโครงการที่ 2 ให้แก่บริษัทเซ็นจูรี่พาร์คคอนโดมิเนียม จำกัด เพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้รับจำนองและในการโอนขายที่ดินดังกล่าวจำเลยที่ 1 จะต้องยินยอมให้ถนนในที่ดินโฉนดเลขที่1264 และ 1265 ซึ่งอยู่ในโครงการที่ 1 เป็นทางสาธารณประโยชน์ก่อน การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ1265 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์นั้น จำเลยที่ 1 มีเจตนายกให้เฉพาะที่ดินส่วนที่เป็นถนนอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 1 ตกลงขายให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว
++ ดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อนหากแต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 สัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์และจดทะเบียนเป็นทางสาธารณประโยชน์มาก่อน กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 และเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2แล้ว คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่บังคับให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ย่อมเป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับได้และไม่ขัดต่อกฎหมาย
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการที่สองมีว่า มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และมีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์หรือไม่
++ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า กรณีพิพาทเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่เพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนร่วมหรือรับรู้ในการกระทำหรือในความสำคัญผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ควรต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคแรก บัญญัติให้ความรับผิดชั้นสุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี ทั้งนี้ให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีด้วย
++ ตามคำขอยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265 ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าเพื่อให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในโฉนดเลขที่ 1265 จำเลยที่ 1 สัญญาจะขายให้โจทก์ และโจทก์ปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทก่อนจำเลยที่ 1 จะทำนิติกรรมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1264 และ 1265 แก่จำเลยที่ 2 เพื่อเป็นทางสาธารณประโยชน์ ย่อมเป็นการข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย ทั้งก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การและต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ และไม่มีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์
++ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ10,000 บาท และที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
++
++ ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการสุดท้ายมีว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือไม่
++ เห็นว่า คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมายถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
++ เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีในศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนราคาที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินพิพาท และที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะจากการสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมยกที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อนกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 การที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6767/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 10 วัน รวม 3 กระทงจำคุก 30 วัน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลยกระทงละ6,200 บาท รวม 3 กระทง ปรับ 18,600 บาท อีกสถานหนึ่ง แล้วรอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปี อันเป็นการแก้ไขมาก แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219การที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิได้ออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการก่อน ถือเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ซึ่งไม่ต้องออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนก่อนนั้น เป็นการประเมินตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามแบบ แสดงรายการที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยื่นเสียภาษีอากรเท่านั้น ส่วนการประเมินตามมาตรา 19 และมาตรา 20 เป็นการประเมินหลังจากเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนแล้ว เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีต่อโจทก์โดยมิได้ออกหมายเรียก อ.ผู้ยื่นรายการ หรือโจทก์ ซึ่งเป็นทายาทของอ.มาไต่สวนก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ยื่นไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกผู้นั้นพร้อมทั้งสามีกับพวกมาตรวจสอบไต่สวน แล้วเชื่อว่าอ.ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง จึงได้ประเมินภาษีต่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของอ. เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยมิได้ประเมินจากรายการที่ปรากฏในแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2528ของอ.ที่ยื่นไว้ การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแต่เป็นการประเมินตามมาตรา 19 และ 20เมื่อมิได้มีการออกหมายเรียก อ.ผู้ยื่นรายการหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของอ.มาไต่สวนก่อน การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีที่มิได้เรียกผู้เสียภาษีมาไต่สวนก่อน เป็นการประเมินตามมาตรา 19/20 ไม่ใช่มาตรา 18
การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 ซึ่งไม่ต้องออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนก่อนนั้น เป็นการประเมินตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามแบบแสดงรายการที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรยื่นเสียภาษีอากรเท่านั้น ส่วนการประเมินตามมาตรา 19 และมาตรา 20 เป็นการประเมินหลังจากเจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีต่อโจทก์โดยมิได้ออกหมายเรียก อ. ผู้ยื่นรายการ หรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ.มาไต่สวนก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้อื่นไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกผู้นั้นพร้อมทั้งสามีกับพวกมาตรวจสอบไต่สวน แล้วเชื่อว่า อ.ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง จึงได้ประเมินภาษีต่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ. เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยมิได้ประเมินจากรายการที่ปรากฏในแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2528 ของ อ.ที่ยื่นไว้ การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงมิใช่เป็นการประเมินตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการประเมินตามมาตรา 19 และ 20 เมื่อมิได้มีการออกหมายเรียก อ.ผู้ยื่นรายการหรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ อ.มาไต่สวนก่อน การประเมินของเจ้าพนักงานของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางต้องมีโทษตามกฎหมายเฉพาะ หากไม่มีโทษ ศาลต้องริบตามกฎหมายอาญา
การริบวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 116 นั้น จะต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89มาตรา 90 มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 140 หรือ มาตรา 101แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้องจึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้น วินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษา & การพิพากษาเกินคำขอ & การฟ้องแย้ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอและพิพากษาในส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยมิได้อุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงกับคำขอท้ายฟ้องที่โจทก์ มีความประสงค์ โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ แต่ไม่อุทธรณ์ ดังนี้ จะอ้างว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเช่นนั้นต้องตามความประสงค์ของโจทก์ แล้วไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่ไม่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ จึงชอบแล้ว จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ ยกฟ้องแย้งของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ตามฟ้องแย้ง ให้โจทก์ที่ 1 รื้อถอนโครงเหล็กที่ต่อเติมบนดาดฟ้าของ อาคารพิพาท จึงเป็นการพิพากษาให้สิ่งใดนอกเหนือไปจากที่ ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 1 ย่อมจะรวมถึงในส่วนค่าเสียหายด้วย แต่ตามฎีกาของโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยก ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่ให้ยกฟ้องในส่วนนี้ จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมมีทั้ง คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และ ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมกันอยู่ โจทก์ที่ 1 จึงต้อง เสียค่าขึ้นศาล 1,800 บาท ตามตาราง 1(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องแย้ง อีก 200 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท แต่โจทก์ที่ 1 เสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกามา 6,000 บาท จึงต้องคืนส่วนที่เกิน และเมื่อ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาเกี่ยวกับฟ้องเดิมในส่วน คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่ให้หักไว้ 200 บาท สำหรับ คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาให้โจทก์ที่ 1จำนวน 5,600 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดรับของโจร: สนับสนุนอาชญากรรมร้ายแรง ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจเหมาะสม ไม่รอการลงโทษ
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่มีส่วนสนับสนุนก่อให้เกิดอาชญากรรมอื่น ๆ ติดตามมาอีกมากมายจึงเป็นเรื่องร้ายแรง สมควรที่จะปราบปรามอย่างเด็ดขาดอีกทั้งทรัพย์ที่จำเลยรับของโจรเป็นรถจักรยานยนต์ซึ่งมีราคาสูง การไม่รอการลงโทษแก่จำเลยจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าทดรองจ่ายในสัญญาตัวแทน: ใช้มาตรา 164 ไม่ใช่ 165(7)
จำเลยที่ 1 แต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ตามมาตรา 816 วรรคหนึ่งซึ่งในกรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นต้องใช้อายุความสิบปี ตามมาตรา 164(เดิม)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ไม่ใช่ กรณีที่โจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองจากจำเลยทั้งสอง ตามมาตรา 165(7)(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าหนี้แต่ละราย และข้อจำกัดการเรียกดอกเบี้ยสูงเกินสมควร
ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องได้ระบุวงเงินให้กู้ของโจทก์และของผู้ให้กู้อื่นแก่จำเลยที่ 1 ไว้คนละจำนวนในวงเงินไม่เท่ากันและเป็นไปตามลำดับ โจทก์และผู้ให้กู้อื่นมีส่วนในหนี้นั้นแยกกัน จึงไม่เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ทั้งตามสัญญาก็มิได้กำหนดว่าการฟ้องคดีโจทก์จะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้ด้วยกันเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเจ้าหนี้หลายคนก็มิได้ระบุว่าผู้ให้กู้คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้คนอื่นก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน
ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า อัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับโจทก์วิเคราะห์ขนาดของเงินลงทุนผิดพลาด ทำให้จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้หลายร้อยล้านบาทและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าร้อยละ 13.5 ต่อปี นั้น ตามคำให้การของจำเลยทั้งสี่ได้ให้การเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้ไม่ครบวงเงินกู้ทำให้โครงการขาดทุนหมุนเวียนถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ13.5 ต่อปี ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสี่ก็อุทธรณ์ทำนองเดียวกันนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยว่าข้อที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 13.5ต่อปีนั้น จำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ดังนั้น ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกในอัตราร้อยละ 21 ต่อปีสูงเกินไปหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งปัญหาเรื่องนี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
of 17