พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าหนี้หลายรายและการวินิจฉัยดอกเบี้ยที่มิได้ยกขึ้นในชั้นศาล
ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทที่โจทก์นำมาฟ้องได้ระบุวงเงินให้กู้ของโจทก์และของผู้ให้กู้อื่นแก่จำเลยที่ 1 ไว้คนละ จำนวนในวงเงินไม่เท่ากันและเป็นไปตามลำดับ โจทก์และ ผู้ให้กู้อื่นมีส่วนในหนี้นั้นแยกกัน จึงไม่เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ทั้งตามสัญญาก็มิได้กำหนดว่าการฟ้องคดีโจทก์จะต้องได้รับ ความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้ด้วยกันเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเจ้าหนี้หลายคนก็มิได้ระบุว่าผู้ให้กู้คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับ ความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้คนอื่นก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้อง ได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า อัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับโจทก์วิเคราะห์ขนาดของเงินลงทุนผิดพลาด ทำให้จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้หลายร้อยล้านบาทและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดเกินกว่าร้อยละ 13.5 ต่อปี นั้นตามคำให้การของจำเลยทั้งสี่ได้ให้การเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินตามสัญญากู้ไม่ครบวงเงินกู้ทำให้โครงการขาดทุนหมุนเวียนถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสี่ก็อุทธรณ์ทำนองเดียวกันนี้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยว่าข้อที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีนั้น จำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนั้น ปัญหาเรื่องดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกในอัตราร้อยละ 21 ต่อปีสูงเกินไปหรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งปัญหาเรื่องนี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้, การฟ้องคดีร่วม, และการยกข้อต่อสู้เรื่องดอกเบี้ยที่ต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ตามสัญญากู้ได้ระบุวงเงินให้กู้ของโจทก์และของผู้ให้กู้อื่นแก่จำเลยที่ 1 ไว้คนละจำนวนในวงเงินไม่เท่ากันและเป็นไปตามลำดับ โจทก์และผู้ให้กู้อื่นมีส่วนในหนี้นั้นแยกกัน จึงไม่เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน ทั้งตามสัญญาก็มิได้กำหนดว่าการฟ้องคดีโจทก์จะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้ด้วยกันเสียก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ตามบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องเจ้าหนี้หลายคนก็มิได้ระบุว่าผู้ให้กู้คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับความยินยอมหรือเห็นชอบจากผู้ให้กู้คนอื่นก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน จำเลยทั้งสี่ให้การเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่าจำเลยที่ 1ได้รับเงินตามสัญญากู้ไม่ครบวงเงินกู้ทำให้โครงการขาดทุนหมุนเวียนถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา จำเลยไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้ง สี่ก็อุทธรณ์ทำนองเดียวกันนี้ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็วินิจฉัยว่า ข้อที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปีนั้นจำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่าอัตราดอกเบี้ยสูงเกินส่วนที่โจทก์ควรจะได้รับโจทก์วิเคราะห์ขนาดของเงินลงทุนผิดพลาด ทำให้จำเลยทั้งสี่เป็นหนี้หลายร้อยล้านบาทและไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเช่นใด จำเลยทั้งสี่จึง ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าร้อยละ 13.5 ต่อปี จึงเป็นข้อที่ มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 อีกทั้งปัญหาเรื่องนี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6249/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถยนต์ต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ: การวินิจฉัยฐานความรับผิดที่ถูกต้อง
เจ้าของรถยนต์จะรับผิดหรือร่วมรับผิดในผลแห่ง การละเมิดต้องเป็นกรณีที่เจ้าของรถยนต์เป็นผู้กระทำละเมิดคือเป็นผู้ขับด้วยตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีเจ้าของรถยนต์ ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลอื่นในผลแห่งการละเมิดต้องเป็นกรณีผู้กระทำละเมิดเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของเจ้าของรถยนต์หรือเจ้าของรถยนต์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ขณะเกิดเหตุโดยเจ้าของรถยนต์โดยสารไปด้วยตามมาตรา 425,427 และ 437 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ รถยนต์คันเกิดเหตุแต่ยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 4ต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในฐานะใดอันเป็นประเด็นสำคัญในคดี ซึ่งจำเลยที่ 4 ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้และศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่ 4จึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1)(3),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและการผิดสัญญาเช่า: สิทธิในการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ได้เช่าอาคารพิพาทจากวัด ก่อนทำสัญญาเช่าจำเลยอาศัยอยู่ในอาคารพิพาทมาก่อนและจำเลยตกลงจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารพิพาท เมื่อครบกำหนด แล้วจำเลยไม่ยอมขนย้ายออกทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อม มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและการฟ้องขับไล่: การไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเช่า
โจทก์ได้เช่าอาคารพิพาทจากวัด ก่อนทำสัญญาเช่า จำเลยอาศัยอยู่ในอาคารพิพาทมาก่อนและจำเลยตกลงจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารพิพาท เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ยอมขนย้ายออกทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับ การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่ และขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่คำบังคับมีผล โดยไม่แสดงเหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคแรก ให้ยกคำร้องแสดงอยู่ในตัวว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่ามีการส่งคำบังคับให้จำเลยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏจากรายงานการเดินหมายว่าพนักงานเดินหมายได้ส่งคำบังคับ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้อง ตรงกับที่ระบุไว้ในแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นหลักฐานต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ณ ภูมิลำเนาของจำเลยแทนการส่งด้วยวิธีธรรมดาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาดังกล่าวจึงไม่ผิดกฎหมาย
คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคู่ความต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคแรกคู่ความคงอุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่า การส่งคำบังคับให้จำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำบังคับ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในข้อที่ว่าจำเลยได้แสดงเหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยหรือไม่ จึงมีเหตุสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคู่ความต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคแรกคู่ความคงอุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่า การส่งคำบังคับให้จำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำบังคับ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณา เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในข้อที่ว่าจำเลยได้แสดงเหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยหรือไม่ จึงมีเหตุสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาใหม่หลังศาลชั้นต้นยกคำร้องเนื่องจากพ้นกำหนด และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่บังคับมีผลโดยไม่แสดงเหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกให้ยกคำร้องแสดงอยู่ในตัวว่า ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่ามีการส่งคำบังคับให้จำเลยถูกต้องตามกฎหมายซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏจากรายงานการเดินหมายว่าพนักงานเดินหมายได้ส่งคำบังคับ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องตรงกับที่ระบุไว้ในแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ที่ โจทก์ ส่งอ้างเป็นหลักฐานต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ณ ภูมิลำเนาของจำเลยแทนการส่งด้วยวิธีธรรมดา ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมาดังกล่าวจึงไม่ผิดกฎหมาย คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคู่ความต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรกคู่ความคงอุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่า การส่งคำบังคับให้จำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำบังคับ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่าคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในข้อที่ว่าจำเลยได้แสดง เหตุอันเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังที่ศาลชั้นต้น วินิจฉัยหรือไม่ จึงมีเหตุสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5924/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลฎีกายกฟ้องแล้ว โจทก์ไม่สามารถรื้อฟ้องประเด็นเดิมได้
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาและได้มีคำขอในคดีส่วนแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวในฐานะผู้เสียหายมาด้วยแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์ร่วมในคดีนั้นซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์คดีนี้จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวด้วย และแม้ว่าจำนวนทรัพย์ตามคำฟ้องในคดีอาญากับคดีนี้ไม่ตรงกัน กล่าวคือ ในคดีอาญาพนักงานอัยการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเพชรพลอยเพียง 4 เม็ด แต่คดีนี้โจทก์ได้ขอให้จำเลยคืนเพชรเม็ดเล็กจำนวน 19 เม็ด เข้ามาด้วย ก็เป็นเพราะในคดีอาญาศาลฎีกาตำหนิพยานโจทก์ว่าจำนวนเพชรพลอยตามเอกสารหมาย จ. 9 ในคดีนั้นซึ่งมีจำนวน 23 เม็ด ไม่ตรงกับเพชรพลอยของกลางซึ่งมีเพียง 4 เม็ด ในคดีนี้โจทก์จึงได้รวมเพชรเม็ดเล็กจำนวน 19 เม็ด เข้ามาด้วย ก็เป็นเรื่องเดียวกันและโจทก์สามารถขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาในคดีอาญาได้อยู่แล้วเพราะเป็นโจทก์ร่วมในคดีนั้นด้วยแต่ไม่ขอ ดังนั้น การที่โจทก์รื้อร้องฟ้องคดีแพ่งเป็นคดีนี้เพื่อให้จำเลยที่ 1 คืนเพชรพลอยทั้ง 23 เม็ด หรือใช้เงินแก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงต้อง ห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ระงับตามยอม ศาลไม่รับฎีกา คดีเช็คพิพาทที่มูลหนี้เดียวกันกับคดีแพ่งที่ประนีประนอมยอมความแล้ว
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้เป็นมูลหนี้เดียวกันกับสัญญากู้ยืมเงินซึ่งโจทก์นำไปฟ้องต่อศาลแพ่งให้จำเลยชำระเงิน แก่โจทก์ คดีดังกล่าวโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้น เห็นว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้น เป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำหน่ายคดีออกเสียจาก สารบบความผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนำหลังเจ้าหนี้และผู้จำนำถึงแก่ความตาย การตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการ
ซ.จำนำที่ดินให้แก่ ข.เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2458 กรณีต้องบังคับตามประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 เมื่อยังไม่มีการไถ่ถอนจำนำและที่ดินยังไม่หลุดเป็นสิทธิแก่ ข.เนื่องจากยังไม่ปรากฏว่า ซ.ยินยอมหรือศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้นถ้าหาก ซ.และ ข.ยังมีชีวิตอยู่ ซ.ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนจำนำได้ และ ข.ก็มีหน้าที่ให้ไถ่ถอนจำนำ แต่เมื่อ ซ.และ ข.ถึงแก่ความตายสิทธิและหน้าที่ของ ซ.และ ข.ซึ่งถือว่าเป็นมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 และ 1600 ผู้ร้องเป็นทายาท ซ. สิทธิและหน้าที่ของ ซ.ในการไถ่ถอนจำนำย่อมตกแก่ผู้ร้องด้วย เมื่อกองมรดกของ ข.ไม่มีทายาท กองมรดกของ ข.ย่อมตกแก่แผ่นดิน แต่แผ่นดินไม่ใช่ทายาทของ ข. ดังนี้ ทายาทของ ซ. ผู้จำนำจึงไม่สามารถทำการไถ่ถอนจำนำได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ข.ขึ้น และตราบใดที่กองมรดกของ ข.ยังไม่มีผู้จัดการมรดก ผู้จำนำก็ไม่มีทางไถ่ถอนจำนำได้เลย การที่ผู้ร้องจะไถ่ถอนจำนำจากกองมรดกของ ข.จึงขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกของ ข.มีผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในกรณีนี้จึงต้องถือว่าผู้ร้องซึ่งมีสิทธิไถ่ถอนจำนำเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ข.ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713